"จรัมพร"ยอมรับ รายได้การบินไทยปี 59 ไม่เข้าเป้า 1.8 แสนล้าน เหตุแข่งขันด้านราคาสูง ทำให้รายได้ต่อคนต่ำ ขณะที่ Cabin Factor ที่ 75% ไม่พอที่จะช่วยเพิ่มรายได้ แม้ภาพรวม 3ไตรมาส จะยังมีกำไร ขณะที่ประเมินไตรมาส 4/59 จะได้รับผลกระทบจากจัดระเบียบทัวร์ศูนย์เหรียญ กระทบมีผู้โดยสารจีนลดลง 25% คาดส่งผลรายได้ลดลงประมาณ 1%
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินงานในปี 2559 คงจะไม่สามารถทำรายได้ได้ตามเป้าที่วางไว้ที่ 180,000 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ต่อคนต่อกิโลเมตร (Yield) ต่ำมาก เพราะมีการแข่งขันราคาสูง ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเชื่อว่าแม้ Yield จะต่ำ แต่หากมี Cabin Factor ทั้งปีเฉลี่ยที่ 75-80% จะสามารถทำรายได้ได้ตามเป้า ซึ่งจากการคาดการณ์ Cabin Factor น่าจะอยู่ที่ 75% เท่านั้น
นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 4/2559 (ต.ค.-ธ.ค.) บริษัทฯ ยังได้รับผลกระทบจากจัดระเบียบทัวร์ศูนย์เหรียญและการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยว โดยมีผู้โดยสารจีนเป็นสัดส่วน 6% ของผู้โดยสารทั้งหมด และล่าสุดพบว่าเส้นทางสู่ประเทศจีนทั้งหมด มีผู้โดยสารลดลง 25% ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของ บริษัทฯลดลงประมาณ 1% ของรายได้รวมทั้งหมด
ส่วนความคืบหน้าในการจำหน่ายเครื่องบินที่ปลดระวางนั้น ปัจจุบันมีเครื่องบินปลดระวางที่รอจำหน่าย 15 ลำ และมีเครื่องบินที่จำหน่ายแล้ว แต่มีปัญหาต้องรับคืนมาอีก 4 ลำ รวมเป็น 19 ลำ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทาง ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ทั้งจำหน่ายและแบบให้เช่า แต่ยอมรับว่าความต้องการในตลาดขณะนี้ยังไม่สูงมากนัก พร้อมยืนยันว่าจะไม่ทำให้การบันทึกด้อยค่าเครื่องบินสูงขึ้น เนื่องจากทั้ง 19 ลำดังกล่าว มีการบันทึกด้อยค่าเกือบเต็มจำนวนแล้ว
โดยในปี 2560 มีแผนจะปรับปรุงเครื่องบินรวม 15 ลำ เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น การปรับปรุงเก้าอี้ การเพิ่มบริการ WiFi ประกอบด้วย B777-200ER 6 ลำ วงเงิน 2,800 ล้านบาท B787-8 จำนวน 6 ลำ วงเงิน 1,300 ล้านบาท และ A330-300จำนวน 3 ลำ วงเงิน 2,000 ล้านบาท และจะเริ่มนำมาให้บริการบินเส้นทางระยะไกลช่วงครึ่งปีหลัง
นอกจากนี้ในปี 2560 บริษัท มีแผนรับมอบเครื่องบิน อีก7 ลำ แบ่งเป็น B787-9 จำนวน 2 ลำ (เช่า) และA350 จำนวน 5 ลำ (ซื้อ 3 และเช่า 2) และปลดระวางอีก 2 ลำ คือ A330-300 ดังนั้นในปี 2560 จะมีฝูงบิน 99 ลำ ส่วนการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (Hedging) นั้น บริษัทฯ ได้ทำสำหรับปี 2560 แล้ว 43% และช่วงไตรมาส 1/2561 จึงจะมีการทำ Hedging ใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ การบินไทยได้ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ประจำปี 2559 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 44,126 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส3/2558 ที่มีรายได้ 44,342 ล้านบาท หรือลดลง 216 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายรวม 44,962 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 3/2558 ที่มีค่าใช้จ่าย 48,581 ล้านบาท หรือลดลง 3,619 ล้านบาท โดยขาดทุนจากการดำเนินงาน 836 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,403ล้านบาท (80.3%) และส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 1,591 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 8,303 ล้านบาท (83.9%) โดยสาเหตุหลักเนื่องจากค่าน้ำมันเครื่องบินลดลง 5,504 ล้านบาท (33.6%) จากราคาน้ำมันเฉลี่ยลดลง 15.3% และการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันได้ดีขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมันสูงขึ้น 6.7% จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
และมีค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยานเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าซ่อมเครื่องยนต์ และการส่งซ่อมอะไหล่เครื่องยนต์สูงกว่าปีก่อน ถึงแม้ว่าการยกเลิกการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมันเกือบทุกพื้นที่ ที่ทำการขายบัตรโดยสาร ทำให้รายได้ค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกินลดลง 919 ล้านบาท (2.5%) แต่รายได้ค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์เพิ่มขึ้น 189 ล้านบาท (4.3%) และรายได้การบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากทุกหน่วยธุรกิจโดยในไตรมาสนี้มีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบินจำนวน 624 ล้านบาท แต่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 120 ล้านบาท
สำหรับจำนวนผู้โดยสารไตรมาส 3/59 มีจำนวน 5.50 ล้านคน เพิ่มจากช่วงเดียวกันปี 58 ที่มีผู้โดยสาร 5.11 ล้านคน โดยมีอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย73.5 % ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีCabin Factor เฉลี่ย74.4% % และมีรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย (บาท/คน-กม.) ที่ 2.27 ต่ำกว่าปีก่อนที่มีรายได้ จากผู้โดยสาร 2.39
ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2559 กำไรสุทธิ 1,504 ล้านบาท ขณะช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดทุนถึง 18,100 ล้านบาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินงานในปี 2559 คงจะไม่สามารถทำรายได้ได้ตามเป้าที่วางไว้ที่ 180,000 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ต่อคนต่อกิโลเมตร (Yield) ต่ำมาก เพราะมีการแข่งขันราคาสูง ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเชื่อว่าแม้ Yield จะต่ำ แต่หากมี Cabin Factor ทั้งปีเฉลี่ยที่ 75-80% จะสามารถทำรายได้ได้ตามเป้า ซึ่งจากการคาดการณ์ Cabin Factor น่าจะอยู่ที่ 75% เท่านั้น
นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 4/2559 (ต.ค.-ธ.ค.) บริษัทฯ ยังได้รับผลกระทบจากจัดระเบียบทัวร์ศูนย์เหรียญและการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยว โดยมีผู้โดยสารจีนเป็นสัดส่วน 6% ของผู้โดยสารทั้งหมด และล่าสุดพบว่าเส้นทางสู่ประเทศจีนทั้งหมด มีผู้โดยสารลดลง 25% ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของ บริษัทฯลดลงประมาณ 1% ของรายได้รวมทั้งหมด
ส่วนความคืบหน้าในการจำหน่ายเครื่องบินที่ปลดระวางนั้น ปัจจุบันมีเครื่องบินปลดระวางที่รอจำหน่าย 15 ลำ และมีเครื่องบินที่จำหน่ายแล้ว แต่มีปัญหาต้องรับคืนมาอีก 4 ลำ รวมเป็น 19 ลำ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทาง ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ทั้งจำหน่ายและแบบให้เช่า แต่ยอมรับว่าความต้องการในตลาดขณะนี้ยังไม่สูงมากนัก พร้อมยืนยันว่าจะไม่ทำให้การบันทึกด้อยค่าเครื่องบินสูงขึ้น เนื่องจากทั้ง 19 ลำดังกล่าว มีการบันทึกด้อยค่าเกือบเต็มจำนวนแล้ว
โดยในปี 2560 มีแผนจะปรับปรุงเครื่องบินรวม 15 ลำ เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ เช่น การปรับปรุงเก้าอี้ การเพิ่มบริการ WiFi ประกอบด้วย B777-200ER 6 ลำ วงเงิน 2,800 ล้านบาท B787-8 จำนวน 6 ลำ วงเงิน 1,300 ล้านบาท และ A330-300จำนวน 3 ลำ วงเงิน 2,000 ล้านบาท และจะเริ่มนำมาให้บริการบินเส้นทางระยะไกลช่วงครึ่งปีหลัง
นอกจากนี้ในปี 2560 บริษัท มีแผนรับมอบเครื่องบิน อีก7 ลำ แบ่งเป็น B787-9 จำนวน 2 ลำ (เช่า) และA350 จำนวน 5 ลำ (ซื้อ 3 และเช่า 2) และปลดระวางอีก 2 ลำ คือ A330-300 ดังนั้นในปี 2560 จะมีฝูงบิน 99 ลำ ส่วนการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (Hedging) นั้น บริษัทฯ ได้ทำสำหรับปี 2560 แล้ว 43% และช่วงไตรมาส 1/2561 จึงจะมีการทำ Hedging ใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ การบินไทยได้ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ประจำปี 2559 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 44,126 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส3/2558 ที่มีรายได้ 44,342 ล้านบาท หรือลดลง 216 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายรวม 44,962 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 3/2558 ที่มีค่าใช้จ่าย 48,581 ล้านบาท หรือลดลง 3,619 ล้านบาท โดยขาดทุนจากการดำเนินงาน 836 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,403ล้านบาท (80.3%) และส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 1,591 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 8,303 ล้านบาท (83.9%) โดยสาเหตุหลักเนื่องจากค่าน้ำมันเครื่องบินลดลง 5,504 ล้านบาท (33.6%) จากราคาน้ำมันเฉลี่ยลดลง 15.3% และการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันได้ดีขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมันสูงขึ้น 6.7% จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
และมีค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยานเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าซ่อมเครื่องยนต์ และการส่งซ่อมอะไหล่เครื่องยนต์สูงกว่าปีก่อน ถึงแม้ว่าการยกเลิกการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมันเกือบทุกพื้นที่ ที่ทำการขายบัตรโดยสาร ทำให้รายได้ค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกินลดลง 919 ล้านบาท (2.5%) แต่รายได้ค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์เพิ่มขึ้น 189 ล้านบาท (4.3%) และรายได้การบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากทุกหน่วยธุรกิจโดยในไตรมาสนี้มีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบินจำนวน 624 ล้านบาท แต่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 120 ล้านบาท
สำหรับจำนวนผู้โดยสารไตรมาส 3/59 มีจำนวน 5.50 ล้านคน เพิ่มจากช่วงเดียวกันปี 58 ที่มีผู้โดยสาร 5.11 ล้านคน โดยมีอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย73.5 % ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีCabin Factor เฉลี่ย74.4% % และมีรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย (บาท/คน-กม.) ที่ 2.27 ต่ำกว่าปีก่อนที่มีรายได้ จากผู้โดยสาร 2.39
ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2559 กำไรสุทธิ 1,504 ล้านบาท ขณะช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดทุนถึง 18,100 ล้านบาท