เมื่อเวลา10.30 น. วานนี้ (7ก.ย.) ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่ นายคออี้ มีมิ อายุ 104 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งป่าแก่งกระจาน พร้อมพวกซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านบางกรอยบน ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี รวม 6 ราย ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่ากระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ในการขับไล่ชาวบ้านบางกรอยออกจากป่าแก่งกระจาน ด้วยการเผาทำลายบ้านและทรัพย์สินนั้น โดยศาลเห็นว่าที่ดินแปลงที่เกิดเหตุนั้น ไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นชุมชนดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง แต่เป็นที่ดินที่มีการบุกรุกแผ้วถางป่า ในลักษณะการเปิดป่าดงดิบเพื่อให้เป็นที่โล่งสำหรับใช้เพาะปลูกเป็นแปลงใหม่ ซึ่งไม่ใช่แปลงที่ดินทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่ทางราชการจัดสรรให้ทำกิน
ดังนั้น การที่ผู้บุกรุกแผ้วถางป่าได้ทำการก่อสร้างเพิงพัก หรือที่อยู่อาศัย หรือยุ้งฉางข้าวบนที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ นอกจากนั้น ยังมีการล่าสัตว์ซึ่งเป็นการทำผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำผิดในเขตอุทยานแห่งชาติ จึงทำการเจรจาและกำหนดเวลาให้ทำการรื้อถอนเพิงพัก หรือสิ่งปลูกสร้าง และเก็บทรัพย์สินออกจากที่ดินดังกล่าว แต่หลังพ้นกำหนดเวลา เมื่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเข้าไปสำรวจพื้นที่พบว่ายังคงมีเพิงพัก หรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของไม่ได้ทำการรื้อถอนออกไป คณะเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะรื้อถอน หรือเผาทำลายได้ และการเผาสิ่งปลูกสร้างก็เพื่อไม่ให้ผู้บุกรุกนำไปใช้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ได้อีก จึงถือเป็นการใช้อำนาจโดยชอบของพนักงานและเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 22 ของพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด
แต่สำหรับสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน และสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวที่อยู่ในเพิงพักและถูกเผาไปนั้น เนื่องจากเป็นสิ่งของจำเป็น และไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย หรือสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่การที่เจ้าหน้าที่ทำการเผาเพิงพัก โดยไม่เก็บรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวออกมารักษาไว้ เพื่อประกาศให้เจ้าของมารับคืนในภายหลังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 โดยศาลได้กำหนดค่าสินไหมในส่วนของเครื่องใช้ในครัวเรือน 5,000 บาท และค่าสินไหมในส่วนของเครื่องใช้ส่วนตัว 5,000 บาท ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 เป็นเงินคนละ 10,000 บาท ภายใน 30 วัน ที่คดีถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาแล้ว นายคออี้ และตัวแทนชาวกะเหรี่ยง ยังคงยืนยันว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง และเป็นที่ดินบรรพบุรุษ ไม่ใช้ที่ดินที่มีการบุกรุกใหม่แต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่เข้าใจผิดว่าการทำไร่หมุนเวียนตามภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยง เป็นการบุกรุกพื้นที่ป่า ส่วนจะมีการยื่นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ชาวกะเหรี่ยงและทนายความ จะมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้น การที่ผู้บุกรุกแผ้วถางป่าได้ทำการก่อสร้างเพิงพัก หรือที่อยู่อาศัย หรือยุ้งฉางข้าวบนที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ นอกจากนั้น ยังมีการล่าสัตว์ซึ่งเป็นการทำผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำผิดในเขตอุทยานแห่งชาติ จึงทำการเจรจาและกำหนดเวลาให้ทำการรื้อถอนเพิงพัก หรือสิ่งปลูกสร้าง และเก็บทรัพย์สินออกจากที่ดินดังกล่าว แต่หลังพ้นกำหนดเวลา เมื่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเข้าไปสำรวจพื้นที่พบว่ายังคงมีเพิงพัก หรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของไม่ได้ทำการรื้อถอนออกไป คณะเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะรื้อถอน หรือเผาทำลายได้ และการเผาสิ่งปลูกสร้างก็เพื่อไม่ให้ผู้บุกรุกนำไปใช้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ได้อีก จึงถือเป็นการใช้อำนาจโดยชอบของพนักงานและเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 22 ของพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด
แต่สำหรับสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน และสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวที่อยู่ในเพิงพักและถูกเผาไปนั้น เนื่องจากเป็นสิ่งของจำเป็น และไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย หรือสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่การที่เจ้าหน้าที่ทำการเผาเพิงพัก โดยไม่เก็บรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวออกมารักษาไว้ เพื่อประกาศให้เจ้าของมารับคืนในภายหลังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 โดยศาลได้กำหนดค่าสินไหมในส่วนของเครื่องใช้ในครัวเรือน 5,000 บาท และค่าสินไหมในส่วนของเครื่องใช้ส่วนตัว 5,000 บาท ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 เป็นเงินคนละ 10,000 บาท ภายใน 30 วัน ที่คดีถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาแล้ว นายคออี้ และตัวแทนชาวกะเหรี่ยง ยังคงยืนยันว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง และเป็นที่ดินบรรพบุรุษ ไม่ใช้ที่ดินที่มีการบุกรุกใหม่แต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่เข้าใจผิดว่าการทำไร่หมุนเวียนตามภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยง เป็นการบุกรุกพื้นที่ป่า ส่วนจะมีการยื่นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ชาวกะเหรี่ยงและทนายความ จะมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่ง