ผู้นำและนักวิชาการบางส่วนมักจะพูดให้เรากลัวอยู่เสมอๆ ว่า “พลังงานแสงอาทิตย์มีจำนวนน้อย ราคาแพง และไม่มั่นคง” พร้อมกับเสนอแผนนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลียหรืออินโดนีเซีย รวมทั้งก๊าซธรรมชาติเหลวจากตะวันออกกลาง บทความนี้จะนำเสนอหลักฐานที่ได้เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ในประเทศอังกฤษซึ่งมีแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย ว่าคำพูดดังกล่าวไม่เป็นความจริง พร้อมกับจะนำเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ 2 พันกว่าปีมาแล้ว ที่สะท้อนถึงคุณค่าของแสงแดด ซึ่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ได้ถูกนักปรัชญาผู้ใช้ชีวิตอย่างสมถะบอกว่า “หลบไปหน่อย ขอท่านอย่ายืนบังแสงแดดของข้า”
เรามาเริ่มต้นกันที่เหตุการณ์ในประเทศอังกฤษก่อนนะครับ จากบทความเรื่อง “Solar Beats Coal for Entire Month in UK for First Time” ของ Simon Evans พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2559 ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ ประเทศอังกฤษสามารถผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มากกว่าที่ผลิตจากถ่านหิน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษ คือผลิตได้ถึง 1,336 ล้านหน่วย คิดเป็น 6% ของปริมาณความต้องการไฟฟ้าในเดือนนั้น (หมายเหตุ ใน 3 เดือนแรกของปี 2559 คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 14,426 ล้านหน่วย หรือประมาณ 11 เท่าของปริมาณไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในอังกฤษ)
ผมได้นำเสนอข้อมูลสำคัญๆ และสามารถเข้าใจได้ง่ายไว้ในแผ่นภาพข้างล่างนี้ครับ ทั้งนี้เพื่อจะได้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในบ้านเราที่ท่านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังขู่ให้คนไทยกลัวว่า หากไม่รีบเปิดประมูลหรือเจรจาแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกช (ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2565 และ 2566) แล้วประเทศไทยจะไม่มีเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า)
สาระสำคัญในภาพนี้ก็คือ การผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดจำนวน 1,336 ล้านหน่วยนั้นเทียบเท่ากับการไม่ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวน 11,360 ล้านลูกบาศก์ฟุต เกือบ 2 เท่าของที่ได้จากแหล่งเอราวัณ หรือเท่ากับไม่ต้องนำเข้าถ่านหินจำนวน 6 แสนกว่าตัน ถ้าคิดเป็นมูลค่าก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมก็เท่ากับ 2,300 ล้านบาท (ข้อมูลกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เดือนมกราคม 2559) นี่แค่เพียงเดือนเดียวเท่านั้น และยังไม่นับค่าผ่านท่อที่ทาง ปตท.คิดในอัตราแพงมากอีกต่างหาก
เหตุผลสำคัญที่ประเทศอังกฤษผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้มากกว่าถ่านหินมี 2 ประการ คือ
(1) เดือนพฤษภาคม เป็นเดือนที่มีกลางวันยาว ในตอนหัวค่ำสองทุ่มกว่าแล้วยังมีแสงแดดให้ผลิตไฟฟ้าได้อยู่ และตอนเช้าวันใหม่ดวงอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่ก่อนตีสี่ครึ่ง ท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปดูการแสดงผลการผลิตรวมทั้งประเทศอังกฤษที่เป็นแบบ Real Time ได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (http://www.solar.sheffield.ac.uk/pvlive)
ขณะผมนั่งเขียนบทความนี้ (11 มิ.ย. เวลาอังกฤษ 8.00 น. เวลาไทย 15.30 น.) เขาคาดการณ์ว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว 2.88 ล้านหน่วย เพิ่มมาจากครึ่งชั่วโมงก่อน 0.66 ล้านหน่วย และเมื่อเวลา 14.00 น. (เวลาอังกฤษ) สามารถผลิตได้รวม 21.6 ล้านหน่วย ดูหลักฐานในช่วงเช้าครับ
(2) รัฐบาลอังกฤษมีนโยบายที่จะลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน โดยที่ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ผลิตจากถ่านหิน 17% ของความต้องการทั้งหมด แต่ได้ลดลงมาเหลือ 4% ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน
บทความนี้ไม่ได้บอกถึงแผนระยะยาวของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน แต่เท่าที่ผมได้สืบค้น (Energy Trend March 2016, Department of Energy and Climate Change) พบว่า สัดส่วนของการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าได้ลดลงจากประมาณ 40% ในปี 2553 ลงมาอย่างต่อเนื่องจนเหลือ 20% ในปี 2558 และมีแผนจะเลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2568 หรืออีก 9 ปีเท่านั้นเองครับ
แต่ประเทศไทยเรากลับทำตรงกันข้าม คือจะเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 9 โรง
การรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ของรัฐบาลอังกฤษ
รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ทุกประเภทที่เชื่อมต่อกับสายส่ง ในปี 2553 โดยที่อัตราประมาณ 20 บาทต่อหน่วย ($0.67 ต่อหน่วย) แล้วได้ลดลงมาเหลือเพียง 3.39 เพนนี หรือ 2.20 บาทต่อหน่วยในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 สำหรับโซลาร์เซลล์ที่มีขนาดไม่เกิน 4 กิโลวัตต์ และ 2.45 บาทต่อหน่วยสำหรับการขายเข้าสู่สายส่ง (https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_power_in_the_United_Kingdom) โดยราคารับซื้อจะมีการปรับทุก 3 เดือน ในขณะที่เยอรมนีได้ปรับลดลงทุกเดือน อิตาลีได้ยกเลิกการอุดหนุนไปแล้วตั้งแต่กลางปี 2556 เพราะถึงจุดคุ้มทุนแล้ว แม้ไม่มีการอุดหนุนแล้วแต่มีการติดตั้งเพิ่มตลอดมา
ผู้นำและนักวิชาการบางส่วนที่ตามโลกไม่ทันก็คงจดจำเอาตัวเลขราคาปี 2553 คือ 20 บาทต่อหน่วย จึงได้พยายามกรอกหูคนไทยเรื่อยมาว่า มันแพงๆ ทำนองเดียวกับพวกที่เชื่อว่าโลกแบนเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน
สำหรับประเทศไทยเราได้รับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 5.66 บาทต่อหน่วยตั้งแต่ปี 2557 เท่าที่ผมทราบขณะนี้ยังไม่ได้มีการปรับลดมา ทั้งๆ ที่โซลาร์เซลล์ในอังกฤษสามารถผลิตได้เฉลี่ย 848 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปีเท่านั้น แต่ในประเทศไทยจะผลิตได้ประมาณ 1,450 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปี ภาพข้างล่างนี้เปรียบเทียบพลังงานแสงอาทิตย์ต่อหนึ่งตารางเมตรบนผิวดินของประเทศไทยและประเทศอังกฤษ รวมทั้งของโลกด้วย
เรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ “หลบไปหน่อย ขอท่านอย่ายืนบังแสงแดดของข้า!”
จากนโยบายของรัฐบาลไทยที่พยายามกีดกันไม่ให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านสามารถผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านของตนเอง ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ได้รับการจัดสรรมาอย่างลงตัว สมดุลและยั่งยืน เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ หรือ “เปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร” แต่รัฐบาลไทยกลับสนับสนุนพลังงานถ่านหิน (ที่เราต้องนำเข้า) และโซลาร์ฟาร์มในราคาที่สูงผิดปกติ สูงกว่าประเทศอังกฤษและเยอรมนีที่ผมได้นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นึกถึงเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ (ตามคำบอกเล่าของคุณสันติสุข โสภณสิริ เมื่อ 2 ปีก่อน -ขอขอบคุณไว้ที่นี้ด้วยครับ)
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อน มีนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ ไดโอจีนีส แห่งซิโนเพ (Diogenes of Sinope 412 – 323 B.C.) เขาเป็นนักปรัชญาในกลุ่มสำนักที่ชื่อว่า “ซีนิก” (Cynic) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งเน้นการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยยึดเอาพฤติกรรมของโสกราตีส (Socrates) เป็นต้นแบบ แต่กลุ่มนี้ตีความแนวคิดของโสกราตีสอย่างสุดโต่ง ไดโอจีนีสจึงใช้ชีวิตอย่างสมถะ ละทิ้งบ้านช่อง กินนอนข้างถนน
วันหนึ่ง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซีดอน ทรงทราบเรื่องดังกล่าวจึงได้เสด็จไปเยี่ยมไดโอจีนีส (ดังภาพประกอบ) พร้อมกับตรัสว่า “มีอะไรจะให้ช่วยไหม?”
“มีซิ!” ไดโอจีนัสตอบ พร้อมกับบอกต่อว่า
“ช่วยหลบไปหน่อย ท่านกำลังยืนบังแสงแดดของข้าฯ”
เรื่องนี้อยู่ในวิกิพีเดียครับ โดยค้นคำว่า “Alexander and Diogenes” ในเอกสารดังกล่าวเล่าว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงประทับใจกับคำพูดของไดโอจีนีส แล้วตรัสกับองครักษ์ว่า “ถ้าข้าฯ ไม่ใช่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ข้าฯ ก็จะเป็นอย่างไดโอจีนีส”
แสงแดดเป็นสมบัติของสรรพชีวิตทั้งมวลบนโลกใบนี้ มีจำนวนมหาศาลและกระจายตัวอยู่ทั่วไป ทุกชีวิตสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เมื่อครั้งที่เทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่ก้าวหน้าพอ เราใช้ประโยชน์โดยตรงจากแสงแดดแค่เพื่อความอบอุ่น เพื่อแสงสว่าง และประโยชน์โดยอ้อมจากอาหารที่พืชสังเคราะห์แสงให้
มาวันนี้ เรามีเทคโนโลยีราคาถูกมาก แต่รัฐบาลก็ใช้เล่ห์เพทุบายสนับสนุนโซลาร์ฟาร์มให้กับบางรายด้วยราคาแพงมาก (อ่านบทความเรื่อ “หยุด ค่าโง่โซลาร์ฟาร์ม 12,400 ล้านบาท”) แต่ไม่รับซื้อหรือซื้ออย่างจำกัดจากหลังคาของผู้พักอาศัย
คงไม่แรงเกินไป ถ้าประชาชนที่ตื่นรู้ ผู้ถูกละเมิดสิทธิอันชอบธรรมที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด จะบอกกับรัฐบาลด้วยเสียงดังๆ ว่า
ช่วยหลบไปหน่อย ท่านกำลังยืนบังแสงแดดของประชาชน
เรามาเริ่มต้นกันที่เหตุการณ์ในประเทศอังกฤษก่อนนะครับ จากบทความเรื่อง “Solar Beats Coal for Entire Month in UK for First Time” ของ Simon Evans พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2559 ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ ประเทศอังกฤษสามารถผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มากกว่าที่ผลิตจากถ่านหิน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษ คือผลิตได้ถึง 1,336 ล้านหน่วย คิดเป็น 6% ของปริมาณความต้องการไฟฟ้าในเดือนนั้น (หมายเหตุ ใน 3 เดือนแรกของปี 2559 คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 14,426 ล้านหน่วย หรือประมาณ 11 เท่าของปริมาณไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในอังกฤษ)
ผมได้นำเสนอข้อมูลสำคัญๆ และสามารถเข้าใจได้ง่ายไว้ในแผ่นภาพข้างล่างนี้ครับ ทั้งนี้เพื่อจะได้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในบ้านเราที่ท่านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังขู่ให้คนไทยกลัวว่า หากไม่รีบเปิดประมูลหรือเจรจาแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกช (ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2565 และ 2566) แล้วประเทศไทยจะไม่มีเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า)
สาระสำคัญในภาพนี้ก็คือ การผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดจำนวน 1,336 ล้านหน่วยนั้นเทียบเท่ากับการไม่ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวน 11,360 ล้านลูกบาศก์ฟุต เกือบ 2 เท่าของที่ได้จากแหล่งเอราวัณ หรือเท่ากับไม่ต้องนำเข้าถ่านหินจำนวน 6 แสนกว่าตัน ถ้าคิดเป็นมูลค่าก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมก็เท่ากับ 2,300 ล้านบาท (ข้อมูลกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เดือนมกราคม 2559) นี่แค่เพียงเดือนเดียวเท่านั้น และยังไม่นับค่าผ่านท่อที่ทาง ปตท.คิดในอัตราแพงมากอีกต่างหาก
เหตุผลสำคัญที่ประเทศอังกฤษผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้มากกว่าถ่านหินมี 2 ประการ คือ
