ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เมื่อวานนี้ (30มิ.ย.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาดำเนินกระบวนการถอดถอน นายประชา ประสพดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมช.มหาดไทย ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรธน. (ชั่วคราว) 2557 ประกอบมาตรา 56 (1) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีใช้สถานะหรือตำแหน่งรัฐมนตรี เข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง การดำเนินงานของคณะกรรมการองค์การตลาด ที่พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการ ทุจริตของ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้อำนวยการองค์การตลาด ทั้งนี้นายสุรชัย แจ้งว่า ได้กำหนดวันแถลงเปิดสำนวนคดี ของป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายประชา ผู้ถูกกล่าวหา ในวันที่ 28 ก.ค. เวลา 10.00 น.
จากนั้นได้พิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาโดยนายประชา ชี้แจงว่าตนขอยื่นเอกสารจำนวน 1 รายการ คือหนังสือลับของป.ป.ช. เลขที่ 0019/2081 ลงวันที่ 13 ต.ค. 58 เรื่อง ขอให้ลงโทษวินัยพนังงาน อต. ซึ่งหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือแจ้งมติป.ป.ช. ในการไต่สวนและชี้มูลความผิดพนักงาน อต. รวมถึงผู้บริหาร อต. กรณีการจัดจ้างปรับปรุงอาคารทรงไทย สำนักงานการตลาด สาขาบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยตนมีเหตุผลประกอบ 5 ประการ คือ
1. กรณีที่ป.ป.ช.ได้ดำเนินการไต่สวน และมีมติมูลคดีเดียวกันกับคณะกรรมการองค์การตลาด หรือบอร์ด อต. มีมติเลิกจ้าง นายธีธัช สุขสะอาด ผอ.องค์การตลาด
2. ข้อกล่าวหาที่กล่าวหาว่า ก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติงานของบอร์ด อต. เพื่อช่วยเหลือให้นายธีธัช ทำให้การเลิกจ้างดังกล่าวไม่เป็นผล ทำให้กระบวนการทุจริตต้องล่าช้า และไม่เป็นผล
3. เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การกระทำของตนไม่เป็นไปตามข้อกล่าวหาของป.ป.ช. เพราะการร้องทุกข์ให้ดำเนินการกับ นายธีธัช ซึ่งได้ทำไว้ก่อนหน้าที่ตนจะเข้ารับตำแหน่งเป็น รมช.มหาดไทย ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจน ป.ป.ช.ไต่สวนและมีมติในที่สุด
4. เอกสารดังกล่าวมีนัยยะสำคัญว่า การเลิกจ้างนายธีธัช ไม่เป็นผลนั้น มิได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของตน แต่เกิดจากกระบวนการเลิกจ้างที่ทำไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย และ 5. เอกสารและหนังสือดังกล่าวได้ปรากฏต่อป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 59 แต่ ป.ป.ช.มิได้นำมาประกอบในสำนวนการไต่คดีที่กล่าวหาตน และป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดตน เมื่อวันที่ 31 มี.ค.59 โดยที่ตนไม่รู้ว่ามีเอกสารดังกล่าว จึงไม่ได้อ้าง หรือหยิบยกเพื่อขอให้ป.ป.ช.ได้นำเข้าสู่กระบวนการไต่สวน อีกทั้งเอกสารฉบับนี้ ถือเป็นเอกสารสำคัญ จึงขออนุญาตต่อที่ประชุมสนช. อ้างเอกสารและหนังสือดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมต่อ สนช. และได้ทำหนังสือต่อประธาน สนช. ขอให้ประธานทำหนังสือไปยังอต. เพื่อขอเอกสารฉบับนี้มาประกอบการพิจารณาแถลงคำแก่ข้อกล่าวหา ตนหวังว่า สนช. จะให้โอกาส และอนุญาตได้เพิ่มเติมพยานเอกสารดังกล่าว
ด้านนายอุดมศักดิ์ ดุลยประพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการป.ป.ช. ตัวแทนป.ป.ช. กล่าวว่า หนังสือที่ขอไม่เคยปรากฎในสำนวน และในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช. ดังนั้นป.ป.ช.ก็ไม่ขัดข้อง เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาของ สนช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากป.ป.ช.ไม่คัดค้านการขอเพิ่มพยาน เอกสารเพิ่มเติมของนายประชา แต่นายสมชาย แสวงการ สนช. ได้ลุกขึ้นสอบถาม เอกสารดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสำนวน ป.ป.ช. และเหตุใด ป.ป.ช.จึงไม่คัดค้านการขอเพิ่มพยานเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้ จะมีประโยชน์ในการพิจารณาของสนช.อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมา ป.ป.ช.จะคัดค้าน แต่ทางป.ป.ช. ก็ยังยืนยันคำตอบเดิม เป็นคนละเรื่องและคนละสำนวน เมื่อนายประชาร้องขอ ก็เห็นเป็นประโยชน์ ป.ป.ช.จึงไม่คัดค้าน จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน 108 เสียง ต่อ 53 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง อนุญาตให้นายประชา เพิ่มพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ และที่ประชุมมีมติ ไม่ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและพยานหลักฐานอันจำเป็น สำหรับคู่กรณีเนื่องจากเป็นคดีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในช่วงเช้าก่อนที่จะมีการประชุม สนช. เพื่อถอดถอน นายประชา ประสพดี ได้เดินทางมาที่รัฐสภาแต่เช้า โดยนำพวงมาลัยสักการะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 ) และพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองด้วย
