เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมเป็นมัคคุเทศก์อาสาพาหลานๆ ไปชมย่านชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งซึ่งชื่อว่า “อามิช” ในรัฐเพนซิลวาเนีย ย่านนี้มีแรงดึงดูดใจให้ผมพาญาติมิตรไปชมหลายครั้งเนื่องจากชาวอามิชดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม อันเป็นคนละขั้วกับชาวอเมริกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการไม่ใช้ไฟฟ้า หรือยังใช้ม้าลากไถอันเป็นเทคโนโลยีที่ตกสมัยไปหลายร้อยปีแล้ว หลังไปที่นั่นเมื่อปี 2544 ผมเขียนหนังสือออกมาชื่อ “อเมริกาที่ยังใช้ม้าเทียมไถ” ซึ่งตอนนี้ดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา (www.bannareader.com) การไปที่นั่นครั้งล่าสุดมิได้เห็นอะไรแปลกใหม่ แต่ก็ทำให้สุขตาสุขใจและคิดถึงเมืองไทยเช่นเคย การที่ชาวอามิชไม่ใช้ไฟฟ้าและยังใช้ม้าลากไถทำให้คนส่วนใหญ่มองพวกเขาว่าล้าสมัยแบบตกขอบ แต่หากคิดอย่างรอบคอบอาจสรุปออกมาแบบตรงข้ามก็ได้
ชาวอามิชมีที่มาจากความแตกแยกทางความคิดและแนวปฏิบัติของศาสนาคริสต์ในยุโรปเมื่อหลายร้อยปีก่อน ในตอนนั้น พระผู้ใหญ่ในนิกายโรมันคาทอลิกรวมหัวกับฝ่ายอาณาจักรควบคุมวิถีชีวิตและความคิดของชาวยุโรปแบบแทบจะผูกขาด ในหลายๆ กรณี พวกเขาใช้วิธีโหดเหี้ยมทำโทษผู้เห็นต่างรวมทั้งการจับเผาทั้งเป็น ความโหดเหี้ยมเช่นนั้นมีผู้ต่อต้านซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกในศาสนาคริสต์จนเกิดนิกายใหม่รวมทั้งนิกายโปรเตสแตนต์ บรรพบุรุษของชาวอามิชเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นต่างจึงถูกกดขี่จนต้องหนีตาย ทางหนึ่งได้แก่การหลบหนีไปอยู่ในถิ่นห่างไกลรวมทั้งในอเมริกา การทำเช่นนั้นต้องอาศัยความสามารถในการผลิตอาหาร และปัจจัยพื้นฐานด้วยการร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในกลุ่มจึงอยู่รอด ด้วยเหตุนี้ ชาวอามิชจึงได้รับการยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญไม่เป็นรองใครในด้านการทำเกษตรอินทรีย์แบบไร่นาสวนผสม
ช่วงนั้นเป็นเวลาก่อนการเกิดเครื่องจักรกลอันเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ไฟฟ้ามากับเทคโนโลยีใหม่เช่นเดียวกับรถไถนา ชาวอามิชมองว่าพวกเขาผลิตไฟฟ้าและรถไถนาเองไม่ได้ หากต้องการใช้ จะต้องอาศัยผู้อยู่ภายนอกกลุ่มของตนอันเป็นการละเมิดหลักการเบื้องต้นของการพึ่งตนเอง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ทั้งในส่วนที่เกิดในยุคอุตสาหกรรมและในยุคต่อมาไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี พวกเขาอาจใช้สิ่งเหล่านี้ในการทำธุรกิจบางชนิด แต่จะไม่ใช้ภายในบ้าน นอกจากนั้น ยังมีชาวอามิชหลายกลุ่มซึ่งไม่เข้มงวดมากนัก พวกเขาจึงเลือกใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยหลายอย่าง
ในปัจจุบัน ชาวอามิชที่ดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดมีอยู่ราว 3 แสนคน ส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในอเมริกาเหนือ รัฐเพนซิลวาเนียมีชุมชนอามิชมากและเก่าแก่ที่สุด ย่านที่มีชุมชนอามิชหนาแน่นและเป็นที่นิยมของผู้ไปดูวิถีชีวิตของพวกเขาได้แก่รอบๆ เมืองแลงคาสเตอร์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปทางเหนือไม่ถึง 200 กม. สิ่งแรกซึ่งแปลกตาเมื่อเราเดินทางเข้าไปในย่านอามิชได้แก่รถม้าซึ่งวิ่งสวนทางมา หรือไม่รถยนต์ของเราก็ตามไปทัน เนื่องจากชาวอามิชไม่ใช้เครื่องจักรกล พวกเขาจึงไม่ใช้รถยนต์อันเป็นยานพาหนะหลักของชาวอเมริกันมาเป็นเวลานาน รถม้าเป็นพาหนะหลักที่ชาวอามิชใช้ในหมู่บ้านและในการไปเยี่ยมเยือนชุมชนใกล้เคียง เวลาไปไหนไกลๆ พวกเขาอาจใช้รถโดยสาร หรือเครื่องบินเช่นเดียวกับเรา แต่ตามธรรมดาพวกเขาไม่ค่อยเดินทางไปไหนไกลๆ นอกจากมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
เนื่องจากเราไปที่นั่นในวันอาทิตย์ ร้านรวงในใจกลางย่านอามิชจึงปิดเกือบหมด โรงเรียนและกิจการต่างๆ รวมทั้งงานในไร่ในนาก็หยุด ตามปกติ แม้จะเคร่งในคำสอนของศาสนาคริสต์และหยุดทำงานในวันอาทิตย์ แต่ชาวอามิชจะไปฟังพระเทศน์อาทิตย์เว้นอาทิตย์เท่านั้น สิ่งที่ต่างกับศาสนาส่วนใหญ่โดยเฉพาะศาสนาพุทธในเมืองไทยคือ ชาวอามิชไม่มีสถานที่ซึ่งเรียกว่า “วัด” และอาคารขนาดใหญ่ที่เรียกกว่า “โบสถ์” หรือ “สุเหร่า” พวกเขาจัดบริเวณบ้าน หรือโรงนาเป็น “โบสถ์” ชั่วคราวขึ้นเพื่อร่วมกันฟังเทศน์ สมาชิกในกลุ่มจะผลัดเปลี่ยนกันใช้บ้าน หรือโรงนาของตนเป็นสถานที่ดังกล่าว ชาวอามิชไม่เชื่อในเรื่องการใช้ทรัพยากรมหาศาล เพื่อการก่อสร้างทางศาสนา นอกจากจะไม่มีอาคารและบริเวณวัดถาวรแล้ว พวกเขายังไม่สร้างวัตถุจำพวกรูปปั้นและรูปภาพของศาสดาและสัญลักษณ์จำพวกไม้กางเขนอีกด้วย พวกเขามองว่าการใช้จ่ายเพื่อสร้างสิ่งเหล่านั้นเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากผลดีที่ได้จากศาสนาและการบูชาองค์ศาสดามิได้มาจากสิ่งเหล่านั้น หากมาจากการเข้าใจและดำเนินชีวิตไปตามคำสอนของศาสดาอย่างเคร่งครัด
ทุกครั้งที่ผมเห็นและนึกถึงชาวอามิชจึงอดคิดถึงชาวพุทธไทยได้ คิดทีไรก็มีคำถามอยู่ในใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรมหาศาลทุกปีเพื่อสร้างวัตถุต่างๆ รวมทั้งอาคารและพุทธรูปจำพวกใหญ่ที่สุดในโลก แต่ผู้อ้างว่าตนเป็นพุทธศาสนิกชนกลับละเมิดศีล 5 ไม่เว้นแต่ละวัน ผมมองว่าควรจะแบ่งปันทรัพยากรมหาศาลนั้นไปใช้ทำอย่างอื่นบ้างจะดีกว่า โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของเยาวชน
เมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษาของเยาวชนก็ต้องพูดถึงแนวคิดของชาวอามิช ซึ่งโดยทั่วไปมักถูกมองว่าล้าสมัยแบบตกขอบเช่นเดียวกับการไม่ใช้เครื่องจักรกล ชาวอามิชมองว่าการศึกษาส่วนใหญ่เกิดในครอบครัว ฉะนั้น พวกเขาต่างกับสังคมอเมริกันโดยสิ้นเชิงอเนื่องจากเยาวชนอามิชจะได้รับการศึกษาในสถาบันเพียง 8 ปีเท่านั้น โดยการเรียนในโรงเรียนของชุมชนซึ่งประกอบด้วยสมาชิกราว 30 ครอบครัว โรงเรียนของเขาเป็นอาคารชั้นเดียวแบบโล่งๆ เพื่อให้ทุกชั้นเรียนในห้องเดียวกันหมดโดยมีครูและครูผู้ช่วยเป็นผู้สอน ย้อนไปหลายทศวรรษ ชาวอามิชต้องต่อสู้กับรัฐบาลอยู่นานก่อนที่รัฐบาลจะยอมยกเว้นให้เยาวชนอามิชไม่ต้องเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี
หลังจากเรียนจบ 8 ปีแล้ว เยาวชนจะออกไปเรียนวิชาชีพต่อกับพ่อแม่ หรือไม่ก็ฝึกงานกับผู้อื่นในชุมชนอามิชด้วยกัน รวมทั้งการทำไร่ทำนาและวิชาช่างต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนจนกว่าอายุจะเข้าวัยผู้ใหญ่ เมื่อถึงเวลานั้น เยาวชนจะมีโอกาสเลือกว่าจะดำเนินชีวิตแบบอามิชต่อไปหรือไม่ หากเลือกไม่เป็นอามิชก็จะต้องออกจากบ้านไปทำงานและอาศัยอยู่ในชุมชนอื่น สถิติบ่งว่าเยาวชนอามิชราว 25% เลือกที่จะไม่ดำเนินชีวิตตามแนวอามิชแบบดั้งเดิมต่อไป
ชาวอามิชมองว่าการศึกษาในโรงเรียน 8 ปีซึ่งครอบคลุมวิชาพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนนั้นเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้ การเรียนสูงขึ้นไปรังแต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองและสนับสนุนให้ผู้เรียนมุ่งแข่งขันกันรู้สึกแตกต่างจากผู้อื่น เกิดความทระนง หรือหยิ่งยโสซึ่งนำไปสู่ความแตกแยกในชุมชนของตน พวกเขาพยายามทุกอย่างที่จะป้องกันมิให้สมาชิกรู้สึกแตกต่างอันจะนำไปสู่ความแตกสามัคคี ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงแต่งตัวคล้ายกันมากจากการตัดเย็บเสื้อผ้าแบบง่ายๆ และใช้ผ้าสีพื้นๆ ที่ปราศจากลวดลายจนอาจเรียกได้ว่าสวมเครื่องแบบของชุมชน สตรีจะไม่มีการตกแต่งหน้า ทาตา หรือทาคิ้วและปากด้วยสีต่างๆ นอกจากนั้น ยังไม่มีการผ่าตัดเสริมส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นดั้งจมูกหรือเต้านม พวกเขาเข้าใจดีว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นการหลอกตัวเองและผู้อื่น พร้อมทั้งนำไปสู่ความสิ้นเปลืองและความแตกแยก
เรื่องราวของชาวอามิชยังมีอีกมากมายและอาจมองได้จากหลายแง่มุม ซึ่งอาจหาอ่านได้ในเอกสารและหนังสือจำนวนมาก นอกจากหนังสือเล่มเล็กๆ ของผมที่อ้างถึงแล้ว มีบทคัดย่อภาษาไทยของหนังสืออีก 2 เรื่องซึ่งดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาคือ เรื่อง Better Off: Flipping the Switch on Technology ของ Eric Brende และเรื่อง Success Made Simple: An Insider Look at Why Amish Business Thrive ของ Erik Wesner ใครไม่ต้องการอ่าน แต่ต้องการดูภาพยนตร์สนุกๆ ที่มีเรื่องราวของชาวอามิชรวมอยู่ด้วยอาจดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตเรื่อง Witness มาดู เรื่องนี้มีดาราจอมบู๊ Harrison Ford แสดงนำฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแสดงนำโดยดาราตาโต Kelly McGillis
สำหรับผมเองหลังได้ศึกษาและไปเห็นการดำเนินชีวิตของชาวอามิชมาหลายครั้ง ผมยังยืนยันว่าน่าสนใจและหลายอย่างควรนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะการนำมาพิจารณาเพื่อแสวงหา “ทางสายกลาง”
