เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญไปร่วมงานแถลงข่าวงานรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ หัวข้อ “คัมภีร์ใบลานในประเทศไทย : ความสำคัญที่มีต่อพุทธศาสนศึกษา” จัดโดย มูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ณ หอประชุมใหญ่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีรายละเอียดตามที่ได้ระบุไว้ในเอกสารโครงการโดยสรุปดังนี้
หลักการและเหตุผล
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบุกเบิกงานแปลตำราหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งยังขอให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย อุปถัมภ์ทางด้านการเงินในการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายวัด และพร้อมกันนี้ได้ทรงแนะให้ศิษยานุศิษย์ช่วยกันขยายพุทธศาสนศึกษาในระดับนานาชาติให้มากขึ้นด้วย
ศูนย์พุทธศาสนศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางพุทธศาสนศึกษาที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระญาณสังวรฯ โดยเฉพาะการวิจัยใน 3 ด้านดังต่อไปนี้
1. วิจัยทางพระคัมภีร์ โดยการตรวจชำระและแปลคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีจำนวนมากตามวัดต่างๆ และยังไม่มีการศึกษาเนื้อหา และนำออกเผยแพร่แต่อย่างใด
2. วิจัยเพื่อประยุกต์หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมร่วมสมัย
3. วิจัยเพื่ออธิบายหลักคำสอนพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องในกรณีที่เกิดมีผู้ตีความคลาดเคลื่อน
จากหลักการและเหตุผลในการก่อตั้งศูนย์พุทธศาสนศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นการศึกษาค้นคว้าและวิจัยคำสอนในทางพุทธศาสนา แล้วนำออกเผยแผ่ให้ประชาชนได้รับรู้ทำความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ก็เพียงพอแก่การสนับสนุนให้ศูนย์แห่งนี้ก้าวไปบนเส้นทางที่วางไว้
แต่จะต้องไม่ลืมว่า กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด ศูนย์แห่งนี้ก็อาศัยเงินทุนในการดำเนินงานฉันนั้น และวิธีเดียวที่มูลนิธิซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์แห่งนี้จะได้มาก็คือ การบริจาคสมทบทุนในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งชาวพุทธทุกคนจะต้องร่วมมือกันเสียสละคนละเล็ก คนละน้อย ตามแต่ศรัทธาและกำลังทรัพย์
ส่วนทางมูลนิธิได้รับเงินจากการบริจาคแล้วจะดำเนินการให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ
1. โครงสร้างขององค์กรมีความเป็นระบบมากน้อยแค่ไหน และรองรับปริมาณงานตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหนและอย่างไร
2. บุคลากร ผู้บริหารองค์กรมีศักยภาพมากน้อย และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
เกี่ยวกับปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น เท่าที่ผู้เขียนได้รับรู้จากเอกสาร และการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้ง และมีตำแหน่งกรรมการ และเลขานุการของมูลนิธิ ก็ทำให้เชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งว่า องค์กรแห่งนี้จะดำเนินการอย่างโปร่งใส และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างแน่นอน ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือเงินทุนประการเดียว ส่วนศักยภาพของบุคลากรในระดับบริหารเชื่อได้ 100% ว่าทำเต็มความสามารถที่มีอยู่แน่นอน
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีบางท่านมีข้อกังขาว่า ทำไมต้องมีศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาในเมื่อในปัจจุบันมีองค์กรหลายแห่งดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาทางพุทธศาสนา เช่น มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งและวิทยาเขตต่างๆ อีกหลายแห่ง
เกี่ยวกับประเด็นแห่งคำถามนี้ ถ้ามองเพียงจำนวนองค์กรที่มีอยู่ ก็น่าจะเห็นด้วยว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปถึงคุณภาพ และศักยภาพขององค์กรแล้วย้อนไปดูปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ในขณะนี้ไม่ว่าความประพฤติของภิกษุสามเณร ไม่อยู่ในกรอบของพระธรรมวินัย และการนับถือพระพุทธศาสนาอย่างผิดๆ ของคฤหัสถ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีรากเหง้ามาจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจแก่นแท้แห่งคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น และจากการเกิดขึ้นและคงอยู่รวมไปถึงมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นของปัญหาดังกล่าวแล้วนี้เอง อนุมานได้ว่าองค์กรทางการศึกษาในทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ ยังมีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะแก้ไข และป้องกันปัญหาที่ว่านี้ได้ และนี่เองคือมูลเหตุจูงใจให้ศูนย์พุทธศาสนศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ เกิดขึ้น
จริงอยู่เพียงลำพังศูนย์นี้แห่งเดียวไม่อาจทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นหมดไปได้โดยสิ้นเชิง แต่ก็จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการรู้และเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถ่องแท้ ไม่เจือปนด้วยคำสอนของเกจินอกคอกที่มุ่งสอนเพื่อหวังให้คนเชื่อ และมีการแสวงหาประโยชน์จากความเชื่อมั่น ดังที่เป็นอยู่อย่างดาษดื่นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้
เมื่อมีผู้รู้และเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ก็จะทำให้บรรดาเกจิประเภทแสวงหาลาภสักการะจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจก็คงจะลดลงและหมดไปในที่สุด
หลักการและเหตุผล
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบุกเบิกงานแปลตำราหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งยังขอให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย อุปถัมภ์ทางด้านการเงินในการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายวัด และพร้อมกันนี้ได้ทรงแนะให้ศิษยานุศิษย์ช่วยกันขยายพุทธศาสนศึกษาในระดับนานาชาติให้มากขึ้นด้วย
ศูนย์พุทธศาสนศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางพุทธศาสนศึกษาที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระญาณสังวรฯ โดยเฉพาะการวิจัยใน 3 ด้านดังต่อไปนี้
1. วิจัยทางพระคัมภีร์ โดยการตรวจชำระและแปลคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีจำนวนมากตามวัดต่างๆ และยังไม่มีการศึกษาเนื้อหา และนำออกเผยแพร่แต่อย่างใด
2. วิจัยเพื่อประยุกต์หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมร่วมสมัย
3. วิจัยเพื่ออธิบายหลักคำสอนพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องในกรณีที่เกิดมีผู้ตีความคลาดเคลื่อน
จากหลักการและเหตุผลในการก่อตั้งศูนย์พุทธศาสนศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นการศึกษาค้นคว้าและวิจัยคำสอนในทางพุทธศาสนา แล้วนำออกเผยแผ่ให้ประชาชนได้รับรู้ทำความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ก็เพียงพอแก่การสนับสนุนให้ศูนย์แห่งนี้ก้าวไปบนเส้นทางที่วางไว้
แต่จะต้องไม่ลืมว่า กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด ศูนย์แห่งนี้ก็อาศัยเงินทุนในการดำเนินงานฉันนั้น และวิธีเดียวที่มูลนิธิซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์แห่งนี้จะได้มาก็คือ การบริจาคสมทบทุนในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งชาวพุทธทุกคนจะต้องร่วมมือกันเสียสละคนละเล็ก คนละน้อย ตามแต่ศรัทธาและกำลังทรัพย์
ส่วนทางมูลนิธิได้รับเงินจากการบริจาคแล้วจะดำเนินการให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ
1. โครงสร้างขององค์กรมีความเป็นระบบมากน้อยแค่ไหน และรองรับปริมาณงานตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหนและอย่างไร
2. บุคลากร ผู้บริหารองค์กรมีศักยภาพมากน้อย และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
เกี่ยวกับปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น เท่าที่ผู้เขียนได้รับรู้จากเอกสาร และการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้ง และมีตำแหน่งกรรมการ และเลขานุการของมูลนิธิ ก็ทำให้เชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งว่า องค์กรแห่งนี้จะดำเนินการอย่างโปร่งใส และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างแน่นอน ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือเงินทุนประการเดียว ส่วนศักยภาพของบุคลากรในระดับบริหารเชื่อได้ 100% ว่าทำเต็มความสามารถที่มีอยู่แน่นอน
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีบางท่านมีข้อกังขาว่า ทำไมต้องมีศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาในเมื่อในปัจจุบันมีองค์กรหลายแห่งดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาทางพุทธศาสนา เช่น มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งและวิทยาเขตต่างๆ อีกหลายแห่ง
เกี่ยวกับประเด็นแห่งคำถามนี้ ถ้ามองเพียงจำนวนองค์กรที่มีอยู่ ก็น่าจะเห็นด้วยว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปถึงคุณภาพ และศักยภาพขององค์กรแล้วย้อนไปดูปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ในขณะนี้ไม่ว่าความประพฤติของภิกษุสามเณร ไม่อยู่ในกรอบของพระธรรมวินัย และการนับถือพระพุทธศาสนาอย่างผิดๆ ของคฤหัสถ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีรากเหง้ามาจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจแก่นแท้แห่งคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น และจากการเกิดขึ้นและคงอยู่รวมไปถึงมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นของปัญหาดังกล่าวแล้วนี้เอง อนุมานได้ว่าองค์กรทางการศึกษาในทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ ยังมีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะแก้ไข และป้องกันปัญหาที่ว่านี้ได้ และนี่เองคือมูลเหตุจูงใจให้ศูนย์พุทธศาสนศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ เกิดขึ้น
จริงอยู่เพียงลำพังศูนย์นี้แห่งเดียวไม่อาจทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นหมดไปได้โดยสิ้นเชิง แต่ก็จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการรู้และเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถ่องแท้ ไม่เจือปนด้วยคำสอนของเกจินอกคอกที่มุ่งสอนเพื่อหวังให้คนเชื่อ และมีการแสวงหาประโยชน์จากความเชื่อมั่น ดังที่เป็นอยู่อย่างดาษดื่นในวงการสงฆ์ไทยในขณะนี้
เมื่อมีผู้รู้และเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ก็จะทำให้บรรดาเกจิประเภทแสวงหาลาภสักการะจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจก็คงจะลดลงและหมดไปในที่สุด