ศาลปกครองกลางแผนกคดีสิ่งแวดล้อม มีคำพิพากษาให้ ศาลมีคำพิพากษาให้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แพรกษา จ.สุมทรปราการ ใช้อำนาจ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ควบคุมดูแลมิให้มีการกระทำใดๆอันก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นของมูลฝอยอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงบ่อขยะแพรกษา และให้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตพื้นที่ของ อบต.แพรกษา รวมทั้งให้ผวจ.สมุทรปราการ กำกับดูแลให้นายกอบต.แพรกษา ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ คำพิพากษาดังกล่าวสืบเนื่องจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก ซึ่งเป็นชาวบ้าน 163 คน ที่อาศัยในบริเวณชุมชนแพรกษา ต.แพรกษา อ.เมืองฯ จ.สมุทรปการ ได้รับผลกระทบเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวน และน้ำเสียจากบ่อขยะ ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้บ่อขยะ เมื่อ16 มี.ค.57 ได้ยื่นฟ้องนายกเทศมนตรี ต.แพรกษา เทศบาลตำบลแพรกษา ผู้ว่าฯ สมุทรปราการ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายกอบต.แพรกษา อบต.แพรกษา สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-11 เพื่อขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้นายกอบต.แพรกษา เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว และสั่งปิดกิจการโดยไม่อนุมัติอนุญาตให้ประกอบกิจการในพื้นที่อีก รวมถึงให้นายกอบต.แพรกษา จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตพื้นที่ อบต.แพรกษา และสั่งให้มีการฟื้นฟูพื้นที่บ่อขยะแพรกษา และพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
ส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวระบุว่า จากการข้อเท็จจริงพบกว่า ก่อนที่นายกนายก อบต.แพรกษา จะออกใบอนุญาต 2 ฉบับ ให้แก่นายกรมย์พล สมุทรสาคร ผู้เช่าที่ดินประกอบกิจการบ่อขยะดังกล่าว บริเวณที่พิพาทมีสภาพเป็นบ่อขยะและมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และประชาชนก็มีการร้องเรียนมา ซึ่ง ทางอบต.แพรกษา ยอมรับว่า ได้สั่งให้เจ้าของที่ดินดูแลไม่ให้มีการนำขยะมาทิ้ง และติดป้ายประกาศห้ามทิ้งขยะ ดังนั้นพื้นที่พิพาท จึงมีสภาพไม่เหมาะสมในการดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังกล่าว ซึ่งนายกฯอบต.แพรกษา.จะต้องนำข้อเท็จจริงของสภาพพื้นที่มาประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการออกใบอนุญาตให้แก่ นายกรมย์พล แต่เมื่อนายกฯอบต.แพรกษา ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้แก่นายกรมย์พล ดำเนินกิจการดังกล่าวในบริเวณพื้นที่พิพาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ ในการประกอบกิจการ เพื่อป้องกันเหตุรำคาญ จึงเป็นการอนุญาตโดยไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่ดินพิพาท จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชนหรือชุมชน ในบริเวณนั้นหรือไม่
อีกทั้งไม่ปรากฏว่าบ่อขยะดังกล่าวได้มีการก่อสร้างระบบป้องกันการซึมของน้ำเสียลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน ไม่มีการปูพื้นบ่อด้วยแผ่นพลาสติกกันซึม รวมทั้งไม่มีการควบคุมการฝังกลบขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล ไม่มีระบบรวบรวมน้ำเสียไปบำบัด ซึ่งนอกจากถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจออกใบอนุญาตโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรแล้ว ยังถือได้ว่า นายกฯอบต.แพรกษาไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตาม มาตรา 290 ของ รธน.50 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นด้วย การออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้แก่นายกรมย์พล ของนายกฯอบต.แพรกษา จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อนายกรมย์พล ได้ยื่นขอยกเลิกรับทำการกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และ นายกฯอบต.แพรกษา ได้มีคำสั่งยกเลิกกิจการ ตามใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสองฉบับแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.55 ใบอนุญาตทั้งสองฉบับดังกล่าว ย่อมสิ้นผลลงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว
ส่วนของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงยังคงได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นเหม็นของขยะมูลฝอย จึงเห็นว่าการที่นายกฯอบต.แพรกษา และ อบต.แพรกษา ไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติเพื่อลดและขจัดมลพิษหลังจากเกิดเหตุไฟไหม้เสนอให้ผู้ว่าฯสมุทรปราการ จึงถือได้ว่าละเลยต่อหน้าที่ นอกจากนั้น การที่ผู้ว่าฯสมุทรปราการ ไม่กำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และตามกฎหมาย จึงถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่เช่นกัน ศาลจึงมีคำสั่งดังกล่าว
ทั้งนี้ คำพิพากษาดังกล่าวสืบเนื่องจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก ซึ่งเป็นชาวบ้าน 163 คน ที่อาศัยในบริเวณชุมชนแพรกษา ต.แพรกษา อ.เมืองฯ จ.สมุทรปการ ได้รับผลกระทบเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวน และน้ำเสียจากบ่อขยะ ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้บ่อขยะ เมื่อ16 มี.ค.57 ได้ยื่นฟ้องนายกเทศมนตรี ต.แพรกษา เทศบาลตำบลแพรกษา ผู้ว่าฯ สมุทรปราการ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายกอบต.แพรกษา อบต.แพรกษา สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-11 เพื่อขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้นายกอบต.แพรกษา เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว และสั่งปิดกิจการโดยไม่อนุมัติอนุญาตให้ประกอบกิจการในพื้นที่อีก รวมถึงให้นายกอบต.แพรกษา จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตพื้นที่ อบต.แพรกษา และสั่งให้มีการฟื้นฟูพื้นที่บ่อขยะแพรกษา และพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
ส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวระบุว่า จากการข้อเท็จจริงพบกว่า ก่อนที่นายกนายก อบต.แพรกษา จะออกใบอนุญาต 2 ฉบับ ให้แก่นายกรมย์พล สมุทรสาคร ผู้เช่าที่ดินประกอบกิจการบ่อขยะดังกล่าว บริเวณที่พิพาทมีสภาพเป็นบ่อขยะและมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และประชาชนก็มีการร้องเรียนมา ซึ่ง ทางอบต.แพรกษา ยอมรับว่า ได้สั่งให้เจ้าของที่ดินดูแลไม่ให้มีการนำขยะมาทิ้ง และติดป้ายประกาศห้ามทิ้งขยะ ดังนั้นพื้นที่พิพาท จึงมีสภาพไม่เหมาะสมในการดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังกล่าว ซึ่งนายกฯอบต.แพรกษา.จะต้องนำข้อเท็จจริงของสภาพพื้นที่มาประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการออกใบอนุญาตให้แก่ นายกรมย์พล แต่เมื่อนายกฯอบต.แพรกษา ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้แก่นายกรมย์พล ดำเนินกิจการดังกล่าวในบริเวณพื้นที่พิพาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ ในการประกอบกิจการ เพื่อป้องกันเหตุรำคาญ จึงเป็นการอนุญาตโดยไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่ดินพิพาท จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชนหรือชุมชน ในบริเวณนั้นหรือไม่
อีกทั้งไม่ปรากฏว่าบ่อขยะดังกล่าวได้มีการก่อสร้างระบบป้องกันการซึมของน้ำเสียลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน ไม่มีการปูพื้นบ่อด้วยแผ่นพลาสติกกันซึม รวมทั้งไม่มีการควบคุมการฝังกลบขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล ไม่มีระบบรวบรวมน้ำเสียไปบำบัด ซึ่งนอกจากถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจออกใบอนุญาตโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรแล้ว ยังถือได้ว่า นายกฯอบต.แพรกษาไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตาม มาตรา 290 ของ รธน.50 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นด้วย การออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้แก่นายกรมย์พล ของนายกฯอบต.แพรกษา จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อนายกรมย์พล ได้ยื่นขอยกเลิกรับทำการกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และ นายกฯอบต.แพรกษา ได้มีคำสั่งยกเลิกกิจการ ตามใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสองฉบับแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.55 ใบอนุญาตทั้งสองฉบับดังกล่าว ย่อมสิ้นผลลงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว
ส่วนของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงยังคงได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นเหม็นของขยะมูลฝอย จึงเห็นว่าการที่นายกฯอบต.แพรกษา และ อบต.แพรกษา ไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติเพื่อลดและขจัดมลพิษหลังจากเกิดเหตุไฟไหม้เสนอให้ผู้ว่าฯสมุทรปราการ จึงถือได้ว่าละเลยต่อหน้าที่ นอกจากนั้น การที่ผู้ว่าฯสมุทรปราการ ไม่กำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และตามกฎหมาย จึงถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่เช่นกัน ศาลจึงมีคำสั่งดังกล่าว