วานนี้ (16 ส.ค.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำทีมสนช.ไปตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ถ.เกียกกาย โดยนายพรเพชร ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจงาน ว่า มีความคืบหน้าแล้ว 24 เปอร์เซ็นต์ ถือว่ายังไม่น่าพอใจ เพราะใครที่สร้างบ้าน ก็อยากให้บ้านเสร็จเร็วๆ ซึ่งปัญหาการส่งมอบพื้นที่เป็นพันธสัญญาสำคัญที่เป็นเหตุให้ผู้รับเหมาอ้างได้ รวมถึงพื้นที่ชุมชนทอผ้าที่เหลืออีก 6 ครอบครัว ที่ยังไม่ออกจากพื้นที่ ซึ่งตนเคยบอกไปแล้วว่า ให้ระวัง อย่าให้มีผู้บุกรุกรายใหม่เข้ามาจะเป็นปัญหา หากเราเป็นเอกชนก็คงจ่ายค่าชดเชยได้ง่าย แต่เนื่องจากเป็นหน่วยงานราชการ ต้องดูข้อกฎหมายระเบียบทางราชการ
อย่างไรก็ตามภายในเดือนก.ย. หรืออย่างช้าในเดือนต.ค. คงส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้ผู้รับเหมาได้ก่อสร้าง จากนั้นผู้รับเหมาต้องดำเนินงานโดยไม่มีข้ออ้างว่าอุปสรรคการก่อสร้างเกิดจากเรา ส่วนระยะเวลาที่ผู้รับขอเหมาขอขยายอีก 600 วันนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการตรวจการจ้าง และบริษัทที่ปรึกษา ว่าจะขยายได้หรือไม่ และขยายได้เท่าใด
เมื่อถามว่า หากมีการขยายเวลาการก่อสร้างจะต้องเสียค่าปรับหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ตั้งแต่ทำสัญญารอบที่ 1 ได้มีการระบุว่า จะไม่มีการฟ้องร้องกัน โดยในสัญญาก็ไม่มีค่าปรับ เป็นสิ่งที่ต้องเสียสละทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งในอนาคตผู้รับเหมาจะฟ้องร้องไม่ได้ เพราะมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงสัญญาการก่อสร้างเท่านั้น ไม่รวมการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ และระบบไอที
ส่วนเรื่องแบบการก่อสร้างทุกอย่างยังเดินหน้าเหมือนเดิม ไม่มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสัญญา ซึ่งการใช้ไม้สัก จำนวน 5,000 ต้น ในการก่อสร้าง ยืนยันว่า ไม่ใช่หน้าที่ของสภาที่จะต้องไปจัดหา แต่เป็นหน้าที่ของบริษัทผู้รับเหมา ซึ่งได้ยืนยันว่า สามารถทำตามแบบได้ และคงไม่ใช้ไม้ชนิดอื่น โดยบริษัทผู้รับเหมาให้เหตุผลว่า ไม้สักเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และที่เขาชนะการประกวดการออกแบบมาได้ ก็เพราะไม้สัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ส่วนความกังวลขณะนี้ ก็เป็นเรื่องการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อาจบดบังภูมิทัศน์ เพราะรัฐสภาใหม่จะเป็นแลนด์มาร์กสำคัญริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แบบเดียวกับรัฐสภาอังกฤษ และฮังการี รวมถึงปัญหาเรื่องทีจอดรถที่อาจไม่เพียงพอ แต่ก็เป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย ซึ่งตนอยากให้สภาไทยสวยแบบนั้น
เมื่อถามว่า ทางสภาจะต้องรายงานให้ทางนายกรัฐมนตรีรับทราบที่จะใช้ไม้สักหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า หากทางรัฐบาลจะให้ดำเนินการอย่างไรก็ต้องบอก และมีคำสั่งมา แต่ในขณะนี้เราต้องทำตามสัญญา
อย่างไรก็ตามภายในเดือนก.ย. หรืออย่างช้าในเดือนต.ค. คงส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้ผู้รับเหมาได้ก่อสร้าง จากนั้นผู้รับเหมาต้องดำเนินงานโดยไม่มีข้ออ้างว่าอุปสรรคการก่อสร้างเกิดจากเรา ส่วนระยะเวลาที่ผู้รับขอเหมาขอขยายอีก 600 วันนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการตรวจการจ้าง และบริษัทที่ปรึกษา ว่าจะขยายได้หรือไม่ และขยายได้เท่าใด
เมื่อถามว่า หากมีการขยายเวลาการก่อสร้างจะต้องเสียค่าปรับหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ตั้งแต่ทำสัญญารอบที่ 1 ได้มีการระบุว่า จะไม่มีการฟ้องร้องกัน โดยในสัญญาก็ไม่มีค่าปรับ เป็นสิ่งที่ต้องเสียสละทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งในอนาคตผู้รับเหมาจะฟ้องร้องไม่ได้ เพราะมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงสัญญาการก่อสร้างเท่านั้น ไม่รวมการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ และระบบไอที
ส่วนเรื่องแบบการก่อสร้างทุกอย่างยังเดินหน้าเหมือนเดิม ไม่มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสัญญา ซึ่งการใช้ไม้สัก จำนวน 5,000 ต้น ในการก่อสร้าง ยืนยันว่า ไม่ใช่หน้าที่ของสภาที่จะต้องไปจัดหา แต่เป็นหน้าที่ของบริษัทผู้รับเหมา ซึ่งได้ยืนยันว่า สามารถทำตามแบบได้ และคงไม่ใช้ไม้ชนิดอื่น โดยบริษัทผู้รับเหมาให้เหตุผลว่า ไม้สักเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และที่เขาชนะการประกวดการออกแบบมาได้ ก็เพราะไม้สัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ส่วนความกังวลขณะนี้ ก็เป็นเรื่องการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อาจบดบังภูมิทัศน์ เพราะรัฐสภาใหม่จะเป็นแลนด์มาร์กสำคัญริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แบบเดียวกับรัฐสภาอังกฤษ และฮังการี รวมถึงปัญหาเรื่องทีจอดรถที่อาจไม่เพียงพอ แต่ก็เป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย ซึ่งตนอยากให้สภาไทยสวยแบบนั้น
เมื่อถามว่า ทางสภาจะต้องรายงานให้ทางนายกรัฐมนตรีรับทราบที่จะใช้ไม้สักหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า หากทางรัฐบาลจะให้ดำเนินการอย่างไรก็ต้องบอก และมีคำสั่งมา แต่ในขณะนี้เราต้องทำตามสัญญา