รายงานข่าวเปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และคำถามพ่วงของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ขณะนี้มีความพร้อมแล้ว โดยสนช.และ สปท. แบ่งการออกชี้แจงตามกลุ่มจังหวัด รวม 9 กลุ่มจังหวัด มี สนช.แจ้งชื่อ 133 คน สปท. 44 คน ประเด็นคือ การอธิบายความจำเป็นที่จะให้ ส.ว. 250 คนที่มาจากการคัดเลือกของคสช. เข้าร่วมประชุมกับส.ส. เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในระยะ 5 ปีแรก ส่วนกรธ. จะใช้กระทรวงมหาไทย และองค์การพัฒนาเอกชน(พอช.)เป็นกลไกสำคัญ ได้จัดเตรียมวิทยากรที่เป็น กรธ.ไปอบรมครู ก ที่เป็นบุคลากรของกระทรวงมหาดไทย และพอช. จากนั้น ครู ก จะร่วมกับจังหวัดและอำเภอไปจัดอบรม ครู ค ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน รวมเป็นครู ก ครู ข ครู ค 300,000 กว่าคน
นอกจากนี้กรธ. จะไปอบรมชี้แจกับผู้บริหาร กทม.และผู้แทนชุมชนของกทม. อีกเกือบ 5,000 คน ตามแผนของกรธ. และสนช. จะให้ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดเกือบ 400,000 คน ไปชี้แจงกับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
รายงานข่าวแจ้งว่า การแบ่งหน้าที่ของสนช. และสปท. เพื่อไปอธิบายคำถามพ่วงนั้น ในกลุ่มจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ซึ่งเป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง มี นายกล้านรงค์ จันทิก สนช. เป็นประธานกลุ่ม มีนายคำนูณ สิทธิสมาน สปท. เป็นรองประธาน คนที่สาม และมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานที่ปรึกษากลุ่ม ซึ่ง นายพรเพชร เป็นที่ปรึกษาเฉพาะกลุ่มนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีชื่อ นายวันชัย สอนศิริ สปท. ที่เป็นเจ้าของคำถามพ่วงที่เสนอจากสปท. เข้าร่วมเป็นผู้ไปอธิบาย เหตุผล
"การวางสายจัดตั้งเป็นสัดส่วนกระจายออกไปครอบคลุมครบทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศเช่นนี้ น่าจะทำให้วางใจได้ว่า คนจะลงประชามติเห็นชอบ จะมากกว่าไม่เห็นชอบ เรามีบทเรียนจากประชามติร่าง รธน. 2550 ตอนนั้นฝ่ายสภาร่าง รธน. และรัฐบาลไม่ได้เตรียมการอะไรเลย ทำให้คะแนนเสียงชนะฝ่ายคว่ำ ห่างกันแค่ 4 แสนคะแนนเท่านั้น ครั้งนี้แม่น้ำทุกสายร่วมมือกัน และช่วยกันเต็มที่ จึงเชื่อว่าจะผ่านความเห็นชอบประชามติร่างรธน. และคำถามพ่วงไปได้ไม่ยาก" แหล่งข่าววงในกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นับจากนี้ไป สปท. จะเปลี่ยนบทบาทจากการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสนับสนุนคำถามพ่วง และร่างรธน. ให้ผ่านประชามติ ซึ่งจะร่วมมือกันกับ กรธ.และ สนช. การปรับบทบาทในขณะที่ผลงานของ สปท.ไม่ปรากฏ หากระดมพลังกันขนาดนี้ ร่างรธน.ยังถูกคว่ำ หรือแม้จะผ่านแต่ผ่านแบบถูกกล่าวหาว่าไม่ชอบธรรม ก็จะกระทบต่อการดำรงอยู่ต่อไปของสปท. และอาจถูกกดดันให้ยุบ สปท. ก็ได้
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าวว่า ไม่มีประเด็นเรื่อง สปท.จะปรับบทบาทการทำงาน เพื่อไปสนับสนุนเรื่องเผยแพร่คำถามพ่วงของ สนช.เพียงอย่างเดียว เพื่อกลบผลงานและหวั่นถูกยุบ เพราะงานทางด้านปฏิรูปก็ออกมาอย่างต่อเนื่อง และเวลาที่เหลือก็มียังจะผลักดันผลงานต่อไป แต่ต้องยอมรับว่า ผลงานของสปท. ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งอาจต้องใช้เวลาบ้าง ส่วนประเด็นที่บอกว่า สปท.ไม่มีผลงาน เป็นการพูดเอามัน เอาสนุก และอยากดังเท่านั้น ไม่มีเหตุผลและ ข้อมูลมาประกอบ
นายเสรี กล่าวว่า ขณะที่งานเรื่องประชาสัมพันธ์คำถามพ่วงของ สนช. เป็นเรื่องความสมัครใจไปช่วยเหลือ ส่วนตนหรือสปท. คนอื่นๆ แม้จะไม่ได้ไปร่วมตามแผนของกรธ. และ สนช. เพราะอาจไม่มีเวลาเพราะประชุมทุกวัน แต่ก็ไปช่วยในเวทีอื่นๆ อาทิ งานสัมมนาทางวิชาการต่างๆ ที่องค์กร หน่วยงาน หรือ สถาบัน จัดขึ้นในเรื่องของรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงของสนช.
