วานนี้ (28 พ.ย.) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงคมนาคม นางเพ็ญทิพย์ภา ดุลยจินดา กรรมการ กิจการร่วมค้า ยูนิเวอร์แซล เอวีเอชั่น เซอร์วิสเซส (กิจการร่วมค้า ยูเอเอส) ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ความเป็นธรรมกับกิจการร่วมค้ายูเอเอส กรณีถูกบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. บอกเลิกสัญญาจ้างบริหารและจัดการด้านการขนส่งสินค้าภายในเขตปลอดอากร สนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่า 4,430 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา อย่างไม่เป็นธรรม
นางเพ็ญทิพย์ภา กล่าวว่า ต้องการให้มีการสอบข้อเท็จจริงกรณี ทอท.บอกเลิกสัญญา เพราะไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามสัญญา เนื่องจากที่ผ่านมากิจการร่วมค้ายูเอเอส ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญา และปฏิบัติงานด้วยมาตรฐานเดียวกันมาโดยตลอด ซึ่งคณะกรรมการตรวจการจ้าง ก็ไม่ได้มีการโต้แย้ง จนกระทั่งคณะกรรมการตรวจการจ้างชุดปัจจุบัน ทั้งนี้ กิจการร่วมค้ายูเอเอส มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะบริหารจัดการเขตปลอดอากรจนครบสัญญา 10 ปี ในเดือน ต.ค.63
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ยื่นฟ้อง ทอท.ในขณะนี้ เพราะต้องการรอดูท่าทีของทอท. และเรียกร้องความเป็นธรรมตามกระบวนการก่อน และขอตั้งข้อสังเกตว่า การบอกเลิกสัญญาโดย ทอท.บุกยึดพื้นที่เขตปลอดอากรคืนจากกิจการร่วมค้ายูเอเอส เมื่อวันที่ 25 พ.ย.59 เวลา 17.30 น. ด้วยพนักงาน ตำรวจ และบุคคลนอกเครื่องแบบราว 300 คน ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพนักงานกิจการร่วมค้า ยูเอเอส และเชื่อโดยสุจริตว่า ทอท.น่าจะมีการเตรียมการมาก่อนแล้ว เมื่อเรายื่นร้องขอความเป็นธรรม ทอท.จึงเร่งบอกเลิกสัญญา ซึ่งจะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ ไม่อาจคาดเดาได้ แต่น่าจะถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่ไม่ชอบ
นางเพ็ญทิพย์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา พนักงานกิจการร่วมค้า ยูเอเอส ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จากกรณีที่ ทอท. ค้างเงินค่าจ้างตามสัญญา จำนวน 167 ล้านบาท หลังจากนั้น 3 วัน คือวันที่ 25 พ.ย. ทางทอท.ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างกับกิจการร่วมค้ายูเอเอส อ้างเหตุการปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ยอมแก้ไขใน 30 วัน และไม่ให้ความร่วมมือกับทอท. ซึ่งทอท.ได้เข้าครองพื้นที่ปฏิบัติงานของกิจการร่วมค้ายูเอเอส หลังจากส่งหนังสือเลิกสัญญา เวลา 17.30 น. และขับไล่พนักงานออกนอกพื้นที่ เวลา 18.30 น. โดยไม่ให้เวลาย้ายทรัพย์สิน ซึ่งกิจการร่วมค้ายูเอเอส ตั้งข้อสังเกตว่า การที่พนักงานกำลังทำงานโดยปกติและสงบ ทอท.เข้ามาด้วยวิธีรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ อีกทั้งการที่ทอท.เลิกสัญญา โดยที่กิจการร่วมค้ายูเอเอสไม่ผิด จะต้องมีการฟ้องร้องค่าเสียหาย จึงเป็นความเสี่ยงมากที่ ทอท.ต้องแบกรับภาระ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะบอกว่า ยูเอเอส ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงเป็นที่มาของการเลิกสัญญา และเท่าที่ทราบเวลานี้ผู้ประกอบการหลายรายกำลังได้รับความเดือดร้อน อาจเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นพื้นที่นำเข้าส่งออกสินค้า
“ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. อนุมัติให้มีการเปลี่ยนเขตปลอดอากรเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่ง กิจการร่วมค้ายูเอเอส ได้มีหนังสือสอบถาม ทอท. ถึงนโยบาย ขั้นตอนและการเยียวยา แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ และขณะนี้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนเขตปลอดอากร เป็น Airport Logistics Park ด้วยซึ่งเป็นการให้สัมปทานผู้ประกอบการร่วมกับ ทอท. ในการเข้ามาบริหารจะมีการปรับกระบวนการต่างๆ มากมาย ทั้งที่ยูเอเอส ยังบริหารพื้นที่ตรงนี้อยู่ และไม่ได้มีการพูดคุยให้ชัดเจน ทอท.น่าจะมีวาระที่แอบแฝงอยู่ ” นางเพ็ญทิพย์ภา กล่าว .
