ผู้จัดการรายวัน360 - ผู้ว่าการ ธปท.เผยกำลังทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยหลายตัว เตือนรับมือความผันผวนตลาดการเงิน-ตลาดทุนของโลก มั่นใจเศรษฐกิจไทยมีกันชนที่ดี เล็งปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมระบบชำระเงินใหม่ แนะใช้บัตรเดบิตแทนเอทีเอ็ม เอาใจแบงก์ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด ขึ้นกับแต่ละแบงก์
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยหลายตัว หลังจากมีข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดออกมาในรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3 ปี 59 โดยกำลังพิจารณารายละเอียดของตัวเลขเศรษฐกิจแต่ละตัว อย่างไรก็ดี เบื้องต้นประเมินว่าปี 59 ภาคส่งออกไทยจะติดลบเล็กน้อย ต้องศึกษาดูว่าสินค้าส่งออกประเภทใดบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและมีผลระยะยาว เป็นต้น จึงจะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยอย่างเป็นทางการในรายงานนโยบายการเงินวันที่ 30 มิ.ย.นี้
ทั้งนี้ ธปท.ออกมาเตือนโดยตลอดช่วงที่ผ่านมาว่า ในปีนี้จะต้องระมัดระวังความผันผวนของตลาดการเงินและตลาดทุนโลก โดยเฉพาะนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (G3) ส่วนทางการจีนปรับเงินหยวน ทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่แตกต่างกับสกุลเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรมีการบริหารความเสี่ยงค่าเงิน เพราะค่าเงินมีโอกาสแข็งหรืออ่อนค่าได้
ภาพรวมระบบเศรษฐกิจไทยไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบันไทยมีกันชนด้านต่างประเทศที่ดี เพราะภาครัฐและเอกชนของไทยไม่ได้พึ่งเงินกู้ต่างประเทศมากนัก เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนตลาดพันธบัตรสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ขณะที่สภาพคล่องของไทยค่อนข้างสูง จึงไม่ต้องห่วงหากมีเงินทุนไหลออก ซึ่งธปท.เองติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพคล่องมีเพียงพอสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง
กรณีกระทรวงพาณิชย์ประกาศข้อมูลภาคส่งออกไทยไม่ได้ประหลาดใจ เพราะธปท.และหน่วยงานเกี่ยวข้องคาดการณ์ไว้ว่าภาคการส่งออกไทยยังคงต้องเผชิญอุปสรรคหลายด้าน ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกมีปัจจัยชั่วคราวหลายเรื่อง รวมถึงในเดือนพ.ค.นี้ก็มีวันหยุดยาวเช่นกัน จึงเห็นว่าไทยควรให้ความสำคัญเรื่องโครงสร้างทั้งการผลิตและส่งออกควรมองระยะยาวมากกว่าสนใจแค่ตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
**ลงทุนเสี่ยงยุคดอกเบี้ยถูก**
นอกจากนี้ ในช่วงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานและสภาพคล่องในระบบค่อนข้างสูงก็จะมีพฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์จากเงินล้นมือในทุกระดับ โดยประชาชนมีการลงทุนบางผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ผลตอบแทนสูงโดยไม่คำนึ่งความเสี่ยงสูงที่ดีพอ กองทุนสนใจลงทุนตราสารระดับความน่าเชื่อความถือหย่อนมาตรฐาน สถาบันการเงินบางแห่งก็มีลักษณะเร่งเอาสภาพคล่องส่วนเกินไปใช้ประโยชน์ให้มากโดยไม่มองความเสี่ยงลูกหนี้ในระยะยาวดีพอ ซึ่งจะจับตามองอย่างใกล้ชิด เมื่อใดก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณต่างๆ ในการดูแลของธปท. เพื่อให้ป้องกันไม่ให้เป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินไทยในระยะยาว
**ปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมใหม่**
ธปท.สมาคมธนาคารไทยกำลังหารือปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมระบบชำระเงินของไทยทั้งระบบจากปัจจุบันโครงสร้างค่าธรรมเนียมบิดเบือนอยู่มาก เดิมบริการทางการเงินมีต้นทุนสูง แต่คิดค่าธรรมเนียมราคาถูก โดยเฉพาะบริการเกี่ยวกับเงินสด ซึ่งไทยเองก็มีสัดส่วนการใช้เงินสดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างสูง เมื่อมีบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นก็จะเก็บค่าธรรมเนียมสูงขึ้น จึงต้องปรับโครงสร้างฯ เพื่อคำนวณต้นทุนถูกต้อง ลดการชดเชยข้ามผลิตภัณฑ์ และการใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย
กรณีประชาชนร้องเรียนสถาบันการเงินให้ใช้บัตรเดบิตรองรับชิปการ์ดแทนบัตรเอทีเอ็มนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า หลายธนาคารได้หยุดให้บริการบัตรเอทีเอ็มมานานแล้วและมองว่าค่าธรรมเนียมระหว่างบัตรเอทีเอ็มและชิปการ์ดไม่แตกต่างกัน แต่บัตรเดบิตสามารถทำธุรกรรมได้มากกว่ารองรับใช้งานอนาคตด้วย จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและแนะนำให้ประชาชนลองทดลองใช้ ส่วนค่าธรรมเนียมเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด หลายสถาบันการเงินก็มีการปรับลดลงในช่วง 1-2 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน เพราะบริการแตกต่างกัน ในส่วนของธปท.อยากให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้
ด้านนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธนาคารกลางจีนปรับลดค่ากลางเงินหยวนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินภูมิภาคนี้ รวมทั้งเงินบาทมากนัก โดยการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ของค่าเงินภูมิภาคขึ้นอยู่กับการคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นสำคัญ.
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยหลายตัว หลังจากมีข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดออกมาในรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3 ปี 59 โดยกำลังพิจารณารายละเอียดของตัวเลขเศรษฐกิจแต่ละตัว อย่างไรก็ดี เบื้องต้นประเมินว่าปี 59 ภาคส่งออกไทยจะติดลบเล็กน้อย ต้องศึกษาดูว่าสินค้าส่งออกประเภทใดบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและมีผลระยะยาว เป็นต้น จึงจะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยอย่างเป็นทางการในรายงานนโยบายการเงินวันที่ 30 มิ.ย.นี้
ทั้งนี้ ธปท.ออกมาเตือนโดยตลอดช่วงที่ผ่านมาว่า ในปีนี้จะต้องระมัดระวังความผันผวนของตลาดการเงินและตลาดทุนโลก โดยเฉพาะนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (G3) ส่วนทางการจีนปรับเงินหยวน ทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่แตกต่างกับสกุลเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรมีการบริหารความเสี่ยงค่าเงิน เพราะค่าเงินมีโอกาสแข็งหรืออ่อนค่าได้
ภาพรวมระบบเศรษฐกิจไทยไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบันไทยมีกันชนด้านต่างประเทศที่ดี เพราะภาครัฐและเอกชนของไทยไม่ได้พึ่งเงินกู้ต่างประเทศมากนัก เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนตลาดพันธบัตรสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ขณะที่สภาพคล่องของไทยค่อนข้างสูง จึงไม่ต้องห่วงหากมีเงินทุนไหลออก ซึ่งธปท.เองติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพคล่องมีเพียงพอสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง
กรณีกระทรวงพาณิชย์ประกาศข้อมูลภาคส่งออกไทยไม่ได้ประหลาดใจ เพราะธปท.และหน่วยงานเกี่ยวข้องคาดการณ์ไว้ว่าภาคการส่งออกไทยยังคงต้องเผชิญอุปสรรคหลายด้าน ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกมีปัจจัยชั่วคราวหลายเรื่อง รวมถึงในเดือนพ.ค.นี้ก็มีวันหยุดยาวเช่นกัน จึงเห็นว่าไทยควรให้ความสำคัญเรื่องโครงสร้างทั้งการผลิตและส่งออกควรมองระยะยาวมากกว่าสนใจแค่ตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
**ลงทุนเสี่ยงยุคดอกเบี้ยถูก**
นอกจากนี้ ในช่วงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานและสภาพคล่องในระบบค่อนข้างสูงก็จะมีพฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์จากเงินล้นมือในทุกระดับ โดยประชาชนมีการลงทุนบางผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ผลตอบแทนสูงโดยไม่คำนึ่งความเสี่ยงสูงที่ดีพอ กองทุนสนใจลงทุนตราสารระดับความน่าเชื่อความถือหย่อนมาตรฐาน สถาบันการเงินบางแห่งก็มีลักษณะเร่งเอาสภาพคล่องส่วนเกินไปใช้ประโยชน์ให้มากโดยไม่มองความเสี่ยงลูกหนี้ในระยะยาวดีพอ ซึ่งจะจับตามองอย่างใกล้ชิด เมื่อใดก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณต่างๆ ในการดูแลของธปท. เพื่อให้ป้องกันไม่ให้เป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินไทยในระยะยาว
**ปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมใหม่**
ธปท.สมาคมธนาคารไทยกำลังหารือปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมระบบชำระเงินของไทยทั้งระบบจากปัจจุบันโครงสร้างค่าธรรมเนียมบิดเบือนอยู่มาก เดิมบริการทางการเงินมีต้นทุนสูง แต่คิดค่าธรรมเนียมราคาถูก โดยเฉพาะบริการเกี่ยวกับเงินสด ซึ่งไทยเองก็มีสัดส่วนการใช้เงินสดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างสูง เมื่อมีบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นก็จะเก็บค่าธรรมเนียมสูงขึ้น จึงต้องปรับโครงสร้างฯ เพื่อคำนวณต้นทุนถูกต้อง ลดการชดเชยข้ามผลิตภัณฑ์ และการใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย
กรณีประชาชนร้องเรียนสถาบันการเงินให้ใช้บัตรเดบิตรองรับชิปการ์ดแทนบัตรเอทีเอ็มนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า หลายธนาคารได้หยุดให้บริการบัตรเอทีเอ็มมานานแล้วและมองว่าค่าธรรมเนียมระหว่างบัตรเอทีเอ็มและชิปการ์ดไม่แตกต่างกัน แต่บัตรเดบิตสามารถทำธุรกรรมได้มากกว่ารองรับใช้งานอนาคตด้วย จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและแนะนำให้ประชาชนลองทดลองใช้ ส่วนค่าธรรมเนียมเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด หลายสถาบันการเงินก็มีการปรับลดลงในช่วง 1-2 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน เพราะบริการแตกต่างกัน ในส่วนของธปท.อยากให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้
ด้านนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธนาคารกลางจีนปรับลดค่ากลางเงินหยวนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินภูมิภาคนี้ รวมทั้งเงินบาทมากนัก โดยการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ของค่าเงินภูมิภาคขึ้นอยู่กับการคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นสำคัญ.