“สอดแนมการเมือง”
โดย “ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”
ปลายบทความของ “รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร” กล่าวถึง “สนธิ ลิ้มทองกุล” ดังนี้..
“แม้ สนธิ ลิ้มทองกุล จะพลาดพลั้งทางธุรกิจ แต่ชีวิตก็ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมไทยจนเป็นที่ยอมรับของประชาชนจำนวนมาก หากเขาไม่เข้ามาเป็นแกนนำมวลชน ป่านนี้คงมีความสุขร่ำรวย เป็นเศรษฐี มีทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้เมียและลูกมากมายยามแก่
หากแต่สนธิเลือกจะละทิ้งความสุขสบายส่วนตัว มาเลือกทางเดินชีวิตประกอบอาชีพเป็นสื่อเพื่อมวลชน จึงได้พลิกผันชีวิตแบบ เสี่ยงภัย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ถูกลอบยิงกลางกรุงเฉียดตาย เมื่อเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ต้องขายทรัพย์สินของตนและภรรยา ต้องนำสมบัติไปจำนองเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหว และอัดฉีดให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างเสริมรับกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ต้องคดีมากมาย บางคดีข้อกล่าวโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต
สนธิตระหนักถึงความเสี่ยงสูง แต่ทว่าเขาเป็นนักสู้ที่นำมวลชนได้อย่างมีพลัง เขาเรียกร้องและเชื่อมั่นในตัวเองสูง เขาประกาศเดินหน้าชูธง มีธรรมนำหน้า ผู้นำระดับโลกอย่าง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง, เนลสัน แมนเดลา, อองซาน ซูจี ต่างมีความโดดเด่นอยู่ 3 เรื่อง คือ พรสวรรค์ความเป็นผู้นำ, รักความถูกต้องเป็นธรรม และกล้ายืนหยัดจะเปลี่ยนแปลง ทั้ง 3 เรื่องนี้มีอยู่ในตัว สนธิ ลิ้มทองกุล ครบเครื่องที่เป็นคุณลักษณะผู้นำที่ชาติต้องการคงไม่เกินเลยความจริง หากประวัติศาสตร์การเมืองไทยจะจารึกคุณค่าของ สนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะ นักปฏิวัติสังคม แบบสันติปฏิวัติ ตัวจริง เขาเป็นสื่อผู้เพาะต้นกล้าสันติปฏิวัติสังคมไทยให้เติบโตในใจผองชน วีรกรรมของเขาตราตรึงในหัวใจของประชาชนจำนวนมาก น่าจะเชื่อได้ว่าเขายังคงมุ่งมั่นทำสิ่งดีๆ ให้สังคมไทยตามอุดมการณ์และปณิธานที่ตั้งมั่น ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ หลังจากศาลสั่งจำคุกสนธิ 20 ปี ประชาชนก็ได้รับรู้เรื่องราวของครอบครัวลิ้มทองกุลมากขึ้น พ่อเดินเข้าคุกด้วยตาที่มองเห็นข้างเดียว แม่ป่วยเป็นมะเร็งอยู่ห้องไอซียู ปล่อยให้ จิตตนาถ ลิ้มทองกุล ลูกชายคนเดียวรับภาระทุกๆ เรื่อง ทุกๆ อย่าง เพื่อสืบสานปณิธานของพ่อ
หนุ่มผมยาวหน้าตาเรียบร้อยเหมือนดาราหนังกังฟูขึ้นเวทีบอกเล่าเรื่องราวที่คนและทีมงานจะต้องแบกรับเพื่อรักษานิวส์วันไว้รอผู้นำกลับมา พวกเขามั่นใจว่าจะทำได้ แม้จะไม่มีทางเป็นเหมือนสนธิได้ พร้อมฝากบอกประชาชนไม่ต้องเป็นห่วงพ่อกับแม่ คนที่น่าห่วงคือตัวเขามากกว่า จิตตนาถกล่าวย้ำว่า “...ความเข้มแข็งและปณิธานของคุณสนธินั้น ได้ถ่ายทอดอยู่ในดีเอ็นเออย่างเต็มที่อยู่แล้ว และผมก็จะทำให้ดีที่สุดตามกำลังเท่าที่มีอยู่ ในรูปแบบที่เป็นตัวผมต่อไป...”
อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจให้ ครอบครัวลิ้มทองกุล พ่อแม่-ลูก สู้ๆ ผมเชื่อว่าประชาชนจะไม่ปล่อยให้นิวส์วันจอดับแน่นอน.”
“รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร” จบบทความด้วยความเชื่อว่า ประชาชนจะไม่ปล่อยให้“เอเอสทีวี” ที่เปลี่ยนชื่อเป็น“นิวส์วัน” จอดับแน่นอน
ต้องบอกกับ “รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร” ไว้ ณ ที่นี้ว่า ชาว “นิวส์วัน” ซาบซึ้งและขอขอบคุณอย่างสูงอีกครั้งหนึ่ง
ส่วน “นิวส์วัน” จะจอดับหรือไม่นั้น เวลาจะเป็นบทพิสูจน์ศรัทธาของประชาชน ต่อสื่อของประชาชนอย่าง “นิวส์วัน” ที่เสนอข่าวตรงไปตรงมา อีกทั้งมิได้เป็นสื่อของพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น เพราะ “นิวส์วัน” มีอุดมการณ์มุ่งมั่นให้ ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ และประชาชน-มั่นคงรุ่งเรือง
เพราะ “นิวส์วัน” รายงานข่าวรวดเร็ว-ตรงประเด็น-วิเคราะห์เจาะลึก-เที่ยงธรรม ทำให้กลุ่มผลประโยชน์สีเทาและสีดำ ไม่มาลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่ “นิวส์วัน” ก็ดำรงอยู่ได้มานานกว่าสิบปี เพราะมีผู้หลักผู้ใหญ่ในชาติ และประชาชนจำนวนมากติดตามดู รวมทั้งให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องมากมาย
หลัง “สนธิลิ้ม” ต้อง “ย้ายบ้านชั่วคราว” จาก “บ้านพระอาทิตย์” ไปสู่ “บ้านคลองเปรม” หนึ่งในสื่อเครือ “ผู้จัดการ” อย่าง “นิวส์วัน” จึงอยู่ภายใต้การคุมบังเหียนของ “จิตตนาถ ลิ้มทองกุล” ลูกชายของ “สนธิลิ้ม”
“นิวส์วัน” จะยืนหยัดบนถนนสายสื่อฯ ได้ต่อไป หรือจะต้องปิดตัวไปเฉกเช่นสื่ออื่นๆ ต้องให้เวลาเป็นบทพิสูจน์ครับ
คราวนี้มาถึงเรื่องราว “สนธิลิ้ม”ชีวิตที่“คุ้มค่ามนุษย์” ซึ่งต้องเน้นไว้ ณ ที่นี้ว่า “สนธิลิ้ม” ในมุมมองที่ “ผม-ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย ”รู้จักเท่านั้นนะครับ
ผมรู้จัก “สนธิลิ้ม” หลังเหตุการณ์“14 ตุลาคม 2516” โดยช่วงหลังเหตุการณ์ “6 ตุลาคม 2519” ผมได้ “เข้าป่าจับปืน” ร่วมทำการ “ปฏิวัติชาติไทย” ในเขตป่าเขากับ “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)”
ภายหลังที่นายกฯ “ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช” กับ “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” รมต.ต่างประเทศของไทย เปิดความสัมพันธ์กับประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ในยุคนายกฯ “โจว เอินไหล” และประธาน “เหมา เจ๋อตง” ส่งผลให้ พคท.เริ่มอ่อนแอลง เพราะการหนุนช่วยจากรัฐบาลจีน ที่ให้กับ พคท.ลดลงเรื่อยๆ จนถึงขนาด “วิทยุ สปท.” ของ พคท.ในจีนต้องปิดตัวลง
แถมรัฐบาลยุค “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” หรือ “ป๋าเปรม” ยังรุกฆาตด้วย “นโยบาย 66/2523” จน พคท.ยิ่งอ่อนยวบลง กว่าหกปีที่รอนแรมในป่าเขา ในที่สุดผมก็เป็น “เจ้านกขุนทอง” รายท้ายๆ ที่บินออกจากป่าหวนคืนสู่เมือง ก่อนที่ “พคท.” จะค่อยๆฝ่อลงๆ เหลือแค่ “ตำนาน” ในหน้าประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้น
วันหนึ่ง..ผมได้มาทำงานกับ “อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ” และได้พบกับ “มิสเตอร์ฟามเนียน” ซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองของสถานทูตเวียดนาม ที่มักแวะมาเยี่ยม “จารย์โต้ง” อยู่บ่อยครั้ง ในการพูดคุยครั้งหนึ่ง “จารย์โต้ง” กับผมเสนอต่อ “ฟามเนียน” เพื่อเป็นตัวแทนจัดพิมพ์หนังสือเรื่องและรูปของ “สงครามเดียนเบียนฟู” ออกวางขายยังต่างประเทศ
นั่นทำให้ผมได้ไปพบกับ “สนธิลิ้ม” ผู้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ “ผู้จัดการ” โดย “สนธิลิ้ม” ได้กลายเป็นเศรษฐีไปแล้ว เพื่อนัดหมาย “จารย์โต้ง” ให้เจอกับ “สนธิลิ้ม” เป็นเจ้าภาพพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ “เดียนเบียนฟู”
แต่โครงการนี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะ “ฟามเนียน” กลับบอกว่า เรื่องขอลิขสิทธิ์พิมพ์หนังสือ “เดียนเบียนฟู” นั้น ไม่ขัดข้องถ้า “จารย์โต้ง-จะทำ” แต่หนังสือเป็นธุรกิจที่ทำเงินไม่ได้ ดังนั้น ทางรัฐบาลเวียดนามเป็นห่วงว่า “จารย์โต้ง-จะขาดทุน” โดย “ฟามเนียน” ได้เสนอว่า
“ทำไมจารย์โต้งกับผมไม่มาทำธุรกิจกับเวียดนาม อย่างเป็นเรื่องเป็นราวล่ะ?” โดยรัฐบาลเวียดนามจะให้การสนับสนุน “จารย์โต้ง” กับผมอย่างเต็มที่
“จารย์โต้ง” กับผมทำธุรกิจไม่เป็น ผมจึงเสนอเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ที่ชื่อ “พีรพล ตริยะเกษม” อดีตนายกฯ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งขณะนั้นทำงานบริหารโรงพิมพ์เอกชนแห่งหนึ่ง
“จารย์โต้ง”กับผม บอกกับ “ฟามเนียน” ว่า “ท่านช่วยเพื่อนเราคนนี้ทำธุรกิจในเวียดนาม ก็เท่ากับช่วยพวกเรานั่นแหละ”
หลัง “พีรพล” ได้พบกับ “ฟามเนียน” “พีรพล” ก็เดินทางลุยเวียดนามอย่างต่อเนื่อง แต่การทำธุรกิจในเวียดนามมิได้ง่ายเหมือน “ปอกกล้วยเข้าปาก” “พีรพล” ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย
จนบางครั้งบางเรื่อง “จารย์โต้ง” กับผม ต้องจับเข่านั่งคุยกับ “ฟามเนียน” เพื่อแอบแก้ปัญหาให้กับ “พีรพล” อย่างเงียบๆ ผมได้เดินทางไปเวียดนามหลายครั้งหลายครา เพื่อทำงานกับ “พีรพล” และกลับมาเล่าความคืบหน้าของ “พีรพล” ที่ผมได้เห็นและสรุปให้ “จารย์โต้ง” ได้รับรู้ว่า
ความกล้า-ความอดทน-ความสามารถเฉพาะตัว กับเครือข่ายของ “พีรพล” ไปได้ดีทีเดียว จึงเชื่อได้ว่า “พีรพล” คงฝ่าฟันผ่านอุปสรรคได้ และ “พีรพล” ต้องเป็นหนึ่งในคนไทยยุคแรกๆ ที่จะบุกเบิกธุรกิจในเวียดนามได้อย่างน่าทึ่งแน่นอน
ด้วยบ้าน “จารย์โต้ง” อยู่ในรั้วเดียวกับบ้าน “น้าชาติ” ทำให้ “ผม-จารย์โต้ง-ฟามเนียน” ได้เจอกับ “น้าชาติ” หลายครั้ง และหลายคราที่ “น้าชาติ” ได้แวะมาพุดคุย เรื่องราวทางการเมืองอย่างออกรส
จนกระทั่ง“น้าชาติ-พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 17..
(ติดตามตอนต่อไป ฉบับหน้า)
โดย “ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”
ปลายบทความของ “รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร” กล่าวถึง “สนธิ ลิ้มทองกุล” ดังนี้..
“แม้ สนธิ ลิ้มทองกุล จะพลาดพลั้งทางธุรกิจ แต่ชีวิตก็ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมไทยจนเป็นที่ยอมรับของประชาชนจำนวนมาก หากเขาไม่เข้ามาเป็นแกนนำมวลชน ป่านนี้คงมีความสุขร่ำรวย เป็นเศรษฐี มีทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้เมียและลูกมากมายยามแก่
หากแต่สนธิเลือกจะละทิ้งความสุขสบายส่วนตัว มาเลือกทางเดินชีวิตประกอบอาชีพเป็นสื่อเพื่อมวลชน จึงได้พลิกผันชีวิตแบบ เสี่ยงภัย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ถูกลอบยิงกลางกรุงเฉียดตาย เมื่อเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ต้องขายทรัพย์สินของตนและภรรยา ต้องนำสมบัติไปจำนองเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหว และอัดฉีดให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างเสริมรับกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ต้องคดีมากมาย บางคดีข้อกล่าวโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต
สนธิตระหนักถึงความเสี่ยงสูง แต่ทว่าเขาเป็นนักสู้ที่นำมวลชนได้อย่างมีพลัง เขาเรียกร้องและเชื่อมั่นในตัวเองสูง เขาประกาศเดินหน้าชูธง มีธรรมนำหน้า ผู้นำระดับโลกอย่าง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง, เนลสัน แมนเดลา, อองซาน ซูจี ต่างมีความโดดเด่นอยู่ 3 เรื่อง คือ พรสวรรค์ความเป็นผู้นำ, รักความถูกต้องเป็นธรรม และกล้ายืนหยัดจะเปลี่ยนแปลง ทั้ง 3 เรื่องนี้มีอยู่ในตัว สนธิ ลิ้มทองกุล ครบเครื่องที่เป็นคุณลักษณะผู้นำที่ชาติต้องการคงไม่เกินเลยความจริง หากประวัติศาสตร์การเมืองไทยจะจารึกคุณค่าของ สนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะ นักปฏิวัติสังคม แบบสันติปฏิวัติ ตัวจริง เขาเป็นสื่อผู้เพาะต้นกล้าสันติปฏิวัติสังคมไทยให้เติบโตในใจผองชน วีรกรรมของเขาตราตรึงในหัวใจของประชาชนจำนวนมาก น่าจะเชื่อได้ว่าเขายังคงมุ่งมั่นทำสิ่งดีๆ ให้สังคมไทยตามอุดมการณ์และปณิธานที่ตั้งมั่น ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ หลังจากศาลสั่งจำคุกสนธิ 20 ปี ประชาชนก็ได้รับรู้เรื่องราวของครอบครัวลิ้มทองกุลมากขึ้น พ่อเดินเข้าคุกด้วยตาที่มองเห็นข้างเดียว แม่ป่วยเป็นมะเร็งอยู่ห้องไอซียู ปล่อยให้ จิตตนาถ ลิ้มทองกุล ลูกชายคนเดียวรับภาระทุกๆ เรื่อง ทุกๆ อย่าง เพื่อสืบสานปณิธานของพ่อ
หนุ่มผมยาวหน้าตาเรียบร้อยเหมือนดาราหนังกังฟูขึ้นเวทีบอกเล่าเรื่องราวที่คนและทีมงานจะต้องแบกรับเพื่อรักษานิวส์วันไว้รอผู้นำกลับมา พวกเขามั่นใจว่าจะทำได้ แม้จะไม่มีทางเป็นเหมือนสนธิได้ พร้อมฝากบอกประชาชนไม่ต้องเป็นห่วงพ่อกับแม่ คนที่น่าห่วงคือตัวเขามากกว่า จิตตนาถกล่าวย้ำว่า “...ความเข้มแข็งและปณิธานของคุณสนธินั้น ได้ถ่ายทอดอยู่ในดีเอ็นเออย่างเต็มที่อยู่แล้ว และผมก็จะทำให้ดีที่สุดตามกำลังเท่าที่มีอยู่ ในรูปแบบที่เป็นตัวผมต่อไป...”
อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจให้ ครอบครัวลิ้มทองกุล พ่อแม่-ลูก สู้ๆ ผมเชื่อว่าประชาชนจะไม่ปล่อยให้นิวส์วันจอดับแน่นอน.”
“รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร” จบบทความด้วยความเชื่อว่า ประชาชนจะไม่ปล่อยให้“เอเอสทีวี” ที่เปลี่ยนชื่อเป็น“นิวส์วัน” จอดับแน่นอน
ต้องบอกกับ “รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร” ไว้ ณ ที่นี้ว่า ชาว “นิวส์วัน” ซาบซึ้งและขอขอบคุณอย่างสูงอีกครั้งหนึ่ง
ส่วน “นิวส์วัน” จะจอดับหรือไม่นั้น เวลาจะเป็นบทพิสูจน์ศรัทธาของประชาชน ต่อสื่อของประชาชนอย่าง “นิวส์วัน” ที่เสนอข่าวตรงไปตรงมา อีกทั้งมิได้เป็นสื่อของพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น เพราะ “นิวส์วัน” มีอุดมการณ์มุ่งมั่นให้ ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ และประชาชน-มั่นคงรุ่งเรือง
เพราะ “นิวส์วัน” รายงานข่าวรวดเร็ว-ตรงประเด็น-วิเคราะห์เจาะลึก-เที่ยงธรรม ทำให้กลุ่มผลประโยชน์สีเทาและสีดำ ไม่มาลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่ “นิวส์วัน” ก็ดำรงอยู่ได้มานานกว่าสิบปี เพราะมีผู้หลักผู้ใหญ่ในชาติ และประชาชนจำนวนมากติดตามดู รวมทั้งให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องมากมาย
หลัง “สนธิลิ้ม” ต้อง “ย้ายบ้านชั่วคราว” จาก “บ้านพระอาทิตย์” ไปสู่ “บ้านคลองเปรม” หนึ่งในสื่อเครือ “ผู้จัดการ” อย่าง “นิวส์วัน” จึงอยู่ภายใต้การคุมบังเหียนของ “จิตตนาถ ลิ้มทองกุล” ลูกชายของ “สนธิลิ้ม”
“นิวส์วัน” จะยืนหยัดบนถนนสายสื่อฯ ได้ต่อไป หรือจะต้องปิดตัวไปเฉกเช่นสื่ออื่นๆ ต้องให้เวลาเป็นบทพิสูจน์ครับ
คราวนี้มาถึงเรื่องราว “สนธิลิ้ม”ชีวิตที่“คุ้มค่ามนุษย์” ซึ่งต้องเน้นไว้ ณ ที่นี้ว่า “สนธิลิ้ม” ในมุมมองที่ “ผม-ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย ”รู้จักเท่านั้นนะครับ
ผมรู้จัก “สนธิลิ้ม” หลังเหตุการณ์“14 ตุลาคม 2516” โดยช่วงหลังเหตุการณ์ “6 ตุลาคม 2519” ผมได้ “เข้าป่าจับปืน” ร่วมทำการ “ปฏิวัติชาติไทย” ในเขตป่าเขากับ “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)”
ภายหลังที่นายกฯ “ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช” กับ “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” รมต.ต่างประเทศของไทย เปิดความสัมพันธ์กับประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ในยุคนายกฯ “โจว เอินไหล” และประธาน “เหมา เจ๋อตง” ส่งผลให้ พคท.เริ่มอ่อนแอลง เพราะการหนุนช่วยจากรัฐบาลจีน ที่ให้กับ พคท.ลดลงเรื่อยๆ จนถึงขนาด “วิทยุ สปท.” ของ พคท.ในจีนต้องปิดตัวลง
แถมรัฐบาลยุค “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” หรือ “ป๋าเปรม” ยังรุกฆาตด้วย “นโยบาย 66/2523” จน พคท.ยิ่งอ่อนยวบลง กว่าหกปีที่รอนแรมในป่าเขา ในที่สุดผมก็เป็น “เจ้านกขุนทอง” รายท้ายๆ ที่บินออกจากป่าหวนคืนสู่เมือง ก่อนที่ “พคท.” จะค่อยๆฝ่อลงๆ เหลือแค่ “ตำนาน” ในหน้าประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้น
วันหนึ่ง..ผมได้มาทำงานกับ “อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ” และได้พบกับ “มิสเตอร์ฟามเนียน” ซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองของสถานทูตเวียดนาม ที่มักแวะมาเยี่ยม “จารย์โต้ง” อยู่บ่อยครั้ง ในการพูดคุยครั้งหนึ่ง “จารย์โต้ง” กับผมเสนอต่อ “ฟามเนียน” เพื่อเป็นตัวแทนจัดพิมพ์หนังสือเรื่องและรูปของ “สงครามเดียนเบียนฟู” ออกวางขายยังต่างประเทศ
นั่นทำให้ผมได้ไปพบกับ “สนธิลิ้ม” ผู้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ “ผู้จัดการ” โดย “สนธิลิ้ม” ได้กลายเป็นเศรษฐีไปแล้ว เพื่อนัดหมาย “จารย์โต้ง” ให้เจอกับ “สนธิลิ้ม” เป็นเจ้าภาพพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ “เดียนเบียนฟู”
แต่โครงการนี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะ “ฟามเนียน” กลับบอกว่า เรื่องขอลิขสิทธิ์พิมพ์หนังสือ “เดียนเบียนฟู” นั้น ไม่ขัดข้องถ้า “จารย์โต้ง-จะทำ” แต่หนังสือเป็นธุรกิจที่ทำเงินไม่ได้ ดังนั้น ทางรัฐบาลเวียดนามเป็นห่วงว่า “จารย์โต้ง-จะขาดทุน” โดย “ฟามเนียน” ได้เสนอว่า
“ทำไมจารย์โต้งกับผมไม่มาทำธุรกิจกับเวียดนาม อย่างเป็นเรื่องเป็นราวล่ะ?” โดยรัฐบาลเวียดนามจะให้การสนับสนุน “จารย์โต้ง” กับผมอย่างเต็มที่
“จารย์โต้ง” กับผมทำธุรกิจไม่เป็น ผมจึงเสนอเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ที่ชื่อ “พีรพล ตริยะเกษม” อดีตนายกฯ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งขณะนั้นทำงานบริหารโรงพิมพ์เอกชนแห่งหนึ่ง
“จารย์โต้ง”กับผม บอกกับ “ฟามเนียน” ว่า “ท่านช่วยเพื่อนเราคนนี้ทำธุรกิจในเวียดนาม ก็เท่ากับช่วยพวกเรานั่นแหละ”
หลัง “พีรพล” ได้พบกับ “ฟามเนียน” “พีรพล” ก็เดินทางลุยเวียดนามอย่างต่อเนื่อง แต่การทำธุรกิจในเวียดนามมิได้ง่ายเหมือน “ปอกกล้วยเข้าปาก” “พีรพล” ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย
จนบางครั้งบางเรื่อง “จารย์โต้ง” กับผม ต้องจับเข่านั่งคุยกับ “ฟามเนียน” เพื่อแอบแก้ปัญหาให้กับ “พีรพล” อย่างเงียบๆ ผมได้เดินทางไปเวียดนามหลายครั้งหลายครา เพื่อทำงานกับ “พีรพล” และกลับมาเล่าความคืบหน้าของ “พีรพล” ที่ผมได้เห็นและสรุปให้ “จารย์โต้ง” ได้รับรู้ว่า
ความกล้า-ความอดทน-ความสามารถเฉพาะตัว กับเครือข่ายของ “พีรพล” ไปได้ดีทีเดียว จึงเชื่อได้ว่า “พีรพล” คงฝ่าฟันผ่านอุปสรรคได้ และ “พีรพล” ต้องเป็นหนึ่งในคนไทยยุคแรกๆ ที่จะบุกเบิกธุรกิจในเวียดนามได้อย่างน่าทึ่งแน่นอน
ด้วยบ้าน “จารย์โต้ง” อยู่ในรั้วเดียวกับบ้าน “น้าชาติ” ทำให้ “ผม-จารย์โต้ง-ฟามเนียน” ได้เจอกับ “น้าชาติ” หลายครั้ง และหลายคราที่ “น้าชาติ” ได้แวะมาพุดคุย เรื่องราวทางการเมืองอย่างออกรส
จนกระทั่ง“น้าชาติ-พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 17..
(ติดตามตอนต่อไป ฉบับหน้า)