รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2559 คือ ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผลงานที่สามารถลดจำนวนผู้ป่วยพิการ อัตราป่วย และอัตราตาย ของผู้ป่วยโรคพันธุกรรม ความพิการ แต่กำเนิด ได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 400,000 บาท
สำหรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เงินรางวัล 100,000 บาท จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย 1. ผศ.ดร. การุณ ทองประจุแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผลงาน “จัดการอาหารสัตว์น้ำโดยใช้เทคโนโลยีของเอนไซม์ ย่อยอาหาร” 2. ผศ.ดร. พนิดา สุรวัฒนาวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลผลงาน “เคมีคำนวณเพื่ออธิบายกลไกของปฏิกิริยาเคมีและชีวเคมี” 3. ผศ. ดร. ศิริลตา ยศแผ่น อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน“เรียนรู้การออกแบบกระบวนการการสังเคราะห์สารอินทรีย์…สู่การพัฒนานวัตกรรมการสังเคราะห์สารที่ยั่งยืน” และ 4. ผศ. ดร. อติพร แซ่อึ้ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน “การพัฒนาเทคนิคพื้นฐานด้านปรสิตวิทยาทางการแพทย์เพื่อการประยุกต์”
ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และอธิการบดี สถาบันวิทยสิริเมธี กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนเงินลงทุนด้านการวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งบประมาณเพียง 0.22% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ ที่ใช้เงินลงทุนด้านการวิจัยมากถึง 4.25% ของจีดีพี และพบว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย ซึ่งมีจำนวนประชากรน้อยกว่าประเทศไทยครึ่งหนึ่ง แต่กลับมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์ มากกว่าประเทศไทยถึง 1.5 เท่า ซึ่งถือเป็นวิกฤติการณ์ที่ไทยกำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้
.......
สำหรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เงินรางวัล 100,000 บาท จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย 1. ผศ.ดร. การุณ ทองประจุแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผลงาน “จัดการอาหารสัตว์น้ำโดยใช้เทคโนโลยีของเอนไซม์ ย่อยอาหาร” 2. ผศ.ดร. พนิดา สุรวัฒนาวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลผลงาน “เคมีคำนวณเพื่ออธิบายกลไกของปฏิกิริยาเคมีและชีวเคมี” 3. ผศ. ดร. ศิริลตา ยศแผ่น อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน“เรียนรู้การออกแบบกระบวนการการสังเคราะห์สารอินทรีย์…สู่การพัฒนานวัตกรรมการสังเคราะห์สารที่ยั่งยืน” และ 4. ผศ. ดร. อติพร แซ่อึ้ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน “การพัฒนาเทคนิคพื้นฐานด้านปรสิตวิทยาทางการแพทย์เพื่อการประยุกต์”
ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และอธิการบดี สถาบันวิทยสิริเมธี กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนเงินลงทุนด้านการวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งบประมาณเพียง 0.22% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ ที่ใช้เงินลงทุนด้านการวิจัยมากถึง 4.25% ของจีดีพี และพบว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย ซึ่งมีจำนวนประชากรน้อยกว่าประเทศไทยครึ่งหนึ่ง แต่กลับมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์ มากกว่าประเทศไทยถึง 1.5 เท่า ซึ่งถือเป็นวิกฤติการณ์ที่ไทยกำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้
.......