ผศ.กฤษณ์ เจ็ดวรรณะ ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการนี้ว่า ขณะนี้ได้ทยอยนำแบบเบื้องต้น ออกมาให้ประชาชนได้ชมกัน และมีส่วนร่วมแสดงข้อคิดเห็น ซึ่งคณะผู้บริหารโครงการ ได้พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ชุมชนวัดฉัตรแก้วจงกลนี ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 94 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด ซึ่งเป็นหนึ่งใน 33 ชุมชนริมฝั่งเจ้าพระยา
ทั้งนี้ โครงการนี้จะพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา โดยมีแนวทางอนุรักษ์-สืบสาน-สร้างสรรค์วิถีวัฒนธรรมริมน้ำ คุณภาพชีวิตที่ดี และการเชื่อมต่อให้เข้าถึงแม่น้ำได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยทางเดินเท้า ทางจักรยานแล้ว ในเชิงเศรษฐกิจ ปี 59 นี้ ประเทศไทยตั้งเป้าหมายรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวม 2.57 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดถึง 18.3 ล้านคน โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะช่วยสร้างเสริมโอกาสและพัมนาศักยภาพการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สองฝั่งแม่น้ำจะมีชุมชนมรดกวัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ที่ความหลากหลายให้คนไทยและนักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสมากยิ่งขึ้น ช่วยกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนและประชาชนสองฝั่งแม่น้ำ
สำหรับการพบปะชุมชนวัดฉัตรแก้วจงกลณี ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 94 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด เพื่อนำเสนอแบบซึ่งมาจากการสืบค้นข้อมูล สำรวจวิเคราะห์ ปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาสวัดฉัตรแก้วจงกลณี และชุมชนก่อนหน้านี้ บริเวณที่ตั้งชุมชนลักษณะเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 94 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรรมสิทธิ์ มีพื้นที่ 30 ไร่ โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์วัดฉัตรแก้วจงกลณี และที่ดินเอกชนบางส่วน ชุมชนร่วมกันพิจารณาแบบและเห็นชอบกับแบบพัฒนาพื้นที่ ประกอบด้วย การปรับปรุงภูมิทัศน์ริมน้ำ ศาลาท่าน้ำ พัฒนาท่าเรือ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชน ส่วนทางเดินเท้าและทางจักรยานอยู่ในระดับต่ำกว่าสันเขื่อน
ลักษณะของพื้นที่ชุมชน และอาชีพ เป็นที่ดินของวัดฉัตรแก้วจงกลณี และที่ดินเอกชนบางส่วน สภาพบ้านที่อยู่อาศัยที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบ้านไม้ สภาพทรุดโทรม ปลูกเรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว มีหลังคาเกือบติดกัน ทางเดินเท้าภายในชุมชนกว้างประมาณ 1.20 เมตร สภาพของชุมชนอยู่ในแนวเขื่อนกันน้ำท่วม และยังมีกลุ่มที่อยู่อาศัยที่อยู่นอกแนวเขื่อนกั้นน้ำ (บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา) ซึ่งมีลักษณะที่ปักเสายกสูงลอยอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา จากการสอบถามในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินคือไม่มีสัญญาเช่า อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ อาชีพรับจ้างและค้าขาย
พื้นที่ศูนย์กลางของชุมชน จะอยู่บริเวณศาลาท่าน้ำเดิมของวัด ซึ่งปัจจุบันอยู่บนบก และเป็นศาลานั่งเล่นของประชาชนในชุมชน จุดเด่นของชุมชน พระปรางค์วัดฉัตรแก้วจงกลณี จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถและศาลาไม้สักทรงไทย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ทั้งนี้ โครงการนี้จะพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา โดยมีแนวทางอนุรักษ์-สืบสาน-สร้างสรรค์วิถีวัฒนธรรมริมน้ำ คุณภาพชีวิตที่ดี และการเชื่อมต่อให้เข้าถึงแม่น้ำได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยทางเดินเท้า ทางจักรยานแล้ว ในเชิงเศรษฐกิจ ปี 59 นี้ ประเทศไทยตั้งเป้าหมายรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวม 2.57 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดถึง 18.3 ล้านคน โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะช่วยสร้างเสริมโอกาสและพัมนาศักยภาพการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สองฝั่งแม่น้ำจะมีชุมชนมรดกวัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ที่ความหลากหลายให้คนไทยและนักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสมากยิ่งขึ้น ช่วยกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนและประชาชนสองฝั่งแม่น้ำ
สำหรับการพบปะชุมชนวัดฉัตรแก้วจงกลณี ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 94 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด เพื่อนำเสนอแบบซึ่งมาจากการสืบค้นข้อมูล สำรวจวิเคราะห์ ปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาสวัดฉัตรแก้วจงกลณี และชุมชนก่อนหน้านี้ บริเวณที่ตั้งชุมชนลักษณะเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 94 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรรมสิทธิ์ มีพื้นที่ 30 ไร่ โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์วัดฉัตรแก้วจงกลณี และที่ดินเอกชนบางส่วน ชุมชนร่วมกันพิจารณาแบบและเห็นชอบกับแบบพัฒนาพื้นที่ ประกอบด้วย การปรับปรุงภูมิทัศน์ริมน้ำ ศาลาท่าน้ำ พัฒนาท่าเรือ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชน ส่วนทางเดินเท้าและทางจักรยานอยู่ในระดับต่ำกว่าสันเขื่อน
ลักษณะของพื้นที่ชุมชน และอาชีพ เป็นที่ดินของวัดฉัตรแก้วจงกลณี และที่ดินเอกชนบางส่วน สภาพบ้านที่อยู่อาศัยที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบ้านไม้ สภาพทรุดโทรม ปลูกเรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว มีหลังคาเกือบติดกัน ทางเดินเท้าภายในชุมชนกว้างประมาณ 1.20 เมตร สภาพของชุมชนอยู่ในแนวเขื่อนกันน้ำท่วม และยังมีกลุ่มที่อยู่อาศัยที่อยู่นอกแนวเขื่อนกั้นน้ำ (บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา) ซึ่งมีลักษณะที่ปักเสายกสูงลอยอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา จากการสอบถามในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินคือไม่มีสัญญาเช่า อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ อาชีพรับจ้างและค้าขาย
พื้นที่ศูนย์กลางของชุมชน จะอยู่บริเวณศาลาท่าน้ำเดิมของวัด ซึ่งปัจจุบันอยู่บนบก และเป็นศาลานั่งเล่นของประชาชนในชุมชน จุดเด่นของชุมชน พระปรางค์วัดฉัตรแก้วจงกลณี จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถและศาลาไม้สักทรงไทย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง