วันที่ 3 กรกฎาคม 2559
เรียน ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกท่าน
เรื่อง โปรดช่วยชีวิตคนไทยจำนวนมากที่ต้องมาเสียชีวิตจากการล้างไตทางหน้าท้องด้วยวิธีการ CAPD-First ซึ่งน่าจะมีปัญหาการทุจริตขาดธรรมาภิบาลและน่าจะมีการฮั้วประมูลซื้อน้ำยาล้างไต โปรดช่วยหยุดการกระทำดังกล่าว
ผู้เขียนได้รับทราบความห่วงใยจากหลายท่านว่าการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วย CAPD-first หรือการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นอันดับแรก ของ สปสช. อาจจะเป็นสาเหตุทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดำรัส โรจนเสถียร ได้เขียนลงในเฟสบุ๊กว่าจากการประมาณคาดว่าใน 5 ปีที่ใช้โครงการนี้ มีคนตายไปแล้วนับหมื่นคน
ผู้เขียนและแพทย์หลายท่านได้พยายามเตือนว่าควรแก้ไขโครงการ เพราะเป็นแนวทางที่ผิดจริยธรรมทำให้แพทย์ไม่สามารถหาเลือกยาและวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยได้
ล่าสุดผู้เขียนได้ทราบข้อมูลการทำวิจัยจาก นายแพทย์ กฤษณพงศ์ มโนธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตระดับ 10 ได้ทำวิจัยเก็บข้อมูลจาก 2 โรงพยาบาลขนาดใหญ่มากในกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกัน พบว่าอัตราการตายของผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วย CAPD-first สูงจนน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ถึงแม้ผลการศึกษาจะยังไม่เสร็จสิ้นเนื่องจากต้องใช้เวลาการวิจัยอีกระยะ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบแก้ไข ผู้เขียนจึงได้ขอข้อมูลเบื้องต้นนี้มาเปิดเผยให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน
จากรูปฟังก์ชันการอยู่รอดวิเคราะห์ผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม แกนตั้งเป็นอัตราการอยู่รอด แกนนอนเป็นเวลา (เดือน) เปรียบเทียบการรักษาด้วยการฟอกเลือด (HD) กับ CAPD ทั้งหมดเป็น CAPD-first นายแพทย์ กฤษณพงศ์ได้แยกผู้ป่วยตามอายุ ที่ 60 ปี จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยอายุน้อยจะตายน้อยกว่าอายุมาก โดยหากอายุน้อยและรักษาด้วยการฟอกเลือดจะมีอัตราการอยู่รอดสูงในหนึ่งปีพบผู้ป่วยรอดชีวิตถึง 80% ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ หากรักษาด้วย CAPD-first แม้จะมีอายุน้อยก็มีอัตราการตายสูงมาก แถมยังตายมากกว่าผู้ป่วยสูงอายุที่รักษาด้วยการฟอกเลือด (60%) ด้วยซ้ำ โดยพบว่ารักษาด้วย CAPD-first ในหนึ่งปีรอดชีวิตเพียงประมาณ 40% ทั้งกลุ่มที่อายุมากและ 50% ในกลุ่มอายุน้อย อัตราการตายที่สูงนี้สูงกว่าการรักษาด้วย CAPD ในต่างประเทศหรือ CAPD ในไทยในผู้ป่วยที่เหมาะสมและใช้น้ำยาจากแหล่งอื่น ทำให้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าอัตราการตายที่สูงนี้เกิดจากการบริหารจัดการ CAPD-first ผู้เขียนจึงขอเรียกร้องให้มีการแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วน และผู้เขียนมีคำถามหลายคำถามที่ต้องการให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแสดงธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 3/1 และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี 2546
คำถาม 1: ถ้าท่านอายุน้อยกว่า 60 ปี หรือคนในครอบครัวที่ท่านรัก ป่วยเป็นโรคไตวาย ท่านจะเลือกระบบการรักษาด้วยวิธีใด?
คำถาม 2: การที่สปสช กำหนดให้ทุกคนที่ไตวาย ต้องใช้ CAPD-first เป็นนโยบายทางสาธารณสุขที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์และตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่?
ทั้งนี้ในปัจจุบันนี้ต้นทุนของการล้างไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis) และการล้างไตทางหน้าท้อง (CAPD) แทบจะไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด ดังแสดงการคำนวณในตาราง 1 ด้านล่างนี้ สำหรับ CAPD ต้องใช้น้ำยาวันละ 4 ถุงตกรวมเป็นเงิน 15,000 บาทต่อเดือน และสปสช ได้จ่ายเงินค่ายาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้กับผู้ป่วยที่ฟอกไตทางหน้าท้องอีกเป็นเงิน 3,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงิน 18,000 ต่อเดือน ในขณะที่ Hemodialysis มีค่าใช้จ่ายในการฟอกไต 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1,500 บาท ซึ่งคำนวณจากราคากลางของสำนักงานประกันสังคม และมีบางท้องที่สามารถทำราคาได้ถูกกว่านี้อีก ดังนั้นต้นทุนในการฟอกเลือดตกที่ 12,000-18,000 บาท ซึ่งจะถูกกว่าสำหรับผู้มีอาการโรคไตไม่หนักมาก
ตารางที่ 1 คำนวณต้นทุนและเปรียบเทียบวิธีการล้างไตทางหน้าท้องของ สปสช (CAPD First) และการล้างไตทางหลอดเลือด (HD)
คำถาม 3: ในเมื่อต้นทุนถูกกว่าทำไม สปสช จึงเลือกที่จะล้างไตทางหน้าท้องเป็นวิธีการบังคับวิธีการแรก ทั้งๆ ที่แพงกว่า ตายมากกว่า น่ามีการติดเชื้อในช่องท้อง (Peritonitis) ซึ่งหากลุกลามเข้ากระแสเลือด (Sepsis) แล้ว จะเป็นอันตรายมากและค่าใช้จ่ายในการรักษาจะสูงมากกว่านี้อีกหลายสิบเท่าโปรดช่วยตอบประชาชนชาวไทยด้วย?
สิ่งที่น่าห่วงใยที่สุดคือในกระบวนการจัดซื้อน้ำยาล้างไตนั้น ดังแสดงในรูปที่ 2 กระบวนการบริหารจัดซื้อและจัดส่งน้ำยาล้างไตในโครงการ CAPD-First ของ สปสช มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ 5 ฝ่าย
ฝ่ายแรกคือ สปสช มีหน้าที่ในการคำนวณจำนวนน้ำยาล้างไตที่ต้องจัดซื้อในแต่ละช่วงเวลา เช่น หนึ่งปี จากจำนวนผู้ป่วยไตวาย สปสช สั่งซื้อน้ำยาล้างไตจากองค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้จำนวนน้ำยาล้างไตที่สั่งซื้อรวมในแต่ละรอบะปีงบประมาณโดยสปสช จากองค์การเภสัชกรรมคือหมายเลข (1) ในรูปที่ 2 สปสช ใช้วิธีการทยอยสั่งซื้อทีละเล็กละน้อยไม่เกินหนึ่งพันล้านบาทลงนามโดยนายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ
คำถาม 4:การทยอยจัดซื้อน้ำยาล้างไต CAPD ทีละเล็กละน้อย ถือว่าเป็นการซอยการจัดซื้อที่ผิดจาก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 หรือไม่ และถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่?
ฝ่ายที่สองคือองค์การเภสัชกรรม ทำหน้าที่เป็นนายหน้าและคนกลางในการจัดซื้อน้ำยาล้างไตจากบริษัทยาสองบริษัทคือ จำนวนน้ำยาทั้งหมดที่จัดซื้อในแต่ละรอบปีงบประมาณนั้นคือตัวเลข (2) ดังแสดงในรูป องค์การเภสัชกรรมได้รับแถมน้ำยาล้างไตร้อยละ 1 จาก บริษัท B ส่วนบริษัท F นั้น ไม่ได้แถมให้ นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมยังจัดจ้างผู้เก็บและผู้ส่งน้ำยาให้ถึงบ้านผู้ป่วยโรคไตวายที่ล้างไตด้วย CAPD ทางหน้าท้อง โดยใช้ตัวเลขหมายเลข (3) ในการแสดงจำนวนดังกล่าว
ฝ่ายที่สามคือบริษัทยา B และ F เมื่อรับคำสั่งซื้อจากองค์การเภสัชกรรมแล้วก็มีหน้าที่ส่งมอบน้ำยาล้างไตเป็นจำนวนเท่ากับหมายเลข (4) ให้กับไปรษณีย์ไทย
ฝ่ายที่สี่คือไปรษณีย์ไทยมีหน้าที่จัดเก็บรักษาให้น้ำยาล้างไตที่ได้รับมอบมาจาก B และ F เป็นจำนวนเท่ากับ (4) และต้องมีหน้าที่ในการรักษาอุณหภูมิให้ดี ไม่ให้น้ำยาเสื่อม ไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และจัดส่งให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเป็นจำนวนเท่ากับ (5) ในรูปที่ 2
ฝ่ายที่ห้าคือประชาชนผู้ป่วยโรคไตตามสิทธิบัตรทองที่เข้าโครงการ CAPD-First ซึ่งต้องล้างไตวันละ 4 ครั้งหรือใช้น้ำยา 4 ถุง ด้วยคุณภาพและปริมาณตรงตามเวลาที่ต้องการ
ทั้งนี้ระบบควบคุมภายใน (Internal Control Process) ต้องควบคุมและตรวจสอบปริมาณของน้ำยาล้างไตในแต่ละขั้นตอนของการจัดซื้อและส่งมอบได้อย่างถูกต้อง โดยหากกระบวนการดังกล่าวเป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีประสิทธิภาพแล้ว จำนวนน้ำยาล้างไตจะต้องเท่ากันดังสมการด้านล่างนี้คือ
ปัญหาคือการขาดระบบควบคุมภายในให้ยอดทั้งห้ายอดที่ว่านี้ตรงกัน ทั้งๆ ที่สามารถวางระบบตรวจสอบกระทบยอด (Reconciliation) ด้วยคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย ทั้งนี้ในความเป็นจริงพบว่ายอดดังกล่าวไม่ได้ต้องตรงกันอย่างที่ควรจะเป็น และมีประเด็นที่ควรตรวจสอบด้วยระบบบัญชีซึ่งอาจจะชี้ให้เห็นความไร้ประสิทธิภาพในกระบวนการดังกล่าวหรืออาจจะมีการทุจริตในกระบวนการดังกล่าวก็เป็นได้ประเด็นที่พึงสังเกตนี้สามารถให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบปริมาณและจำนวนเงินทั้งห้าตัวเลขนี้ว่าตรงกันทุกประการหรือไม่ โดยการนับ stock และดูเอกสารหลักฐานต่างๆ เช่นเดียวกับกรณีการรับจำนำข้าว หากมีความผิดปกติสามารถสืบหาบุคคลผู้ทุจริตมาลงโทษได้
คำถาม 5:ได้มีการตรวจสอบภายในและแสดงตัวเลขทั้งห้าดังกล่าวว่าตรงกันหรือไม่? มีการสูญเสีย สูญหาย จากโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด? และมีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลในการจัดซื้อหรือไม่?
ทั้งนี้การที่ สปสช จัดซื้อยาและน้ำยาล้างไตเองมาโดยตลอดผ่านมาจากองค์การเภสัชกรรม โดยมีการจัดซื้อน้ำยาล้างไตมากเป็นอันดับหนึ่งรองลงมาคือยารักษาโรคเอดส์ผ่านระบบ VMI และทำให้ สปสช ได้รับเงิน rebate กลับคืนเป็นจำนวนเงิน 5% ของยอดที่ซื้อยาและน้ำยาล้างไต แล้วนำเงินดังกล่าวมาเป็นเงินสวัสดิการพนักงานและผู้บริหาร เช่น การซื้อเครื่องแบบให้พนักงาน การจัดรถรับส่งพนักงาน การไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ในนามเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ แทนที่จะนำเงินดังกล่าวมาเป็นเงินรักษาพยาบาลประชาชน ทางกฏหมายต้องถือว่าเป็นลาภมิควรได้ที่ต้องจัดการให้เด็ดขาด และ คตร. สตง คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตัดสินว่าผิดกฎหมายไปแล้วนั้นก็ยังไม่ได้มีการคืนเงินเป็นของแผ่นดินเพื่อนำกลับมาใช้รักษาชีวิตประชาชนแต่อย่างใด
คำถาม 6:การได้เงิน rebate 5% จากการจัดซื้อน้ำยาล้างไตเป็นแรงจูงใจของสปสช ในการจัดซื้อน้ำยาล้างไต CAPD เพราะทำให้ได้ผลประโยชน์แก่พวกพ้องและเป็นลาภมิควรได้หรือไม่? แม้ทาง สปสช จะได้หยุดเรื่องเงิน rebate ดังกล่าวลงไปแล้ว แต่ทำไมจึงยังไม่มีการเอาผิดและเรียกเงินคืนเข้าคลังหลวงของแผ่นดิน? หากไม่ทำเช่นดังกล่าวจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่? การกระทำดังกล่าวเป็นนายหน้าค้าความจน เป็นนายหน้าค้าความตาย กับประชาชนผู้ยากไร้หรือไม่ ผิดหลักจริยธรรมทางการแพทย์และสิทธิมนุษยชนหรือไม่?
จากการตรวจสอบพบว่าการจัดซื้อน้ำยาล้างไตของ สปสช น่าจะผิดกฎหมายเข้าข่ายการฮั้วประมูล มีเอกสารที่ชวนให้สงสัยว่าการจัดซื้อดังกล่าวขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล เช่น วันที่ 26 กันยายน 2555/วันที่ 12 กันยายน 2556 นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ ได้แจ้งความจำนงค์เรื่องการทำสัญญาจัดซื้อน้ำยาล้างไต ปี 2556 โดยระบุว่า โดยมีเงื่อนไขการสนับสนุนเช่นเดียวกับปีก่อน (การสนับสนุนที่ว่าคือของแถมจากบริษัทยา หรือเงิน rebate 5% ที่สปสช จะได้รับหรือไม่?) ส่วนในวันที่ 20 สิงหาคม 2557 นายแพทย์ประทีป ธนะกิจเจริญ ได้ลงนามแจ้งความจำนงในการจัดซื้อและขอยืมน้ำยาล้างไตทางช่องท้องชนิดถุงคู่ (CAPD) เพื่อใช้ในโครงการบริหารจัดการโรคไตวายเรื้อรัง โดยระบุว่าเมื่อได้รับของครบถ้วนแล้ว สปสช จะดำเนินการจัดซื้อในภายหลังต่อไป ภายหลังนายแพทย์วินัย สวัสดิวร ผู้ถูกมาตรา 44 พักงานปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการสปสช เป็นคนลงนามจัดซื้อ
สิ่งที่น่าห่วงที่สุดคือ สปสช ได้เจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำยาล้างไตโดยตรง ในบันทึกการประชุมหารือของโครงการน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ในวันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 13.30-16.30 ระหว่าง สปสช องค์การเภสัชกรรม ไปรษณีย์ไทย และบริษัทยา และมีการนัดประชุมครั้งต่อไปวันอังคารที่ 8 มกราคม 2556 เวลา 9.30-12.00 ที่ไปรษณีย์ไทย
คำถาม 7: การที่สปสช เข้าไปจัดการและแทรกแซงการทำงานดังกล่าว โดยที่ผู้จัดซื้อน้ำยาล้างไตจากบริษัทยาคือ องค์การเภสัชกรรม สปสช ไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดซื้อดังกล่าว และการไปประชุมร่วมกับบริษัทยาและเป็นการประชุมต่อเนื่องหลายครั้งเช่นดังกล่าว จะเข้าข่ายฮั้วการประมูลจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่? ทั้งนี้เมื่อมีคนกลางในการจัดซื้อแล้ว เหตุใด สปสช จึงต้องเข้าไปจัดการในเรื่องการจัดซื้อดังกล่าว การไปพบกับบริษัทยาเช่นดังกล่าวเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามหลักความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่?
ผู้เขียนขอวิงวอนให้ ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกท่าน ช่วยตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และตอบคำถามแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดหลักธรรมาภิบาลว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปตามแต่จะเห็นสมควร
เรียน ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกท่าน
เรื่อง โปรดช่วยชีวิตคนไทยจำนวนมากที่ต้องมาเสียชีวิตจากการล้างไตทางหน้าท้องด้วยวิธีการ CAPD-First ซึ่งน่าจะมีปัญหาการทุจริตขาดธรรมาภิบาลและน่าจะมีการฮั้วประมูลซื้อน้ำยาล้างไต โปรดช่วยหยุดการกระทำดังกล่าว
ผู้เขียนได้รับทราบความห่วงใยจากหลายท่านว่าการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วย CAPD-first หรือการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นอันดับแรก ของ สปสช. อาจจะเป็นสาเหตุทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดำรัส โรจนเสถียร ได้เขียนลงในเฟสบุ๊กว่าจากการประมาณคาดว่าใน 5 ปีที่ใช้โครงการนี้ มีคนตายไปแล้วนับหมื่นคน
ผู้เขียนและแพทย์หลายท่านได้พยายามเตือนว่าควรแก้ไขโครงการ เพราะเป็นแนวทางที่ผิดจริยธรรมทำให้แพทย์ไม่สามารถหาเลือกยาและวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยได้
ล่าสุดผู้เขียนได้ทราบข้อมูลการทำวิจัยจาก นายแพทย์ กฤษณพงศ์ มโนธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตระดับ 10 ได้ทำวิจัยเก็บข้อมูลจาก 2 โรงพยาบาลขนาดใหญ่มากในกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกัน พบว่าอัตราการตายของผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วย CAPD-first สูงจนน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ถึงแม้ผลการศึกษาจะยังไม่เสร็จสิ้นเนื่องจากต้องใช้เวลาการวิจัยอีกระยะ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบแก้ไข ผู้เขียนจึงได้ขอข้อมูลเบื้องต้นนี้มาเปิดเผยให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน
จากรูปฟังก์ชันการอยู่รอดวิเคราะห์ผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม แกนตั้งเป็นอัตราการอยู่รอด แกนนอนเป็นเวลา (เดือน) เปรียบเทียบการรักษาด้วยการฟอกเลือด (HD) กับ CAPD ทั้งหมดเป็น CAPD-first นายแพทย์ กฤษณพงศ์ได้แยกผู้ป่วยตามอายุ ที่ 60 ปี จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยอายุน้อยจะตายน้อยกว่าอายุมาก โดยหากอายุน้อยและรักษาด้วยการฟอกเลือดจะมีอัตราการอยู่รอดสูงในหนึ่งปีพบผู้ป่วยรอดชีวิตถึง 80% ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ หากรักษาด้วย CAPD-first แม้จะมีอายุน้อยก็มีอัตราการตายสูงมาก แถมยังตายมากกว่าผู้ป่วยสูงอายุที่รักษาด้วยการฟอกเลือด (60%) ด้วยซ้ำ โดยพบว่ารักษาด้วย CAPD-first ในหนึ่งปีรอดชีวิตเพียงประมาณ 40% ทั้งกลุ่มที่อายุมากและ 50% ในกลุ่มอายุน้อย อัตราการตายที่สูงนี้สูงกว่าการรักษาด้วย CAPD ในต่างประเทศหรือ CAPD ในไทยในผู้ป่วยที่เหมาะสมและใช้น้ำยาจากแหล่งอื่น ทำให้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าอัตราการตายที่สูงนี้เกิดจากการบริหารจัดการ CAPD-first ผู้เขียนจึงขอเรียกร้องให้มีการแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วน และผู้เขียนมีคำถามหลายคำถามที่ต้องการให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแสดงธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 3/1 และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี 2546
คำถาม 1: ถ้าท่านอายุน้อยกว่า 60 ปี หรือคนในครอบครัวที่ท่านรัก ป่วยเป็นโรคไตวาย ท่านจะเลือกระบบการรักษาด้วยวิธีใด?
คำถาม 2: การที่สปสช กำหนดให้ทุกคนที่ไตวาย ต้องใช้ CAPD-first เป็นนโยบายทางสาธารณสุขที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์และตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่?
ทั้งนี้ในปัจจุบันนี้ต้นทุนของการล้างไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis) และการล้างไตทางหน้าท้อง (CAPD) แทบจะไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด ดังแสดงการคำนวณในตาราง 1 ด้านล่างนี้ สำหรับ CAPD ต้องใช้น้ำยาวันละ 4 ถุงตกรวมเป็นเงิน 15,000 บาทต่อเดือน และสปสช ได้จ่ายเงินค่ายาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้กับผู้ป่วยที่ฟอกไตทางหน้าท้องอีกเป็นเงิน 3,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงิน 18,000 ต่อเดือน ในขณะที่ Hemodialysis มีค่าใช้จ่ายในการฟอกไต 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1,500 บาท ซึ่งคำนวณจากราคากลางของสำนักงานประกันสังคม และมีบางท้องที่สามารถทำราคาได้ถูกกว่านี้อีก ดังนั้นต้นทุนในการฟอกเลือดตกที่ 12,000-18,000 บาท ซึ่งจะถูกกว่าสำหรับผู้มีอาการโรคไตไม่หนักมาก
ตารางที่ 1 คำนวณต้นทุนและเปรียบเทียบวิธีการล้างไตทางหน้าท้องของ สปสช (CAPD First) และการล้างไตทางหลอดเลือด (HD)
คำถาม 3: ในเมื่อต้นทุนถูกกว่าทำไม สปสช จึงเลือกที่จะล้างไตทางหน้าท้องเป็นวิธีการบังคับวิธีการแรก ทั้งๆ ที่แพงกว่า ตายมากกว่า น่ามีการติดเชื้อในช่องท้อง (Peritonitis) ซึ่งหากลุกลามเข้ากระแสเลือด (Sepsis) แล้ว จะเป็นอันตรายมากและค่าใช้จ่ายในการรักษาจะสูงมากกว่านี้อีกหลายสิบเท่าโปรดช่วยตอบประชาชนชาวไทยด้วย?
สิ่งที่น่าห่วงใยที่สุดคือในกระบวนการจัดซื้อน้ำยาล้างไตนั้น ดังแสดงในรูปที่ 2 กระบวนการบริหารจัดซื้อและจัดส่งน้ำยาล้างไตในโครงการ CAPD-First ของ สปสช มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ 5 ฝ่าย
ฝ่ายแรกคือ สปสช มีหน้าที่ในการคำนวณจำนวนน้ำยาล้างไตที่ต้องจัดซื้อในแต่ละช่วงเวลา เช่น หนึ่งปี จากจำนวนผู้ป่วยไตวาย สปสช สั่งซื้อน้ำยาล้างไตจากองค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้จำนวนน้ำยาล้างไตที่สั่งซื้อรวมในแต่ละรอบะปีงบประมาณโดยสปสช จากองค์การเภสัชกรรมคือหมายเลข (1) ในรูปที่ 2 สปสช ใช้วิธีการทยอยสั่งซื้อทีละเล็กละน้อยไม่เกินหนึ่งพันล้านบาทลงนามโดยนายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ
คำถาม 4:การทยอยจัดซื้อน้ำยาล้างไต CAPD ทีละเล็กละน้อย ถือว่าเป็นการซอยการจัดซื้อที่ผิดจาก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 หรือไม่ และถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่?
ฝ่ายที่สองคือองค์การเภสัชกรรม ทำหน้าที่เป็นนายหน้าและคนกลางในการจัดซื้อน้ำยาล้างไตจากบริษัทยาสองบริษัทคือ จำนวนน้ำยาทั้งหมดที่จัดซื้อในแต่ละรอบปีงบประมาณนั้นคือตัวเลข (2) ดังแสดงในรูป องค์การเภสัชกรรมได้รับแถมน้ำยาล้างไตร้อยละ 1 จาก บริษัท B ส่วนบริษัท F นั้น ไม่ได้แถมให้ นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมยังจัดจ้างผู้เก็บและผู้ส่งน้ำยาให้ถึงบ้านผู้ป่วยโรคไตวายที่ล้างไตด้วย CAPD ทางหน้าท้อง โดยใช้ตัวเลขหมายเลข (3) ในการแสดงจำนวนดังกล่าว
ฝ่ายที่สามคือบริษัทยา B และ F เมื่อรับคำสั่งซื้อจากองค์การเภสัชกรรมแล้วก็มีหน้าที่ส่งมอบน้ำยาล้างไตเป็นจำนวนเท่ากับหมายเลข (4) ให้กับไปรษณีย์ไทย
ฝ่ายที่สี่คือไปรษณีย์ไทยมีหน้าที่จัดเก็บรักษาให้น้ำยาล้างไตที่ได้รับมอบมาจาก B และ F เป็นจำนวนเท่ากับ (4) และต้องมีหน้าที่ในการรักษาอุณหภูมิให้ดี ไม่ให้น้ำยาเสื่อม ไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และจัดส่งให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเป็นจำนวนเท่ากับ (5) ในรูปที่ 2
ฝ่ายที่ห้าคือประชาชนผู้ป่วยโรคไตตามสิทธิบัตรทองที่เข้าโครงการ CAPD-First ซึ่งต้องล้างไตวันละ 4 ครั้งหรือใช้น้ำยา 4 ถุง ด้วยคุณภาพและปริมาณตรงตามเวลาที่ต้องการ
ทั้งนี้ระบบควบคุมภายใน (Internal Control Process) ต้องควบคุมและตรวจสอบปริมาณของน้ำยาล้างไตในแต่ละขั้นตอนของการจัดซื้อและส่งมอบได้อย่างถูกต้อง โดยหากกระบวนการดังกล่าวเป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีประสิทธิภาพแล้ว จำนวนน้ำยาล้างไตจะต้องเท่ากันดังสมการด้านล่างนี้คือ
ปัญหาคือการขาดระบบควบคุมภายในให้ยอดทั้งห้ายอดที่ว่านี้ตรงกัน ทั้งๆ ที่สามารถวางระบบตรวจสอบกระทบยอด (Reconciliation) ด้วยคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย ทั้งนี้ในความเป็นจริงพบว่ายอดดังกล่าวไม่ได้ต้องตรงกันอย่างที่ควรจะเป็น และมีประเด็นที่ควรตรวจสอบด้วยระบบบัญชีซึ่งอาจจะชี้ให้เห็นความไร้ประสิทธิภาพในกระบวนการดังกล่าวหรืออาจจะมีการทุจริตในกระบวนการดังกล่าวก็เป็นได้ประเด็นที่พึงสังเกตนี้สามารถให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบปริมาณและจำนวนเงินทั้งห้าตัวเลขนี้ว่าตรงกันทุกประการหรือไม่ โดยการนับ stock และดูเอกสารหลักฐานต่างๆ เช่นเดียวกับกรณีการรับจำนำข้าว หากมีความผิดปกติสามารถสืบหาบุคคลผู้ทุจริตมาลงโทษได้
คำถาม 5:ได้มีการตรวจสอบภายในและแสดงตัวเลขทั้งห้าดังกล่าวว่าตรงกันหรือไม่? มีการสูญเสีย สูญหาย จากโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด? และมีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลในการจัดซื้อหรือไม่?
ทั้งนี้การที่ สปสช จัดซื้อยาและน้ำยาล้างไตเองมาโดยตลอดผ่านมาจากองค์การเภสัชกรรม โดยมีการจัดซื้อน้ำยาล้างไตมากเป็นอันดับหนึ่งรองลงมาคือยารักษาโรคเอดส์ผ่านระบบ VMI และทำให้ สปสช ได้รับเงิน rebate กลับคืนเป็นจำนวนเงิน 5% ของยอดที่ซื้อยาและน้ำยาล้างไต แล้วนำเงินดังกล่าวมาเป็นเงินสวัสดิการพนักงานและผู้บริหาร เช่น การซื้อเครื่องแบบให้พนักงาน การจัดรถรับส่งพนักงาน การไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ในนามเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ แทนที่จะนำเงินดังกล่าวมาเป็นเงินรักษาพยาบาลประชาชน ทางกฏหมายต้องถือว่าเป็นลาภมิควรได้ที่ต้องจัดการให้เด็ดขาด และ คตร. สตง คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตัดสินว่าผิดกฎหมายไปแล้วนั้นก็ยังไม่ได้มีการคืนเงินเป็นของแผ่นดินเพื่อนำกลับมาใช้รักษาชีวิตประชาชนแต่อย่างใด
คำถาม 6:การได้เงิน rebate 5% จากการจัดซื้อน้ำยาล้างไตเป็นแรงจูงใจของสปสช ในการจัดซื้อน้ำยาล้างไต CAPD เพราะทำให้ได้ผลประโยชน์แก่พวกพ้องและเป็นลาภมิควรได้หรือไม่? แม้ทาง สปสช จะได้หยุดเรื่องเงิน rebate ดังกล่าวลงไปแล้ว แต่ทำไมจึงยังไม่มีการเอาผิดและเรียกเงินคืนเข้าคลังหลวงของแผ่นดิน? หากไม่ทำเช่นดังกล่าวจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่? การกระทำดังกล่าวเป็นนายหน้าค้าความจน เป็นนายหน้าค้าความตาย กับประชาชนผู้ยากไร้หรือไม่ ผิดหลักจริยธรรมทางการแพทย์และสิทธิมนุษยชนหรือไม่?
จากการตรวจสอบพบว่าการจัดซื้อน้ำยาล้างไตของ สปสช น่าจะผิดกฎหมายเข้าข่ายการฮั้วประมูล มีเอกสารที่ชวนให้สงสัยว่าการจัดซื้อดังกล่าวขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล เช่น วันที่ 26 กันยายน 2555/วันที่ 12 กันยายน 2556 นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ ได้แจ้งความจำนงค์เรื่องการทำสัญญาจัดซื้อน้ำยาล้างไต ปี 2556 โดยระบุว่า โดยมีเงื่อนไขการสนับสนุนเช่นเดียวกับปีก่อน (การสนับสนุนที่ว่าคือของแถมจากบริษัทยา หรือเงิน rebate 5% ที่สปสช จะได้รับหรือไม่?) ส่วนในวันที่ 20 สิงหาคม 2557 นายแพทย์ประทีป ธนะกิจเจริญ ได้ลงนามแจ้งความจำนงในการจัดซื้อและขอยืมน้ำยาล้างไตทางช่องท้องชนิดถุงคู่ (CAPD) เพื่อใช้ในโครงการบริหารจัดการโรคไตวายเรื้อรัง โดยระบุว่าเมื่อได้รับของครบถ้วนแล้ว สปสช จะดำเนินการจัดซื้อในภายหลังต่อไป ภายหลังนายแพทย์วินัย สวัสดิวร ผู้ถูกมาตรา 44 พักงานปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการสปสช เป็นคนลงนามจัดซื้อ
สิ่งที่น่าห่วงที่สุดคือ สปสช ได้เจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำยาล้างไตโดยตรง ในบันทึกการประชุมหารือของโครงการน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ในวันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 13.30-16.30 ระหว่าง สปสช องค์การเภสัชกรรม ไปรษณีย์ไทย และบริษัทยา และมีการนัดประชุมครั้งต่อไปวันอังคารที่ 8 มกราคม 2556 เวลา 9.30-12.00 ที่ไปรษณีย์ไทย
คำถาม 7: การที่สปสช เข้าไปจัดการและแทรกแซงการทำงานดังกล่าว โดยที่ผู้จัดซื้อน้ำยาล้างไตจากบริษัทยาคือ องค์การเภสัชกรรม สปสช ไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดซื้อดังกล่าว และการไปประชุมร่วมกับบริษัทยาและเป็นการประชุมต่อเนื่องหลายครั้งเช่นดังกล่าว จะเข้าข่ายฮั้วการประมูลจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่? ทั้งนี้เมื่อมีคนกลางในการจัดซื้อแล้ว เหตุใด สปสช จึงต้องเข้าไปจัดการในเรื่องการจัดซื้อดังกล่าว การไปพบกับบริษัทยาเช่นดังกล่าวเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามหลักความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่?
ผู้เขียนขอวิงวอนให้ ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกท่าน ช่วยตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และตอบคำถามแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดหลักธรรมาภิบาลว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปตามแต่จะเห็นสมควร
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์