เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สภากทม. ได้เชิญคณะที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาให้รายละเอียด โดยมี ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานสภากทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ร่วมรับฟัง
นายศรชัย โตวานิชกุล ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ สำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กทม.เป็นผู้ออกแบบและบริหารโครงการดังกล่าว เพื่อให้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นของทุกคน ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เบื้องต้นขอชี้แจงว่ายังไม่ได้มีการสรุปรูปแบบว่าจะทำเป็นถนนให้รถยนต์วิ่งแต่อย่างใด แต่จะจัดทำเป็นทางเดินและทางจักรยานให้ประชาชนได้พักผ่อนและท่องเที่ยว รวมทั้งมีพื้นที่สันทนาการและสวนสาธารณะ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรูปแบบโครงการ ต้องอาศัยความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความเหมาะสมของโครงการ โดยการศึกษาจะสิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย.นี้ งบประมาณ 119 ล้านบาท ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้สำนักการโยธาเตรียมของบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลในงบประมาณปี 2560 จำนวน 2,000 ล้านบาท ภายหลังที่ สจล. ศึกษาโครงการแล้วเสร็จ โดยจะเริ่มก่อสร้างประมาณปลายเดือนมกราคม 2560
ด้าน รศ.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาแผนแม่บทรวมระยะทางทั้งสองฝั่ง 57 กิโลเมตร ตั้งแต่สะพานพระราม7 จนสุดเขตกรุงเทพฯ ที่บางกระเจ้า และจะศึกษาออกแบบรายละเอียดรูปแบบการก่อสร้างในระยะทางนำร่องรวมสองฝั่ง 14 กิโลเมตร ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงสะพานปิ่นเกล้า มีระยะเวลาทำงาน 210 วัน ขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของชุมชนและภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประกอบการออกแบบสถาปัตยกรรม ควบคู่กับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยมี 32 ชุมชน ใน 4 เขต คือบางซื่อ พระนคร บางพลัดและดุสิต คณะทำงานจะลงพื้นที่ชุมชนละ 6 ครั้ง และจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่ 3 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1 ได้เปิดเวทีไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน ซึ่งในครั้งที่ 3 จะเป็นเวทีสรุปผลการศึกษาจะจัดในเดือนกันยายน
ผศ.อันธิกา สวัสดิ์ศรี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ในฐานะโฆษกโครงการฯ กล่าวว่า ในระยะเวลาศึกษา 210 วัน หรือ 7เดือนตามสัญญานั้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าระยะเวลาดังกล่าวอาจไม่ผลการศึกษาในเชิงลึก จึงเตรียมขอขยายเวลาการศึกษาเสนอต่อกทม. อีก 4-5 เดือน เพื่อปรับกระบวนการศึกษาดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด และศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการจัดตั้งศูนย์เจ้าพระยา และศึกษาแผนบริหารจัดการทางเดินริมเจ้าพระยา หลังก่อสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ได้กำหนดในร่างประกวดราคา แต่ที่ปรึกษาฯเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการเรื่องดังกล่าว
ด้านนายจีรศักดิ์ พูลสง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและจัดที่อยู่อาศัยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่ย้ำเจ้าพระยา พอช. กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลผลกระทบจากประชาชนในระยะ 14 กิโลเมตรที่นำร่องก่อสร้าง พบว่ามีประชาชนที่ต้องรื้อย้ายจำนวน 12ชุมชน หรือ 309 ครัวเรือน โดย พอช.ได้ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการรื้อย้ายและแนวทางช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง ล่าสุดมี 64 ครัวเรือน ใน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนปากคลองบางเขนใหม่ ชุมชนวัดสร้อยทอง ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า และชุมชนริมไทร พร้อมย้ายขึ้นแฟลตกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน นอกจากนี้มีที่ดินว่างข้างแฟลตขนาด 1 ไร่ 1 งาน ซึ่งการเคหะแห่งชาติ กำลังหาแนวทางก่อสร้างอาคารชุดเพื่อรองรับประชาชนประมาณ 60-80 ครัวเรือน นอกจากนี้พบว่ามีประชาชนบางส่วนต้องการเช่าพื้นที่เอกชน ซึ่งพอช. พร้อมให้คำปรึกษา และยังมีประชาชนที่พร้อมย้ายออกจากพื้นที่แต่ต้องการความชัดเจนเรื่องเงินชดเชย อย่างไรก็ตามตามแผน พอช.มีระยะดำเนินการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ 1 ปี
นายศรชัย โตวานิชกุล ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ สำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กทม.เป็นผู้ออกแบบและบริหารโครงการดังกล่าว เพื่อให้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นของทุกคน ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เบื้องต้นขอชี้แจงว่ายังไม่ได้มีการสรุปรูปแบบว่าจะทำเป็นถนนให้รถยนต์วิ่งแต่อย่างใด แต่จะจัดทำเป็นทางเดินและทางจักรยานให้ประชาชนได้พักผ่อนและท่องเที่ยว รวมทั้งมีพื้นที่สันทนาการและสวนสาธารณะ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรูปแบบโครงการ ต้องอาศัยความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความเหมาะสมของโครงการ โดยการศึกษาจะสิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย.นี้ งบประมาณ 119 ล้านบาท ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้สำนักการโยธาเตรียมของบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลในงบประมาณปี 2560 จำนวน 2,000 ล้านบาท ภายหลังที่ สจล. ศึกษาโครงการแล้วเสร็จ โดยจะเริ่มก่อสร้างประมาณปลายเดือนมกราคม 2560
ด้าน รศ.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาแผนแม่บทรวมระยะทางทั้งสองฝั่ง 57 กิโลเมตร ตั้งแต่สะพานพระราม7 จนสุดเขตกรุงเทพฯ ที่บางกระเจ้า และจะศึกษาออกแบบรายละเอียดรูปแบบการก่อสร้างในระยะทางนำร่องรวมสองฝั่ง 14 กิโลเมตร ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงสะพานปิ่นเกล้า มีระยะเวลาทำงาน 210 วัน ขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของชุมชนและภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประกอบการออกแบบสถาปัตยกรรม ควบคู่กับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยมี 32 ชุมชน ใน 4 เขต คือบางซื่อ พระนคร บางพลัดและดุสิต คณะทำงานจะลงพื้นที่ชุมชนละ 6 ครั้ง และจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่ 3 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1 ได้เปิดเวทีไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน ซึ่งในครั้งที่ 3 จะเป็นเวทีสรุปผลการศึกษาจะจัดในเดือนกันยายน
ผศ.อันธิกา สวัสดิ์ศรี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ในฐานะโฆษกโครงการฯ กล่าวว่า ในระยะเวลาศึกษา 210 วัน หรือ 7เดือนตามสัญญานั้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าระยะเวลาดังกล่าวอาจไม่ผลการศึกษาในเชิงลึก จึงเตรียมขอขยายเวลาการศึกษาเสนอต่อกทม. อีก 4-5 เดือน เพื่อปรับกระบวนการศึกษาดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด และศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการจัดตั้งศูนย์เจ้าพระยา และศึกษาแผนบริหารจัดการทางเดินริมเจ้าพระยา หลังก่อสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ได้กำหนดในร่างประกวดราคา แต่ที่ปรึกษาฯเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการเรื่องดังกล่าว
ด้านนายจีรศักดิ์ พูลสง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและจัดที่อยู่อาศัยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่ย้ำเจ้าพระยา พอช. กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลผลกระทบจากประชาชนในระยะ 14 กิโลเมตรที่นำร่องก่อสร้าง พบว่ามีประชาชนที่ต้องรื้อย้ายจำนวน 12ชุมชน หรือ 309 ครัวเรือน โดย พอช.ได้ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการรื้อย้ายและแนวทางช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง ล่าสุดมี 64 ครัวเรือน ใน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนปากคลองบางเขนใหม่ ชุมชนวัดสร้อยทอง ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า และชุมชนริมไทร พร้อมย้ายขึ้นแฟลตกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน นอกจากนี้มีที่ดินว่างข้างแฟลตขนาด 1 ไร่ 1 งาน ซึ่งการเคหะแห่งชาติ กำลังหาแนวทางก่อสร้างอาคารชุดเพื่อรองรับประชาชนประมาณ 60-80 ครัวเรือน นอกจากนี้พบว่ามีประชาชนบางส่วนต้องการเช่าพื้นที่เอกชน ซึ่งพอช. พร้อมให้คำปรึกษา และยังมีประชาชนที่พร้อมย้ายออกจากพื้นที่แต่ต้องการความชัดเจนเรื่องเงินชดเชย อย่างไรก็ตามตามแผน พอช.มีระยะดำเนินการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ 1 ปี