(1) เดือนพฤษภาคม เป็นเดือนที่มีกลางวันยาว ในตอนหัวค่ำสองทุ่มกว่าแล้วยังมีแสงแดดให้ผลิตไฟฟ้าได้อยู่ และตอนเช้าวันใหม่ดวงอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่ก่อนตีสี่ครึ่ง ท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปดูการแสดงผลการผลิตรวมทั้งประเทศอังกฤษที่เป็นแบบ Real Time ได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (http://www.solar.sheffield.ac.uk/pvlive)
ขณะผมนั่งเขียนบทความนี้ (11 มิ.ย. เวลาอังกฤษ 8.00 น. เวลาไทย 15.30 น.) เขาคาดการณ์ว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว 2.88 ล้านหน่วย เพิ่มมาจากครึ่งชั่วโมงก่อน 0.66 ล้านหน่วย และเมื่อเวลา 14.00 น. (เวลาอังกฤษ) สามารถผลิตได้รวม 21.6 ล้านหน่วย ดูหลักฐานในช่วงเช้าครับ
(2) รัฐบาลอังกฤษมีนโยบายที่จะลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน โดยที่ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ผลิตจากถ่านหิน 17% ของความต้องการทั้งหมด แต่ได้ลดลงมาเหลือ 4% ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน
บทความนี้ไม่ได้บอกถึงแผนระยะยาวของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน แต่เท่าที่ผมได้สืบค้น (Energy Trend March 2016, Department of Energy and Climate Change) พบว่า สัดส่วนของการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าได้ลดลงจากประมาณ 40% ในปี 2553 ลงมาอย่างต่อเนื่องจนเหลือ 20% ในปี 2558 และมีแผนจะเลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2568 หรืออีก 9 ปีเท่านั้นเองครับ
แต่ประเทศไทยเรากลับทำตรงกันข้าม คือจะเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 9 โรง
การรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ของรัฐบาลอังกฤษ
รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ทุกประเภทที่เชื่อมต่อกับสายส่ง ในปี 2553 โดยที่อัตราประมาณ 20 บาทต่อหน่วย ($0.67 ต่อหน่วย) แล้วได้ลดลงมาเหลือเพียง 3.39 เพนนี หรือ 2.20 บาทต่อหน่วยในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 สำหรับโซลาร์เซลล์ที่มีขนาดไม่เกิน 4 กิโลวัตต์ และ 2.45 บาทต่อหน่วยสำหรับการขายเข้าสู่สายส่ง (https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_power_in_the_United_Kingdom) โดยราคารับซื้อจะมีการปรับทุก 3 เดือน ในขณะที่เยอรมนีได้ปรับลดลงทุกเดือน อิตาลีได้ยกเลิกการอุดหนุนไปแล้วตั้งแต่กลางปี 2556 เพราะถึงจุดคุ้มทุนแล้ว แม้ไม่มีการอุดหนุนแล้วแต่มีการติดตั้งเพิ่มตลอดมา
ผู้นำและนักวิชาการบางส่วนที่ตามโลกไม่ทันก็คงจดจำเอาตัวเลขราคาปี 2553 คือ 20 บาทต่อหน่วย จึงได้พยายามกรอกหูคนไทยเรื่อยมาว่า มันแพงๆ ทำนองเดียวกับพวกที่เชื่อว่าโลกแบนเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน
สำหรับประเทศไทยเราได้รับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 5.66 บาทต่อหน่วยตั้งแต่ปี 2557 เท่าที่ผมทราบขณะนี้ยังไม่ได้มีการปรับลดมา ทั้งๆ ที่โซลาร์เซลล์ในอังกฤษสามารถผลิตได้เฉลี่ย 848 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปีเท่านั้น แต่ในประเทศไทยจะผลิตได้ประมาณ 1,450 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปี ภาพข้างล่างนี้เปรียบเทียบพลังงานแสงอาทิตย์ต่อหนึ่งตารางเมตรบนผิวดินของประเทศไทยและประเทศอังกฤษ รวมทั้งของโลกด้วย
เรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ “หลบไปหน่อย ขอท่านอย่ายืนบังแสงแดดของข้า!”
