วานนี้ (2 ส.ค.) ที่รัฐสภา เครือข่ายภาคประชาชนจำนวน 29 องค์กร อาทิ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย เป็นต้น ได้ยื่นหนังสือต่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เพื่อขอให้ สนช.ถอนร่าง พ.ร.บ.แร่ (ฉบับที่…)พ.ศ…ออกจากพิจารณาของสนช. เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยขอให้จัดทำ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ โดยมีเหตุผลสำคัญ ดังนี้
1.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ในปัจจุบัน และอาจทำให้ปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น เพราะขาดมาตรการควบคุมดูแล และป้องกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่เหมาะสม จากสถานการณ์ในปัจจุบัน
2.การให้อำนาจหน่วยงานในการกำหนดเขตทรัพยากรแร่เพื่อให้พื้นที่ทำเหมืองแร่มีสถานะเหนือกฎหมายอื่น รวมทั้ง สามารถกำหนดให้พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศวิทยา เป็นเขตทรัพยากรแร่ได้
3.การลดขั้นตอนการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ให้สามารถอนุมัติได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ การลดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้ความคิดเห็น
4.การกำหนดให้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สำหรับพื้นที่ที่มีแร่อุดมสมบูรณ์ไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อเข้ามาทำเหมืองแร่โดยไม่ต้องศึกษาอีกอันเป็นการขัดกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม และจะนำไปสู่การสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
5.การไม่มีบทบัญญัติที่ให้ประชาชนและชุมชนรอบเหมือง สามารถยับยั้งหรือยุติการทำเหมืองได้ ในกรณีที่เหมืองก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รวมทั้งไม่มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
6. ในร่างพ.ร.บ.แร่ ยังไม่มีบทบัญญัติว่าการเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าภาคหลวงแร่ และสัญญาการชำระค่าภาคหลวงแร่เพื่อให้รัฐสามารถเก็บค่าภาคหลวงแร่ได้ตามมูลค่าจริงที่ผู้ประกอบได้จากการทำเหมือง
7.ขาดการเชื่อมโยงกับข้อกำหนดหรือกฎหมายในระดับสากลสำหรับการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลการนำเข้าแร่ และส่งออกแร่ออกนอกราชอาณาจักร
ดังนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมด กฎหมายแร่จึงไม่ใช้กฎหมายเร่งด่วนที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ จึงสมควรที่รัฐบาลและ สนช.ต้องรับฟังความเห็นรอบด้านเพื่อให้ได้กฎหมายแร่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า จะส่งหนังสือของภาคประชาชนไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.แร่ (ฉบับที่…)พ.ศ…ซึ่งกรรมาธิการฯได้ขอขยายเวลาการพิจารณาไปถึงเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตาม หลักการของการเสนอกฎหมายใครเสนอก็ต้องเป็นคนถอน ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ ครม. เป็นผู้เสนอ ดังนั้น ครม.จะต้องเป็นผู้ขอถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกจากการพิจารณาของ สนช.เอง โดยที่ สนช.ไม่มีสิทธิ์ถอนออก ทำได้เพียงปรับปรุงเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายเท่านั้น แต่ตนจะนำเรื่องนี้จะเข้าที่ประชุมวิป สนช. และ วิปรัฐบาล เพื่อแจ้งให้ทราบว่าภาคประชาชนมีความห่วงใยในสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ.แร่
1.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ในปัจจุบัน และอาจทำให้ปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น เพราะขาดมาตรการควบคุมดูแล และป้องกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่เหมาะสม จากสถานการณ์ในปัจจุบัน
2.การให้อำนาจหน่วยงานในการกำหนดเขตทรัพยากรแร่เพื่อให้พื้นที่ทำเหมืองแร่มีสถานะเหนือกฎหมายอื่น รวมทั้ง สามารถกำหนดให้พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศวิทยา เป็นเขตทรัพยากรแร่ได้
3.การลดขั้นตอนการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ให้สามารถอนุมัติได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ การลดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้ความคิดเห็น
4.การกำหนดให้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สำหรับพื้นที่ที่มีแร่อุดมสมบูรณ์ไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อเข้ามาทำเหมืองแร่โดยไม่ต้องศึกษาอีกอันเป็นการขัดกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม และจะนำไปสู่การสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
5.การไม่มีบทบัญญัติที่ให้ประชาชนและชุมชนรอบเหมือง สามารถยับยั้งหรือยุติการทำเหมืองได้ ในกรณีที่เหมืองก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รวมทั้งไม่มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
6. ในร่างพ.ร.บ.แร่ ยังไม่มีบทบัญญัติว่าการเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าภาคหลวงแร่ และสัญญาการชำระค่าภาคหลวงแร่เพื่อให้รัฐสามารถเก็บค่าภาคหลวงแร่ได้ตามมูลค่าจริงที่ผู้ประกอบได้จากการทำเหมือง
7.ขาดการเชื่อมโยงกับข้อกำหนดหรือกฎหมายในระดับสากลสำหรับการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลการนำเข้าแร่ และส่งออกแร่ออกนอกราชอาณาจักร
ดังนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมด กฎหมายแร่จึงไม่ใช้กฎหมายเร่งด่วนที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ จึงสมควรที่รัฐบาลและ สนช.ต้องรับฟังความเห็นรอบด้านเพื่อให้ได้กฎหมายแร่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า จะส่งหนังสือของภาคประชาชนไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.แร่ (ฉบับที่…)พ.ศ…ซึ่งกรรมาธิการฯได้ขอขยายเวลาการพิจารณาไปถึงเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตาม หลักการของการเสนอกฎหมายใครเสนอก็ต้องเป็นคนถอน ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ ครม. เป็นผู้เสนอ ดังนั้น ครม.จะต้องเป็นผู้ขอถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกจากการพิจารณาของ สนช.เอง โดยที่ สนช.ไม่มีสิทธิ์ถอนออก ทำได้เพียงปรับปรุงเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายเท่านั้น แต่ตนจะนำเรื่องนี้จะเข้าที่ประชุมวิป สนช. และ วิปรัฐบาล เพื่อแจ้งให้ทราบว่าภาคประชาชนมีความห่วงใยในสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ.แร่