วานนี้ (21ก.ย.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุม กรธ. ถึงกรณีที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุหาก กรธ.จะเซตซีโร กกต. จะต้องเซตซีโรองค์กรอิสระอื่นๆ ทั้งหมดด้วยว่า กรธ.ไม่เคยพูดถึงการเซตซีโร และยังไม่เคยมีแนวคิดคิดดังกล่าว อย่าพึ่งเดากันไปเอง ร่างรัฐธรรนูญกำหนดว่า องค์กรอิสระต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้คิดอะไร ต้องรอสรุปความเห็นในการสัมมนาวันที่ 28 ก.ย.ก่อน เมื่อถามว่า จำเป็นต้องเซตซีโรหรือไม่ เพราะหากตั้งกกต.เพิ่มใหม่อีก 2 คน การทำงานของกกต. ก็เหมือนปลาสองน้ำ นายมีชัย กล่าวว่า ต่อไปก็ต้องทำงานเป็นปลาหลายน้ำ ต้องช่วยกันทำงานอยู่ดี ทุกวันนี้คนที่ทำงานก็มาจากหลายฝ่าย ไม่ได้จูงมือเข้าพร้อมกันก็ยังทำงานกันได้ ซึ่งเวลาเขียนกฎหมายลูก ต้องเขียนให้ครอบคลุม
นายมีชัย ยังกล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่า มีการเพิ่มบทบาทในเรื่องการที่มีคนมักไปบิดเบือน เช่น การรายงานปัญหาสิทธิมนุษยชน ที่จะต้องรายงานแต่ความจริง ไม่ใช่รายงานแต่เรื่องดีเท่านั้น เรื่องที่ไม่ดีก็ต้องรายงานด้วย เพราะเป็นเรื่องของสิทธิ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ กสม.ต้องออกมาชี้แจงตามภาระหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกำหนดบทลงโทษ
หลังการประชุม นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรธ. แถลงว่า กรธ.ยังไม่ได้อภิปราย หรือมีข้อยุติในเรื่องนี้ โดยเนื้อหาร่างรธน. ฉบับผ่านประชามติ กำหนดให้ คณะกรรมการ อำนาจ หน้าที่ องค์กรอิสระ เป็นไปตามร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จึงขอชี้แจงกรณีที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. พาดพิงตนที่ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ตนไม่ได้สนับสนุนเรื่องการเซตซีโร กกต. เพียงแต่อธิบายถึงคณะกรรมการองค์กรอิสระ ว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อรธน.ประกาศใช้ เนื่องจากภาระหน้าที่ และคุณสมบัติจะแตกต่างไปจากรธน.ปี 50 ที่เป็นที่มาขององค์กรอิสระหลายองค์กร จึงเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่ต้องพิจารณาคุณสมบัติที่จะกำหนดไว้ในกฎหมายลูกอีกครั้ง ว่าสอดคล้องกับร่างรธน.หรือไม่ ตลอดจนประเด็นว่า หากมีการปรับเปลี่ยนกรรมการโดยเฉพาะ กกต.แล้ว จะสามารถสรรหา กกต.ชุดใหม่ 7 คน เพื่อมาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งส.ส. และจัดทำกระบวนการสรรหาส.ว. ทันภายใน 5 เดือน ตามที่บทเฉพาะกาลกำหนดไว้หรือไม่ ทั้งหมดจึงเป็นเพียงคำอธิบาย ที่ยังต้องรอการพิจารณา โดยเฉพาะการสัมมนารับฟังความเห็น ในวันที่ 28 ก.ย.นี้
"ประเด็นเซตซีโรองค์กรอิสระ ไม่ได้ยุติที่ กรธ. แต่เป็น สนช. ที่จะพิจารณาอีกครั้งก่อนประกาศใช้ ผมเข้าใจว่ากรรรมการองค์กรอิสระแต่ละท่าน มีความปรารถนาอยากมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้บ้านเมืองดีขึ้น แม้จะมีที่มาตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แล้วจึงกังวลว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ กรธ.จะใจร้ายตัดอนาคตการทำหน้าที่ แต่เรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมือง เราจะคำนึงถึงด้านนี้ด้านเดียวไม่ได้ เพราะหากมองด้านนี้เพียงด้านเดียว กรธ.ก็ต้องเขียนให้อยู่จนครบวาระ" โฆษก กรธ.กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่มีการพูดถึงเรื่องเซตซีโรองค์กรอิสระ ว่า เรื่องนี้อยู่ที่ กรธ. เป็นคนพิจารณา รัฐบาลไม่ได้เป็นคนคิดที่จะไปเซตซีโร จึงไม่ควรจะไปตอบ เพราะถ้ายุ่งมากๆ เดี๋ยวเขาจะเซตซีโรรัฐบาลบ้าง