จากนโยบายของรัฐบาลไทยที่พยายามกีดกันไม่ให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านสามารถผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านของตนเอง ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ได้รับการจัดสรรมาอย่างลงตัว สมดุลและยั่งยืน เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ หรือ “เปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร” แต่รัฐบาลไทยกลับสนับสนุนพลังงานถ่านหิน (ที่เราต้องนำเข้า) และโซลาร์ฟาร์มในราคาที่สูงผิดปกติ สูงกว่าประเทศอังกฤษและเยอรมนีที่ผมได้นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นึกถึงเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ (ตามคำบอกเล่าของคุณสันติสุข โสภณสิริ เมื่อ 2 ปีก่อน -ขอขอบคุณไว้ที่นี้ด้วยครับ)
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อน มีนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ ไดโอจีนีส แห่งซิโนเพ (Diogenes of Sinope 412 – 323 B.C.) เขาเป็นนักปรัชญาในกลุ่มสำนักที่ชื่อว่า “ซีนิก” (Cynic) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งเน้นการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยยึดเอาพฤติกรรมของโสกราตีส (Socrates) เป็นต้นแบบ แต่กลุ่มนี้ตีความแนวคิดของโสกราตีสอย่างสุดโต่ง ไดโอจีนีสจึงใช้ชีวิตอย่างสมถะ ละทิ้งบ้านช่อง กินนอนข้างถนน
วันหนึ่ง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซีดอน ทรงทราบเรื่องดังกล่าวจึงได้เสด็จไปเยี่ยมไดโอจีนีส (ดังภาพประกอบ) พร้อมกับตรัสว่า “มีอะไรจะให้ช่วยไหม?”
“มีซิ!” ไดโอจีนัสตอบ พร้อมกับบอกต่อว่า
“ช่วยหลบไปหน่อย ท่านกำลังยืนบังแสงแดดของข้าฯ”
เรื่องนี้อยู่ในวิกิพีเดียครับ โดยค้นคำว่า “Alexander and Diogenes” ในเอกสารดังกล่าวเล่าว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงประทับใจกับคำพูดของไดโอจีนีส แล้วตรัสกับองครักษ์ว่า “ถ้าข้าฯ ไม่ใช่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ข้าฯ ก็จะเป็นอย่างไดโอจีนีส”
แสงแดดเป็นสมบัติของสรรพชีวิตทั้งมวลบนโลกใบนี้ มีจำนวนมหาศาลและกระจายตัวอยู่ทั่วไป ทุกชีวิตสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เมื่อครั้งที่เทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่ก้าวหน้าพอ เราใช้ประโยชน์โดยตรงจากแสงแดดแค่เพื่อความอบอุ่น เพื่อแสงสว่าง และประโยชน์โดยอ้อมจากอาหารที่พืชสังเคราะห์แสงให้
มาวันนี้ เรามีเทคโนโลยีราคาถูกมาก แต่รัฐบาลก็ใช้เล่ห์เพทุบายสนับสนุนโซลาร์ฟาร์มให้กับบางรายด้วยราคาแพงมาก (อ่านบทความเรื่อ “หยุด ค่าโง่โซลาร์ฟาร์ม 12,400 ล้านบาท”) แต่ไม่รับซื้อหรือซื้ออย่างจำกัดจากหลังคาของผู้พักอาศัย
คงไม่แรงเกินไป ถ้าประชาชนที่ตื่นรู้ ผู้ถูกละเมิดสิทธิอันชอบธรรมที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด จะบอกกับรัฐบาลด้วยเสียงดังๆ ว่า
ช่วยหลบไปหน่อย ท่านกำลังยืนบังแสงแดดของประชาชน