ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลปกครองกลาง ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนฉุกเฉินคำร้องที่ น.พ.สงคราม ทรัพย์เจริญ นายขวัญแก้ว วัชรโรทัย พร้อมพวกรวม 24 คน ยื่นขอให้ศาลสั่งบังคับคดี ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.588/2557 ให้ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใช้อำนาจตาม มาตรา 40 ,41,42,43 ของพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ดำเนินการแก้ไขความสูงของอาคาร โรงแรมดิเอทัส ซอยร่วมฤดี และ เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ ดิเอทัส เรสซิเดนซ์ ของบริษัท ลาภประทาน จำกัด และ บริษัท ทับทิมทร จำกัด ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา เนื่องจากหลังศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา เมื่อ 2 ธ.ค. 57 จนถึงปัจจุบันรวม 1 ปี 8 เดือน ยังไม่พบว่า สำนักงานเขตได้มีการดำเนินการตามคำพิพากษา แต่อย่างใด
ในการไต่สวน น.พ.สงคราม ได้เดินทางมาพร้อมกับ นายขวัญแก้ว น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายความ ส่วนฝ่ายผู้ถูกฟ้องได้ส่งผู้แทนเข้าให้ถ้อยคำ
หลังการไต่สวนนาน 2 ชั่วโมง นายเฉลิมพงษ์ กล่าวว่า หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาตามขั้นตอน ผอ.เขตปทุมวันจะต้องมีคำสั่งให้ บริษัทเจ้าของอาคารดำเนินการปรับลดชั้นของอาคาร หรือ รื้อถอนอาคารภายในเวลา 60 วัน แต่ทาง ผอ.เขตปทุมวัน กลับมีคำสั่งไปยัง 2 บริษัท โดยอาศัยมาตรา 40 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ว่า ไม่ให้บุคคลใดใช้ หรือเข้าไปในส่วนใดของอาคาร โดยท้ายคำสั่งระบุให้ผู้รับคำสั่ง หากไม่เห็นด้วยสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ทำให้ 2 บริษัทดังกล่าว ยื่นอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรุงเทพมหานคร โดยอ้างว่า มีพยานหลักฐานใหม่ ที่ยืนยันว่าเขตทาง ซ.ร่วมฤดี มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร จึงเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้อง เป็นการจงใจช่วยเหลือเพื่อประวิงเวลาการบังคับคดี ซึ่งระหว่างไต่สวน หลังฝ่ายผู้ถูกฟ้องชี้แจงเรื่องของการยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ ศาลก็ระบุว่ากระบวนการที่ทางเขตดำเนินการ เป็นการใช้อำนาจบริหารปกติ ที่จะใช้ในกรณีมีการร้องเรียน แต่เรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ทางสำนักงานเขตจึงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา โดยหลังจากนี้ศาลก็จะนำเรื่องเข้าหารือในองค์คณะและจะมีคำสั่งออกมาแต่ยังไม่ได้แจ้งว่าจะเป็นเมื่อใด
ทั้งนี้ ศาลได้ตั้งประเด็นในการพิจารณาว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งสองบังคับคดีล่าช้าเกินสมควรหรือไม่ หากท้ายที่สุดมีคำสั่งว่า ผู้ถูกฟ้องปฏิบัติล่าช้านอกจากทางสำนักงานเขต จะต้องเร่งไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแล้ว ตามกฎหมาย ศาลสามารถสั่งปรับเงินส่วนตัวครั้งละ 5 หมื่นบาท รวมถึงอาจให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการทางวินัยกับผู้ถูกฟ้องได้ และหากผู้ถูกฟ้องยังประวิงเวลาช่วยเหลือบริษัทเจ้าของอาคาร ทางผู้ฟ้องคดีก็อาจจะมีการฟ้องฐานะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ม. 157 ด้วย
ในการไต่สวน น.พ.สงคราม ได้เดินทางมาพร้อมกับ นายขวัญแก้ว น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายความ ส่วนฝ่ายผู้ถูกฟ้องได้ส่งผู้แทนเข้าให้ถ้อยคำ
หลังการไต่สวนนาน 2 ชั่วโมง นายเฉลิมพงษ์ กล่าวว่า หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาตามขั้นตอน ผอ.เขตปทุมวันจะต้องมีคำสั่งให้ บริษัทเจ้าของอาคารดำเนินการปรับลดชั้นของอาคาร หรือ รื้อถอนอาคารภายในเวลา 60 วัน แต่ทาง ผอ.เขตปทุมวัน กลับมีคำสั่งไปยัง 2 บริษัท โดยอาศัยมาตรา 40 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ว่า ไม่ให้บุคคลใดใช้ หรือเข้าไปในส่วนใดของอาคาร โดยท้ายคำสั่งระบุให้ผู้รับคำสั่ง หากไม่เห็นด้วยสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ทำให้ 2 บริษัทดังกล่าว ยื่นอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรุงเทพมหานคร โดยอ้างว่า มีพยานหลักฐานใหม่ ที่ยืนยันว่าเขตทาง ซ.ร่วมฤดี มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร จึงเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้อง เป็นการจงใจช่วยเหลือเพื่อประวิงเวลาการบังคับคดี ซึ่งระหว่างไต่สวน หลังฝ่ายผู้ถูกฟ้องชี้แจงเรื่องของการยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ ศาลก็ระบุว่ากระบวนการที่ทางเขตดำเนินการ เป็นการใช้อำนาจบริหารปกติ ที่จะใช้ในกรณีมีการร้องเรียน แต่เรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ทางสำนักงานเขตจึงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา โดยหลังจากนี้ศาลก็จะนำเรื่องเข้าหารือในองค์คณะและจะมีคำสั่งออกมาแต่ยังไม่ได้แจ้งว่าจะเป็นเมื่อใด
ทั้งนี้ ศาลได้ตั้งประเด็นในการพิจารณาว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งสองบังคับคดีล่าช้าเกินสมควรหรือไม่ หากท้ายที่สุดมีคำสั่งว่า ผู้ถูกฟ้องปฏิบัติล่าช้านอกจากทางสำนักงานเขต จะต้องเร่งไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแล้ว ตามกฎหมาย ศาลสามารถสั่งปรับเงินส่วนตัวครั้งละ 5 หมื่นบาท รวมถึงอาจให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการทางวินัยกับผู้ถูกฟ้องได้ และหากผู้ถูกฟ้องยังประวิงเวลาช่วยเหลือบริษัทเจ้าของอาคาร ทางผู้ฟ้องคดีก็อาจจะมีการฟ้องฐานะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ม. 157 ด้วย