หากเรายึดหลักว่าความปรารถนาสูงสุดของชีวิตคือความสุข ชาวอามิชมีความสุขไม่น้อยกว่าชาวอเมริกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะพวกเขามีปัจจัยพื้นฐานครบถ้วน ได้อยู่ใกล้ธรรมชาติ มีอากาศบริสุทธิ์หายใจ ได้ออกกำลังกายเป็นประจำจากการทำไร่ไถนาและมีความอบอุ่นมากจากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในครอบครัวและในชุมชน แน่ละ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นภูมิปัญญาของชาติไทยแล้ว แต่น่าเสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ดูจะมองว่าล้าสมัย เพราะตนไม่เข้าใจทั้งในแนวคิดและในบริบทของโลกอย่างแท้จริง
ชาวอามิชมีที่มาจากความแตกแยกทางความคิดและแนวปฏิบัติของศาสนาคริสต์ในยุโรปเมื่อหลายร้อยปีก่อน ในตอนนั้น พระผู้ใหญ่ในนิกายโรมันคาทอลิกรวมหัวกับฝ่ายอาณาจักรควบคุมวิถีชีวิตและความคิดของชาวยุโรปแบบแทบจะผูกขาด ในหลายๆ กรณี พวกเขาใช้วิธีโหดเหี้ยมทำโทษผู้เห็นต่างรวมทั้งการจับเผาทั้งเป็น ความโหดเหี้ยมเช่นนั้นมีผู้ต่อต้านซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกในศาสนาคริสต์จนเกิดนิกายใหม่รวมทั้งนิกายโปรเตสแตนต์ บรรพบุรุษของชาวอามิชเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นต่างจึงถูกกดขี่จนต้องหนีตาย ทางหนึ่งได้แก่การหลบหนีไปอยู่ในถิ่นห่างไกลรวมทั้งในอเมริกา การทำเช่นนั้นต้องอาศัยความสามารถในการผลิตอาหาร และปัจจัยพื้นฐานด้วยการร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในกลุ่มจึงอยู่รอด ด้วยเหตุนี้ ชาวอามิชจึงได้รับการยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญไม่เป็นรองใครในด้านการทำเกษตรอินทรีย์แบบไร่นาสวนผสม
ช่วงนั้นเป็นเวลาก่อนการเกิดเครื่องจักรกลอันเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ไฟฟ้ามากับเทคโนโลยีใหม่เช่นเดียวกับรถไถนา ชาวอามิชมองว่าพวกเขาผลิตไฟฟ้าและรถไถนาเองไม่ได้ หากต้องการใช้ จะต้องอาศัยผู้อยู่ภายนอกกลุ่มของตนอันเป็นการละเมิดหลักการเบื้องต้นของการพึ่งตนเอง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ทั้งในส่วนที่เกิดในยุคอุตสาหกรรมและในยุคต่อมาไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี พวกเขาอาจใช้สิ่งเหล่านี้ในการทำธุรกิจบางชนิด แต่จะไม่ใช้ภายในบ้าน นอกจากนั้น ยังมีชาวอามิชหลายกลุ่มซึ่งไม่เข้มงวดมากนัก พวกเขาจึงเลือกใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยหลายอย่าง
ในปัจจุบัน ชาวอามิชที่ดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดมีอยู่ราว 3 แสนคน ส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในอเมริกาเหนือ รัฐเพนซิลวาเนียมีชุมชนอามิชมากและเก่าแก่ที่สุด ย่านที่มีชุมชนอามิชหนาแน่นและเป็นที่นิยมของผู้ไปดูวิถีชีวิตของพวกเขาได้แก่รอบๆ เมืองแลงคาสเตอร์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปทางเหนือไม่ถึง 200 กม. สิ่งแรกซึ่งแปลกตาเมื่อเราเดินทางเข้าไปในย่านอามิชได้แก่รถม้าซึ่งวิ่งสวนทางมา หรือไม่รถยนต์ของเราก็ตามไปทัน เนื่องจากชาวอามิชไม่ใช้เครื่องจักรกล พวกเขาจึงไม่ใช้รถยนต์อันเป็นยานพาหนะหลักของชาวอเมริกันมาเป็นเวลานาน รถม้าเป็นพาหนะหลักที่ชาวอามิชใช้ในหมู่บ้านและในการไปเยี่ยมเยือนชุมชนใกล้เคียง เวลาไปไหนไกลๆ พวกเขาอาจใช้รถโดยสาร หรือเครื่องบินเช่นเดียวกับเรา แต่ตามธรรมดาพวกเขาไม่ค่อยเดินทางไปไหนไกลๆ นอกจากมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
เนื่องจากเราไปที่นั่นในวันอาทิตย์ ร้านรวงในใจกลางย่านอามิชจึงปิดเกือบหมด โรงเรียนและกิจการต่างๆ รวมทั้งงานในไร่ในนาก็หยุด ตามปกติ แม้จะเคร่งในคำสอนของศาสนาคริสต์และหยุดทำงานในวันอาทิตย์ แต่ชาวอามิชจะไปฟังพระเทศน์อาทิตย์เว้นอาทิตย์เท่านั้น สิ่งที่ต่างกับศาสนาส่วนใหญ่โดยเฉพาะศาสนาพุทธในเมืองไทยคือ ชาวอามิชไม่มีสถานที่ซึ่งเรียกว่า “วัด” และอาคารขนาดใหญ่ที่เรียกกว่า “โบสถ์” หรือ “สุเหร่า” พวกเขาจัดบริเวณบ้าน หรือโรงนาเป็น “โบสถ์” ชั่วคราวขึ้นเพื่อร่วมกันฟังเทศน์ สมาชิกในกลุ่มจะผลัดเปลี่ยนกันใช้บ้าน หรือโรงนาของตนเป็นสถานที่ดังกล่าว ชาวอามิชไม่เชื่อในเรื่องการใช้ทรัพยากรมหาศาล เพื่อการก่อสร้างทางศาสนา นอกจากจะไม่มีอาคารและบริเวณวัดถาวรแล้ว พวกเขายังไม่สร้างวัตถุจำพวกรูปปั้นและรูปภาพของศาสดาและสัญลักษณ์จำพวกไม้กางเขนอีกด้วย พวกเขามองว่าการใช้จ่ายเพื่อสร้างสิ่งเหล่านั้นเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากผลดีที่ได้จากศาสนาและการบูชาองค์ศาสดามิได้มาจากสิ่งเหล่านั้น หากมาจากการเข้าใจและดำเนินชีวิตไปตามคำสอนของศาสดาอย่างเคร่งครัด
ทุกครั้งที่ผมเห็นและนึกถึงชาวอามิชจึงอดคิดถึงชาวพุทธไทยได้ คิดทีไรก็มีคำถามอยู่ในใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรมหาศาลทุกปีเพื่อสร้างวัตถุต่างๆ รวมทั้งอาคารและพุทธรูปจำพวกใหญ่ที่สุดในโลก แต่ผู้อ้างว่าตนเป็นพุทธศาสนิกชนกลับละเมิดศีล 5 ไม่เว้นแต่ละวัน ผมมองว่าควรจะแบ่งปันทรัพยากรมหาศาลนั้นไปใช้ทำอย่างอื่นบ้างจะดีกว่า โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของเยาวชน
เมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษาของเยาวชนก็ต้องพูดถึงแนวคิดของชาวอามิช ซึ่งโดยทั่วไปมักถูกมองว่าล้าสมัยแบบตกขอบเช่นเดียวกับการไม่ใช้เครื่องจักรกล ชาวอามิชมองว่าการศึกษาส่วนใหญ่เกิดในครอบครัว ฉะนั้น พวกเขาต่างกับสังคมอเมริกันโดยสิ้นเชิงอเนื่องจากเยาวชนอามิชจะได้รับการศึกษาในสถาบันเพียง 8 ปีเท่านั้น โดยการเรียนในโรงเรียนของชุมชนซึ่งประกอบด้วยสมาชิกราว 30 ครอบครัว โรงเรียนของเขาเป็นอาคารชั้นเดียวแบบโล่งๆ เพื่อให้ทุกชั้นเรียนในห้องเดียวกันหมดโดยมีครูและครูผู้ช่วยเป็นผู้สอน ย้อนไปหลายทศวรรษ ชาวอามิชต้องต่อสู้กับรัฐบาลอยู่นานก่อนที่รัฐบาลจะยอมยกเว้นให้เยาวชนอามิชไม่ต้องเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี
หลังจากเรียนจบ 8 ปีแล้ว เยาวชนจะออกไปเรียนวิชาชีพต่อกับพ่อแม่ หรือไม่ก็ฝึกงานกับผู้อื่นในชุมชนอามิชด้วยกัน รวมทั้งการทำไร่ทำนาและวิชาช่างต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนจนกว่าอายุจะเข้าวัยผู้ใหญ่ เมื่อถึงเวลานั้น เยาวชนจะมีโอกาสเลือกว่าจะดำเนินชีวิตแบบอามิชต่อไปหรือไม่ หากเลือกไม่เป็นอามิชก็จะต้องออกจากบ้านไปทำงานและอาศัยอยู่ในชุมชนอื่น สถิติบ่งว่าเยาวชนอามิชราว 25% เลือกที่จะไม่ดำเนินชีวิตตามแนวอามิชแบบดั้งเดิมต่อไป