นางเพ็ญทิพย์ภา กล่าวว่า ต้องการให้มีการสอบข้อเท็จจริงกรณี ทอท.บอกเลิกสัญญา เพราะไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามสัญญา เนื่องจากที่ผ่านมากิจการร่วมค้ายูเอเอส ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญา และปฏิบัติงานด้วยมาตรฐานเดียวกันมาโดยตลอด ซึ่งคณะกรรมการตรวจการจ้าง ก็ไม่ได้มีการโต้แย้ง จนกระทั่งคณะกรรมการตรวจการจ้างชุดปัจจุบัน ทั้งนี้ กิจการร่วมค้ายูเอเอส มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะบริหารจัดการเขตปลอดอากรจนครบสัญญา 10 ปี ในเดือน ต.ค.63
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ยื่นฟ้อง ทอท.ในขณะนี้ เพราะต้องการรอดูท่าทีของทอท. และเรียกร้องความเป็นธรรมตามกระบวนการก่อน และขอตั้งข้อสังเกตว่า การบอกเลิกสัญญาโดย ทอท.บุกยึดพื้นที่เขตปลอดอากรคืนจากกิจการร่วมค้ายูเอเอส เมื่อวันที่ 25 พ.ย.59 เวลา 17.30 น. ด้วยพนักงาน ตำรวจ และบุคคลนอกเครื่องแบบราว 300 คน ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพนักงานกิจการร่วมค้า ยูเอเอส และเชื่อโดยสุจริตว่า ทอท.น่าจะมีการเตรียมการมาก่อนแล้ว เมื่อเรายื่นร้องขอความเป็นธรรม ทอท.จึงเร่งบอกเลิกสัญญา ซึ่งจะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ ไม่อาจคาดเดาได้ แต่น่าจะถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่ไม่ชอบ
นางเพ็ญทิพย์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา พนักงานกิจการร่วมค้า ยูเอเอส ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จากกรณีที่ ทอท. ค้างเงินค่าจ้างตามสัญญา จำนวน 167 ล้านบาท หลังจากนั้น 3 วัน คือวันที่ 25 พ.ย. ทางทอท.ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างกับกิจการร่วมค้ายูเอเอส อ้างเหตุการปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ยอมแก้ไขใน 30 วัน และไม่ให้ความร่วมมือกับทอท. ซึ่งทอท.ได้เข้าครองพื้นที่ปฏิบัติงานของกิจการร่วมค้ายูเอเอส หลังจากส่งหนังสือเลิกสัญญา เวลา 17.30 น. และขับไล่พนักงานออกนอกพื้นที่ เวลา 18.30 น. โดยไม่ให้เวลาย้ายทรัพย์สิน ซึ่งกิจการร่วมค้ายูเอเอส ตั้งข้อสังเกตว่า การที่พนักงานกำลังทำงานโดยปกติและสงบ ทอท.เข้ามาด้วยวิธีรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ อีกทั้งการที่ทอท.เลิกสัญญา โดยที่กิจการร่วมค้ายูเอเอสไม่ผิด จะต้องมีการฟ้องร้องค่าเสียหาย จึงเป็นความเสี่ยงมากที่ ทอท.ต้องแบกรับภาระ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะบอกว่า ยูเอเอส ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงเป็นที่มาของการเลิกสัญญา และเท่าที่ทราบเวลานี้ผู้ประกอบการหลายรายกำลังได้รับความเดือดร้อน อาจเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นพื้นที่นำเข้าส่งออกสินค้า
“ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. อนุมัติให้มีการเปลี่ยนเขตปลอดอากรเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่ง กิจการร่วมค้ายูเอเอส ได้มีหนังสือสอบถาม ทอท. ถึงนโยบาย ขั้นตอนและการเยียวยา แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ และขณะนี้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนเขตปลอดอากร เป็น Airport Logistics Park ด้วยซึ่งเป็นการให้สัมปทานผู้ประกอบการร่วมกับ ทอท. ในการเข้ามาบริหารจะมีการปรับกระบวนการต่างๆ มากมาย ทั้งที่ยูเอเอส ยังบริหารพื้นที่ตรงนี้อยู่ และไม่ได้มีการพูดคุยให้ชัดเจน ทอท.น่าจะมีวาระที่แอบแฝงอยู่ ” นางเพ็ญทิพย์ภา กล่าว .