**กมธ.เสนอความเห็นร่างกม.กกต.
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เปิดเผยว่า กมธ.ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนี้
1. ให้กกต.สร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่จะไม่กระทำการใดอันเป็นประโยชน์ส่วนตน 2. ให้ทำงานอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์ประสานเขื่อมโยงระหว่างความเป็นกตต.ด้วยกัน 3. การบริหารงานในองค์กรให้รับผิดชอบการทำงานร่วมกัน และไม่ควรแบ่งความรับผิดชอบเป็นส่วนๆ 4. ให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร ต่อการทำงานของกกต.ร่วมกัน 5.ไม่กระทำการใด อันอาจทำให้ประชาชนขาดความศรัทธา อันอาจนำไปสู่ความไม่เชื่อถือต่อการเลือกตั้ง 6. ให้มีการใช้งบประมาณด้วยความประหยัด และจำเป็น และ 7. การสับเปลี่ยนตำแหน่งประธานหรือกรรมการ โดยมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย เป็นการกระทำอันไม่สมควร
ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมวิปสปท. ในสัปดาห์หน้า เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสปท. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนที่เสนอต่อกรธ.ต่อไป
**ศาลรธน.นัดชี้ปมโหวตนายกฯ28ก.ย.
ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณากรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ในประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับให้สมาชิกรัฐสภามีส่วนร่วมในการโหวตชื่อนายกรัฐมนตรี โดยศาลรัฐธรรมนูญได้นัดแถลงด้วยวาจา และลงมติในประเด็นดังกล่าวใน วันพุธที่ 28 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 7 ก.ย. จากนั้นได้ให้ 3 หน่วยงานคือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรี( ครม.) ยื่นเอกสารชี้แจง ก่อนที่จะมีการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยรวม 2 นัด และนัดแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติในวันที่ 28 ก.ย.นี้ โดยเป็นไปตามกรอบระยะเวลา 30 วัน ที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 37/1 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการชอบด้วยผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ซึ่งหากในวันที่ 28 ก.ย ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับผลประชามติแล้ว ก็ให้กรธ.เสนอให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากเห็นว่ามีบทบัญญัติใดที่ยังไม่สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ก็ให้กรธ. นำกลับไปดำเนินการแก้ไข ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยต้องให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และส่งให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายกฯได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมสมบูรณ์แล้ว เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ต่อไป
นายมีชัย ยังกล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่า มีการเพิ่มบทบาทในเรื่องการที่มีคนมักไปบิดเบือน เช่น การรายงานปัญหาสิทธิมนุษยชน ที่จะต้องรายงานแต่ความจริง ไม่ใช่รายงานแต่เรื่องดีเท่านั้น เรื่องที่ไม่ดีก็ต้องรายงานด้วย เพราะเป็นเรื่องของสิทธิ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ กสม.ต้องออกมาชี้แจงตามภาระหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกำหนดบทลงโทษ
หลังการประชุม นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรธ. แถลงว่า กรธ.ยังไม่ได้อภิปราย หรือมีข้อยุติในเรื่องนี้ โดยเนื้อหาร่างรธน. ฉบับผ่านประชามติ กำหนดให้ คณะกรรมการ อำนาจ หน้าที่ องค์กรอิสระ เป็นไปตามร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จึงขอชี้แจงกรณีที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. พาดพิงตนที่ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ตนไม่ได้สนับสนุนเรื่องการเซตซีโร กกต. เพียงแต่อธิบายถึงคณะกรรมการองค์กรอิสระ ว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อรธน.ประกาศใช้ เนื่องจากภาระหน้าที่ และคุณสมบัติจะแตกต่างไปจากรธน.ปี 50 ที่เป็นที่มาขององค์กรอิสระหลายองค์กร จึงเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่ต้องพิจารณาคุณสมบัติที่จะกำหนดไว้ในกฎหมายลูกอีกครั้ง ว่าสอดคล้องกับร่างรธน.หรือไม่ ตลอดจนประเด็นว่า หากมีการปรับเปลี่ยนกรรมการโดยเฉพาะ กกต.แล้ว จะสามารถสรรหา กกต.ชุดใหม่ 7 คน เพื่อมาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งส.ส. และจัดทำกระบวนการสรรหาส.ว. ทันภายใน 5 เดือน ตามที่บทเฉพาะกาลกำหนดไว้หรือไม่ ทั้งหมดจึงเป็นเพียงคำอธิบาย ที่ยังต้องรอการพิจารณา โดยเฉพาะการสัมมนารับฟังความเห็น ในวันที่ 28 ก.ย.นี้
"ประเด็นเซตซีโรองค์กรอิสระ ไม่ได้ยุติที่ กรธ. แต่เป็น สนช. ที่จะพิจารณาอีกครั้งก่อนประกาศใช้ ผมเข้าใจว่ากรรรมการองค์กรอิสระแต่ละท่าน มีความปรารถนาอยากมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้บ้านเมืองดีขึ้น แม้จะมีที่มาตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แล้วจึงกังวลว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ กรธ.จะใจร้ายตัดอนาคตการทำหน้าที่ แต่เรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมือง เราจะคำนึงถึงด้านนี้ด้านเดียวไม่ได้ เพราะหากมองด้านนี้เพียงด้านเดียว กรธ.ก็ต้องเขียนให้อยู่จนครบวาระ" โฆษก กรธ.กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่มีการพูดถึงเรื่องเซตซีโรองค์กรอิสระ ว่า เรื่องนี้อยู่ที่ กรธ. เป็นคนพิจารณา รัฐบาลไม่ได้เป็นคนคิดที่จะไปเซตซีโร จึงไม่ควรจะไปตอบ เพราะถ้ายุ่งมากๆ เดี๋ยวเขาจะเซตซีโรรัฐบาลบ้าง
**กมธ.เสนอความเห็นร่างกม.กกต.
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เปิดเผยว่า กมธ.ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนี้
1. ให้กกต.สร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่จะไม่กระทำการใดอันเป็นประโยชน์ส่วนตน 2. ให้ทำงานอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์ประสานเขื่อมโยงระหว่างความเป็นกตต.ด้วยกัน 3. การบริหารงานในองค์กรให้รับผิดชอบการทำงานร่วมกัน และไม่ควรแบ่งความรับผิดชอบเป็นส่วนๆ 4. ให้สร้างวัฒนธรรมองค์กร ต่อการทำงานของกกต.ร่วมกัน 5.ไม่กระทำการใด อันอาจทำให้ประชาชนขาดความศรัทธา อันอาจนำไปสู่ความไม่เชื่อถือต่อการเลือกตั้ง 6. ให้มีการใช้งบประมาณด้วยความประหยัด และจำเป็น และ 7. การสับเปลี่ยนตำแหน่งประธานหรือกรรมการ โดยมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย เป็นการกระทำอันไม่สมควร
ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมวิปสปท. ในสัปดาห์หน้า เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสปท. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนที่เสนอต่อกรธ.ต่อไป
**ศาลรธน.นัดชี้ปมโหวตนายกฯ28ก.ย.
ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณากรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ในประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับให้สมาชิกรัฐสภามีส่วนร่วมในการโหวตชื่อนายกรัฐมนตรี โดยศาลรัฐธรรมนูญได้นัดแถลงด้วยวาจา และลงมติในประเด็นดังกล่าวใน วันพุธที่ 28 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 7 ก.ย. จากนั้นได้ให้ 3 หน่วยงานคือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรี( ครม.) ยื่นเอกสารชี้แจง ก่อนที่จะมีการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยรวม 2 นัด และนัดแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติในวันที่ 28 ก.ย.นี้ โดยเป็นไปตามกรอบระยะเวลา 30 วัน ที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 37/1 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการชอบด้วยผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ซึ่งหากในวันที่ 28 ก.ย ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับผลประชามติแล้ว ก็ให้กรธ.เสนอให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากเห็นว่ามีบทบัญญัติใดที่ยังไม่สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ก็ให้กรธ. นำกลับไปดำเนินการแก้ไข ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยต้องให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และส่งให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายกฯได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมสมบูรณ์แล้ว เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ต่อไป