ผู้จัดการรายวัน360-โฆษกตำรวจย้ำข้อบังคับห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้น 39 สะพาน ลอด 5 อุโมงค์ มีผลบังคับใช้แล้ว ยันต้องบังคับใช้ไปก่อน พร้อมศึกษาข้อดีข้อเสียไปด้วย ระบุหากพบกระทำผิด เจอจับอย่างเดียว ไม่มียกเว้น ด้านรอง ผบ.พล.ม.2 แจงย้ายรถตู้รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปอยู่ 3 สถานีขนส่ง เริ่ม 21-28 ก.ย.นี้ ย้ายหมด 25 ต.ค.
พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนลากเข็น เดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ สะพานข้ามแม่น้ำ และในอุโมงค์ลอดทางร่วมทางแยก พ.ศ. 2559 โดยห้ามจักรยานยนต์ จักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดขึ้นสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ 39 สะพาน และห้ามลอดอุโมงค์ทางร่วมทางแยก 5 แห่ง โดยข้อบังคับนี้มิให้ใช้บังคับแก่รถเจ้าพนักงานตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.2559 ว่า หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศดังกล่าวแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินการตามไปก่อน พร้อมศึกษาและวิจัยผลดีและผลเสียต่างๆ ควบคู่กันไป หากทราบผลกระทบว่าเป็นอย่างไร ก็จะนำผลเสนอเพื่อแก้ไขทางวิศวกรรมจราจร เพื่อให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุดต่อไป
ทั้งนี้ การออกประกาศข้อบังคับเจ้าพนักงานดังกล่าว เป็นการป้องกันอุบัติเหตุของจักรยานยนต์บนสะพาน เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก เพราะสะพานบางแห่งมีความสูงมากและมีลมแรง เมื่อจักรยานยนต์ขึ้นไปอาจทำให้เสียหลักล้ม ได้รับบาดเจ็บ และอาจถูกรถยนต์ที่ขับมาทับได้ ขณะที่รถยนต์ที่วิ่งตามมาชน ก็ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งในอนาคตหากสะพานใดที่ได้รับการแก้ไขทางวิศวกรรมจราจรเรียบร้อยแล้ว และมีความปลอดภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ เช่น ติดตั้งแผงกั้นที่มีความปลอดภัยบนสะพาน ก็อาจมีการเปิดให้ขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าใจดีถึงความเดือดร้อนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่ทั้งหมดที่ทำ เพราะความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งหมดทั้งจักรยานยนต์และรถยนต์
"ระหว่างนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องดำเนินการตามประกาศดังกล่าวไปก่อน หากพบผู้กระทำผิด ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศใช้ พบว่ามีผู้กระทำผิดลดน้อยลง เนื่องจากมีการทำความเข้าใจกับผู้ขับขี่ โดยเฉพาะวินจักรยานยนต์มาอย่างต่อเนื่อง"รองโฆษก ตร.กล่าว
สำหรับสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ 39 สะพาน ได้แก่ สะพานยกระดับข้ามแยกคลองตัน , สะพานข้ามแยกอโศกเพชร , สะพานข้ามแยกรามคำแหง , สะพานข้ามแยกประชาสงเคราะห์ , สะพานข้ามแยกสามเหลี่ยมดินแดง , สะพานข้ามแยกตึกชัย , สะพานข้ามแยกราชเทวี , สะพานข้ามแยกประตูน้ำ , สะพานข้ามแยกยมราช ,สะพานข้ามแยกกำแพงเพชร , สะพานข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว , สะพานข้ามแยกสุทธิสาร , สะพานข้ามแยกรัชโยธิน , สะพานข้ามแยกประชานุกูล , สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง , สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน , สะพานยกระดับข้ามแยกบนถนนสุวินทวงศ์ , สะพานข้ามแยกร่มเกล้า ถนนรามคำแหง , สะพานข้ามแยกลาดบัวขาว ถนนรามคำแหง , สะพานข้ามแยกมีนบุรี , สะพานข้ามแยกสถานีบรรจุสินค้าไอซีดี ถนนเจ้าคุณทหาร , สะพานข้ามแยกลำสาลี , สะพานยกระดับข้ามแยกบนถนนรามคำแหง , สะพานข้ามแยกศรีอุดม , สะพานข้ามแยกประเวศ , สะพานข้ามแยกบางกะปิ , สะพานไทย-เบลยี่ยม , สะพานข้ามถนนนางลิ้นจี่ , สะพานข้ามแยกรัชดาพระราม 4 , สะพานภูมิพล 1 , สะพานข้ามแยกคลองตัน , สะพานข้ามแยกศิครินทร์ , สะพานไทย-ญี่ปุ่น , สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี , สะพานข้ามแยกบางพลัด , สะพานข้ามแยกพระราม 2 , สะพานข้ามแยกตากสิน , สะพานข้ามแยกนิลกาจ และสะพานข้ามแยกบางพฤกษ์
ส่วน 5 อุโมงค์ทางร่วมทางแยก ได้แก่ อุโมงค์ทางลอดวงเวียนบางเขน , อุโมงค์ทางลอดแยกศรีอุดม , อุโมงค์ทางลอดแยกบรมราชชนนี , อุโมงค์ทางลอดแยกบางพลัด และอุโมงค์ทางลอดแยกท่าพระ
วันเดียวกันนี้ พ.อ.สุวิทย์ เกตุศรี รองผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อพิจารณาปัญหาจากการดำเนินการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ กล่าวว่า จะมีการย้ายรถตู้ที่ให้บริการอยู่รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพื้นที่รอบนอกทั้งหมด 4,205 คัน ย้ายไปอยู่ที่สถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต) สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ โดยจะเริ่มทดลองย้ายตั้งแต่วันที่ 21-28 ก.ย.2559 จากนั้นจะย้ายทั้งหมดในวันที่ 25 ต.ค.2559 โดยระหว่างนี้ จะประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถบัสบริการรับ-ส่งประชาชนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพื้นที่รอบนอกไปยังสถานีขนส่งทั้ง 3 แห่ง โดยไม่คิดค่าบริการ
พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนลากเข็น เดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ สะพานข้ามแม่น้ำ และในอุโมงค์ลอดทางร่วมทางแยก พ.ศ. 2559 โดยห้ามจักรยานยนต์ จักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดขึ้นสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ 39 สะพาน และห้ามลอดอุโมงค์ทางร่วมทางแยก 5 แห่ง โดยข้อบังคับนี้มิให้ใช้บังคับแก่รถเจ้าพนักงานตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.2559 ว่า หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศดังกล่าวแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินการตามไปก่อน พร้อมศึกษาและวิจัยผลดีและผลเสียต่างๆ ควบคู่กันไป หากทราบผลกระทบว่าเป็นอย่างไร ก็จะนำผลเสนอเพื่อแก้ไขทางวิศวกรรมจราจร เพื่อให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุดต่อไป
ทั้งนี้ การออกประกาศข้อบังคับเจ้าพนักงานดังกล่าว เป็นการป้องกันอุบัติเหตุของจักรยานยนต์บนสะพาน เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก เพราะสะพานบางแห่งมีความสูงมากและมีลมแรง เมื่อจักรยานยนต์ขึ้นไปอาจทำให้เสียหลักล้ม ได้รับบาดเจ็บ และอาจถูกรถยนต์ที่ขับมาทับได้ ขณะที่รถยนต์ที่วิ่งตามมาชน ก็ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งในอนาคตหากสะพานใดที่ได้รับการแก้ไขทางวิศวกรรมจราจรเรียบร้อยแล้ว และมีความปลอดภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ เช่น ติดตั้งแผงกั้นที่มีความปลอดภัยบนสะพาน ก็อาจมีการเปิดให้ขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าใจดีถึงความเดือดร้อนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่ทั้งหมดที่ทำ เพราะความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งหมดทั้งจักรยานยนต์และรถยนต์
"ระหว่างนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องดำเนินการตามประกาศดังกล่าวไปก่อน หากพบผู้กระทำผิด ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศใช้ พบว่ามีผู้กระทำผิดลดน้อยลง เนื่องจากมีการทำความเข้าใจกับผู้ขับขี่ โดยเฉพาะวินจักรยานยนต์มาอย่างต่อเนื่อง"รองโฆษก ตร.กล่าว
สำหรับสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ 39 สะพาน ได้แก่ สะพานยกระดับข้ามแยกคลองตัน , สะพานข้ามแยกอโศกเพชร , สะพานข้ามแยกรามคำแหง , สะพานข้ามแยกประชาสงเคราะห์ , สะพานข้ามแยกสามเหลี่ยมดินแดง , สะพานข้ามแยกตึกชัย , สะพานข้ามแยกราชเทวี , สะพานข้ามแยกประตูน้ำ , สะพานข้ามแยกยมราช ,สะพานข้ามแยกกำแพงเพชร , สะพานข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว , สะพานข้ามแยกสุทธิสาร , สะพานข้ามแยกรัชโยธิน , สะพานข้ามแยกประชานุกูล , สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง , สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน , สะพานยกระดับข้ามแยกบนถนนสุวินทวงศ์ , สะพานข้ามแยกร่มเกล้า ถนนรามคำแหง , สะพานข้ามแยกลาดบัวขาว ถนนรามคำแหง , สะพานข้ามแยกมีนบุรี , สะพานข้ามแยกสถานีบรรจุสินค้าไอซีดี ถนนเจ้าคุณทหาร , สะพานข้ามแยกลำสาลี , สะพานยกระดับข้ามแยกบนถนนรามคำแหง , สะพานข้ามแยกศรีอุดม , สะพานข้ามแยกประเวศ , สะพานข้ามแยกบางกะปิ , สะพานไทย-เบลยี่ยม , สะพานข้ามถนนนางลิ้นจี่ , สะพานข้ามแยกรัชดาพระราม 4 , สะพานภูมิพล 1 , สะพานข้ามแยกคลองตัน , สะพานข้ามแยกศิครินทร์ , สะพานไทย-ญี่ปุ่น , สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี , สะพานข้ามแยกบางพลัด , สะพานข้ามแยกพระราม 2 , สะพานข้ามแยกตากสิน , สะพานข้ามแยกนิลกาจ และสะพานข้ามแยกบางพฤกษ์
ส่วน 5 อุโมงค์ทางร่วมทางแยก ได้แก่ อุโมงค์ทางลอดวงเวียนบางเขน , อุโมงค์ทางลอดแยกศรีอุดม , อุโมงค์ทางลอดแยกบรมราชชนนี , อุโมงค์ทางลอดแยกบางพลัด และอุโมงค์ทางลอดแยกท่าพระ
วันเดียวกันนี้ พ.อ.สุวิทย์ เกตุศรี รองผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อพิจารณาปัญหาจากการดำเนินการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ กล่าวว่า จะมีการย้ายรถตู้ที่ให้บริการอยู่รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพื้นที่รอบนอกทั้งหมด 4,205 คัน ย้ายไปอยู่ที่สถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต) สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ โดยจะเริ่มทดลองย้ายตั้งแต่วันที่ 21-28 ก.ย.2559 จากนั้นจะย้ายทั้งหมดในวันที่ 25 ต.ค.2559 โดยระหว่างนี้ จะประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถบัสบริการรับ-ส่งประชาชนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพื้นที่รอบนอกไปยังสถานีขนส่งทั้ง 3 แห่ง โดยไม่คิดค่าบริการ