ในช่วงที่ผมเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.ทุกเช้าผมจะอ่านหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นเป็นฉบับแรก เพราะเป็นแทบลอยด์ แม่บ้านจึงวางไว้บนสุดเสมอ
มีคนส่งบทความในข่าวหุ้นให้ผมเขียนโดย ธนะชัย ณ นคร ที่กล่าวเสียดายว่าคนไทยบางกลุ่มไม่เห็นความดีงามของ “กลุ่ม ปตท.”
ธนะชัยรำลึกถึงความหลังฝังใจในอดีตเมื่อ 25 ปีก่อนที่บริษัทน้ำมันข้ามชาติขนาดใหญ่มีบทบาทสูงในไทย แต่ ปตท.สามารถสร้างบุคลากรดึงคนไทยจากบริษัทน้ำมันข้ามชาติเข้ามาทำงาน ทำให้แข่งขันกับต่างชาติได้
เขาบอกว่าคนไทยควรจะภูมิใจถึงขั้นที่สมมติว่า หาก ปตท.ทำธุรกิจผูกขาดจริงๆ ก็ไม่เห็นจะเป็นไร เพราะรัฐบาลถือหุ้นใหญ่ในนามของกระทรวงการคลัง กองทุนวายุภักษ์ และกองทุนประกันสังคม รวมๆ กันแล้วก็เกือบๆ 70% ฉะนั้น รายได้ 70% ก็ถูกนำกลับส่งเข้ารัฐบาลอยู่แล้ว
ในประเด็นนี้ ผมต้องแย้งครับ
ถ้าสมมติว่าหาก ปตท.ทำธุรกิจผูกขาดจริงๆ กำไรจากการผูกขาดยังไม่เข้ารัฐอยู่อีก 30% แต่รั่วไหลไปให้แก่นักลงทุนเอกชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ดังนั้น การที่ผลประโยชน์ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนชาวไทยทั้งมวลจะตกไปเป็นประโยชน์ของเอกชนกลุ่มเล็ก ย่อมจะไม่เป็นธรรมแก่ประเทศชาติและประชาชน และใครจะรับประกันว่าไม่มีชื่อแปลกๆ เช่น จอร์จ โซรอสหรือนักการเมืองไทยแอบแฝงอยู่ในหมู่นักลงทุนต่างชาติ
ธนะชัยกล่าวว่า การแปรรูปช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติ และหากวันนั้น ปตท.ไม่แปรรูป ก็จะไม่ยิ่งใหญ่ในวันนี้ และคนไทยก็อาจเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงานได้ เพราะพลังงานจะอยู่ในกำมือของบริษัทต่างชาติ
ตรงนี้ผมก็ต้องเห็นต่างอีกแล้ว
การที่รัฐบาลไทยในปี 2521 จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่บรรษัทพลังงานแห่งชาติเป็นองค์กรเฉพาะ ทำให้การบริหารงานอยู่นอกโครงสร้างเงินเดือนราชการและมีความคล่องตัวสูง ดังนั้น การปิโตรเลียมฯ จึงสามารถสร้างบุคลากรและความยิ่งใหญ่ได้อยู่แล้ว แม้จะไม่มีการแปรรูปในปี 2544
แต่การแปรรูปกลับจะมีผลเสียถ้าหากไม่ได้มีการแยกทรัพย์สิน บทบาท สิทธิและอำนาจมหาชนออกไปเสียก่อน พูดง่ายๆ แทนที่กำไรที่เกิดจากสิทธิมหาชนทั้งหมดจะตกเป็นของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ กลับเอา 30% ไปยกให้เอกชนและต่างชาติ
แน่นอนแหละครับ กรณีถ้าหากมีบริษัทน้ำมันข้ามชาติต่างที่ผูกขาดในธุรกิจน้ำมันในประเทศไทย ก็จะเป็นเรื่องเลวร้ายเหมือนกัน แต่รัฐบาลไทยย่อมมีอำนาจตามกฎหมายและกฎระเบียบที่สามารถส่งเสริมให้การปิโตรเลียมฯ ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิมหาชนสามารถแข่งขันกับบริษัมข้ามชาติ
ธนะชัยตั้งคำถามว่า “(สมมติ) หากไม่ให้ ปตท.ผูกขาด แล้วจะไปเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทน้ำมันข้ามชาติหรือ…? เพราะหากเรารักชาติ เราก็ต้องรัก ปตท.”
