ผู้จัดการรายวัน360-ดัชนีหุ้นไทยพุ่งกว่า 23 จุด ขานรับผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ โบรกเกอร์เตือนนักลงทุนเพิ่มความรอบคอบ แม้ปัจจัยในประเทศสดใส แต่เศรษฐกิจโลกยังต้องเฝ้าระวัง เผยกรอบ 1,530-1,577 จุด จะมีความผันผวนสูง ด้าน ธปท.ประเมินส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้ (8 ส.ค.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแรง รับผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยแตะระดับสูงสุดที่ 1,543.36 จุด ต่ำสุดที่ 1,532.39 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,542.26 จุด เพิ่มขึ้น 23.57 จุด คิดเป็น 1.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 76,292.36 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิรวม 6,887.69 ล้านบาท
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญน่าจะส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลอดเดือนที่ผ่านมา มีกระแสเงินทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งหากเข้ามามากจนส่งผลกระทบต่อการการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีมาตรการกำกับดูแลในระดับหนึ่ง
“การรับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนว่า โรดแมปจะเดินหน้าตามแผน โดยหุ้นกลุ่มที่น่าจะได้รับความน่าสนใจน่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและท่องเที่ยว โดยเชื่อว่าสิ่งที่จะเป็นผลดีมากขึ้นหลังจากนี้ คือ การลงทุนของภาคเอกชน และการบริโภคภาคเอกชน"นางเกศรากล่าว
นายรพี สุจริกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ผลประชามติทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนดีขึ้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นค่อนข้างมาก แต่ระยะยาวจะปรับขึ้นได้ต่อเนื่องหรือไม่ ยังต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนด้วย และยังต้องระวังเรื่องเศรษฐกิจต่างประเทศทั้งจากยุโรปและสหรัฐฯ เพราะล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติตัดสินใจว่าจะดึงเงินกลับออกไปหรือไม่
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ระบุว่า ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ช่วยทำให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการเมืองไทยมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นคำถามพ่วงที่ได้รับความเห็นชอบ เพราะมีนัยต่อเศรษฐกิจและการเมืองไทย เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีอำนาจผ่านทางวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาล จึงเชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในปลายปี 2560 หรืออย่างช้ากลางปี 2561 ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสานต่อนโยบายของรัฐบาล คสช. ทั้งเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ต่างๆ ดังนั้น การลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวได้มากขึ้น
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.เอเชียพลัส จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางของกระแสเงินทุนไหลเข้ามาอีกครั้ง อาจจะยังต้องรอให้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างชัดเจน ถึงจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนมากขึ้น และโดยส่วนตัวเห็นว่า เงินไหลเข้าจากต่างประเทศช่วงนี้จะยังไม่สามารถทดแทนการไหลออกของเงินทุนในช่วงปี 2553 ได้ทั้งหมด เพราะในขณะนั้นชาติขายออกถึง 3.8 แสนล้านบาท มองว่าเศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้นตัวมากนัก การบริโภคในประเทศยังไม่ดีขึ้น ในส่วนของการเปิดขายซองรถไฟฟ้า 13 เส้นทาง ก็ยังมีกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ อีกหลายขั้นตอน เราอาจได้เห็นเม็ดเงินไหลลงสู่ระบบได้ประมาณปี 2560 เป็นต้นไป จึงยังไม่ส่งผลกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศมากนัก
ขณะที่นายประกิต สิริวัฒนเกต ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.กสิกรไทย กล่าวว่า บรรยากาศทางการเมืองที่ชัดเจน โดยเฉพาะกำหนดการเลือกตั้ง เป็นตัวเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังมีโอกาสที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่องหนุนให้ดัชนีขึ้นไปทดสอบ 1,577 จุด โดยระยะสั้นดัชนีอาจมีความผันผวนบ้าง แต่การขึ้นรอบนี้จะเป็นช่วงปลาย โซน 1,530-1,577 จุด จะเป็นช่วงที่มีความผันผวนสูง นักลงทุนจึงควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะยังมีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะท่าทีของสหรัฐฯ ที่จะกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในประเทศ ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวของไทยและตัวเลขการท่องเที่ยว แม้จะยังขยายตัวได้แต่เป็นการขยายตัวที่เริ่มชะลอ เพราะฉะนั้น การลงทุนของภาครัฐจึงเป็นปัจจัยเดียวที่จะส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยในปีนี้
