ผู้จัดการรายวัน360- กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนส.อ.ท.เตรียมร่อนหนังสือถึงสศอ. ขอให้ทบทวนนโยบายส่งเสริมรถไฟฟ้า (EV) ใหม่ ชี้เร็วเกินไปไทยยังไม่พร้อมหวั่นกระทบหลายด้านทั้งไฟฟ้า แบตเตอรี่ รวมถึงผู้ผลิตชิ้นส่วน และรถอีโคคาร์ ขณะที่โตโยต้าตอกย้ำควรเป็นไฮบริดจ่อเสนอเว้นสรรพสามิต
แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยายนต์และ ชิ้นส่วนรถยนต์ส.อ.ท.จะยื่นหนังสือถึงนายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เพื่อขอให้ทบทวนนโยบายการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยใหม่เนื่องจากมองว่าการส่งเสริมฯเร็วเกินไปควรค่อยเป็นค่อยไปเพราะไทยยังไม่มีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งด้านพลังงานไฟฟ้าที่จะรองรับซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเพียงพอหรือไม่ รวมไปถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า ความพร้อมของเทคโนโลยีโดยเฉพาะแบตเตอรี่รวมถึงวิธีกำจัด และผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ
นอกจากนี้ยังได้เสนอความคิดว่าภาครัฐควรศึกษาถึงความเหมาะสมและความพร้อมของอุตสาหกรรมในประเทศ ในทุกด้าน โดยเฉพาะการศึกษาถึงผลกระทบของนโยบายที่ภาครัฐเดิมที่เคยให้การสนับสนุน การลงทุน และการลงทุนของภาคเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมไปแล้ว เช่น โครงการอีโคคาร์ และโครงการรถยนต์พลังงานทางเลือก รวมถึงความพร้อมในด้านของการจัดหาไฟฟ้าที่มีการผลิตแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ภาคยานยนต์ไปส่งผลกระทบกับการใช้ไฟฟ้าของภาคครัวเรือนหรือภาคอุตสหากรรม
ส่วนแนวคิดที่รัฐจะนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปจำนวน 5,000 คันโดยยกเว้นอากรนำเข้า ระยะเวลา 1ปี 6 เดือน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศนั้น ทางส.อ.ท. ไม่เห็นด้วย หากจะมีการยกเว้นยภาษีต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนว่าจะเริ่มต้นการผลิตจำนวนเท่าไหร่ และเมือใด,รวมถึงต้องกำหนดสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนที่สามารถผลิตได้ในประเทศ และมีมาตรการลงโทษหากไม่ทำตามแผนหรือระยะเวลาที่กำหนด และที่สำคัญมาตรการนี้ไม่ควรที่จะต่ออายุ เพราะจะทำให้กระทบกับความเชื่อมั่นของผุ้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆที่ได้ลงทุนไปแล้ว
นายเจน นำชัยศิริ ส.อ.ท.กล่าวว่า แผนส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ (EV Electric Vihede) ขณะนี้ภาคเอกชนได้ทำงานร่วมกับรัฐอย่างใกล้ชิดซึ่งปัจจุบันหลายฝ่ายมีการตื่นตัวในเรื่องนี้สูงแต่เห็นว่าแนวทางการพัฒนายังต้องค่อยเป็นค่อยไปและได้เสนอรัฐให้ความสำคัญเรื่องของการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นสำคัญเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตามเพื่อไม่กระทบกับผู้ชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยหากจะต้องก้าวสู่รถ EV จึงได้มอบหมายให้กลุ่มชิ้นส่วนฯส.อ.ท.ไปศึกษาแนวทางรองรับ เช่น ถังน้ำมัน ซึ่งหากเป็น EV จะกระทบแน่นอน
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูล รองประธานส.อ.ท. และในฐานะผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ค่ายรถยนต์แต่ละค่ายก็มีความเห็นในรายละเอียดต่างกันไปแต่ส่วนโตโยต้ามองว่าการจะมีรถไฟฟ้าEVอนาคตอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่อาจจะไปเร็วไปหน่อยขณะนี้จำเป็นต้องมองความพร้อมสถานีชาร์จไฟ ข้อจำกัดในการวิ่งโดยเฉพาะเมื่อรถติดระยะทางที่จะวิ่งได้ก็ลดลง ขณะเดียวกันปัจจุบันราคาน้ำมันก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นรถยนต์ไฮบริด (Hybrid) ซึ่งเป็นการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันระยะแรกน่าจะเกิดก่อนเพราะจะสามารถพัฒนาไปสู่รถEVได้ดี
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการหารือกับเอกชนยอมรับว่า ผู้ที่แสดงความสนใจลงทุนและนำเข้ารถEVล่าสุดเป็นนักลงทุนจากจีนเป็นส่วนใหญ่เช่น เซินเจิ้น วูซูล่ง มอเตอร์ กรุ๊ป เป็นต้นแต่ผู้ผลิตในไทยยังมองว่าโอกาสเกิดในระยะเร็วๆ นี้เป็นอะไรที่ยากและโตโยต้ามีความชัดเจนที่จะยื่นเสนอให้รัฐยกเว้นภาษีสรรพสามิตรถไฮบริดเพื่อที่จะเอื้อให้เกิดการลงทุนและจะเสนอแผนมาให้ 1-2 เดือน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.ยังไม่ปรับลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ในประเทศปีนี้ที่จะอยู่ในระดับ1.95-2 ล้านคันโดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเฉลี่ย 2-4% แบ่งเป็นการผลิตในประเทศ7.5-7.8 แสนคันและส่งออกที่ 1.22-1.25 ล้านคันหลังจากที่ยอดขายภายในและส่งออก 6 เดือนแรกปีนี้มีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยายนต์และ ชิ้นส่วนรถยนต์ส.อ.ท.จะยื่นหนังสือถึงนายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เพื่อขอให้ทบทวนนโยบายการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยใหม่เนื่องจากมองว่าการส่งเสริมฯเร็วเกินไปควรค่อยเป็นค่อยไปเพราะไทยยังไม่มีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งด้านพลังงานไฟฟ้าที่จะรองรับซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเพียงพอหรือไม่ รวมไปถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า ความพร้อมของเทคโนโลยีโดยเฉพาะแบตเตอรี่รวมถึงวิธีกำจัด และผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ
นอกจากนี้ยังได้เสนอความคิดว่าภาครัฐควรศึกษาถึงความเหมาะสมและความพร้อมของอุตสาหกรรมในประเทศ ในทุกด้าน โดยเฉพาะการศึกษาถึงผลกระทบของนโยบายที่ภาครัฐเดิมที่เคยให้การสนับสนุน การลงทุน และการลงทุนของภาคเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมไปแล้ว เช่น โครงการอีโคคาร์ และโครงการรถยนต์พลังงานทางเลือก รวมถึงความพร้อมในด้านของการจัดหาไฟฟ้าที่มีการผลิตแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ภาคยานยนต์ไปส่งผลกระทบกับการใช้ไฟฟ้าของภาคครัวเรือนหรือภาคอุตสหากรรม
ส่วนแนวคิดที่รัฐจะนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปจำนวน 5,000 คันโดยยกเว้นอากรนำเข้า ระยะเวลา 1ปี 6 เดือน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศนั้น ทางส.อ.ท. ไม่เห็นด้วย หากจะมีการยกเว้นยภาษีต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนว่าจะเริ่มต้นการผลิตจำนวนเท่าไหร่ และเมือใด,รวมถึงต้องกำหนดสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนที่สามารถผลิตได้ในประเทศ และมีมาตรการลงโทษหากไม่ทำตามแผนหรือระยะเวลาที่กำหนด และที่สำคัญมาตรการนี้ไม่ควรที่จะต่ออายุ เพราะจะทำให้กระทบกับความเชื่อมั่นของผุ้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆที่ได้ลงทุนไปแล้ว
นายเจน นำชัยศิริ ส.อ.ท.กล่าวว่า แผนส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ (EV Electric Vihede) ขณะนี้ภาคเอกชนได้ทำงานร่วมกับรัฐอย่างใกล้ชิดซึ่งปัจจุบันหลายฝ่ายมีการตื่นตัวในเรื่องนี้สูงแต่เห็นว่าแนวทางการพัฒนายังต้องค่อยเป็นค่อยไปและได้เสนอรัฐให้ความสำคัญเรื่องของการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นสำคัญเพื่อการพัฒนา อย่างไรก็ตามเพื่อไม่กระทบกับผู้ชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยหากจะต้องก้าวสู่รถ EV จึงได้มอบหมายให้กลุ่มชิ้นส่วนฯส.อ.ท.ไปศึกษาแนวทางรองรับ เช่น ถังน้ำมัน ซึ่งหากเป็น EV จะกระทบแน่นอน
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูล รองประธานส.อ.ท. และในฐานะผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ค่ายรถยนต์แต่ละค่ายก็มีความเห็นในรายละเอียดต่างกันไปแต่ส่วนโตโยต้ามองว่าการจะมีรถไฟฟ้าEVอนาคตอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่อาจจะไปเร็วไปหน่อยขณะนี้จำเป็นต้องมองความพร้อมสถานีชาร์จไฟ ข้อจำกัดในการวิ่งโดยเฉพาะเมื่อรถติดระยะทางที่จะวิ่งได้ก็ลดลง ขณะเดียวกันปัจจุบันราคาน้ำมันก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นรถยนต์ไฮบริด (Hybrid) ซึ่งเป็นการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันระยะแรกน่าจะเกิดก่อนเพราะจะสามารถพัฒนาไปสู่รถEVได้ดี
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการหารือกับเอกชนยอมรับว่า ผู้ที่แสดงความสนใจลงทุนและนำเข้ารถEVล่าสุดเป็นนักลงทุนจากจีนเป็นส่วนใหญ่เช่น เซินเจิ้น วูซูล่ง มอเตอร์ กรุ๊ป เป็นต้นแต่ผู้ผลิตในไทยยังมองว่าโอกาสเกิดในระยะเร็วๆ นี้เป็นอะไรที่ยากและโตโยต้ามีความชัดเจนที่จะยื่นเสนอให้รัฐยกเว้นภาษีสรรพสามิตรถไฮบริดเพื่อที่จะเอื้อให้เกิดการลงทุนและจะเสนอแผนมาให้ 1-2 เดือน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.ยังไม่ปรับลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ในประเทศปีนี้ที่จะอยู่ในระดับ1.95-2 ล้านคันโดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเฉลี่ย 2-4% แบ่งเป็นการผลิตในประเทศ7.5-7.8 แสนคันและส่งออกที่ 1.22-1.25 ล้านคันหลังจากที่ยอดขายภายในและส่งออก 6 เดือนแรกปีนี้มีทิศทางที่เพิ่มขึ้น