จากนั้นได้พิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาโดยนายประชา ชี้แจงว่าตนขอยื่นเอกสารจำนวน 1 รายการ คือหนังสือลับของป.ป.ช. เลขที่ 0019/2081 ลงวันที่ 13 ต.ค. 58 เรื่อง ขอให้ลงโทษวินัยพนังงาน อต. ซึ่งหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือแจ้งมติป.ป.ช. ในการไต่สวนและชี้มูลความผิดพนักงาน อต. รวมถึงผู้บริหาร อต. กรณีการจัดจ้างปรับปรุงอาคารทรงไทย สำนักงานการตลาด สาขาบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยตนมีเหตุผลประกอบ 5 ประการ คือ
1. กรณีที่ป.ป.ช.ได้ดำเนินการไต่สวน และมีมติมูลคดีเดียวกันกับคณะกรรมการองค์การตลาด หรือบอร์ด อต. มีมติเลิกจ้าง นายธีธัช สุขสะอาด ผอ.องค์การตลาด
2. ข้อกล่าวหาที่กล่าวหาว่า ก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติงานของบอร์ด อต. เพื่อช่วยเหลือให้นายธีธัช ทำให้การเลิกจ้างดังกล่าวไม่เป็นผล ทำให้กระบวนการทุจริตต้องล่าช้า และไม่เป็นผล
3. เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การกระทำของตนไม่เป็นไปตามข้อกล่าวหาของป.ป.ช. เพราะการร้องทุกข์ให้ดำเนินการกับ นายธีธัช ซึ่งได้ทำไว้ก่อนหน้าที่ตนจะเข้ารับตำแหน่งเป็น รมช.มหาดไทย ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจน ป.ป.ช.ไต่สวนและมีมติในที่สุด
4. เอกสารดังกล่าวมีนัยยะสำคัญว่า การเลิกจ้างนายธีธัช ไม่เป็นผลนั้น มิได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของตน แต่เกิดจากกระบวนการเลิกจ้างที่ทำไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย และ 5. เอกสารและหนังสือดังกล่าวได้ปรากฏต่อป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 59 แต่ ป.ป.ช.มิได้นำมาประกอบในสำนวนการไต่คดีที่กล่าวหาตน และป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดตน เมื่อวันที่ 31 มี.ค.59 โดยที่ตนไม่รู้ว่ามีเอกสารดังกล่าว จึงไม่ได้อ้าง หรือหยิบยกเพื่อขอให้ป.ป.ช.ได้นำเข้าสู่กระบวนการไต่สวน อีกทั้งเอกสารฉบับนี้ ถือเป็นเอกสารสำคัญ จึงขออนุญาตต่อที่ประชุมสนช. อ้างเอกสารและหนังสือดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมต่อ สนช. และได้ทำหนังสือต่อประธาน สนช. ขอให้ประธานทำหนังสือไปยังอต. เพื่อขอเอกสารฉบับนี้มาประกอบการพิจารณาแถลงคำแก่ข้อกล่าวหา ตนหวังว่า สนช. จะให้โอกาส และอนุญาตได้เพิ่มเติมพยานเอกสารดังกล่าว
ด้านนายอุดมศักดิ์ ดุลยประพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการป.ป.ช. ตัวแทนป.ป.ช. กล่าวว่า หนังสือที่ขอไม่เคยปรากฎในสำนวน และในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช. ดังนั้นป.ป.ช.ก็ไม่ขัดข้อง เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาของ สนช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากป.ป.ช.ไม่คัดค้านการขอเพิ่มพยาน เอกสารเพิ่มเติมของนายประชา แต่นายสมชาย แสวงการ สนช. ได้ลุกขึ้นสอบถาม เอกสารดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสำนวน ป.ป.ช. และเหตุใด ป.ป.ช.จึงไม่คัดค้านการขอเพิ่มพยานเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้ จะมีประโยชน์ในการพิจารณาของสนช.อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมา ป.ป.ช.จะคัดค้าน แต่ทางป.ป.ช. ก็ยังยืนยันคำตอบเดิม เป็นคนละเรื่องและคนละสำนวน เมื่อนายประชาร้องขอ ก็เห็นเป็นประโยชน์ ป.ป.ช.จึงไม่คัดค้าน จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน 108 เสียง ต่อ 53 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง อนุญาตให้นายประชา เพิ่มพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ และที่ประชุมมีมติ ไม่ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและพยานหลักฐานอันจำเป็น สำหรับคู่กรณีเนื่องจากเป็นคดีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในช่วงเช้าก่อนที่จะมีการประชุม สนช. เพื่อถอดถอน นายประชา ประสพดี ได้เดินทางมาที่รัฐสภาแต่เช้า โดยนำพวงมาลัยสักการะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 ) และพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองด้วย