รัฐบาลสั่งมหาดไทยจัดสรรเงินรายได้ใหม่"ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติ"ที่จัดเก็บได้กว่า 1 พันล้านบาทต่อปี ให้ อบต.พื้นที่อุทยาน เพิ่มเป็น 40 % จากเดิมที่อุทยานแห่งชาติแบ่งให้เพียง 5%
วานนี้(27 พ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้เสนอกระทรวงมหาดไทย แก้ไขกฎกระทรวงฯ ให้แบ่งเงินรายได้ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติให้กับ อปท. จากเดิมร้อยละ 5 เพิ่มเป็นร้อยละ 40 โดยจะทำให้อบต.ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 679 แห่ง จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ และ ตามพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกรมอุทยานจัดเก็บได้กว่าปีละ 1,000 ล้านบาท เข้าสู่ท้องถิ่นของตนเองทันที
ทั้งนี้ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 79 ได้กำหนดให้ เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ในองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ใด ให้แบ่งให้แก่อบต.นั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
1 .กำหนดให้แบ่งเงินในอัตราร้อยละห้าของเงินที่เก็บได้ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติใน อบต.ใด แก่อบต. นั้นทุกแห่ง แห่งละเท่ากัน
2. ในแต่ละปีงบประมาณ ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รับมอบเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติเป็น 4 งวด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ มท. จะตกลงกัน และเมื่อ มท.ได้รับมอบแล้วให้แบ่งแก่อบต. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินตามงวดนั้น โดยรมว.มหาดไทย เป็นผู้รักษา ราชการตามกฎกระทรวงดังกล่าว
** ปี 59 อุทยานฯจัดเก็บได้1.9 พันล.
มีรายงานว่า ข้อมูลจากรายงานประจำปีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2558 ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีรายได้จากอุทยานแห่งชาติ ทั่วประเทศ ในช่วงระยะเวลา ปี54-58 ดังนี้
ปี 54 จัดเก็บรายได้รวมกว่า 496,500,109.99 บาท ปี 55 จัดเก็บได้ 547,366.802.65 บาท ปี 56 จัดเก็บได้ 662,739,340.34 บาท ปี 57 จัดเก็บได้ 696,319,219.22 บาท ปี 58 จัดเก็บได้ 896,829,343.39 บาท (ที่มา : รายงานประจำปีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2558)
ขณะที่ ในปีงบประมาณ 59 (ต.ค.58- ส.ค.59 ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีรายได้จากค่าธรรมเนียมบำรุงอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศเป็นเงิน 1,963.695 ล้านบาท มากกว่า ปี 58 ถึง 1,067 ล้านบาท และได้แบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมบำรุงอุทยานแห่งชาติให้ สถ.เพื่อจัดสรรให้แก่อบต. ตามกฎกระทรวงดังกล่าว โดยในปี 58 ได้จัดสรรให้แก่ อบต.ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 679 แห่ง เป็นเงิน 42,816 ล้านบาท
**เสนอ มท.อุดหนุนรายได้ให้ท้องถิ่น
มีรายงานด้วยว่า ในคราวการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการประชุมครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 5 ต.ค.59 ได้พิจารณาเห็นว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 ออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้ แบ่งเงินในอัตราร้อยละห้า ของเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติใน อบต.ใด แก่ อบต.นั้น ทุกแห่งๆ ละ เท่ากันนั้น ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2541 ประกอบกับปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะอบต. มีภารกิจและหน้าที่ที่จะต้องจัดบริการสาธารณะในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่รายได้ของ อบต.ไม่สอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ ที่ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และถ่ายโอน จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) พิจารณาให้ความ เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เพื่อแบ่งเงินรายได้ที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ จากค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติจากอัตราร้อยละห้า เป็น ร้อยละ สี่สิบ ตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ คณะอนุกรรมการฯ เห็นควรให้ปรับสัดส่วนเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
“ข้อ 1 กำหนดให้กรมอุทยานฯ แบ่งเงินในอัตราร้อยละห้าของเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติใน อบต. ใด แก่ อบต. นั้นทุกแห่ง แห่งละเท่ากัน จาก “ร้อยละห้า”เป็น “ร้อยละสี่สิบ”จากรายได้ที่กรมอุทยานฯ ได้รับ 3 รายการ ดังนี้
“1.ค่าบริการให้ความสะดวกต่าง ๆ ในอุทยานแห่งชาติ 2. ค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตให้เข้าดำเนินการในอุทยานแห่งชาติ และ 3. ค่าตอบแทนสำหรับการอนุญาตพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ โดยใช้หลักการแบ่งความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ท้องถิ่นนำไปพัฒนา ในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับอุทยานแห่งชาติหรือลดผลกระทบที่เกิดจากอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ การจัดสรรรายได้ควร คำนึงถึงความรับผิดชอบในการพัฒนาพื้นที่อุทยานฯ โดยอาจจะพิจารณาจากจำนวนประชากร จำนวนพื้นที่ ตามเหมาะสม หรือโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่ร่วมกันในอนาคตระหว่างท้องถิ่นกับกรมอุทยานฯ เป็นต้น.”