ชาวอามิชมองว่าการศึกษาในโรงเรียน 8 ปีซึ่งครอบคลุมวิชาพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนนั้นเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้ การเรียนสูงขึ้นไปรังแต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองและสนับสนุนให้ผู้เรียนมุ่งแข่งขันกันรู้สึกแตกต่างจากผู้อื่น เกิดความทระนง หรือหยิ่งยโสซึ่งนำไปสู่ความแตกแยกในชุมชนของตน พวกเขาพยายามทุกอย่างที่จะป้องกันมิให้สมาชิกรู้สึกแตกต่างอันจะนำไปสู่ความแตกสามัคคี ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงแต่งตัวคล้ายกันมากจากการตัดเย็บเสื้อผ้าแบบง่ายๆ และใช้ผ้าสีพื้นๆ ที่ปราศจากลวดลายจนอาจเรียกได้ว่าสวมเครื่องแบบของชุมชน สตรีจะไม่มีการตกแต่งหน้า ทาตา หรือทาคิ้วและปากด้วยสีต่างๆ นอกจากนั้น ยังไม่มีการผ่าตัดเสริมส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นดั้งจมูกหรือเต้านม พวกเขาเข้าใจดีว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นการหลอกตัวเองและผู้อื่น พร้อมทั้งนำไปสู่ความสิ้นเปลืองและความแตกแยก
เรื่องราวของชาวอามิชยังมีอีกมากมายและอาจมองได้จากหลายแง่มุม ซึ่งอาจหาอ่านได้ในเอกสารและหนังสือจำนวนมาก นอกจากหนังสือเล่มเล็กๆ ของผมที่อ้างถึงแล้ว มีบทคัดย่อภาษาไทยของหนังสืออีก 2 เรื่องซึ่งดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาคือ เรื่อง Better Off: Flipping the Switch on Technology ของ Eric Brende และเรื่อง Success Made Simple: An Insider Look at Why Amish Business Thrive ของ Erik Wesner ใครไม่ต้องการอ่าน แต่ต้องการดูภาพยนตร์สนุกๆ ที่มีเรื่องราวของชาวอามิชรวมอยู่ด้วยอาจดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตเรื่อง Witness มาดู เรื่องนี้มีดาราจอมบู๊ Harrison Ford แสดงนำฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแสดงนำโดยดาราตาโต Kelly McGillis
สำหรับผมเองหลังได้ศึกษาและไปเห็นการดำเนินชีวิตของชาวอามิชมาหลายครั้ง ผมยังยืนยันว่าน่าสนใจและหลายอย่างควรนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะการนำมาพิจารณาเพื่อแสวงหา “ทางสายกลาง”
หากเรายึดหลักว่าความปรารถนาสูงสุดของชีวิตคือความสุข ชาวอามิชมีความสุขไม่น้อยกว่าชาวอเมริกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะพวกเขามีปัจจัยพื้นฐานครบถ้วน ได้อยู่ใกล้ธรรมชาติ มีอากาศบริสุทธิ์หายใจ ได้ออกกำลังกายเป็นประจำจากการทำไร่ไถนาและมีความอบอุ่นมากจากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในครอบครัวและในชุมชน แน่ละ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นภูมิปัญญาของชาติไทยแล้ว แต่น่าเสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ดูจะมองว่าล้าสมัย เพราะตนไม่เข้าใจทั้งในแนวคิดและในบริบทของโลกอย่างแท้จริง