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติไปได้ด้วยดีจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย เพราะปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองหมดไป ซึ่งในจุดนี้จะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนดัชนีตลาดหุ้นไทยพุ่งแรง เป็นการสะท้อนถึงความมั่นใจของนักลงทุน และคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ อาจส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าในระยะสั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้ (8 ส.ค.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแรง รับผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยแตะระดับสูงสุดที่ 1,543.36 จุด ต่ำสุดที่ 1,532.39 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,542.26 จุด เพิ่มขึ้น 23.57 จุด คิดเป็น 1.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 76,292.36 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิรวม 6,887.69 ล้านบาท
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญน่าจะส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลอดเดือนที่ผ่านมา มีกระแสเงินทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งหากเข้ามามากจนส่งผลกระทบต่อการการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีมาตรการกำกับดูแลในระดับหนึ่ง
“การรับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนว่า โรดแมปจะเดินหน้าตามแผน โดยหุ้นกลุ่มที่น่าจะได้รับความน่าสนใจน่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและท่องเที่ยว โดยเชื่อว่าสิ่งที่จะเป็นผลดีมากขึ้นหลังจากนี้ คือ การลงทุนของภาคเอกชน และการบริโภคภาคเอกชน"นางเกศรากล่าว
นายรพี สุจริกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ผลประชามติทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนดีขึ้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นค่อนข้างมาก แต่ระยะยาวจะปรับขึ้นได้ต่อเนื่องหรือไม่ ยังต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนด้วย และยังต้องระวังเรื่องเศรษฐกิจต่างประเทศทั้งจากยุโรปและสหรัฐฯ เพราะล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติตัดสินใจว่าจะดึงเงินกลับออกไปหรือไม่
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ระบุว่า ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ช่วยทำให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการเมืองไทยมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นคำถามพ่วงที่ได้รับความเห็นชอบ เพราะมีนัยต่อเศรษฐกิจและการเมืองไทย เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีอำนาจผ่านทางวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาล จึงเชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในปลายปี 2560 หรืออย่างช้ากลางปี 2561 ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสานต่อนโยบายของรัฐบาล คสช. ทั้งเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ต่างๆ ดังนั้น การลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวได้มากขึ้น
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.เอเชียพลัส จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางของกระแสเงินทุนไหลเข้ามาอีกครั้ง อาจจะยังต้องรอให้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างชัดเจน ถึงจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนมากขึ้น และโดยส่วนตัวเห็นว่า เงินไหลเข้าจากต่างประเทศช่วงนี้จะยังไม่สามารถทดแทนการไหลออกของเงินทุนในช่วงปี 2553 ได้ทั้งหมด เพราะในขณะนั้นชาติขายออกถึง 3.8 แสนล้านบาท มองว่าเศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้นตัวมากนัก การบริโภคในประเทศยังไม่ดีขึ้น ในส่วนของการเปิดขายซองรถไฟฟ้า 13 เส้นทาง ก็ยังมีกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ อีกหลายขั้นตอน เราอาจได้เห็นเม็ดเงินไหลลงสู่ระบบได้ประมาณปี 2560 เป็นต้นไป จึงยังไม่ส่งผลกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศมากนัก
ขณะที่นายประกิต สิริวัฒนเกต ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.กสิกรไทย กล่าวว่า บรรยากาศทางการเมืองที่ชัดเจน โดยเฉพาะกำหนดการเลือกตั้ง เป็นตัวเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังมีโอกาสที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่องหนุนให้ดัชนีขึ้นไปทดสอบ 1,577 จุด โดยระยะสั้นดัชนีอาจมีความผันผวนบ้าง แต่การขึ้นรอบนี้จะเป็นช่วงปลาย โซน 1,530-1,577 จุด จะเป็นช่วงที่มีความผันผวนสูง นักลงทุนจึงควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะยังมีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะท่าทีของสหรัฐฯ ที่จะกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในประเทศ ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวของไทยและตัวเลขการท่องเที่ยว แม้จะยังขยายตัวได้แต่เป็นการขยายตัวที่เริ่มชะลอ เพราะฉะนั้น การลงทุนของภาครัฐจึงเป็นปัจจัยเดียวที่จะส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยในปีนี้
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติไปได้ด้วยดีจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย เพราะปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองหมดไป ซึ่งในจุดนี้จะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนดัชนีตลาดหุ้นไทยพุ่งแรง เป็นการสะท้อนถึงความมั่นใจของนักลงทุน และคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ อาจส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าในระยะสั้น