ผมตอบว่าประชาชนจะไม่ปลื้มกับการผูกขาดทั้งนั้น ไม่ว่าโดย ปตท.(ถ้ามี)หรือบริษัทข้ามชาติ ประชาชนจะรับได้เฉพาะถ้าผู้ที่ผูกขาดในสิทธิมหาชนเป็นองค์กรที่รัฐเป็นเจ้าของ 100% เท่านั้น
ผมเองเข้าใจความรู้สึกของนักเล่นหุ้นครับ ถ้าเกิดการปฏิรูปพลังงานและจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเพื่อใช้สิทธิมหาชนแทน จะทำให้กำไรที่ ปตท.เคยได้จากการผูกขาด(ถ้ามี)ลดลง ย่อมกระทบราคาหุ้น แต่บุคลากรที่เก่งย่อมสามารถปรับตัวไปเน้นด้านการตลาด การเอาอกเอาใจลูกค้าแทน
ผมทราบว่าผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายหลายคนถามว่า ถ้าจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้น จะเอา ปตท.ไปไว้ที่ไหน แต่คำถามนี้แสดงว่าท่านมองข้ามประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ มีแต่เพียงผู้ถือหุ้นเอกชน 30% อยู่ในจิตใจ
สุดท้ายธนะชัยเขียนว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ เรื่องการจัดการสัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียม จะนำมาซึ่งปัญหาอยู่ในขณะนี้และในอนาคต กระทั่ง มนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันถึงกับโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “เวรกรรมของประเทศไทย”
ในเรื่องการจัดการสัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียมนั้น เนื่องจากประชาชนเล็งเห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนแล้วว่าผู้มีอำนาจบางคนได้กำหนดแผนแยบยล เพื่อสนับสนุนการต่อธุรกิจแก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม ผู้ที่มีอำนาจจึงอย่าคิดว่าจะทำได้อย่างราบรื่นนะครับ
ในวันนี้ ประชาชนตื่นรู้สิทธิของตน และทุกคนทราบดีว่าการผลิตปิโตรเลียมในไทยที่มีมูลค่าสี่ห้าแสนล้านบาทต่อปี เป็นมูลค่าที่สูงสำหรับฐานะอย่างเรา ซึ่งถ้าหากบริหารจัดการให้ดีและทำให้ประโยชน์ตกเป็นของรัฐสูงสุดเต็มเม็ดเต็มหน่วย ย่อมเป็นจำนวนเงินมากที่รัฐสามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศได้หลายด้าน
ดังนั้น ประชาชนจึงตั้งความหวังไว้มาก ประชาชนหวังว่าการปฏิรูปพลังงานจะเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาแทรก และอย่างนี้แหละครับที่ผมเรียกว่าเป็น “บุญของประเทศไทย”
แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากบริหารจัดการโดยวิธีแบบเดิม ประชาชนเห็นได้ว่าทำให้ประโยชน์ที่ควรจะเป็นของรัฐกลับไปตกเป็นของบริษัทเอกชน รวมทั้งอาจเปิดโอกาสให้มีการรั่วไหลไปเข้ากระเป๋าของบางคนได้เป็นการเฉพาะ กรณีนี้ก็จะตรงกับที่มนูญ ศิริวรรณ กล่าวว่าเป็น “เวรกรรมของประเทศไทย” อย่างจัง
http://www.kaohoon.com/online/content/view/40073/อันธพาลพลังงานลูบคมตลาดทุน
มีคนส่งบทความในข่าวหุ้นให้ผมเขียนโดย ธนะชัย ณ นคร ที่กล่าวเสียดายว่าคนไทยบางกลุ่มไม่เห็นความดีงามของ “กลุ่ม ปตท.”
ธนะชัยรำลึกถึงความหลังฝังใจในอดีตเมื่อ 25 ปีก่อนที่บริษัทน้ำมันข้ามชาติขนาดใหญ่มีบทบาทสูงในไทย แต่ ปตท.สามารถสร้างบุคลากรดึงคนไทยจากบริษัทน้ำมันข้ามชาติเข้ามาทำงาน ทำให้แข่งขันกับต่างชาติได้
เขาบอกว่าคนไทยควรจะภูมิใจถึงขั้นที่สมมติว่า หาก ปตท.ทำธุรกิจผูกขาดจริงๆ ก็ไม่เห็นจะเป็นไร เพราะรัฐบาลถือหุ้นใหญ่ในนามของกระทรวงการคลัง กองทุนวายุภักษ์ และกองทุนประกันสังคม รวมๆ กันแล้วก็เกือบๆ 70% ฉะนั้น รายได้ 70% ก็ถูกนำกลับส่งเข้ารัฐบาลอยู่แล้ว
ในประเด็นนี้ ผมต้องแย้งครับ
ถ้าสมมติว่าหาก ปตท.ทำธุรกิจผูกขาดจริงๆ กำไรจากการผูกขาดยังไม่เข้ารัฐอยู่อีก 30% แต่รั่วไหลไปให้แก่นักลงทุนเอกชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ดังนั้น การที่ผลประโยชน์ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนชาวไทยทั้งมวลจะตกไปเป็นประโยชน์ของเอกชนกลุ่มเล็ก ย่อมจะไม่เป็นธรรมแก่ประเทศชาติและประชาชน และใครจะรับประกันว่าไม่มีชื่อแปลกๆ เช่น จอร์จ โซรอสหรือนักการเมืองไทยแอบแฝงอยู่ในหมู่นักลงทุนต่างชาติ
ธนะชัยกล่าวว่า การแปรรูปช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติ และหากวันนั้น ปตท.ไม่แปรรูป ก็จะไม่ยิ่งใหญ่ในวันนี้ และคนไทยก็อาจเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงานได้ เพราะพลังงานจะอยู่ในกำมือของบริษัทต่างชาติ
ตรงนี้ผมก็ต้องเห็นต่างอีกแล้ว
การที่รัฐบาลไทยในปี 2521 จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่บรรษัทพลังงานแห่งชาติเป็นองค์กรเฉพาะ ทำให้การบริหารงานอยู่นอกโครงสร้างเงินเดือนราชการและมีความคล่องตัวสูง ดังนั้น การปิโตรเลียมฯ จึงสามารถสร้างบุคลากรและความยิ่งใหญ่ได้อยู่แล้ว แม้จะไม่มีการแปรรูปในปี 2544
แต่การแปรรูปกลับจะมีผลเสียถ้าหากไม่ได้มีการแยกทรัพย์สิน บทบาท สิทธิและอำนาจมหาชนออกไปเสียก่อน พูดง่ายๆ แทนที่กำไรที่เกิดจากสิทธิมหาชนทั้งหมดจะตกเป็นของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ กลับเอา 30% ไปยกให้เอกชนและต่างชาติ
แน่นอนแหละครับ กรณีถ้าหากมีบริษัทน้ำมันข้ามชาติต่างที่ผูกขาดในธุรกิจน้ำมันในประเทศไทย ก็จะเป็นเรื่องเลวร้ายเหมือนกัน แต่รัฐบาลไทยย่อมมีอำนาจตามกฎหมายและกฎระเบียบที่สามารถส่งเสริมให้การปิโตรเลียมฯ ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิมหาชนสามารถแข่งขันกับบริษัมข้ามชาติ
ธนะชัยตั้งคำถามว่า “(สมมติ) หากไม่ให้ ปตท.ผูกขาด แล้วจะไปเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทน้ำมันข้ามชาติหรือ…? เพราะหากเรารักชาติ เราก็ต้องรัก ปตท.”
ผมตอบว่าประชาชนจะไม่ปลื้มกับการผูกขาดทั้งนั้น ไม่ว่าโดย ปตท.(ถ้ามี)หรือบริษัทข้ามชาติ ประชาชนจะรับได้เฉพาะถ้าผู้ที่ผูกขาดในสิทธิมหาชนเป็นองค์กรที่รัฐเป็นเจ้าของ 100% เท่านั้น
ผมเองเข้าใจความรู้สึกของนักเล่นหุ้นครับ ถ้าเกิดการปฏิรูปพลังงานและจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเพื่อใช้สิทธิมหาชนแทน จะทำให้กำไรที่ ปตท.เคยได้จากการผูกขาด(ถ้ามี)ลดลง ย่อมกระทบราคาหุ้น แต่บุคลากรที่เก่งย่อมสามารถปรับตัวไปเน้นด้านการตลาด การเอาอกเอาใจลูกค้าแทน
ผมทราบว่าผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายหลายคนถามว่า ถ้าจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้น จะเอา ปตท.ไปไว้ที่ไหน แต่คำถามนี้แสดงว่าท่านมองข้ามประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ มีแต่เพียงผู้ถือหุ้นเอกชน 30% อยู่ในจิตใจ
สุดท้ายธนะชัยเขียนว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ เรื่องการจัดการสัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียม จะนำมาซึ่งปัญหาอยู่ในขณะนี้และในอนาคต กระทั่ง มนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันถึงกับโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “เวรกรรมของประเทศไทย”
ในเรื่องการจัดการสัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียมนั้น เนื่องจากประชาชนเล็งเห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนแล้วว่าผู้มีอำนาจบางคนได้กำหนดแผนแยบยล เพื่อสนับสนุนการต่อธุรกิจแก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม ผู้ที่มีอำนาจจึงอย่าคิดว่าจะทำได้อย่างราบรื่นนะครับ
ในวันนี้ ประชาชนตื่นรู้สิทธิของตน และทุกคนทราบดีว่าการผลิตปิโตรเลียมในไทยที่มีมูลค่าสี่ห้าแสนล้านบาทต่อปี เป็นมูลค่าที่สูงสำหรับฐานะอย่างเรา ซึ่งถ้าหากบริหารจัดการให้ดีและทำให้ประโยชน์ตกเป็นของรัฐสูงสุดเต็มเม็ดเต็มหน่วย ย่อมเป็นจำนวนเงินมากที่รัฐสามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศได้หลายด้าน
ดังนั้น ประชาชนจึงตั้งความหวังไว้มาก ประชาชนหวังว่าการปฏิรูปพลังงานจะเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาแทรก และอย่างนี้แหละครับที่ผมเรียกว่าเป็น “บุญของประเทศไทย”
แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากบริหารจัดการโดยวิธีแบบเดิม ประชาชนเห็นได้ว่าทำให้ประโยชน์ที่ควรจะเป็นของรัฐกลับไปตกเป็นของบริษัทเอกชน รวมทั้งอาจเปิดโอกาสให้มีการรั่วไหลไปเข้ากระเป๋าของบางคนได้เป็นการเฉพาะ กรณีนี้ก็จะตรงกับที่มนูญ ศิริวรรณ กล่าวว่าเป็น “เวรกรรมของประเทศไทย” อย่างจัง
http://www.kaohoon.com/online/content/view/40073/อันธพาลพลังงานลูบคมตลาดทุน