จากกรณีที่ องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำร้องของนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับพวก รวม 7 คน ที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลาง พิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าเสียหายให้แก่เอกชน กรณีที่กรมควบคุมมลพิษยกเลิกสัญญาโครงการก่อสร้างระบบรวบรวม และบำบัดน้ำเสียในเขตควบคุมมลพิษ พื้นที่ อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ หรือโครงการคลองด่าน รวมทั้งขอให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าว จนกว่าการพิจารณาพิพากษาคดีใหม่จะแล้วเสร็จ โดยสำนักงานศาลปกครอง ได้ชี้แจงว่าการพิจารณาไม่รับคำร้องของนายประพัฒน์ เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยคำขอพิจารณาคดีใหม่ ที่ระบุว่า ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ หรือมีข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 11 พ.ค.59 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้ออกคำสั่ง ที่ 115/2559 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ลงนามโดย นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ โดยได้อ้างอิงถึงคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 363/2558 วันที่ 22 ต.ค.58 ที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 10 ต.ค.57 ให้กรมฯ ชำระเงินค่าจ้างค่าเสียหายให้แก่ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กับพวก รวมแล้วกว่า 9.3 พันล้านบาท และอีกกว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 46 จนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ
โดยคณะกรรมการฯได้สอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว มีความเห็นว่านายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ (อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ช่วงเดือน ต.ค.45 - มี.ค.47 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ) มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมฯ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 มูลค่าความเสียหาย ที่กรมฯ จ่ายตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด อันเนื่องจากการกล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะ เป็นเหตุให้กรมฯต้องชำระเงินตามสัญญาจ้าง พร้อมค่าเสียหายอันเกิดจากการทำผิดสัญญา คิดเป็นเงิน 2.8 พันล้านบาทเศษ และอีก 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ส่วนที่ 2 มูลค่าความเสียหายจากการกล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะของกรมฯ ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาได้ยุติ เป็นผลให้รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์โครงการ คิดเป็นเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทเศษ และอีก 121 ล้านเหรียญสหรัฐฯเศษ
โดยคำสั่งดังกล่าวระบุเหตุผลว่า เนื่องจากนายประพัฒน์ เป็นเจ้าหน้ที่รัฐเป็นผู้สั่งการ และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและเสนอแนะการบริหารสัญญาคลองด่าน เมื่อช่วงเดือน ม.ค.46 ซึ่งเป็นผลให้มีคำสั่งยกเลิกสัญญา แต่ไม่มีผู้แทนของกรมฯ เข้าร่วมในคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว รวมทั้งเร่งรัดพิจารณายกเลิกสัญญาแล้วเสร็จภายในวันเดียว รวมทั้งไม่ได้เสนอมให้ครม. พิจารณาด้วย
อย่างไรก็ตามนายประพัฒน์ สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน และใช้สิทธิฟ้องศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน แต่ล่าสุดศาลปกครองสูงสุดพิจารณาไม่รับคำร้องไป เมื่อวันที่ 25 พ.ค.59 ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับโครงการคลองด่านนั้น ก่อนยกเลิกสัญญาได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไปแล้วกว่า 98 % เหลือเพียงในส่วนงานวางระบบเท่านั้น รวมทั้งได้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างไปแล้วกว่า 90% ของมูลค่าสัญญา หรือเป็นเงิน 1.7 หมื่นล้านบาทเศษ และอีกกว่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 11 พ.ค.59 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้ออกคำสั่ง ที่ 115/2559 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ลงนามโดย นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ โดยได้อ้างอิงถึงคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 363/2558 วันที่ 22 ต.ค.58 ที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 10 ต.ค.57 ให้กรมฯ ชำระเงินค่าจ้างค่าเสียหายให้แก่ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กับพวก รวมแล้วกว่า 9.3 พันล้านบาท และอีกกว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 46 จนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ
โดยคณะกรรมการฯได้สอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว มีความเห็นว่านายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ (อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ช่วงเดือน ต.ค.45 - มี.ค.47 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ) มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมฯ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 มูลค่าความเสียหาย ที่กรมฯ จ่ายตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด อันเนื่องจากการกล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะ เป็นเหตุให้กรมฯต้องชำระเงินตามสัญญาจ้าง พร้อมค่าเสียหายอันเกิดจากการทำผิดสัญญา คิดเป็นเงิน 2.8 พันล้านบาทเศษ และอีก 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ส่วนที่ 2 มูลค่าความเสียหายจากการกล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะของกรมฯ ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาได้ยุติ เป็นผลให้รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์โครงการ คิดเป็นเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทเศษ และอีก 121 ล้านเหรียญสหรัฐฯเศษ
โดยคำสั่งดังกล่าวระบุเหตุผลว่า เนื่องจากนายประพัฒน์ เป็นเจ้าหน้ที่รัฐเป็นผู้สั่งการ และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและเสนอแนะการบริหารสัญญาคลองด่าน เมื่อช่วงเดือน ม.ค.46 ซึ่งเป็นผลให้มีคำสั่งยกเลิกสัญญา แต่ไม่มีผู้แทนของกรมฯ เข้าร่วมในคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว รวมทั้งเร่งรัดพิจารณายกเลิกสัญญาแล้วเสร็จภายในวันเดียว รวมทั้งไม่ได้เสนอมให้ครม. พิจารณาด้วย
อย่างไรก็ตามนายประพัฒน์ สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน และใช้สิทธิฟ้องศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน แต่ล่าสุดศาลปกครองสูงสุดพิจารณาไม่รับคำร้องไป เมื่อวันที่ 25 พ.ค.59 ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับโครงการคลองด่านนั้น ก่อนยกเลิกสัญญาได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไปแล้วกว่า 98 % เหลือเพียงในส่วนงานวางระบบเท่านั้น รวมทั้งได้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างไปแล้วกว่า 90% ของมูลค่าสัญญา หรือเป็นเงิน 1.7 หมื่นล้านบาทเศษ และอีกกว่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐฯ