ไอแบงก์เล็งขายหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม 18,000 ล้านบาท ขณะที่คลังเพิ่มทุนให้จำนวนเท่ากัน หวังให้เงินกองทุน 0% ปัจจุบันติดลบ 27% ระบุยังไม่พับแผนหาพันธมิตรใหม่มีกลุ่มเอเชียและตะวันออกกลางสนใจ คาดปี 60 ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน พร้อมขอปลดล็อคขอปล่อยสินเชื่อรายใหญ่วงเงินเกิน 200 ล้านบาทช่วยเสริมแกร่ง
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการว่า กระทรวงการคลังจะเพิ่มทุนให้ไอแบงก์จำนวน 18,000 ล้านบาท เพื่อให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ 0% จากปัจจุบันติดลบ 27%ในต้นปีหน้า และในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ ไอแบงก์จะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนเท่ากับจำนวนเงินเพิ่มทุนที่ได้จากคลังให้แก่ผู้ถือหุ้นรายเดิมก่อน ซึ่งคาดว่ากระบวนการนี้จะเสร็จกลางปี 60 พร้อมทั้งเร่งหารายได้ โดยเฉพาะปล่อยกู้สินเชื่อรายใหญ่และลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะยื่นขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยกเว้นชั่วคราวให้คลังถือหุ้นได้มากกว่า 49% ในกรณีการขายหุ้นเพิ่มทุนยังเหลืออยู่ เมื่อคลังหรือหน่วยงานภายใต้คลังจะเข้าไปซื้อหุ้นเองก่อนจนกว่าจะได้พันธมิตรรายใหม่เข้ามาซื้อหุ้นได้ ซึ่งขณะนี้ยังมีผู้ที่สนใจทั้งคนไทย เอเชียและตะวันออกกลาง และเมื่อท้ายที่สุดได้พันธมิตรใหม่แล้ว หน่วยงานราชการรวมกันจะต้องลดสัดส่วนถือหุ้นไอแบงก์เหลือ 25.5% เพื่อให้ยังมีสิทธิโต้แย้งทำงานร่วมกับพันธมิตรใหม่ได้ ปัจจุบันคลังถือหุ้น 48.5% ธนาคารออมสิน 39% ธนาคารกรุงไทย 9% และผู้ถือหุ้นรายย่อย 200 ราย ในสัดส่วน 1%
อนึ่ง ปี 57 ธนาคารขาดทุนสุทธิ 9,545 ล้านบาท ในปี 58 ผลขาดทุนสุทธิลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 4,595 ล้านบาท และล่าสุดในช่วง 9 เดือนของปีนี้ มีผลขาดทุนสุทธิ 2,186 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการกันสำรองสินเชื่อด้อยคุณภาพ ดังนั้น ในปี 60 ธนาคารเชื่อว่าผลประกอบการอย่างน้อยจะไม่ขาดทุน หลังจากคลังจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IAM) เพื่อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่ใช่ลูกค้ามุสลิมของธนาคารจำนวน 50,000 ล้านบาท ทำให้ตอนนี้ธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้น 95,000 ล้านบาท สินเชื่อประมาณ 100,000 ล้านบาท และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 2%
"การสรรหาพันธมิตรรายใหม่ยังมีผู้สนใจหลายราย แต่ต้องการคุณสมบัติเหมาะสมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินตามหลักชะรีอะห์ และมาช่วยลดข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งในส่วนตัวมองว่าน่าจะเป็นการประมูลซื้อหุ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มทุนจากคลังจนส่งผลให้เงินกองทุนไม่ติดลบ ซึ่งเป็นเรื่องที่พันธมิตรหลายรายสนใจมีความห่วงช่วงที่ผ่านมาและหนี้เสียถูกโอนไป ต่อไปจะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้ไอแบงก์ดูดีขึ้น"
**รุกสินเชื่อรายใหญ่ลดการขาดทุน**
นอกจากนี้ ธนาคารเตรียมทำหนังสือไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อขออนุญาตปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ต่อราย 200 ล้านบาทขึ้นไป จากเดิมปี 56 ธนาคารมีปัญหาค่อนข้างมาก จึงมีการห้ามปล่อยสินเชื่อกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุนในปีหน้าก็ต้องอาศัยลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งต้องพิจารณาและกระบวนการที่ดี เพราะบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรด้วย รวมถึงจะปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิกสหกรณ์อิสลาม สินเชื่ออพาร์ทเม้นท์มุสลิมและห้องพักที่มีผู้สนใจ 100 กว่าราย ปัจจุบันธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่ 60% ส่วนใหญ่หน่วยงานรัฐ และอีก 40% สินเชื่อรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการว่า กระทรวงการคลังจะเพิ่มทุนให้ไอแบงก์จำนวน 18,000 ล้านบาท เพื่อให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ 0% จากปัจจุบันติดลบ 27%ในต้นปีหน้า และในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ ไอแบงก์จะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนเท่ากับจำนวนเงินเพิ่มทุนที่ได้จากคลังให้แก่ผู้ถือหุ้นรายเดิมก่อน ซึ่งคาดว่ากระบวนการนี้จะเสร็จกลางปี 60 พร้อมทั้งเร่งหารายได้ โดยเฉพาะปล่อยกู้สินเชื่อรายใหญ่และลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะยื่นขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยกเว้นชั่วคราวให้คลังถือหุ้นได้มากกว่า 49% ในกรณีการขายหุ้นเพิ่มทุนยังเหลืออยู่ เมื่อคลังหรือหน่วยงานภายใต้คลังจะเข้าไปซื้อหุ้นเองก่อนจนกว่าจะได้พันธมิตรรายใหม่เข้ามาซื้อหุ้นได้ ซึ่งขณะนี้ยังมีผู้ที่สนใจทั้งคนไทย เอเชียและตะวันออกกลาง และเมื่อท้ายที่สุดได้พันธมิตรใหม่แล้ว หน่วยงานราชการรวมกันจะต้องลดสัดส่วนถือหุ้นไอแบงก์เหลือ 25.5% เพื่อให้ยังมีสิทธิโต้แย้งทำงานร่วมกับพันธมิตรใหม่ได้ ปัจจุบันคลังถือหุ้น 48.5% ธนาคารออมสิน 39% ธนาคารกรุงไทย 9% และผู้ถือหุ้นรายย่อย 200 ราย ในสัดส่วน 1%
อนึ่ง ปี 57 ธนาคารขาดทุนสุทธิ 9,545 ล้านบาท ในปี 58 ผลขาดทุนสุทธิลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 4,595 ล้านบาท และล่าสุดในช่วง 9 เดือนของปีนี้ มีผลขาดทุนสุทธิ 2,186 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการกันสำรองสินเชื่อด้อยคุณภาพ ดังนั้น ในปี 60 ธนาคารเชื่อว่าผลประกอบการอย่างน้อยจะไม่ขาดทุน หลังจากคลังจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IAM) เพื่อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่ใช่ลูกค้ามุสลิมของธนาคารจำนวน 50,000 ล้านบาท ทำให้ตอนนี้ธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้น 95,000 ล้านบาท สินเชื่อประมาณ 100,000 ล้านบาท และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 2%
"การสรรหาพันธมิตรรายใหม่ยังมีผู้สนใจหลายราย แต่ต้องการคุณสมบัติเหมาะสมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินตามหลักชะรีอะห์ และมาช่วยลดข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งในส่วนตัวมองว่าน่าจะเป็นการประมูลซื้อหุ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มทุนจากคลังจนส่งผลให้เงินกองทุนไม่ติดลบ ซึ่งเป็นเรื่องที่พันธมิตรหลายรายสนใจมีความห่วงช่วงที่ผ่านมาและหนี้เสียถูกโอนไป ต่อไปจะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้ไอแบงก์ดูดีขึ้น"
**รุกสินเชื่อรายใหญ่ลดการขาดทุน**
นอกจากนี้ ธนาคารเตรียมทำหนังสือไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อขออนุญาตปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ต่อราย 200 ล้านบาทขึ้นไป จากเดิมปี 56 ธนาคารมีปัญหาค่อนข้างมาก จึงมีการห้ามปล่อยสินเชื่อกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุนในปีหน้าก็ต้องอาศัยลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งต้องพิจารณาและกระบวนการที่ดี เพราะบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรด้วย รวมถึงจะปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิกสหกรณ์อิสลาม สินเชื่ออพาร์ทเม้นท์มุสลิมและห้องพักที่มีผู้สนใจ 100 กว่าราย ปัจจุบันธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่ 60% ส่วนใหญ่หน่วยงานรัฐ และอีก 40% สินเชื่อรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)