นอกจากนี้กรธ. จะไปอบรมชี้แจกับผู้บริหาร กทม.และผู้แทนชุมชนของกทม. อีกเกือบ 5,000 คน ตามแผนของกรธ. และสนช. จะให้ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดเกือบ 400,000 คน ไปชี้แจงกับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
รายงานข่าวแจ้งว่า การแบ่งหน้าที่ของสนช. และสปท. เพื่อไปอธิบายคำถามพ่วงนั้น ในกลุ่มจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ซึ่งเป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง มี นายกล้านรงค์ จันทิก สนช. เป็นประธานกลุ่ม มีนายคำนูณ สิทธิสมาน สปท. เป็นรองประธาน คนที่สาม และมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานที่ปรึกษากลุ่ม ซึ่ง นายพรเพชร เป็นที่ปรึกษาเฉพาะกลุ่มนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีชื่อ นายวันชัย สอนศิริ สปท. ที่เป็นเจ้าของคำถามพ่วงที่เสนอจากสปท. เข้าร่วมเป็นผู้ไปอธิบาย เหตุผล
"การวางสายจัดตั้งเป็นสัดส่วนกระจายออกไปครอบคลุมครบทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศเช่นนี้ น่าจะทำให้วางใจได้ว่า คนจะลงประชามติเห็นชอบ จะมากกว่าไม่เห็นชอบ เรามีบทเรียนจากประชามติร่าง รธน. 2550 ตอนนั้นฝ่ายสภาร่าง รธน. และรัฐบาลไม่ได้เตรียมการอะไรเลย ทำให้คะแนนเสียงชนะฝ่ายคว่ำ ห่างกันแค่ 4 แสนคะแนนเท่านั้น ครั้งนี้แม่น้ำทุกสายร่วมมือกัน และช่วยกันเต็มที่ จึงเชื่อว่าจะผ่านความเห็นชอบประชามติร่างรธน. และคำถามพ่วงไปได้ไม่ยาก" แหล่งข่าววงในกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นับจากนี้ไป สปท. จะเปลี่ยนบทบาทจากการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสนับสนุนคำถามพ่วง และร่างรธน. ให้ผ่านประชามติ ซึ่งจะร่วมมือกันกับ กรธ.และ สนช. การปรับบทบาทในขณะที่ผลงานของ สปท.ไม่ปรากฏ หากระดมพลังกันขนาดนี้ ร่างรธน.ยังถูกคว่ำ หรือแม้จะผ่านแต่ผ่านแบบถูกกล่าวหาว่าไม่ชอบธรรม ก็จะกระทบต่อการดำรงอยู่ต่อไปของสปท. และอาจถูกกดดันให้ยุบ สปท. ก็ได้
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าวว่า ไม่มีประเด็นเรื่อง สปท.จะปรับบทบาทการทำงาน เพื่อไปสนับสนุนเรื่องเผยแพร่คำถามพ่วงของ สนช.เพียงอย่างเดียว เพื่อกลบผลงานและหวั่นถูกยุบ เพราะงานทางด้านปฏิรูปก็ออกมาอย่างต่อเนื่อง และเวลาที่เหลือก็มียังจะผลักดันผลงานต่อไป แต่ต้องยอมรับว่า ผลงานของสปท. ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งอาจต้องใช้เวลาบ้าง ส่วนประเด็นที่บอกว่า สปท.ไม่มีผลงาน เป็นการพูดเอามัน เอาสนุก และอยากดังเท่านั้น ไม่มีเหตุผลและ ข้อมูลมาประกอบ
นายเสรี กล่าวว่า ขณะที่งานเรื่องประชาสัมพันธ์คำถามพ่วงของ สนช. เป็นเรื่องความสมัครใจไปช่วยเหลือ ส่วนตนหรือสปท. คนอื่นๆ แม้จะไม่ได้ไปร่วมตามแผนของกรธ. และ สนช. เพราะอาจไม่มีเวลาเพราะประชุมทุกวัน แต่ก็ไปช่วยในเวทีอื่นๆ อาทิ งานสัมมนาทางวิชาการต่างๆ ที่องค์กร หน่วยงาน หรือ สถาบัน จัดขึ้นในเรื่องของรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงของสนช.