ผู้จัดการรายวัน360 - "แบงก์ชาติ-คลัง" เปิดทาง FinTech เข้ามาช่วยเติมเต็มบริการทางการเงิน แต่ต้องวางกรอบควบคุมที่ชัดเจน เผยปีนี้เป็นปีแรกที่แบงก์ขอปิดสาขา ดิ้นลดต้นทุนและมองเทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนมากขึ้น คาดไตรมาส 4 คลายกฎเรื่องการลงทุนของสถาบันการเงินและใช้ QR Code มาใช้บริการทางการเงิน
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายในงาน C-ASEAN Forum I : Postioning Thailand 's FinTech Ecosystem ว่า ธุรกรรมระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิสก์มีบทบาทมากขึ้น ส่วนใหญ่ธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ทั่วโลกมีความสนใจเรื่องนี้ ธปท.จึงเร่งผลักดันเรื่องระบบชำระเงินมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงผู้ใช้บริการที่เป็นรายย่อยมากขึ้น จึงต้องการให้ธุรกิจ FinTech เข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มช่องว่างบริการทางการเงินด้วยบริการที่มีคุณค่าและราคาถูกลง และไม่สร้างปัญหาเหมือนในบางประเทศ
"ปีนี้เป็นปีแรกที่ ธปท.ได้รับคำขออนุญาตปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์มากกว่าคำขออนุญาตเปิดสาขา สะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเงินที่พยายามลดต้นทุนให้บริการและเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนนี้เรามีเงื่อนไขว่าถ้าจะปิดสาขาต้องดูแลลูกค้าอย่างไรไม่ให้ได้รับผลกระทบ"ผู้ว่าธปท.กล่าวและว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถแข่งขันได้ต้องมีระบบการเงินไทยที่มีต้นทุนถูกลงและมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม"
ทั้งนี้ ธุรกิจ FinTech ถือเป็นเรื่องใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและธปท.ในฐานะคนกำกับดูแลให้ความสำคัญเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่โดยไม่สร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสสรค และไม่สร้างปัญหาเสถียรภาพการเงินโดยรวม โดยขณะนี้ธปท.มีแนวคิดทดลองใช้เทคโนโลยีทางด้านการเงินใหม่ (Regulatory Sandbox) ที่เหมาะสมมาประยุกต์กับใช้ธุรกิจ FinTech ของประเทศไทยและระบบการเงินไทย ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ในประเทศอังกฤษ สิงคโปร์และออสเตรเลีย เพื่อเป็นช่องทางขยายธุรกิจไดั สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ และเกิดความรู้ ความเข้าใจกฎต้องเผชิญเมื่อมีขนาดธุรกิจใหญ่ขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธปท.พยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินหลายเรื่อง โดยในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ธปท.จะผ่อนคลายกฎการลงทุนของสถาบันการเงิน ธุรกิจเกี่ยวข้องเทคโนโลยีทางการเงินในเรื่องธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) และหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) หลังจากผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายสาบันการเงิน (กนส.) แล้วและขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขข้อบังคับต่างๆ อีกทั้งจะผลักดันเกิดมาตรฐานกลางของระบบชำระเงิน เช่น มาตรฐาน QR Code ใช้ธุรกิจการเงินเกิดขึ้นในไทยคาดว่าจะเสร็จภายในไตรมาสสุดท้ายปีนี้
ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวในการเปิดงานเดียวกันกับผู้ว่าการ ธปท.ว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ CaF I : Positioning Thailand’s FinTech Ecosystem หรือแผนการกำหนดทิศทางและบริบทอุตสาหกรรม FinTech ในประเทศไทย ที่ล่าสุดภาคเอกชนกว่า 50 บริษัท ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งชมรม FinTech แห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
“เชื่อว่าไทยจะสามารถพัฒนาเรื่องนี้ให้ทัดเทียมกันได้ จากข้อได้เปรียบเรื่องขนาดตลาดที่ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ขนาดเศรษฐกิจที่ยังเดินหน้าต่อไปได้เป็นอย่างดี มีปริมาณการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน มีบุคคลากรที่มีความพร้อมในการจะพัฒนาให้ FinTech ก้าวต่อไปได้ ซึ่งในส่วนนี้คลังพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ภาครัฐเอง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีทางการเงินที่เป็นประโยชน์ แต่ก็ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจด้วย เพราะที่ผ่านมา ในต่างประเทศมีทั้งกรณีที่ FinTech สร้างประโยชน์ และกรณีที่ล้มเหลว เช่น กรณีการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก” รมช.คลัง กล่าวและว่า ในส่วนนี้จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแล โดยเฉพาะ ธปท. ที่จะต้องดูแล FinTech ที่มีการดำเนินงานในลักษณะของการกู้ยืมแบบรายต่อราย (P2P lending) ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะดูแลในส่วนของการระดมทุนหรือร่วมทุนจากมวลชน (Crowd Funding) ซึ่งมีขนาดระดมทุนที่ไม่ใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย.
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายในงาน C-ASEAN Forum I : Postioning Thailand 's FinTech Ecosystem ว่า ธุรกรรมระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิสก์มีบทบาทมากขึ้น ส่วนใหญ่ธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ทั่วโลกมีความสนใจเรื่องนี้ ธปท.จึงเร่งผลักดันเรื่องระบบชำระเงินมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงผู้ใช้บริการที่เป็นรายย่อยมากขึ้น จึงต้องการให้ธุรกิจ FinTech เข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มช่องว่างบริการทางการเงินด้วยบริการที่มีคุณค่าและราคาถูกลง และไม่สร้างปัญหาเหมือนในบางประเทศ
"ปีนี้เป็นปีแรกที่ ธปท.ได้รับคำขออนุญาตปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์มากกว่าคำขออนุญาตเปิดสาขา สะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเงินที่พยายามลดต้นทุนให้บริการและเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนนี้เรามีเงื่อนไขว่าถ้าจะปิดสาขาต้องดูแลลูกค้าอย่างไรไม่ให้ได้รับผลกระทบ"ผู้ว่าธปท.กล่าวและว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถแข่งขันได้ต้องมีระบบการเงินไทยที่มีต้นทุนถูกลงและมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม"
ทั้งนี้ ธุรกิจ FinTech ถือเป็นเรื่องใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและธปท.ในฐานะคนกำกับดูแลให้ความสำคัญเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่โดยไม่สร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสสรค และไม่สร้างปัญหาเสถียรภาพการเงินโดยรวม โดยขณะนี้ธปท.มีแนวคิดทดลองใช้เทคโนโลยีทางด้านการเงินใหม่ (Regulatory Sandbox) ที่เหมาะสมมาประยุกต์กับใช้ธุรกิจ FinTech ของประเทศไทยและระบบการเงินไทย ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ในประเทศอังกฤษ สิงคโปร์และออสเตรเลีย เพื่อเป็นช่องทางขยายธุรกิจไดั สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ และเกิดความรู้ ความเข้าใจกฎต้องเผชิญเมื่อมีขนาดธุรกิจใหญ่ขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธปท.พยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินหลายเรื่อง โดยในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ธปท.จะผ่อนคลายกฎการลงทุนของสถาบันการเงิน ธุรกิจเกี่ยวข้องเทคโนโลยีทางการเงินในเรื่องธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) และหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) หลังจากผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายสาบันการเงิน (กนส.) แล้วและขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขข้อบังคับต่างๆ อีกทั้งจะผลักดันเกิดมาตรฐานกลางของระบบชำระเงิน เช่น มาตรฐาน QR Code ใช้ธุรกิจการเงินเกิดขึ้นในไทยคาดว่าจะเสร็จภายในไตรมาสสุดท้ายปีนี้
ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวในการเปิดงานเดียวกันกับผู้ว่าการ ธปท.ว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ CaF I : Positioning Thailand’s FinTech Ecosystem หรือแผนการกำหนดทิศทางและบริบทอุตสาหกรรม FinTech ในประเทศไทย ที่ล่าสุดภาคเอกชนกว่า 50 บริษัท ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งชมรม FinTech แห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
“เชื่อว่าไทยจะสามารถพัฒนาเรื่องนี้ให้ทัดเทียมกันได้ จากข้อได้เปรียบเรื่องขนาดตลาดที่ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ขนาดเศรษฐกิจที่ยังเดินหน้าต่อไปได้เป็นอย่างดี มีปริมาณการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน มีบุคคลากรที่มีความพร้อมในการจะพัฒนาให้ FinTech ก้าวต่อไปได้ ซึ่งในส่วนนี้คลังพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ภาครัฐเอง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีทางการเงินที่เป็นประโยชน์ แต่ก็ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจด้วย เพราะที่ผ่านมา ในต่างประเทศมีทั้งกรณีที่ FinTech สร้างประโยชน์ และกรณีที่ล้มเหลว เช่น กรณีการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก” รมช.คลัง กล่าวและว่า ในส่วนนี้จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแล โดยเฉพาะ ธปท. ที่จะต้องดูแล FinTech ที่มีการดำเนินงานในลักษณะของการกู้ยืมแบบรายต่อราย (P2P lending) ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะดูแลในส่วนของการระดมทุนหรือร่วมทุนจากมวลชน (Crowd Funding) ซึ่งมีขนาดระดมทุนที่ไม่ใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย.