นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงผลการจัดเวทีชี้แจง"ร่างรัฐธรรมนูญ ประชามติ และประชาชน" ที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ภาพรวมของบรรยากาศการจัดประชุม ถือว่าเรียบร้อยดีมาก ไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น โดยนักการเมืองทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และประชาชนที่มาเข้าร่วมงาน ก็แสดงความคิดเห็นกันด้วยดี เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งหลังจากนี้ กกต.ก็จะนำข้อเสนอและความคิดเห็นต่างๆ ที่ทุกฝ่ายสะท้อนข้อบกพร่องเกี่ยวกับการทำงานของกกต.มานั้น ไปปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนเวทีต่อไปซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 25 มิ.ย. ที่หอประชุมเปรม ติณสูลานนท์ จ.นครราชสีมา ก็คาดว่าจะมีผู้มาเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 50 วัน ก่อนถึงวันออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค. ดังนั้นนับตั้งแต่วันนี้ (20 ม.ย.) เป็นต้นไป กกต.ก็จะขอให้ทุกส่วนงานที่รับผิดชอบ เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติให้มากที่สุด ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ กกต.กำหนดไว้คือ 80 เปอร์เซ็นต์
ส่วนกรณีที่ สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กไม่รับร่างรธน.นั้น นายศุภชัย กล่าวว่า การพิจารณาสิ่งใด ต้องมีเหตุมีผล มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเสียก่อน
ด้านนายอนุชิต ปราสาททอง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (ผอ.กต.กทม.) กล่าวถึง แผนงานรณรงค์การออกเสียงประชามติว่า กกต.กทม. ได้มีการอบรมวิทยากร ครู ค. ของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) จำนวน 169 แห่งทั่วกทม.ไปแล้ว และขอความร่วมมือโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาของกทม. จัดกิจกรรม 6 สัปดาห์ประชามติ เชิญชวนผู้ปกครองไปออกเสียงประชามติ และในวันที่ 4 ส.ค. ก็จะมีกิจกรรมครั้งใหญ่ หรือบิ๊กเดย์ พร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ คือการปล่อยขบวนรถประชาสัมพันธ์ และเดินรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค.
ส่วนการตรวจสอบกรณี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวมเสื้อที่มีข้อความ "รับ-ไม่รับ เป็นสิทธิ์ ไม่ผิดกฎหมาย" นั้น ขณะนี้ทาง กกต.กทม.ได้รวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ส่งให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว โดย กกต.กทม. ไม่ได้มีการระบุว่า กรณีดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากความผิดทางอาญา เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนกฎหมาย
ขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 50 วัน ก่อนถึงวันออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค. ดังนั้นนับตั้งแต่วันนี้ (20 ม.ย.) เป็นต้นไป กกต.ก็จะขอให้ทุกส่วนงานที่รับผิดชอบ เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติให้มากที่สุด ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ กกต.กำหนดไว้คือ 80 เปอร์เซ็นต์
ส่วนกรณีที่ สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กไม่รับร่างรธน.นั้น นายศุภชัย กล่าวว่า การพิจารณาสิ่งใด ต้องมีเหตุมีผล มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเสียก่อน
ด้านนายอนุชิต ปราสาททอง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (ผอ.กต.กทม.) กล่าวถึง แผนงานรณรงค์การออกเสียงประชามติว่า กกต.กทม. ได้มีการอบรมวิทยากร ครู ค. ของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) จำนวน 169 แห่งทั่วกทม.ไปแล้ว และขอความร่วมมือโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาของกทม. จัดกิจกรรม 6 สัปดาห์ประชามติ เชิญชวนผู้ปกครองไปออกเสียงประชามติ และในวันที่ 4 ส.ค. ก็จะมีกิจกรรมครั้งใหญ่ หรือบิ๊กเดย์ พร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ คือการปล่อยขบวนรถประชาสัมพันธ์ และเดินรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค.
ส่วนการตรวจสอบกรณี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวมเสื้อที่มีข้อความ "รับ-ไม่รับ เป็นสิทธิ์ ไม่ผิดกฎหมาย" นั้น ขณะนี้ทาง กกต.กทม.ได้รวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ส่งให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว โดย กกต.กทม. ไม่ได้มีการระบุว่า กรณีดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากความผิดทางอาญา เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนกฎหมาย