ผู้จัดการรายวัน 360 - “แพทยสภา” ล้มแผนส่งหมอไปตรวจ “ธัมมชโย” หลังวัดขอเลื่อนไม่มีกำหนด เตรียมแจ้ง “ดีเอสไอ” ทราบ “หมอสมศักดิ์” ดักคอหากขอหลักฐานไปแล้วไม่ให้เท่ากับใบรับรองแพทย์ปลอม มีโทษพักใช้-เพิกถอนใบอนุญาต เผยเตรียมเรียก “หมอราชบุรี” คนออกใบรับรองแพทย์มาสอบ คาดใช้เวลา 6 เดือนรู้ผล “ธรรมกาย” เล่นแง่ขอเปลี่ยน 2 พนักงานสอบสวนคดีธัมมชโย “ขจรศักดิ์” ระบุถ้าให้มอบตัวที่วัด โดน ม.157 กันแน่ ซัด “ศิษย์ - วัด” พยายามขุดบ่อล่อ จนท. แต่ยังไม่หลงกล
วานนี้ (9 มิ.ย.) ก่อนการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีคณะแพทย์ผู้รักษา พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทำหนังสือแจ้งขอให้แพทยสภาเลื่อนการตรวจอาการอาพาธของพระธัมมชโยว่า คณะแพทย์ผู้รักษาพระธัมมชโย ทำหนังสืออย่างเป็นทางการแจ้งมาถึงแพทยสภา เพื่อขอเลื่อนการตรวจอาการอาพาธของพระธัมมชโยออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ออกหมายจับแล้ว การเข้าไปตรวจของแพทยสภาก็ไม่ได้มีผลต่อรูปคดี จึงไม่จำเป็นต้องส่งแพทย์เข้าไปตรวจอีก ซึ่งจะมีการแจ้งเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันนี้ต่อไป
** คาดใช้ใบรับรองแพทย์ปลอม
ส่วนกรณีการตรวจสอบใบรั
บรองแพทย์ของพระธัมมชโยที่ออกโดย พ.ท.นพ.สิริพงศ์ พัฒนธนาวิสุทธิ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายภาณุรังษี จ.ราชบุรี นั้น ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดพิเศษ ซึ่งมี นพ.สมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นประธาน จะเรียกตัว พ.ท.นพ.สิริพงศ์ มาให้ข้อมูล และขอหลักฐานต่างๆ เช่น ผลเลือด ผลเอกซ์เรย์และผลอัลตราซาวนด์ เป็นต้น จากสหคลินิกรัตนเวช จ.ปทุมธานี ซึ่งมีข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อมาพิจารณาดูว่าใบรับรองแพทย์นั้นถูกต้องหรือไม่ ซึ่งแพทยสภามีอำนาจในการเรียกข้อมูลผู้ป่วยตรงนี้จากแพทย์และคลินิกตามกฎหมาย เหมือนกรณีศาลเรียกข้อมูลมาเพื่อประกอบการพิจารณา
“ถ้าไม่ส่งหลักฐานมายังแพทยสภา ก็สามารถตัดสินไปได้เลยว่าเป็นใบรับรองแพทย์ปลอม เพราะหากป่วยจริงก็จะต้องกล้าส่งหลักฐานต่างๆ มาให้พิจารณา หากออกใบรับรองแพทย์ปลอม ก็จะมีโทษพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งถือว่ารุนแรง” ศ.นพ.สมศักดิ์ ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงว่าจะมีการสร้างหลักฐานปลอมหรือไม่ หากแพทยสภาไม่ได้ลงไปตรวจอาการเอง ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การพิจารณาใบรับรองแพทย์ แพทยสภาก็ไม่ได้ลงไปตรวจเอง เพราะอย่างบางกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว ก็ตรวจเองไม่ได้ ก็อาศัยหลักฐานข้อมูลผู้ป่วยเหล่านี้มาประกอบการพิจารณา ซึ่งผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าหลักฐานที่ยื่นต่อแพทยสภาเป็นเท็จ ก็จะมีโทษหนักขึ้น
** 6 เดือนรู้ผลสอบใบรับรองแพทย์
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาว่า ที่ประชุมเห็นชอบที่จะไม่ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ตรวจอาการอาพาธพระธัมมชโย หลังคณะแพทย์ผู้รักษาพระธัมมชโยขอให้เลื่อนการไปตรวจอาการอาพาธ ส่วนก่อนหน้านี้ที่ดีเอสไอขอให้แพทยสภาแจ้งผลการตรวจว่าสามารถเคลื่อนย้ายพระธัมมชโยได้หรือไม่ เนื่องจากไม่ได้ส่งแพทย์ไปตรวจอาการแล้ว จึงไม่ต้องแจ้งผลไปทางดีเอสไอ สำหรับคณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาการออกใบรับรองแพทย์ของ พ.ท.นพ.สิริพงศ์ ซึ่งมีตนเป็นประธาน พญ.ชัญวลี ศรีสุโข เป็นอนุกรรมการ และ นพ.เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์ เป็นอนุกรรมการ และ เลขานุการ ขณะนี้ได้ตั้งกรรมการเพิ่มเติมอีก 1 คน คือ นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมเพื่อหารือแนวทางกรอบการทำงานในสัปดาห์หน้าว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง
นพ.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ภายหลังจากประชุมแล้วจะมีการขอข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาพิจารณา เมื่อได้ข้อมูลมากพอ จึงจะเชิญ พ.ท.นพ.สิริพงศ์ มาให้ข้อมูล ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนีน่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนจึงจะชี้ได้ว่ามีมูลหรือไม่ ซึ่งถือว่าชุดเฉพาะกิจนี้ดำเนินการเร็วกว่าปกติซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เพราะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด และยังต้องสอบถามไปยังราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องอีก ทั้งนี้ หลังจากชี้มูลแล้วจะรายงานผลไปยังคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินอีกครั้งหนึ่งว่าใบรับรองแพทย์นั้นเป็นจริงหรือเท็จ และออกโดยมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
** “ธรรมกาย” เล่นแง่ขอเปลี่ยน พงส.คดี
อีกด้าน นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักการสอบสวน ในฐานะพนักงานสอบสวนในคดีพระธัมมชโย เปิดเผยว่า ทนายความวัดพระธรรมกาย ทำหนังสือร้องขอให้เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน 2 คนคือ ตนเอง และ พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร ดีเอสไอ ซึ่งคาดคณะพนักงานสอบสวนจะนำประเด็นนี้มาหารือในที่ประชุมวันที่ 10 มิ.ย. ซึ่งหากคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นให้เปลี่ยนตัวได้ ตนเองก็พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาทันที ทั้งนี้ ยืนยันว่า ที่ผ่านมา คณะพนักงานสอบสวนไม่เคยมีการต่อรองเรื่องการเข้ามอบตัว
“ยืนยันว่าพระธัมมชโยไม่สามารถต่อรองได้ แต่อาจเป็นเรื่องเจรจาว่าจะมีรายละเอียดมอบตัวกันอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วเรื่องไม่ควรขยายใหญ่โตจนวันนี้ พูดประเด็นว่าจะต้องให้ประกันตัวทันทีหากมอบตัว เพราะความจริงหากพระธัมมชโยมาเซ็นชื่อรับทราบข้อหาตามหมายเรียกในระยะเวลาตามกำหนด ทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอก็จะปล่อยตัวไปและสู้คดีในศาล แต่ขณะนี้ต้องยื่นเรื่องประกันตัว เพราะถูกออกหมายจับแล้ว" นายขจรศักดิ์ กล่าว
** ไม่เคยรับปากให้ประกันตัว
นายขจรศักดิ์ กล่าวต่อว่า การที่ผู้ต้องหาจะมอบตัวในวัดนั้น เจ้าพนักงานอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งตนยืนยันว่า ถ้าเป็นพนักงานสอบสวนคดีพระธัมมชโยก็จะไม่ยอมให้มีการทำผิดกฎหมาย เพราะพระธัมมชโยต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ไม่เช่นนั้นจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคดีอื่นที่ผู้ต้องหาถูกออกหมายจับ แล้วก็ต่อรองให้ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่บ้าน ที่พักอาศัย ที่เซฟเฮ้าส์ แล้วต้องได้ประกันตัวด้วย ดังนั้นขณะนี้ล่วงเลยมาถึงขั้นตอนออกหมายจับแล้ว พนักงานสอบสวนก็ต้องปฏิบัติกับผู้ต้องหาตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยต้องส่งสำนวนคดีพร้อมนำตัวผู้ต้องหาให้อัยการสั่งฟ้อง แต่กรณีไม่มีผู้ต้องหานั้นได้ทำรายงานเหตุการณ์ให้ศาลทราบว่าปฏิบัติตามศาลอนุมัติหมายจับแล้ว ซึ่งไม่ถือว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ทางคดีก็ดำเนินการส่งฟ้องไป และผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับแล้วถือว่าอยู่ภายใต้ควบคุมอำนาจรัฐ ซึ่งถ้าถูกจับตัวได้ในรายที่เป็นผู้ป่วย ก็จะต้องนำตัวส่ง รพ.ตำรวจ เพื่อรักษา จนอาการดีขี้นสามารถไปศาลได้ พนักงานสอบสวนก็จะนำตัวส่งศาล
“ทางทนายความของพระธัมมชโย และทีมวัดพระธรรมกาย พยายามที่จะวางประเด็นขุดบ่อล่อให้เจ้าพนักงานเกิดแผล ดังนั้น พนักงานสอบสวนต้องระมัดระวังทุกขั้นตอนไม่ให้เกิดเหตุทำผิดมาตรา 157 ทั้งนี้ ยืนยันว่าที่ผ่านมาพนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการพลการ ซึ่งดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีทุกประการ” นายขจรศักดิ์ กล่าว
** “คณะศิษย์” งดแถลง 1 วัน
สำหรับบรรยากาศบริเวณโดยรอบวัดพระธรรมกาย ตลอดทั้งวันยังคงมีสาธุชนแวะเวียนเข้ามาปฏิบัติธรรมตามปกติ และเนื่องจากวันนี้เป็นวันมหามงคล เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี ทางวัดพระธรรมกายได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และกิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเวลา14.00 น. โดยคณะศิษยานุศิษย์ และสำนักสื่อสาร วัดพระธรรมกาย ได้เจ้งงของดให้ข่าวหรือสัมภาษณ์ในประเด็นต่างๆ 1 วัน นอกจากนี้ได้มีคณะสงฆ์จาก จ.ยโสธร ชุมพร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี จำนวน 160 รูป มีพระครูวิชัยธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดถ้ำสำเภาทอง อ.เมืองชุมพร และพระครูสาทรพัชโรดม เจ้าอาวาสวัดแรก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นตัวแทนพิธีถวายกำลังใจ มอบดอกไม้แด่ พระธัมมชโย โดยมีพระภาวนาธรรมวิเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นผู้แทนรับมอบดอกไม้ด้วย.
วานนี้ (9 มิ.ย.) ก่อนการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีคณะแพทย์ผู้รักษา พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทำหนังสือแจ้งขอให้แพทยสภาเลื่อนการตรวจอาการอาพาธของพระธัมมชโยว่า คณะแพทย์ผู้รักษาพระธัมมชโย ทำหนังสืออย่างเป็นทางการแจ้งมาถึงแพทยสภา เพื่อขอเลื่อนการตรวจอาการอาพาธของพระธัมมชโยออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ออกหมายจับแล้ว การเข้าไปตรวจของแพทยสภาก็ไม่ได้มีผลต่อรูปคดี จึงไม่จำเป็นต้องส่งแพทย์เข้าไปตรวจอีก ซึ่งจะมีการแจ้งเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันนี้ต่อไป
** คาดใช้ใบรับรองแพทย์ปลอม
ส่วนกรณีการตรวจสอบใบรั
บรองแพทย์ของพระธัมมชโยที่ออกโดย พ.ท.นพ.สิริพงศ์ พัฒนธนาวิสุทธิ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายภาณุรังษี จ.ราชบุรี นั้น ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดพิเศษ ซึ่งมี นพ.สมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นประธาน จะเรียกตัว พ.ท.นพ.สิริพงศ์ มาให้ข้อมูล และขอหลักฐานต่างๆ เช่น ผลเลือด ผลเอกซ์เรย์และผลอัลตราซาวนด์ เป็นต้น จากสหคลินิกรัตนเวช จ.ปทุมธานี ซึ่งมีข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อมาพิจารณาดูว่าใบรับรองแพทย์นั้นถูกต้องหรือไม่ ซึ่งแพทยสภามีอำนาจในการเรียกข้อมูลผู้ป่วยตรงนี้จากแพทย์และคลินิกตามกฎหมาย เหมือนกรณีศาลเรียกข้อมูลมาเพื่อประกอบการพิจารณา
“ถ้าไม่ส่งหลักฐานมายังแพทยสภา ก็สามารถตัดสินไปได้เลยว่าเป็นใบรับรองแพทย์ปลอม เพราะหากป่วยจริงก็จะต้องกล้าส่งหลักฐานต่างๆ มาให้พิจารณา หากออกใบรับรองแพทย์ปลอม ก็จะมีโทษพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งถือว่ารุนแรง” ศ.นพ.สมศักดิ์ ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงว่าจะมีการสร้างหลักฐานปลอมหรือไม่ หากแพทยสภาไม่ได้ลงไปตรวจอาการเอง ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การพิจารณาใบรับรองแพทย์ แพทยสภาก็ไม่ได้ลงไปตรวจเอง เพราะอย่างบางกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว ก็ตรวจเองไม่ได้ ก็อาศัยหลักฐานข้อมูลผู้ป่วยเหล่านี้มาประกอบการพิจารณา ซึ่งผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าหลักฐานที่ยื่นต่อแพทยสภาเป็นเท็จ ก็จะมีโทษหนักขึ้น
** 6 เดือนรู้ผลสอบใบรับรองแพทย์
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาว่า ที่ประชุมเห็นชอบที่จะไม่ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ตรวจอาการอาพาธพระธัมมชโย หลังคณะแพทย์ผู้รักษาพระธัมมชโยขอให้เลื่อนการไปตรวจอาการอาพาธ ส่วนก่อนหน้านี้ที่ดีเอสไอขอให้แพทยสภาแจ้งผลการตรวจว่าสามารถเคลื่อนย้ายพระธัมมชโยได้หรือไม่ เนื่องจากไม่ได้ส่งแพทย์ไปตรวจอาการแล้ว จึงไม่ต้องแจ้งผลไปทางดีเอสไอ สำหรับคณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาการออกใบรับรองแพทย์ของ พ.ท.นพ.สิริพงศ์ ซึ่งมีตนเป็นประธาน พญ.ชัญวลี ศรีสุโข เป็นอนุกรรมการ และ นพ.เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์ เป็นอนุกรรมการ และ เลขานุการ ขณะนี้ได้ตั้งกรรมการเพิ่มเติมอีก 1 คน คือ นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมเพื่อหารือแนวทางกรอบการทำงานในสัปดาห์หน้าว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง
นพ.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ภายหลังจากประชุมแล้วจะมีการขอข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาพิจารณา เมื่อได้ข้อมูลมากพอ จึงจะเชิญ พ.ท.นพ.สิริพงศ์ มาให้ข้อมูล ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนีน่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนจึงจะชี้ได้ว่ามีมูลหรือไม่ ซึ่งถือว่าชุดเฉพาะกิจนี้ดำเนินการเร็วกว่าปกติซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เพราะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด และยังต้องสอบถามไปยังราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องอีก ทั้งนี้ หลังจากชี้มูลแล้วจะรายงานผลไปยังคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินอีกครั้งหนึ่งว่าใบรับรองแพทย์นั้นเป็นจริงหรือเท็จ และออกโดยมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
** “ธรรมกาย” เล่นแง่ขอเปลี่ยน พงส.คดี
อีกด้าน นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักการสอบสวน ในฐานะพนักงานสอบสวนในคดีพระธัมมชโย เปิดเผยว่า ทนายความวัดพระธรรมกาย ทำหนังสือร้องขอให้เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน 2 คนคือ ตนเอง และ พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร ดีเอสไอ ซึ่งคาดคณะพนักงานสอบสวนจะนำประเด็นนี้มาหารือในที่ประชุมวันที่ 10 มิ.ย. ซึ่งหากคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นให้เปลี่ยนตัวได้ ตนเองก็พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาทันที ทั้งนี้ ยืนยันว่า ที่ผ่านมา คณะพนักงานสอบสวนไม่เคยมีการต่อรองเรื่องการเข้ามอบตัว
“ยืนยันว่าพระธัมมชโยไม่สามารถต่อรองได้ แต่อาจเป็นเรื่องเจรจาว่าจะมีรายละเอียดมอบตัวกันอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วเรื่องไม่ควรขยายใหญ่โตจนวันนี้ พูดประเด็นว่าจะต้องให้ประกันตัวทันทีหากมอบตัว เพราะความจริงหากพระธัมมชโยมาเซ็นชื่อรับทราบข้อหาตามหมายเรียกในระยะเวลาตามกำหนด ทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอก็จะปล่อยตัวไปและสู้คดีในศาล แต่ขณะนี้ต้องยื่นเรื่องประกันตัว เพราะถูกออกหมายจับแล้ว" นายขจรศักดิ์ กล่าว
** ไม่เคยรับปากให้ประกันตัว
นายขจรศักดิ์ กล่าวต่อว่า การที่ผู้ต้องหาจะมอบตัวในวัดนั้น เจ้าพนักงานอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งตนยืนยันว่า ถ้าเป็นพนักงานสอบสวนคดีพระธัมมชโยก็จะไม่ยอมให้มีการทำผิดกฎหมาย เพราะพระธัมมชโยต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ไม่เช่นนั้นจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคดีอื่นที่ผู้ต้องหาถูกออกหมายจับ แล้วก็ต่อรองให้ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่บ้าน ที่พักอาศัย ที่เซฟเฮ้าส์ แล้วต้องได้ประกันตัวด้วย ดังนั้นขณะนี้ล่วงเลยมาถึงขั้นตอนออกหมายจับแล้ว พนักงานสอบสวนก็ต้องปฏิบัติกับผู้ต้องหาตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยต้องส่งสำนวนคดีพร้อมนำตัวผู้ต้องหาให้อัยการสั่งฟ้อง แต่กรณีไม่มีผู้ต้องหานั้นได้ทำรายงานเหตุการณ์ให้ศาลทราบว่าปฏิบัติตามศาลอนุมัติหมายจับแล้ว ซึ่งไม่ถือว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ทางคดีก็ดำเนินการส่งฟ้องไป และผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับแล้วถือว่าอยู่ภายใต้ควบคุมอำนาจรัฐ ซึ่งถ้าถูกจับตัวได้ในรายที่เป็นผู้ป่วย ก็จะต้องนำตัวส่ง รพ.ตำรวจ เพื่อรักษา จนอาการดีขี้นสามารถไปศาลได้ พนักงานสอบสวนก็จะนำตัวส่งศาล
“ทางทนายความของพระธัมมชโย และทีมวัดพระธรรมกาย พยายามที่จะวางประเด็นขุดบ่อล่อให้เจ้าพนักงานเกิดแผล ดังนั้น พนักงานสอบสวนต้องระมัดระวังทุกขั้นตอนไม่ให้เกิดเหตุทำผิดมาตรา 157 ทั้งนี้ ยืนยันว่าที่ผ่านมาพนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการพลการ ซึ่งดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีทุกประการ” นายขจรศักดิ์ กล่าว
** “คณะศิษย์” งดแถลง 1 วัน
สำหรับบรรยากาศบริเวณโดยรอบวัดพระธรรมกาย ตลอดทั้งวันยังคงมีสาธุชนแวะเวียนเข้ามาปฏิบัติธรรมตามปกติ และเนื่องจากวันนี้เป็นวันมหามงคล เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี ทางวัดพระธรรมกายได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และกิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเวลา14.00 น. โดยคณะศิษยานุศิษย์ และสำนักสื่อสาร วัดพระธรรมกาย ได้เจ้งงของดให้ข่าวหรือสัมภาษณ์ในประเด็นต่างๆ 1 วัน นอกจากนี้ได้มีคณะสงฆ์จาก จ.ยโสธร ชุมพร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี จำนวน 160 รูป มีพระครูวิชัยธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดถ้ำสำเภาทอง อ.เมืองชุมพร และพระครูสาทรพัชโรดม เจ้าอาวาสวัดแรก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นตัวแทนพิธีถวายกำลังใจ มอบดอกไม้แด่ พระธัมมชโย โดยมีพระภาวนาธรรมวิเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นผู้แทนรับมอบดอกไม้ด้วย.