ผู้จัดการรายวัน 360 - ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก “หมอเลี้ยบ” 1 ปี ปรับ 2 หมื่น แต่งตั้งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด ธปท.ขัดกฎหมาย แต่กลับลำยกเลิกภายหลัง สร้างความเสียหายไม่มาก ให้รอลงอาญา 1 ปี เจ้าตัวบอกยกภูเขาจากอกได้แล้ว 1 ลูก ยังเหลือคดีแปลงสัญญาสัมปทานเอื้อชินแซทฯ ศาลนัดฟัง 25 ส.ค.นี้
วานนี้ (4 ส.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.39/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีต รมว.คลัง สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157
จากกรณีเมื่อปี 2551 นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง รัฐบาลของนายสมัคร และได้มีการแต่งตั้ง ประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหรือบอร์ด ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมิชอบ ซึ่งมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ภายหลังวินิจฉัยว่า การคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคน มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 28/1และได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการระงับการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ ธปท. และให้ รมว.คลัง ดำเนินการยกเลิกการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท.
** ศาลพิพากษาคุก 1 ปีรอลงอาญา
องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากพิจารณาแล้วเห็นว่า การแต่งตั้ง นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิจิตร สุพินิจ และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ต่างเป็นตัวแทนในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.เข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการ ธปท. ถือว่าบุคคลทั้งสามเป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามความหมายของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยฯ เมื่อจำเลยแต่งตั้งบุคคลทั้งสามเป็นคณะกรรมการคัดเลือก จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปีและปรับเงิน 2 หมื่นบาท
แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการแห่งคดีแล้ว ภายหลังจากจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ธปท.แล้ว แม้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงวุฒิใน ธปท.ก็ตาม ต่อมามีการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก และกรรมการ ธปท. จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา
** 25 ส.ค.ลุ้นคดีเอื้อชินแซทฯอีกเรื่อง
ภายหลังฟังคำพิพากษา นพ.สุรพงษ์ เปิดเผยว่า น้อมรับคำพิพากษาและขอบคุณในความเมตตาของศาล เรื่องนี้ถือเป็นกฎหมายใหมที่เพิ่งบังคับใช้ ซึ่งศาลก็ได้ให้ความชัดเจนและเป็นบรรทัดฐานให้รัฐมนตรีดำเนินการตามคำวินิจฉัยต่อไป ซึ่งวันนี้ได้ยกภูเขาออกไปแล้ว 1 ลูก ส่วนคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีแปลงสัญญาสัมปทาน เอื้อประโยชน์ชินแซทเทไลท์ ซึ่งคดีนี้ศาลจะมีคำพิพากษา 25 ส.ค.นี้ เวลา 10.30 น.ก็เป็นธรรมดาของคนที่ถูกฟ้องจะมีความกังวล แต่ใครที่ถูกฟ้องขอให้มีสติ รวบข้อมูลสู้ให้เต็มที่ เชื่อศาลพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม.
วานนี้ (4 ส.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.39/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีต รมว.คลัง สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157
จากกรณีเมื่อปี 2551 นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง รัฐบาลของนายสมัคร และได้มีการแต่งตั้ง ประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหรือบอร์ด ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมิชอบ ซึ่งมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ภายหลังวินิจฉัยว่า การคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคน มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 28/1และได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการระงับการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ ธปท. และให้ รมว.คลัง ดำเนินการยกเลิกการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท.
** ศาลพิพากษาคุก 1 ปีรอลงอาญา
องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากพิจารณาแล้วเห็นว่า การแต่งตั้ง นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิจิตร สุพินิจ และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ต่างเป็นตัวแทนในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.เข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการ ธปท. ถือว่าบุคคลทั้งสามเป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามความหมายของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยฯ เมื่อจำเลยแต่งตั้งบุคคลทั้งสามเป็นคณะกรรมการคัดเลือก จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปีและปรับเงิน 2 หมื่นบาท
แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการแห่งคดีแล้ว ภายหลังจากจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ธปท.แล้ว แม้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงวุฒิใน ธปท.ก็ตาม ต่อมามีการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก และกรรมการ ธปท. จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา
** 25 ส.ค.ลุ้นคดีเอื้อชินแซทฯอีกเรื่อง
ภายหลังฟังคำพิพากษา นพ.สุรพงษ์ เปิดเผยว่า น้อมรับคำพิพากษาและขอบคุณในความเมตตาของศาล เรื่องนี้ถือเป็นกฎหมายใหมที่เพิ่งบังคับใช้ ซึ่งศาลก็ได้ให้ความชัดเจนและเป็นบรรทัดฐานให้รัฐมนตรีดำเนินการตามคำวินิจฉัยต่อไป ซึ่งวันนี้ได้ยกภูเขาออกไปแล้ว 1 ลูก ส่วนคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีแปลงสัญญาสัมปทาน เอื้อประโยชน์ชินแซทเทไลท์ ซึ่งคดีนี้ศาลจะมีคำพิพากษา 25 ส.ค.นี้ เวลา 10.30 น.ก็เป็นธรรมดาของคนที่ถูกฟ้องจะมีความกังวล แต่ใครที่ถูกฟ้องขอให้มีสติ รวบข้อมูลสู้ให้เต็มที่ เชื่อศาลพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม.