ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก วันที่ 7 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ธนาคารออมสิน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนิพัทธ พุกกะณะสุต อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ และอดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นจำเลย กรณีที่ขณะดำรงตำแหน่ง เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารออมสินในเดือนมิ.ย.38 ได้เร่งรัด อนุมัติเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี จำนวน 375 ล้านบาท โดยไม่ผ่านมติคณะกรรมการธนาคารออมสิน ภายหลัง รมว.คลัง มีคำสั่งระงับไม่ให้บีบีซีประกอบธุรกิจต่อไป ทำให้ธนาคารออมสิน โจทก์ ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 534,657,5347.24 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเงินต้น 375 ล้านบาท นับจากวันถัดฟ้องเป็นต้นไป
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้นายนิพัทธ จำเลยชดใช้จำนวน 534,657,5347.24 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจากเงินต้น 375 ล้านบาท นับแต่วันที่ 9 มี.ค.2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อมานายนิพัทธ จำเลยได้ยื่นฎีกา
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว ฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2538 หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการธนาคารออมสินแล้ว จำเลยได้เสนอเรื่องธนาคารบีบีซี เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนกับธนาคารออมสิน โจทก์ จำนวน 25 ล้านหุ้นๆ ละ 15 บาท รวมเป็นเงิน 375 ล้านบาท ให้ที่ประชุมทราบ โดยไม่อยู่ในวาระการประชุม ต่อมาวันที่ 30 มิ.ย.2538 จำเลยอนุมัติให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามคำเสนอของธนาคารบีบีซีดังกล่าว และวันที่ 4 ก.ค.2538 ธนาคารออมสินโจทก์ ชำระเงิน 375 ล้านบาท ให้ธนาคารบีบีซี ต่อมาวันที่ 14 ก.ย.2541 กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยุติกิจการของธนาคารบีบีซี
ศาลเห็นว่าตามพ.ร.บ.ธนาคารออมสินฯ พ.ศ.2489 กำหนดให้ธนาคารออมสินโจทก์ประกอบธุรกิจได้ในขอบเขตจำกัด การลงทุนนอกเหนือจากที่กำหนด ต้องได้รับอนุญาตจากรมว.คลัง การที่ธนาคารออมสินลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารบีบีซี จึงต้องได้รับอนุญาตจากรมว.คลัง ซึ่งเคยอนุญาตให้ธนาคารออมสินโจทก์ลงทุนในกิจการของสถาบันการเงิน ประเภทบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทประกันภัยเท่านั้น แต่ไม่เคยอนุญาตให้ธนาคารออมสินโจทก์ลงทุนในสถาบันการเงิน ประเภทธนาคารพาณิชย์อย่างเช่น บีบีซี อีกทั้งการบริหารกิจการของธนาคารออมสินโจทก์ต้องกระทำภายใต้การตัดสินใจร่วมกัน ของคณะกรรมการธนาคารออมสิน
การที่นายนิพัทธ จำเลย แถลงในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2538 โดยไม่มีวาระการประชุมเรื่องดังกล่าวมาก่อน ว่าสมควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารบีบีซี และเมื่อดำเนินการแล้วจะนำเสนอคณะกรรมการให้สัตยาบันต่อไป จึงบ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ธนาคารออมสินโจทก์ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนมาแต่ต้น โดยไม่ต้องผ่านคณะกรรมการ แต่จะดำเนินการขอสัตยาบันในภายหลัง และได้สั่งการให้นายวิบูลย์ อังสนันท์ ผอ.ธนาคารออมสินพิจารณาตามที่จำเลยแจ้งในที่ประชุมทั้งที่คณะกรรมการไม่เคยมีมติในเรื่องซื้อหุ้นเพิ่มทุน ของธนาคารบีบีซีแต่อย่างใด จึงเป็นการจงใจสรุปผลมติการประชุมให้คลาดเคลื่อนเพื่อผลสำเร็จในการซื้อหุ้นดังกล่าว ต่อมานายวิบูลย์ได้มีบันทึกเสนอว่าสมควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารบีบีซีโดยอ้างว่า กระทรวงการคลังเคยอนุมัติในหลักการให้ธนาคารออมสินโจทก์สามารถนำเงินไปลงทุนสถาบันการเงินได้ และจำเลยได้สั่งการอนุมัติในวันเดียวทันที โดยไม่ตรวจสอบว่าธนาคารออมสินโจทก์มีอำนาจการลงทุนตามที่รายงานหรือไม่ จำเลยยังชี้แจงเหตุผลในที่ประชุมด้วยว่าได้หารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและรมว.คลังเรื่องนี้แล้ว ซึ่งนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมว.คลังขณะนั้น ปฏิเสธไม่เคยหารือกับจำเลยมาก่อน จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงไม่ถูกต้องชี้แจงต่อคณะกรรมการธนาคารออมสินโจทก์เพื่อโน้มน้าวให้มีการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลย ดังนั้นในช่วงเกิดเหตุจำเลยย่อมทราบข่าวจากสื่อต่างๆ รายงานสถานการณ์ของธนาคารบีบีซีว่าอยู่ในขั้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมียอดหนี้สงสัยจะสูญสูงถึง 12,000 ล้านบาทการที่นายนิพัทธจำเลยอนุมัติเงินถึง 375 ล้านบาทซื้อหุ้นของธนาคารบีบีซีเงินส่วนหนึ่งย่อมมาจากเงินฝากของประชาชน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเลยและรีบเร่งอนุมัติโดยไม่ผ่านคณะกรรมการ ไม่ได้รับอนุญาตจากรมว.คลังตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต่อธนาคารออมสินโจทก์ แม้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่านายนิพัทธ จำเลยเพียงประมาทเลินเล่อ แต่ไม่ใช่อย่างร้ายแรง ความเห็นนั้นไม่ผูกพันการวินิจฉัยของศาล เมื่อภายหลังธนาคารบีบีซีถูกลดค่าหุ้นลงเหลือหุ้นละ 0.50 บาท และถูกปิดกิจการในที่สุด ธนาคารออมสินโจทก์ต้องเสียหายจากหุ้นที่โจทก์ซื้อถูกลดค่าลงและธนาคารบีบีซีเจ้าของหุ้นถูกปิดกิจการทำให้ธนาคารออมสินโจทก์สูญเสียเงิน 375 ล้านบาทที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของนายนิพัทธ จำเลย จึงต้องรับผิดชอบชดใช้เงินดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา จึงพิพากษายืน.
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้นายนิพัทธ จำเลยชดใช้จำนวน 534,657,5347.24 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจากเงินต้น 375 ล้านบาท นับแต่วันที่ 9 มี.ค.2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อมานายนิพัทธ จำเลยได้ยื่นฎีกา
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว ฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2538 หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการธนาคารออมสินแล้ว จำเลยได้เสนอเรื่องธนาคารบีบีซี เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนกับธนาคารออมสิน โจทก์ จำนวน 25 ล้านหุ้นๆ ละ 15 บาท รวมเป็นเงิน 375 ล้านบาท ให้ที่ประชุมทราบ โดยไม่อยู่ในวาระการประชุม ต่อมาวันที่ 30 มิ.ย.2538 จำเลยอนุมัติให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามคำเสนอของธนาคารบีบีซีดังกล่าว และวันที่ 4 ก.ค.2538 ธนาคารออมสินโจทก์ ชำระเงิน 375 ล้านบาท ให้ธนาคารบีบีซี ต่อมาวันที่ 14 ก.ย.2541 กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยุติกิจการของธนาคารบีบีซี
ศาลเห็นว่าตามพ.ร.บ.ธนาคารออมสินฯ พ.ศ.2489 กำหนดให้ธนาคารออมสินโจทก์ประกอบธุรกิจได้ในขอบเขตจำกัด การลงทุนนอกเหนือจากที่กำหนด ต้องได้รับอนุญาตจากรมว.คลัง การที่ธนาคารออมสินลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารบีบีซี จึงต้องได้รับอนุญาตจากรมว.คลัง ซึ่งเคยอนุญาตให้ธนาคารออมสินโจทก์ลงทุนในกิจการของสถาบันการเงิน ประเภทบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทประกันภัยเท่านั้น แต่ไม่เคยอนุญาตให้ธนาคารออมสินโจทก์ลงทุนในสถาบันการเงิน ประเภทธนาคารพาณิชย์อย่างเช่น บีบีซี อีกทั้งการบริหารกิจการของธนาคารออมสินโจทก์ต้องกระทำภายใต้การตัดสินใจร่วมกัน ของคณะกรรมการธนาคารออมสิน
การที่นายนิพัทธ จำเลย แถลงในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2538 โดยไม่มีวาระการประชุมเรื่องดังกล่าวมาก่อน ว่าสมควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารบีบีซี และเมื่อดำเนินการแล้วจะนำเสนอคณะกรรมการให้สัตยาบันต่อไป จึงบ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ธนาคารออมสินโจทก์ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนมาแต่ต้น โดยไม่ต้องผ่านคณะกรรมการ แต่จะดำเนินการขอสัตยาบันในภายหลัง และได้สั่งการให้นายวิบูลย์ อังสนันท์ ผอ.ธนาคารออมสินพิจารณาตามที่จำเลยแจ้งในที่ประชุมทั้งที่คณะกรรมการไม่เคยมีมติในเรื่องซื้อหุ้นเพิ่มทุน ของธนาคารบีบีซีแต่อย่างใด จึงเป็นการจงใจสรุปผลมติการประชุมให้คลาดเคลื่อนเพื่อผลสำเร็จในการซื้อหุ้นดังกล่าว ต่อมานายวิบูลย์ได้มีบันทึกเสนอว่าสมควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารบีบีซีโดยอ้างว่า กระทรวงการคลังเคยอนุมัติในหลักการให้ธนาคารออมสินโจทก์สามารถนำเงินไปลงทุนสถาบันการเงินได้ และจำเลยได้สั่งการอนุมัติในวันเดียวทันที โดยไม่ตรวจสอบว่าธนาคารออมสินโจทก์มีอำนาจการลงทุนตามที่รายงานหรือไม่ จำเลยยังชี้แจงเหตุผลในที่ประชุมด้วยว่าได้หารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและรมว.คลังเรื่องนี้แล้ว ซึ่งนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมว.คลังขณะนั้น ปฏิเสธไม่เคยหารือกับจำเลยมาก่อน จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงไม่ถูกต้องชี้แจงต่อคณะกรรมการธนาคารออมสินโจทก์เพื่อโน้มน้าวให้มีการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลย ดังนั้นในช่วงเกิดเหตุจำเลยย่อมทราบข่าวจากสื่อต่างๆ รายงานสถานการณ์ของธนาคารบีบีซีว่าอยู่ในขั้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมียอดหนี้สงสัยจะสูญสูงถึง 12,000 ล้านบาทการที่นายนิพัทธจำเลยอนุมัติเงินถึง 375 ล้านบาทซื้อหุ้นของธนาคารบีบีซีเงินส่วนหนึ่งย่อมมาจากเงินฝากของประชาชน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเลยและรีบเร่งอนุมัติโดยไม่ผ่านคณะกรรมการ ไม่ได้รับอนุญาตจากรมว.คลังตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต่อธนาคารออมสินโจทก์ แม้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่านายนิพัทธ จำเลยเพียงประมาทเลินเล่อ แต่ไม่ใช่อย่างร้ายแรง ความเห็นนั้นไม่ผูกพันการวินิจฉัยของศาล เมื่อภายหลังธนาคารบีบีซีถูกลดค่าหุ้นลงเหลือหุ้นละ 0.50 บาท และถูกปิดกิจการในที่สุด ธนาคารออมสินโจทก์ต้องเสียหายจากหุ้นที่โจทก์ซื้อถูกลดค่าลงและธนาคารบีบีซีเจ้าของหุ้นถูกปิดกิจการทำให้ธนาคารออมสินโจทก์สูญเสียเงิน 375 ล้านบาทที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของนายนิพัทธ จำเลย จึงต้องรับผิดชอบชดใช้เงินดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา จึงพิพากษายืน.