วานนี้ (8มิ.ย.) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า ที่ประชุมวิปฯได้มีการหารือใน 3 เรื่อง เรื่องแรกคือ เรื่องของธนาคารที่ดิน ซึ่งทาง สปท.ได้เสนอมา เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ต้องสูญเสียที่ดินไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร โดยพิจารณาดูวิธีการดำเนินการ รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้นแล้ว เห็นว่าเป็นการสอดคล้องกับแนวทางของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งเรื่องของธนาคารที่ดิน จะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนนโยบายที่ดินแห่งชาติของรัฐบาลให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างดีขึ้น
เรื่องที่สอง สปท.ได้เสนอมาตรการเก็บภาษีอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินมาตรฐาน โดยเรื่องนี้ที่ประชุมมีความเห็นว่า มีงาน 3 ส่วนที่ดำเนินการไปได้พร้อมๆ กันคือ 1. การรณรงค์ให้ประชาชนระวังเรื่องของสุขภาพ ที่มีผลจากการบริโภคน้ำตาลเกินมาตรฐาน 2. มีมาตรการที่เกี่ยวข้องบางอย่าง สำหรับดูแลอารหารและเครื่องดื่มให้กับประชาชน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จะสามารถเข้าไปดูแลในส่วนนี้ได้ ว่าอะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้หารือเฉพาะเรื่องความต้องการเก็บภาษี แต่ยังพูดคุยเรื่องสาธารณสุขของประชาชน ในส่วนของโรคภัยต่างๆ ที่อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ส่วนเรื่องของการเก็บภาษีนั้น ทางสมาคมผู้ประกอบการอาหาร ยังคงต้องพูดคุยกับกระทรวงการคลังต่อไป และนำความเห็นจากทุกฝ่ายมาประกอบ ดังนั้นเรื่องของการเก็บภาษี จึงยังไม่ถึงขั้นออกกฎหมายกันในขณะนี้ แต่ยังคงเดินหน้ามาตรการรณรงค์ ในการดูแลรักษาสุขภาพ
ส่วนเรื่องสุดท้ายที่หารือกัน คือ เรื่องการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง สปท. กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงยังไม่ได้ฟังความเห็นรอบด้านโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ วันนี้ที่ประชุมจึงได้ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องกลับไปศึกษาเพิ่มเติม และจะนำกลับมาเสนอใหม่ภายใน 30 วัน
เรื่องที่สอง สปท.ได้เสนอมาตรการเก็บภาษีอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินมาตรฐาน โดยเรื่องนี้ที่ประชุมมีความเห็นว่า มีงาน 3 ส่วนที่ดำเนินการไปได้พร้อมๆ กันคือ 1. การรณรงค์ให้ประชาชนระวังเรื่องของสุขภาพ ที่มีผลจากการบริโภคน้ำตาลเกินมาตรฐาน 2. มีมาตรการที่เกี่ยวข้องบางอย่าง สำหรับดูแลอารหารและเครื่องดื่มให้กับประชาชน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จะสามารถเข้าไปดูแลในส่วนนี้ได้ ว่าอะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้หารือเฉพาะเรื่องความต้องการเก็บภาษี แต่ยังพูดคุยเรื่องสาธารณสุขของประชาชน ในส่วนของโรคภัยต่างๆ ที่อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ส่วนเรื่องของการเก็บภาษีนั้น ทางสมาคมผู้ประกอบการอาหาร ยังคงต้องพูดคุยกับกระทรวงการคลังต่อไป และนำความเห็นจากทุกฝ่ายมาประกอบ ดังนั้นเรื่องของการเก็บภาษี จึงยังไม่ถึงขั้นออกกฎหมายกันในขณะนี้ แต่ยังคงเดินหน้ามาตรการรณรงค์ ในการดูแลรักษาสุขภาพ
ส่วนเรื่องสุดท้ายที่หารือกัน คือ เรื่องการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง สปท. กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงยังไม่ได้ฟังความเห็นรอบด้านโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ วันนี้ที่ประชุมจึงได้ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องกลับไปศึกษาเพิ่มเติม และจะนำกลับมาเสนอใหม่ภายใน 30 วัน