นอกจากนั้น ยังเห็นควรให้เปลี่ยนแปลงวิธีการรับมอบเงินที่เก็บได้ว่าด้วยอุทยานแห่งชาติฯ ในแต่ละ ปีงบประมาณ จาก “ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รับมอบเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติเป็นสี่งวด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ มท. จะตกลงกัน และเมื่อ มท. ได้รับมอบแล้วให้แบ่งแก่ อบต. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินตามงวดนั้น” เป็น “ให้กรมอุทยานฯ จัดสรรเงินตามส่วนแบ่งให้ อบต. ตามที่ อบต. แต่ละแห่ง ในพื้นที่ได้รับโดยให้จัดสรรเป็นรายเดือน”
**ปี58 เอราวัณ เก็บได้ 76 ล.- เขาใหญ่ 74 ล.
มีรายงานว่า เมื่อปลายปี 2558 สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่สถิติเงินรายได้ของอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ 147 แห่ง ประจำปี58 ตั้งแต่เดือน ต.ค.57 - ก.ค.58 ปรากฏว่าอุทยานฯ ที่มีรายได้อันดับ 1 คือ อุทยานฯ เอราวัณ จ.กาญจนบุรี 76,383,368.71 บาท อันดับ 2 อุทยานฯ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา 74,943,916.96 บาท อันดับ 3 อุทยานฯ หาดนพ รัตน์ธารา-พีพี จ.กระบี่ 60,230,718 บาท
อันดับ 4 อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา 49,671,535 บาท อันดับ 5 อุทยานฯ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ 42,314,222.98 บาท อันดับ 6 อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 39,413,493.95 บาท อันดับ 7 อุทยานฯ เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี 27,776,845.19 บาท อันดับ 8 อุทยานฯหมู่เกาะช้าง จ.ตราด 25,120,110 บาท อันดับ 9 อุทยานฯน้ำตกพริ้ว จ.จันทบุรี 22,729,695 บาท อันดับ 10 อุทยานฯ หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี 19,659,507.84 บาทโดยมีรายได้ในปี 58 ถึง 762.9 ล้านบาทมากกว่ารายได้ปี 57 ที่เก็บรายได้ ได้ 662.7 ล้านบาท คือมากกว่าถึง 100 ล้านบาท
วานนี้(27 พ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้เสนอกระทรวงมหาดไทย แก้ไขกฎกระทรวงฯ ให้แบ่งเงินรายได้ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติให้กับ อปท. จากเดิมร้อยละ 5 เพิ่มเป็นร้อยละ 40 โดยจะทำให้อบต.ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 679 แห่ง จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ และ ตามพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกรมอุทยานจัดเก็บได้กว่าปีละ 1,000 ล้านบาท เข้าสู่ท้องถิ่นของตนเองทันที
ทั้งนี้ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 79 ได้กำหนดให้ เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ในองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ใด ให้แบ่งให้แก่อบต.นั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
1 .กำหนดให้แบ่งเงินในอัตราร้อยละห้าของเงินที่เก็บได้ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติใน อบต.ใด แก่อบต. นั้นทุกแห่ง แห่งละเท่ากัน
2. ในแต่ละปีงบประมาณ ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รับมอบเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติเป็น 4 งวด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ มท. จะตกลงกัน และเมื่อ มท.ได้รับมอบแล้วให้แบ่งแก่อบต. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินตามงวดนั้น โดยรมว.มหาดไทย เป็นผู้รักษา ราชการตามกฎกระทรวงดังกล่าว
** ปี 59 อุทยานฯจัดเก็บได้1.9 พันล.
มีรายงานว่า ข้อมูลจากรายงานประจำปีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2558 ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีรายได้จากอุทยานแห่งชาติ ทั่วประเทศ ในช่วงระยะเวลา ปี54-58 ดังนี้
ปี 54 จัดเก็บรายได้รวมกว่า 496,500,109.99 บาท ปี 55 จัดเก็บได้ 547,366.802.65 บาท ปี 56 จัดเก็บได้ 662,739,340.34 บาท ปี 57 จัดเก็บได้ 696,319,219.22 บาท ปี 58 จัดเก็บได้ 896,829,343.39 บาท (ที่มา : รายงานประจำปีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2558)
ขณะที่ ในปีงบประมาณ 59 (ต.ค.58- ส.ค.59 ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีรายได้จากค่าธรรมเนียมบำรุงอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศเป็นเงิน 1,963.695 ล้านบาท มากกว่า ปี 58 ถึง 1,067 ล้านบาท และได้แบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมบำรุงอุทยานแห่งชาติให้ สถ.เพื่อจัดสรรให้แก่อบต. ตามกฎกระทรวงดังกล่าว โดยในปี 58 ได้จัดสรรให้แก่ อบต.ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 679 แห่ง เป็นเงิน 42,816 ล้านบาท
**เสนอ มท.อุดหนุนรายได้ให้ท้องถิ่น
มีรายงานด้วยว่า ในคราวการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการประชุมครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 5 ต.ค.59 ได้พิจารณาเห็นว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 ออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้ แบ่งเงินในอัตราร้อยละห้า ของเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติใน อบต.ใด แก่ อบต.นั้น ทุกแห่งๆ ละ เท่ากันนั้น ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2541 ประกอบกับปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะอบต. มีภารกิจและหน้าที่ที่จะต้องจัดบริการสาธารณะในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่รายได้ของ อบต.ไม่สอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ ที่ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และถ่ายโอน จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) พิจารณาให้ความ เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เพื่อแบ่งเงินรายได้ที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ จากค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติจากอัตราร้อยละห้า เป็น ร้อยละ สี่สิบ ตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ คณะอนุกรรมการฯ เห็นควรให้ปรับสัดส่วนเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
“ข้อ 1 กำหนดให้กรมอุทยานฯ แบ่งเงินในอัตราร้อยละห้าของเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติใน อบต. ใด แก่ อบต. นั้นทุกแห่ง แห่งละเท่ากัน จาก “ร้อยละห้า”เป็น “ร้อยละสี่สิบ”จากรายได้ที่กรมอุทยานฯ ได้รับ 3 รายการ ดังนี้
“1.ค่าบริการให้ความสะดวกต่าง ๆ ในอุทยานแห่งชาติ 2. ค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตให้เข้าดำเนินการในอุทยานแห่งชาติ และ 3. ค่าตอบแทนสำหรับการอนุญาตพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ โดยใช้หลักการแบ่งความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ท้องถิ่นนำไปพัฒนา ในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับอุทยานแห่งชาติหรือลดผลกระทบที่เกิดจากอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ การจัดสรรรายได้ควร คำนึงถึงความรับผิดชอบในการพัฒนาพื้นที่อุทยานฯ โดยอาจจะพิจารณาจากจำนวนประชากร จำนวนพื้นที่ ตามเหมาะสม หรือโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่ร่วมกันในอนาคตระหว่างท้องถิ่นกับกรมอุทยานฯ เป็นต้น.”
นอกจากนั้น ยังเห็นควรให้เปลี่ยนแปลงวิธีการรับมอบเงินที่เก็บได้ว่าด้วยอุทยานแห่งชาติฯ ในแต่ละ ปีงบประมาณ จาก “ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รับมอบเงินที่เก็บได้ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติเป็นสี่งวด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ มท. จะตกลงกัน และเมื่อ มท. ได้รับมอบแล้วให้แบ่งแก่ อบต. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินตามงวดนั้น” เป็น “ให้กรมอุทยานฯ จัดสรรเงินตามส่วนแบ่งให้ อบต. ตามที่ อบต. แต่ละแห่ง ในพื้นที่ได้รับโดยให้จัดสรรเป็นรายเดือน”
**ปี58 เอราวัณ เก็บได้ 76 ล.- เขาใหญ่ 74 ล.
มีรายงานว่า เมื่อปลายปี 2558 สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่สถิติเงินรายได้ของอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ 147 แห่ง ประจำปี58 ตั้งแต่เดือน ต.ค.57 - ก.ค.58 ปรากฏว่าอุทยานฯ ที่มีรายได้อันดับ 1 คือ อุทยานฯ เอราวัณ จ.กาญจนบุรี 76,383,368.71 บาท อันดับ 2 อุทยานฯ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา 74,943,916.96 บาท อันดับ 3 อุทยานฯ หาดนพ รัตน์ธารา-พีพี จ.กระบี่ 60,230,718 บาท
อันดับ 4 อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา 49,671,535 บาท อันดับ 5 อุทยานฯ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ 42,314,222.98 บาท อันดับ 6 อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 39,413,493.95 บาท อันดับ 7 อุทยานฯ เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี 27,776,845.19 บาท อันดับ 8 อุทยานฯหมู่เกาะช้าง จ.ตราด 25,120,110 บาท อันดับ 9 อุทยานฯน้ำตกพริ้ว จ.จันทบุรี 22,729,695 บาท อันดับ 10 อุทยานฯ หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี 19,659,507.84 บาทโดยมีรายได้ในปี 58 ถึง 762.9 ล้านบาทมากกว่ารายได้ปี 57 ที่เก็บรายได้ ได้ 662.7 ล้านบาท คือมากกว่าถึง 100 ล้านบาท