เมื่อเวลา 18.00 น.วานนี้ (17พ.ค.) ที่ลานกิจกรรม สยามสแควร์วัน ทางเชื่อมบีทีเอส ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพฯ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการรณรงค์ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 โดยพล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา สังคมโลกได้พยายามผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติผ่านเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศสามารถผลักดันให้เกิดกม.ที่คุ้มครองบุคคล หรือกลุ่มบุคคลจากการเลือกปฏิบัติได้
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติ และได้มีความพยายามผลักดันกม.ด้านต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีกม.ทางเลือกในการใช้คำนำหน้านาม และชื่อสกุลได้ตามความสมัครใจ การแก้ไขกม.การข่มขืน กระทำชำเรา ซึ่งขยายความคุ้มครองแก่บุคคลทุกเพศ ทุกสถานภาพ รวมไปถึงการกำหนดความผิดกรณีข่มขืนระหว่างคู่สมรส หรือการเปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงของโรงเรียนนายร้อย เป็นต้น
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ก.ย.58 ถือเป็นกม.ที่มีความทันต่อสถานการณ์สังคม เป็นทางเลือกในการคุ้มครองและป้องกันสิทธิ ให้กับผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ของประชาชนในสังคม และความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน จะเป็นกลไกที่สาคัญในการขับเคลื่อนผลักดัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และความเสมอภาคของสังคมในที่สุด
ด้านนายเลิศปัญญา บูรณบัญฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการจัดงานรณรงค์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนในสังคมเข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญของพ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ควบคู่ไปกับการให้สังคมตระหนัก เรียนรู้ และปรับทัศนคติในการยอมรับในประเด็นความเสมอภาค และยอมรับในความหลากหลายทางเพศ บนพื้นฐานหลักสิทธิ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบกับในวันที่ 17 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแสดงมินิคอนเสิร์ต การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 การเสวนา“พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ใครได้ใครเสีย?”และการเดินรณรงค์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติ และได้มีความพยายามผลักดันกม.ด้านต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม เช่น มีกม.ทางเลือกในการใช้คำนำหน้านาม และชื่อสกุลได้ตามความสมัครใจ การแก้ไขกม.การข่มขืน กระทำชำเรา ซึ่งขยายความคุ้มครองแก่บุคคลทุกเพศ ทุกสถานภาพ รวมไปถึงการกำหนดความผิดกรณีข่มขืนระหว่างคู่สมรส หรือการเปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงของโรงเรียนนายร้อย เป็นต้น
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ก.ย.58 ถือเป็นกม.ที่มีความทันต่อสถานการณ์สังคม เป็นทางเลือกในการคุ้มครองและป้องกันสิทธิ ให้กับผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ของประชาชนในสังคม และความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน จะเป็นกลไกที่สาคัญในการขับเคลื่อนผลักดัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และความเสมอภาคของสังคมในที่สุด
ด้านนายเลิศปัญญา บูรณบัญฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการจัดงานรณรงค์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนในสังคมเข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญของพ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ควบคู่ไปกับการให้สังคมตระหนัก เรียนรู้ และปรับทัศนคติในการยอมรับในประเด็นความเสมอภาค และยอมรับในความหลากหลายทางเพศ บนพื้นฐานหลักสิทธิ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประกอบกับในวันที่ 17 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแสดงมินิคอนเสิร์ต การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 การเสวนา“พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ใครได้ใครเสีย?”และการเดินรณรงค์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558