วานนี้ (31 ต.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นว่า กรุงเทพมหานครโดยผู้อำนวยการเขตวัฒนา ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ผู้ว่าฯกทม. ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดให้ต้องปฎิบัติ กรณีปล่อยให้มีการดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยให้กลายเป็นสถานบริการซานติก้าผับ และเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 51 จึงทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จึงต้องรับผิดทางละเมิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย โดยมีคำพิพากาษาแก้ไขคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ในส่วนค่าสินไหมให้ผู้เสียหายได้รับค่าชดใช้เพิ่มมากขึ้น รวม 5,794,250.92 บาท
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นางเอสเตอร์ เยียน เชน เลาพิกานนท์ พร้อมพวกรวม 12 คน ได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อปี 2552 ขอให้ศาลมีคำสั่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นค่าขาดไร้อุปการะ ค่าเสียหายด้านจิตใจ ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาระบุว่า ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 มาตรา 41 ถึง 43 ผอ.เขตวัฒนา มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบว่า มีการดัดแปลงอาคาร หรือมีการใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ซึ่งอาคารดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคารตึก (ชั้นลอย) 1 ชั้น จำนวน 1 หลัง เพื่อการพานิชย์- พักอาศัย พื้นที่ 1,307 ตรม. ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2547 แต่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองกลับดัดแปลงอาคาร เพื่อใช้เป็นสถานบริการ โดยจากผลการตรวจสอบของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า ภายในไม่มีการจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟ ไม่มีระบบตรวจจับความร้อน และควันไฟ ไม่พบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ไม่พบระบบไฟฉุกเฉินในพื้นที่บริการ การใช้วัตดุภายในส่วนใหญ่เป็นวัสดุติดไฟง่าย มีเส้นทางปลายตัน ในพื้นที่ใช้งานมีลูกกรงเหล็กดัดอยู่ตามประตู และหน้าต่างโดยทั่วไป การดัดแปลงอาคาร และใช้อาคารดังกล่าวจึงเป็นไปโดยไม่คำนึงถึงความลอดภัย กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ อีกทั้งอาคารดังกล่าวอยู่ห่างจากสำนักงานเขตวัฒนาไม่มาก ดังนั้น ผอ.เขต ย่อมต้องทราบดีว่าอาคารดังกล่าวมีการก่อสร้างผิดไปจากที่ขออนุญาต ดังนั้นจึงถือว่า ความเสียหายของนางเอสเตอร์และพวกทั้ง 12 คน เป็นผลโดยตรงจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ ผอ.เขต ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าฯกทม. จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมแก่นางเอสเตอร์ และพวก
ส่วน ที่ศาลปกครองชั้นต้นเห็นควรให้รับผิดชดใช้ในอัตรา ร้อยละ 20 ของค่าเสียหายทั้งหมด ศาลปครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย โดยเห็นว่า กทม.ควรรับผิด ชดใช้ในอัตราร้อยละ 25 ของค่าเสียหายทั้งหมด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,794,250.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่มีคำพิพากษา
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นางเอสเตอร์ เยียน เชน เลาพิกานนท์ พร้อมพวกรวม 12 คน ได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อปี 2552 ขอให้ศาลมีคำสั่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นค่าขาดไร้อุปการะ ค่าเสียหายด้านจิตใจ ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาระบุว่า ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 มาตรา 41 ถึง 43 ผอ.เขตวัฒนา มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบว่า มีการดัดแปลงอาคาร หรือมีการใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ซึ่งอาคารดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคารตึก (ชั้นลอย) 1 ชั้น จำนวน 1 หลัง เพื่อการพานิชย์- พักอาศัย พื้นที่ 1,307 ตรม. ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2547 แต่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองกลับดัดแปลงอาคาร เพื่อใช้เป็นสถานบริการ โดยจากผลการตรวจสอบของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่า ภายในไม่มีการจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟ ไม่มีระบบตรวจจับความร้อน และควันไฟ ไม่พบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ไม่พบระบบไฟฉุกเฉินในพื้นที่บริการ การใช้วัตดุภายในส่วนใหญ่เป็นวัสดุติดไฟง่าย มีเส้นทางปลายตัน ในพื้นที่ใช้งานมีลูกกรงเหล็กดัดอยู่ตามประตู และหน้าต่างโดยทั่วไป การดัดแปลงอาคาร และใช้อาคารดังกล่าวจึงเป็นไปโดยไม่คำนึงถึงความลอดภัย กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ อีกทั้งอาคารดังกล่าวอยู่ห่างจากสำนักงานเขตวัฒนาไม่มาก ดังนั้น ผอ.เขต ย่อมต้องทราบดีว่าอาคารดังกล่าวมีการก่อสร้างผิดไปจากที่ขออนุญาต ดังนั้นจึงถือว่า ความเสียหายของนางเอสเตอร์และพวกทั้ง 12 คน เป็นผลโดยตรงจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ ผอ.เขต ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าฯกทม. จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมแก่นางเอสเตอร์ และพวก
ส่วน ที่ศาลปกครองชั้นต้นเห็นควรให้รับผิดชดใช้ในอัตรา ร้อยละ 20 ของค่าเสียหายทั้งหมด ศาลปครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย โดยเห็นว่า กทม.ควรรับผิด ชดใช้ในอัตราร้อยละ 25 ของค่าเสียหายทั้งหมด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,794,250.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่มีคำพิพากษา