ผู้จัดการรายวัน 360 - “รองฯ วิษณุ” เผย รมว.-ปลัดพาณิชย์ลงนามคำสั่งปกครองเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวจีทูจีมีผลทันทีภายใน 45 วัน เว้นแต่ผู้ชดใช้ยื่นศาลปกครอง “บุญทรง” เผยรอเอกสาร ก.พาณิชย์ แจ้งเป็นทางการ ก่อนยื่นศาล ปค.ขอคุ้มครองชั่วคราว เล็งฟ้องกลับทั้งทางแพ่ง-อาญากับผู้เกี่ยวข้อง โวยใช้ ม.44 ลัดขั้นตอน-ไม่เป็นธรรม ท้า “บิ๊กตู่” เจอกันในศาล
วานนี้ (20 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ และ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามในหนังสือคำสั่งบังคับทางการปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และพวกรวม 6 คน มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ว่า หลังจากที่ รมว.พาณิชย์ และปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในคำสั่งทางปกครองเรียบร้อยแล้ว จากนี้ต้องแจ้งให้ผู้ชดใช้ค่าเสียหายทราบภายใน 30 วัน หากยังไม่ดำเนินการชดใช้จะแจ้งเตือนภายใน 15 และจะมีผลโดยกรมบังคับคดีสามารถดำเนินการได้ทันที ยกเว้นผู้ชดใช้จะร้องต่อศาลปกครอง และศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว กระบวนการจะต้องหยุดเพื่อรอคำพิพากษาของศาล
** เผย "บุญทรง" ร้องศาล ปค.ขอคุ้มครองได้
ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ตามหลักการในคดีการรับผิดทางละเมิดที่สร้างความเสียหายให้กับรัฐ ทุกกระทรวงต้องทำตามขั้นตอนอยู่แล้ว ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดต้องตามเรียกค่าเสียหาย แต่ในคดีนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก จึงมีความซับซ้อน ทำให้กรมบังคับคดีเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้หลังครบกำหนด 45 วัน ภายหลังจากกระทรวงพาณิชย์ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ชดใช้ค่าเสียหายรับทราบ โดยเริ่มจากการสืบทรัพย์เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ต่อไป เบื้องต้นไม่มีระยะเวลากำหนดว่าจะต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในกี่ปี แต่ตนเชื่อว่ากรมบังคับคดีจะมีความสามารถติดตามและยึดทรัพย์กลับมาได้ เพราะเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญได้เรื่องนี้ อย่างไรก็ตามผู้ชดใช้สามารถร้องอุทธรณ์ต่อศาลปกครองให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ กรมบังคับคดีก็ต้องรอให้กระบวนการในศาลสิ้นสุดก่อนที่จะดำเนินการสืบทรัพย์และยึดทรัพย์ได้
** เรียกค่าเสียหายก่อนศาลตัดสินได้
ด้าน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีที่ นายบุญทรง ออกมาระบุไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากมีการเรียกค่าเสียหาย ก่อนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะตัดสิน นายดิสทัต กล่าวว่า เรื่องการเรียกค่าเสียหายกับการดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาฯ เป็นการดำเนินการคนละส่วนกัน โดยการเรียกค่าเสียหายเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 สามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ ในอดีตเคยมีลักษณะแบบนั้น ส่วนทางผู้ที่ถูกเรียกค่าเสียหายจะต่อสู้อย่างไรถือเป็นสิทธิ
** “บุญทรง”ของขึ้น-ขู่ฟ้องแหลก
ทางด้าน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เปิดเผยว่า ตนกำลังรอเอกสารจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งมาอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นตนจะยื่นขอทุเลาคำสั่งและไต่สวนฉุกเฉิน เชื่อว่าศาลจะรับคำร้อง เพราะถือเป็นสิทธิ์ในการพิสูจน์ว่าคำสั่งออกมาโดยชอบและมีกระบวนการครบถ้วนตามกฏหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าตนจะฟ้องกลับทั้งทางอาญาและทางแพ่งกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดตามสิทธิ์ที่จะทำได้ เพราะการนำมาตรา 44 มาใช้ทั้งๆ ที่มีกฏหมายที่จะดำเนินการได้ตามขั้นตอนอยู่แล้วถือเป็นการลัดขั้นตอน เร่งรัดให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่รัฐบาลตั้งธงไว้ รวมทั้งการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีลงนามแทน ทั้งที่ตามพ.ร.บ.เรียกให้ชดใช้ความผิดทางละเมิดในระดับรัฐมนตรีกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกฯ ต้องชี้แจงในชั้นศาลด้วย โดยหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากศาล เพราะการดำเนินการที่ผ่านมาไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นในการระบายข้าว กรมการค้าต่างประเทศได้ทำสัญญา มีการระบุตัวเลข และได้รับการชำระเงินครบถ้วสมบูรณ์ จึงมั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปบริสุทธิ์และโปร่งใส
“นายกฯ คงไม่แคร์เรื่องนี้เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และไม่ต้องกลับไปลงเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญใหม่ก็ให้โอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีก จึงไม่มีประโยชน์ที่เราจะไปโต้แย้ง คงต้องไปพูดกันที่ศาล” นายบุญทรง กล่าว.
วานนี้ (20 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ และ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามในหนังสือคำสั่งบังคับทางการปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และพวกรวม 6 คน มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ว่า หลังจากที่ รมว.พาณิชย์ และปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในคำสั่งทางปกครองเรียบร้อยแล้ว จากนี้ต้องแจ้งให้ผู้ชดใช้ค่าเสียหายทราบภายใน 30 วัน หากยังไม่ดำเนินการชดใช้จะแจ้งเตือนภายใน 15 และจะมีผลโดยกรมบังคับคดีสามารถดำเนินการได้ทันที ยกเว้นผู้ชดใช้จะร้องต่อศาลปกครอง และศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว กระบวนการจะต้องหยุดเพื่อรอคำพิพากษาของศาล
** เผย "บุญทรง" ร้องศาล ปค.ขอคุ้มครองได้
ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ตามหลักการในคดีการรับผิดทางละเมิดที่สร้างความเสียหายให้กับรัฐ ทุกกระทรวงต้องทำตามขั้นตอนอยู่แล้ว ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดต้องตามเรียกค่าเสียหาย แต่ในคดีนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก จึงมีความซับซ้อน ทำให้กรมบังคับคดีเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้หลังครบกำหนด 45 วัน ภายหลังจากกระทรวงพาณิชย์ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ชดใช้ค่าเสียหายรับทราบ โดยเริ่มจากการสืบทรัพย์เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ต่อไป เบื้องต้นไม่มีระยะเวลากำหนดว่าจะต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในกี่ปี แต่ตนเชื่อว่ากรมบังคับคดีจะมีความสามารถติดตามและยึดทรัพย์กลับมาได้ เพราะเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญได้เรื่องนี้ อย่างไรก็ตามผู้ชดใช้สามารถร้องอุทธรณ์ต่อศาลปกครองให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ กรมบังคับคดีก็ต้องรอให้กระบวนการในศาลสิ้นสุดก่อนที่จะดำเนินการสืบทรัพย์และยึดทรัพย์ได้
** เรียกค่าเสียหายก่อนศาลตัดสินได้
ด้าน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีที่ นายบุญทรง ออกมาระบุไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากมีการเรียกค่าเสียหาย ก่อนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะตัดสิน นายดิสทัต กล่าวว่า เรื่องการเรียกค่าเสียหายกับการดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาฯ เป็นการดำเนินการคนละส่วนกัน โดยการเรียกค่าเสียหายเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 สามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ ในอดีตเคยมีลักษณะแบบนั้น ส่วนทางผู้ที่ถูกเรียกค่าเสียหายจะต่อสู้อย่างไรถือเป็นสิทธิ
** “บุญทรง”ของขึ้น-ขู่ฟ้องแหลก
ทางด้าน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เปิดเผยว่า ตนกำลังรอเอกสารจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งมาอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นตนจะยื่นขอทุเลาคำสั่งและไต่สวนฉุกเฉิน เชื่อว่าศาลจะรับคำร้อง เพราะถือเป็นสิทธิ์ในการพิสูจน์ว่าคำสั่งออกมาโดยชอบและมีกระบวนการครบถ้วนตามกฏหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าตนจะฟ้องกลับทั้งทางอาญาและทางแพ่งกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดตามสิทธิ์ที่จะทำได้ เพราะการนำมาตรา 44 มาใช้ทั้งๆ ที่มีกฏหมายที่จะดำเนินการได้ตามขั้นตอนอยู่แล้วถือเป็นการลัดขั้นตอน เร่งรัดให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่รัฐบาลตั้งธงไว้ รวมทั้งการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีลงนามแทน ทั้งที่ตามพ.ร.บ.เรียกให้ชดใช้ความผิดทางละเมิดในระดับรัฐมนตรีกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกฯ ต้องชี้แจงในชั้นศาลด้วย โดยหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากศาล เพราะการดำเนินการที่ผ่านมาไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นในการระบายข้าว กรมการค้าต่างประเทศได้ทำสัญญา มีการระบุตัวเลข และได้รับการชำระเงินครบถ้วสมบูรณ์ จึงมั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปบริสุทธิ์และโปร่งใส
“นายกฯ คงไม่แคร์เรื่องนี้เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และไม่ต้องกลับไปลงเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญใหม่ก็ให้โอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีก จึงไม่มีประโยชน์ที่เราจะไปโต้แย้ง คงต้องไปพูดกันที่ศาล” นายบุญทรง กล่าว.