ผู้จัดการรายวัน360- ศาลรธน.นัดประชุมขี้ขาด พ.ร.บ.ประชามติ ม.61 วรรคสอง ขัดรรธน.หรือไม่ วันนี้ กกต.ตั้งข้อสังเกต คำว่า "รุนแรง-ก้าวร้าว-หยาบคาย-ปลุกระดม" กฎหมายอาญาไม่เคยเขียนไว้สักฉบับ ด้านกลุ่มปชต.ใหม่ จี้ กกต.วางตัวเป็นกลาง
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (29 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการพิจารณาวินิจฉัย คำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนญพิจารณาวินิจฉัย มาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 4 หรือไม่
ทั้งนี้ ขั้นตอนการพิจารณาของศาลรธน.ถึงเรื่องดังกล่าว จะมี 2-3 ขั้นตอน อันดับแรก จะเป็นการแถลงด้วยวาจาของตุลาการแต่ละท่าน ว่ามีความเห็นเป็นอย่างไร เมื่อแถลงด้วยวาจาครบทุกคนแล้ว จะมีการลงมติเพื่อหาเสียงข้างมาก จากนั้นเมื่อมีมติต่อคำร้องดังกล่าวออกมาแล้ว ก็จะเผยแพร่เป็นเอกสารข่าวให้สาธารณะชนได้รับทราบ
ดังนั้น การพิจารณาในวันนี้ คณะตุลาการจะไม่มีการออกนั่งบันลังก์ ถือเป็นการประชุมปกติ เนื่องจากสำนวนคำร้องดังกล่าว ถือว่ามีความสมบูรณ์ และเป็นคำร้องที่ไม่มีคู่กรณี จะแตกต่างจากการพิจารณาคดียุบพรรคการเมือง หรือคดีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีการประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นทื่ เพราะเป็นเพียงการพิจารณาวินิจฉัยตามข้อกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ของศาลรธน.ตามปกติ
**จับตา ม.61วรรคสองขัดรธน.
แหล่งข่าวจากศาลรธน.เปิดเผยว่า การพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนี้ ถือเป็นดุลยพินิจของตุลาการศาลรธน.แต่ละท่าน ว่าจะมีความเห็นเป็นอย่างไร แต่การวินิจฉัยคำร้องข้อกฎหมายที่ขัดรธน. หรือแม้แต่กฎหมายอาญาที่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของตุลาการศาลรธน.ชุดนี้ ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ ที่อาจวินิจฉัยว่า มาตรา 61 วรรคสองนั้น ขัดต่อรธน. หรือถ้าวินิจฉัยว่าไม่ขัด ก็อาจมีการให้คำแนะนำว่า ควรที่จะเปิดโอกาสและให้สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนในการแสดงความเห็นต่อกระบวนการออกเสียงประชามติ
ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า ในการหลักกฎหมายอาญา คำว่า รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย และปลุกระดมนั้น ไม่ได้มีระบุไว้ในกฎหมายอาญาเลยสักฉบับ เพราะกฎหมายอาญา จะใช้คำว่า “ก่อให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในบ้านเมือง”ไม่ใช้คำว่า“ปลุกระดม” คำว่า “ปลุกระดม”มันครอบจักรวาล อะไรก็เข้าปลุกระดมไปหมด มันกว้างมาก กฎหมายอาญาต้องเขียนให้ละเอียด เขียนกว้างไม่ได้ เพราะถ้าออกกฎหมายแล้วไปละเมิดสิทธิของประชาชนมันทำไม่ได้ กฎหมายอาญาต้องเขียนให้แคบ ตรงไปตรงมา และมีความหมายชัดเจน ยกตัวอย่างคำว่า ข่มขู่ นั้นยากมาก แต่ขู่เข็ญ สามารถรู้โดยทั่วไปว่าอะไร
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี หากในวันนี้ ศาลรธน.ตัดสินว่า มาตรา 61วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ขัดรธน.ชั่วคราว จะต้องนำ มาตรา 44 มาแก้ปัญหาหรือไม่ ว่า ยังไม่รู้ ต้องให้ศาลฯ มีคำตัดสินมาก่อน
** ตีความม.61ไม่กระทบประชามติ
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวว่า หากผลออกมา ไม่ขัดกับรธน. ทุกอย่างก็เดินไปตามเดิม แต่หากขัดก็จะขัดแค่วรรคที่มีปัญหา หรือบางถ้อยคำในวรรคนั้น โดยศาลก็คงจะเขียนมาให้ชัดว่า คำไหน อย่างไร เพื่อง่ายต่อการแก้ไข หรือตัดทิ้ง แต่ก็ยังมีบทหลักใน มาตรา 7 และมาตรา 61 มาบังคับใช้
ส่วนแนวทางการใช้ มาตรา 44 เพื่อควบคุมสถานการณ์แทน หากศาลฯ ตีความว่าขัดต่อรธน.นั้น โดยส่วนตัวเห็นว่ายังมีกฎหมายเฉพาะที่มาบังคับใช้ได้ ซึ่งกติกาการแสดงความเห็น แค่ไม่เอาความเท็จ หรือพูดจาหยาบคาย ปลุกระดม หากเข้าใจกติกาตรงนี้ ก็สามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
ส่วนเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ. ก็ขึ้นกับความเห็นของ กกต.ในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมาย หากคิดว่ากฎหมายยังดูแลได้ ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขใดๆ
** กกต.ต้องวางตัวเป็นกลาง
วานนี้ (28มิ.ย.) กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ นำโดย นายปกรณ์ อารีกุล นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อยืนยันว่า การรณรงค์ประชามติร่างรธน. เป็นสิทธิของประชาชน และเรียกร้องให้กกต.ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลาง
นายปกรณ์ กล่าวขอเรียกร้องให้ กกต.ในฐานะผู้จัดการออกเสียงประชามติ วางตัวเป็นกลางตามหลักสากลของการทำประชามติ เปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านรณรงค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ทำตัวเหมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ กรธ. หรือเป็นโฆษกของฝ่ายรัฐบาล ในเรื่องประชามติอย่างที่ประชาชนกังวล
"ขณะนี้ พ.ร.บ.ประชามติ กำลังอยู่ระหว่างที่ศาลรธน. กำลังวินิจฉัย หากศาลรธน.ตีความว่า ขัดกับรธน.ฉบับชั่วคราว เพื่อนผมที่ถูกคุมขังอยู่ 4-5 วัน ก็กลายเป็นความอยุติธรรม ที่ไม่รู้จะไปเรียกร้องกับใคร" นายปกรณ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากทางกลุ่มจะยื่นหนังสือต่อ กกต.แล้ว ยังได้นำเอกสารความเห็นแย้งคำอธิบายสาระสำคัญร่างรธน. 7 เหตุผลไม่รับร่างรธน. สติ๊กเกอร์โหวตโน มามอบให้กับกกต.ด้วย รวมถึงมีการนำลูกโป่งสีม่วง ที่มีข้อความว่า “รณรงค์ ไม่ผิด”จำนวน 5 ใบ มอบให้กับ กกต.ทั้ง 5 คน โดยทางแกนนำมีการระบุว่า ขอให้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ได้ถ่ายรูปกับลูกโป่ง และโพสต์ลงเฟซบุ๊กด้วย
---------------
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (29 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการพิจารณาวินิจฉัย คำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนญพิจารณาวินิจฉัย มาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 4 หรือไม่
ทั้งนี้ ขั้นตอนการพิจารณาของศาลรธน.ถึงเรื่องดังกล่าว จะมี 2-3 ขั้นตอน อันดับแรก จะเป็นการแถลงด้วยวาจาของตุลาการแต่ละท่าน ว่ามีความเห็นเป็นอย่างไร เมื่อแถลงด้วยวาจาครบทุกคนแล้ว จะมีการลงมติเพื่อหาเสียงข้างมาก จากนั้นเมื่อมีมติต่อคำร้องดังกล่าวออกมาแล้ว ก็จะเผยแพร่เป็นเอกสารข่าวให้สาธารณะชนได้รับทราบ
ดังนั้น การพิจารณาในวันนี้ คณะตุลาการจะไม่มีการออกนั่งบันลังก์ ถือเป็นการประชุมปกติ เนื่องจากสำนวนคำร้องดังกล่าว ถือว่ามีความสมบูรณ์ และเป็นคำร้องที่ไม่มีคู่กรณี จะแตกต่างจากการพิจารณาคดียุบพรรคการเมือง หรือคดีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีการประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นทื่ เพราะเป็นเพียงการพิจารณาวินิจฉัยตามข้อกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ของศาลรธน.ตามปกติ
**จับตา ม.61วรรคสองขัดรธน.
แหล่งข่าวจากศาลรธน.เปิดเผยว่า การพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนี้ ถือเป็นดุลยพินิจของตุลาการศาลรธน.แต่ละท่าน ว่าจะมีความเห็นเป็นอย่างไร แต่การวินิจฉัยคำร้องข้อกฎหมายที่ขัดรธน. หรือแม้แต่กฎหมายอาญาที่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของตุลาการศาลรธน.ชุดนี้ ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ ที่อาจวินิจฉัยว่า มาตรา 61 วรรคสองนั้น ขัดต่อรธน. หรือถ้าวินิจฉัยว่าไม่ขัด ก็อาจมีการให้คำแนะนำว่า ควรที่จะเปิดโอกาสและให้สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนในการแสดงความเห็นต่อกระบวนการออกเสียงประชามติ
ด้านนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า ในการหลักกฎหมายอาญา คำว่า รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย และปลุกระดมนั้น ไม่ได้มีระบุไว้ในกฎหมายอาญาเลยสักฉบับ เพราะกฎหมายอาญา จะใช้คำว่า “ก่อให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในบ้านเมือง”ไม่ใช้คำว่า“ปลุกระดม” คำว่า “ปลุกระดม”มันครอบจักรวาล อะไรก็เข้าปลุกระดมไปหมด มันกว้างมาก กฎหมายอาญาต้องเขียนให้ละเอียด เขียนกว้างไม่ได้ เพราะถ้าออกกฎหมายแล้วไปละเมิดสิทธิของประชาชนมันทำไม่ได้ กฎหมายอาญาต้องเขียนให้แคบ ตรงไปตรงมา และมีความหมายชัดเจน ยกตัวอย่างคำว่า ข่มขู่ นั้นยากมาก แต่ขู่เข็ญ สามารถรู้โดยทั่วไปว่าอะไร
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี หากในวันนี้ ศาลรธน.ตัดสินว่า มาตรา 61วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ขัดรธน.ชั่วคราว จะต้องนำ มาตรา 44 มาแก้ปัญหาหรือไม่ ว่า ยังไม่รู้ ต้องให้ศาลฯ มีคำตัดสินมาก่อน
** ตีความม.61ไม่กระทบประชามติ
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวว่า หากผลออกมา ไม่ขัดกับรธน. ทุกอย่างก็เดินไปตามเดิม แต่หากขัดก็จะขัดแค่วรรคที่มีปัญหา หรือบางถ้อยคำในวรรคนั้น โดยศาลก็คงจะเขียนมาให้ชัดว่า คำไหน อย่างไร เพื่อง่ายต่อการแก้ไข หรือตัดทิ้ง แต่ก็ยังมีบทหลักใน มาตรา 7 และมาตรา 61 มาบังคับใช้
ส่วนแนวทางการใช้ มาตรา 44 เพื่อควบคุมสถานการณ์แทน หากศาลฯ ตีความว่าขัดต่อรธน.นั้น โดยส่วนตัวเห็นว่ายังมีกฎหมายเฉพาะที่มาบังคับใช้ได้ ซึ่งกติกาการแสดงความเห็น แค่ไม่เอาความเท็จ หรือพูดจาหยาบคาย ปลุกระดม หากเข้าใจกติกาตรงนี้ ก็สามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
ส่วนเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ. ก็ขึ้นกับความเห็นของ กกต.ในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมาย หากคิดว่ากฎหมายยังดูแลได้ ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขใดๆ
** กกต.ต้องวางตัวเป็นกลาง
วานนี้ (28มิ.ย.) กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ นำโดย นายปกรณ์ อารีกุล นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อยืนยันว่า การรณรงค์ประชามติร่างรธน. เป็นสิทธิของประชาชน และเรียกร้องให้กกต.ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลาง
นายปกรณ์ กล่าวขอเรียกร้องให้ กกต.ในฐานะผู้จัดการออกเสียงประชามติ วางตัวเป็นกลางตามหลักสากลของการทำประชามติ เปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านรณรงค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ทำตัวเหมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ กรธ. หรือเป็นโฆษกของฝ่ายรัฐบาล ในเรื่องประชามติอย่างที่ประชาชนกังวล
"ขณะนี้ พ.ร.บ.ประชามติ กำลังอยู่ระหว่างที่ศาลรธน. กำลังวินิจฉัย หากศาลรธน.ตีความว่า ขัดกับรธน.ฉบับชั่วคราว เพื่อนผมที่ถูกคุมขังอยู่ 4-5 วัน ก็กลายเป็นความอยุติธรรม ที่ไม่รู้จะไปเรียกร้องกับใคร" นายปกรณ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากทางกลุ่มจะยื่นหนังสือต่อ กกต.แล้ว ยังได้นำเอกสารความเห็นแย้งคำอธิบายสาระสำคัญร่างรธน. 7 เหตุผลไม่รับร่างรธน. สติ๊กเกอร์โหวตโน มามอบให้กับกกต.ด้วย รวมถึงมีการนำลูกโป่งสีม่วง ที่มีข้อความว่า “รณรงค์ ไม่ผิด”จำนวน 5 ใบ มอบให้กับ กกต.ทั้ง 5 คน โดยทางแกนนำมีการระบุว่า ขอให้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ได้ถ่ายรูปกับลูกโป่ง และโพสต์ลงเฟซบุ๊กด้วย
---------------