ผู้จัดการรายวัน360-"จรัมพร"ฟุ้งหยุดเลือดการบินไทยได้ ผ่านช่วงเหนื่อยสุดของปี เผย Q2/59 ขาดทุนสุทธิที่ 2.9 พันล้าน ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนเกือบ 1.3 หมื่นล้าน เดินหน้าใช้ระบบบริหารราคาตั๋วแบบเรียลไทม์ และจัดเส้นทางบิน หวังรายได้เพิ่ม 2-3% หรืออย่างน้อย 2-4 พันล้าน ลุยโค้ดแชร์ 10 แอร์ไลน์พันธมิตร ขยับสัดส่วนรายได้จาก5% เป็น 20-25%
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลประกอบการในไตรมาส2/2559 (เม.ย.-มิ.ย.) ขาดทุนสุทธิ 2,915 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 2/2558 ถือว่าขาดทุนลดลงมาก (ไตรมาส2/58 ขาดทุนสุทธิกว่า 12,800 ล้านบาท) ดังนั้น การบินไทย ได้ผ่านไตรมาสที่แย่ที่สุดของปี ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว ที่ถือเป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุดของสายการบินมาแล้ว โดยผลประกอบการรวม 6 เดือนปี 2559 มีกำไรจากการดำเนินงาน 5,397 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,100 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกปี 2558 ที่มีขาดทุนจากการดำเนินงาน 297 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ ถึง 8,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ผู้โดยสารในไตรมาส2 จะเพิ่มขึ้น3% อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เพิ่มขึ้น2% แต่รายได้และกำไรเพิ่มไม่มากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง ทำให้สายการบินต่างๆ มีการลดค่าโดยสาร เพื่อแข่งขันกันมาก แต่ถือว่าบริษัท มีความสามารถทางการขายเพิ่มมากขึ้น โดยเป้าหมายในการทำงานหลังจากนี้ จะพยายามเพิ่มCabin Factor ให้ถึง 80% จากปัจจุบันที่ Cabin Factor เฉลี่ย75% ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มอีก5% โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเนื่องจากเป็นการขายที่นั่งว่างให้ได้มากขึ้น รวมถึงร่วมมือกับสายการบินพันธมิตรในการทำโค้ดแชร์ (Code Sharing) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีกว่า 10 สายการบิน โดยจะพยายามเพิ่มสัดส่วนรายได้จากโค้ดแชร์ จากปัจจุบันที่มีเพียง 5% ให้เป็น 20-25% ให้เร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนรายได้ที่สายการบินอื่นๆ มีจากการทำโค้ดแชร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้ระบบใหม่ 2 ตัว คือ ระบบการบริหารราคาใหม่ (Fare Management System) ซึ่งจะทำให้ปรับราคาขายได้รวดเร็วทันสถานการณ์ รับรู้ราคาคู่แข่งทุกวัน สามารถปรับราคาตามกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และระบบการบริหารเครือข่ายเส้นทางบิน (Network Management & Optimization) การวางแผนฝูงบิน (Fleet Plan) ซึ่งจะเริ่มปรับเวลาให้สามารถเชื่อมต่อเที่ยวบินได้ดีขึ้น โดยขณะนี้บริษัทมีการวางแผนตารางบินล่วงหน้า4ฤดูแล้ว โดยวางแผนไปจนถึง ตารางบินฤดูหนาวปี 2561 โดยประเมินว่าการใช้ระบบใหม่จะเพิ่มรายได้ระบบละ 2-3% หรือ 1% จะเท่ากับประมาณ 1,500 ล้านบาท (เมื่อเทียบกับรายได้รวม 150,000 ล้านบาท) ซึ่งจะเริ่มเห็นผลหลังจากนี้ประมาณ 3 เดือน
"ปี 58 หยุดเลือดไหล ส่วนปี 59 เร่งปรับปรุงองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งแผนปฎิรูปมี 20 โครงการ ปี 59 ทำแล้ว 14 โครงการ อีก 6 โครงการจะทำในปี 60 ซึ่งจะเป็นปีแห่งการวางรากฐาน วางระบบเพื่อโตอย่างยั่งยืน"นายจรัมพรกล่าว
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลประกอบการในไตรมาส2/2559 (เม.ย.-มิ.ย.) ขาดทุนสุทธิ 2,915 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 2/2558 ถือว่าขาดทุนลดลงมาก (ไตรมาส2/58 ขาดทุนสุทธิกว่า 12,800 ล้านบาท) ดังนั้น การบินไทย ได้ผ่านไตรมาสที่แย่ที่สุดของปี ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว ที่ถือเป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุดของสายการบินมาแล้ว โดยผลประกอบการรวม 6 เดือนปี 2559 มีกำไรจากการดำเนินงาน 5,397 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,100 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกปี 2558 ที่มีขาดทุนจากการดำเนินงาน 297 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ ถึง 8,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ผู้โดยสารในไตรมาส2 จะเพิ่มขึ้น3% อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เพิ่มขึ้น2% แต่รายได้และกำไรเพิ่มไม่มากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง ทำให้สายการบินต่างๆ มีการลดค่าโดยสาร เพื่อแข่งขันกันมาก แต่ถือว่าบริษัท มีความสามารถทางการขายเพิ่มมากขึ้น โดยเป้าหมายในการทำงานหลังจากนี้ จะพยายามเพิ่มCabin Factor ให้ถึง 80% จากปัจจุบันที่ Cabin Factor เฉลี่ย75% ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มอีก5% โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเนื่องจากเป็นการขายที่นั่งว่างให้ได้มากขึ้น รวมถึงร่วมมือกับสายการบินพันธมิตรในการทำโค้ดแชร์ (Code Sharing) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีกว่า 10 สายการบิน โดยจะพยายามเพิ่มสัดส่วนรายได้จากโค้ดแชร์ จากปัจจุบันที่มีเพียง 5% ให้เป็น 20-25% ให้เร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนรายได้ที่สายการบินอื่นๆ มีจากการทำโค้ดแชร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้ระบบใหม่ 2 ตัว คือ ระบบการบริหารราคาใหม่ (Fare Management System) ซึ่งจะทำให้ปรับราคาขายได้รวดเร็วทันสถานการณ์ รับรู้ราคาคู่แข่งทุกวัน สามารถปรับราคาตามกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และระบบการบริหารเครือข่ายเส้นทางบิน (Network Management & Optimization) การวางแผนฝูงบิน (Fleet Plan) ซึ่งจะเริ่มปรับเวลาให้สามารถเชื่อมต่อเที่ยวบินได้ดีขึ้น โดยขณะนี้บริษัทมีการวางแผนตารางบินล่วงหน้า4ฤดูแล้ว โดยวางแผนไปจนถึง ตารางบินฤดูหนาวปี 2561 โดยประเมินว่าการใช้ระบบใหม่จะเพิ่มรายได้ระบบละ 2-3% หรือ 1% จะเท่ากับประมาณ 1,500 ล้านบาท (เมื่อเทียบกับรายได้รวม 150,000 ล้านบาท) ซึ่งจะเริ่มเห็นผลหลังจากนี้ประมาณ 3 เดือน
"ปี 58 หยุดเลือดไหล ส่วนปี 59 เร่งปรับปรุงองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งแผนปฎิรูปมี 20 โครงการ ปี 59 ทำแล้ว 14 โครงการ อีก 6 โครงการจะทำในปี 60 ซึ่งจะเป็นปีแห่งการวางรากฐาน วางระบบเพื่อโตอย่างยั่งยืน"นายจรัมพรกล่าว