วานนี้ (17พ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง "ความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ นิติธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในรัฐธรรมนูญ" เนื่องในโอกาสครบรอบ "24 ปี พฤษภาประชาธรรม" ที่ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถึง ร่างรธน. ที่กำลังจะมีการทำประชามติว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ ได้ย้อนถอยไปก่อนปี 2535 ทำให้ระบบราชการกลายเป็นผู้ชี้นำประเทศ สร้างวาทกรรมให้ประชาชนต้องเสียสละ จะทำลายผลพวงการต่อสู้ของประชาชน ดังนั้นตนจึงขอเรียกร้อง 3 ข้อ คือ
1. ประเทศไทยไม่ควรใช้รธน.ที่ถดถอยเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ต้องตระหนักว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ สิทธิเสรีภาพ ควรจะเป็นหัวใจของการจัดทำรธน. และไม่มีเหตุผลที่จะทำประชามติ ถ้าไม่สามารถรณรงค์ได้ การให้ทำประชามติ ภายใต้ความไม่แน่นอน ความหวาดกลัวว่าจะผิดพ.ร.บ.ประชามติ หรือไม่ ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ กกต. ต้องยืนยันว่า จะไม่ตีความคำว่าปลุกระดมเกินจริง หากไม่ผิดเงื่อนไขอื่น ย่อมสามารถทำได้
2. ผู้มีอำนาจต้องยุติความคิดว่าปัญหามาจากการชุมนุมประท้วง หากไม่มีการชุมนุมประท้วงที่ผ่านมา บ้านเมืองเราจะถดถอยมากกว่านี้จากการใช้อำนาจโดยมิชอบ และการทุจริต คอร์รัปชัน และควรเลิกเผยแพร่ความคิดว่า การประท้วงคือการสร้างความเสียหาย ถ้าประชาชนทำโดยสุจริต 3. การปรองดอง การเคารพประชาชน ต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนที่มาชุมนุมโดยสุจริต เพราะการออกมาใช้สิทธิ ไม่เป็นความผิด ส่วนการกระทำความผิดอื่นให้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์จนถึงที่สุด แล้วค่อยพิจารณาว่า สมควรหรือไม่ที่จะมีมาตรการพิเศษใดๆ เพื่อความปรองดอง ทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน และสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง
1. ประเทศไทยไม่ควรใช้รธน.ที่ถดถอยเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ต้องตระหนักว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ สิทธิเสรีภาพ ควรจะเป็นหัวใจของการจัดทำรธน. และไม่มีเหตุผลที่จะทำประชามติ ถ้าไม่สามารถรณรงค์ได้ การให้ทำประชามติ ภายใต้ความไม่แน่นอน ความหวาดกลัวว่าจะผิดพ.ร.บ.ประชามติ หรือไม่ ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ กกต. ต้องยืนยันว่า จะไม่ตีความคำว่าปลุกระดมเกินจริง หากไม่ผิดเงื่อนไขอื่น ย่อมสามารถทำได้
2. ผู้มีอำนาจต้องยุติความคิดว่าปัญหามาจากการชุมนุมประท้วง หากไม่มีการชุมนุมประท้วงที่ผ่านมา บ้านเมืองเราจะถดถอยมากกว่านี้จากการใช้อำนาจโดยมิชอบ และการทุจริต คอร์รัปชัน และควรเลิกเผยแพร่ความคิดว่า การประท้วงคือการสร้างความเสียหาย ถ้าประชาชนทำโดยสุจริต 3. การปรองดอง การเคารพประชาชน ต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนที่มาชุมนุมโดยสุจริต เพราะการออกมาใช้สิทธิ ไม่เป็นความผิด ส่วนการกระทำความผิดอื่นให้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์จนถึงที่สุด แล้วค่อยพิจารณาว่า สมควรหรือไม่ที่จะมีมาตรการพิเศษใดๆ เพื่อความปรองดอง ทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน และสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง