ผู้จัดการรายวัน360- "บิ๊กป้อม" เผย รธน.ไม่ผ่าน ตั้งกก.ยกร่างใหม่ สั่ง"วิษณุ" ดูข้อกฎหมาย เปิดช่องให้พรรคการเมืองแสดงความคิดเห็นในร่างรธน.ได้ ด้าน"จตุพร" ซัด 2 ปี คสช.ไร้ผลงาน เชื่อไม่มีประชามติ 7 ส.ค. "บิ๊กหมู" ลั่นไม่ปล่อยให้ใครก่อกวน ในโอาสครบรอบ 2 ปี คสช. "พิภพ"เตรียมนำญาติผู้สูญเสีย 7 ตุลาฯ 51 ยื่นค้านป.ป.ช. ถอนคดี สลายกลุ่มพันธมิตรฯ
วานนี้ (17พ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ว่า ไม่กังวลอะไร จะผ่านหรือไม่ผ่านก็ได้ ส่วนรายละเอียดจะทำอย่างไรต่อไป ก็เป็นเรื่องของการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรธน.ขึ้นมาใหม่ หรืออาจนำรธน.ปี 40 ปี 50 หรือฉบับของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ หรือฉบับของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาปรับใช้ให้สอดคล้อง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งหากมีคณะกรรมการร่างรธน.ชุดใหม่ ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะเป็นคนตั้งขึ้นมา
เมื่อถามว่าหากลงประชามติไม่ผ่านแล้วจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็อาจจะต้องมีการแก้รธน. เมื่อถามว่า หากการลงประชามติไม่ผ่าน จะมีการเลือกตั้งในปี 60 หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่ยืนยันเมื่อถามถึงการส่งเจ้าหน้าที่ไปทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในเรื่องร่างรธน. พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ถ้าไม่ดีแล้วจะส่งไปทำไม เพราะเป็นการสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น ตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็ลงไปทุกพื้นที่ เมื่อถามว่าหากมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในช่วงครบรอบ 2 ปี คสช. จะดูแลอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ยืนยันว่าจะบังคับใช้กฎหมายในทุกเรื่อง
ตนได้มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไปดูข้อกฎหมายในการเปิดช่องให้พรรคการเมืองแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรธน.ได้ โดยให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
** "จตุพร"เชื่อไม่มีประชามติ7ส.ค.
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มนปช. กล่าวถึงผลงานของรัฐบาลคสช. ในรอบ 2 ปีว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ที่พูดมากที่สุด มีไอเดียมากมาย คนที่สั่งก็จำไม่ได้ คนที่รับไปปฏิบัติ ก็ไม่ทำตาม อาจจะไม่รู้ว่า 2 ปีที่แล้วมาได้สร้างความหวังให้คนไทยว่าจะเข้ามาคืนความสุข แต่จะครบ 2 ปีแล้ว ได้ทำบ้างแล้วหรือไม่ นอกจากไม่คืนความสุขแล้วยังสร้างความทุกข์ ยังไม่นับเรื่องที่บอกว่าจะอยู่ไม่นาน แต่ลากมาจนสุดท้ายไม่รู้จะจบในปี 2560 หรือไม่ เพราะตนไม่แน่ใจว่าจะได้ทำประชามติหรือไม่
นายจตุพร กล่าวว่า ตนเห็นช่องทางที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องไปยังศาลรธน. ให้ตีความ มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่าขัดต่อรธน.ฉบับชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งถ้าคสช.จะใช้ โดยที่ไม่ต้องใช้ ม.44
" ผมไม่กลัวพล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ยาวนะครับ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ กล้าประกาศว่า หัวเด็ดตีนขาดต้องมีประชามติวันที่ 7 ส.ค. อย่างแน่นอน เราก็ไปวัดเอาวันที่ 7 ส.ค. แต่วันนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ผมเชื่อว่าไม่มี 7 ส.ค. เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว " นายจตุพร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ ผบ.ทบ. กังวลถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในช่วงครบรอบ 2 ปี คสช. นายจตุพร กล่าวว่า ผบ.ทบ.สบายใจได้ หากมีการเคลื่อนไหว เท่ากับไปต่ออายุให้คสช. เราไม่ต้องการตกเป็นเครื่องมือของใคร
"เป็นหน้าที่ของประชาชน ที่ต้องไปหยุดรธน. ในวันที่ 7 ส.ค."
**ผบ.ทบ.ลั่นไม่ปล่อยพวกก่อกวน
ด้านพล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. และเลขาธิการ คสช. กล่าวถึงการทำงานของคสช.ครบรอบ 2 ปี ว่า พวกที่ก่อกวน คสช.จะไม่ปล่อยไว้ เราดูแลทุกเรื่องอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการปรับทัศนคติก็จะไม่เรียกแล้ว เพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีไม่ได้เน้นย้ำอะไรเป็นพิเศษ เราติดตามทุกกลุ่มที่จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายอยู่แล้ว
**ยื่นศาลฎีกาฯค้านถอนฟ้อง"พัชรวาท"
นายพิภพ ธงไชย แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถึงกรณีที่ ป.ป.ช. จะพิจารณาถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ว่าเรื่องนี้เขามีการเตรียมการไว้ก่อนแล้ว เพราะหนึ่งในผู้ถูกดำเนินคดี เป็นน้องของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน โดยมีกระบวนการตั้งแต่การตั้งประธานป.ป.ช. คนใหม่ คือพล.ต.อ. วัชรพล ประสานราชกิจ ที่มีความสนิทสนมกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตรงในขณะนั้น ที่ถูกดำเนินคดี
ขอเตือนป.ป.ช. ว่า หากจะแก้ระเบียบ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเสียเอง จึงควรให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทางญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์จะเข้ายื่นต่อศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในวันนี้ (18 พ.ค.) เพื่อคัดค้านการถอนฟ้องคดีด้วย
นายพิภพ ยังกล่าวถึงเนื้อหาในร่างรธน.ว่า การให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง และมีการเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรี มาจากคนนอก ดังนั้นตนกังวลว่า เงื่อนไขวิกฤต ตั้งแต่ปีพฤษภาคม 2535 จะย้อนกลับมาอีก
***คณะทำงาน ป.ป.ช.เคาะ "ไม่ถอนฟ้อง"
วานนี้ (17 พ.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ซึ่งจำเลยประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. ทำเรื่องร้องขอความเป็นธรรมต่อป.ป.ช. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปแล้วว่า จะเสนอแนวทางอย่างไร โดยให้เลขานุการของคณะทำงานฯ สรุปรายละเอียด และเรียบเรียงจัดทำเอกสาร เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะทำงานฯ ให้ลงนามในมติดังกล่าวอีกครั้ง ในวันที่ 24 พ.ค. ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. ในวันที่ 26 พ.ค.นี้
ส่วนประเด็นความมีส่วนได้ส่วนเสียของ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานป.ป.ช. อันเกี่ยวเนื่องกับคดีและจำเลยบางรายนั้น นานสรรเสริญ กล่าวว่า ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ของคณะทำงานฯ เพราะมีหน้าที่เพียงพิจารณากรอบการทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น จึงไม่ได้เสนอความเห็นว่าประธาน ป.ป.ช.ควรร่วมลงมติหรือไม่
แหล่งข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช. ขยายความว่า สำหรับแนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบที่สุด เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว ยังต้องดูที่ระเบียบศาลฎีกาฯ ด้วยว่า สามารถทำได้หรือไม่
รายงานข่าวจาก ป.ป.ช.แจ้งว่า คณะทำงานฯที่มีนายสรรเสริญเป็นประธาน ได้ศึกษาและพิจารณาตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จแล้ว และมีมติเสนอให้ไม่ถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องยื่นเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นข้อมูลใหม่นั้นเป็นเรื่องเก่า
วานนี้ (17พ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ว่า ไม่กังวลอะไร จะผ่านหรือไม่ผ่านก็ได้ ส่วนรายละเอียดจะทำอย่างไรต่อไป ก็เป็นเรื่องของการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรธน.ขึ้นมาใหม่ หรืออาจนำรธน.ปี 40 ปี 50 หรือฉบับของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ หรือฉบับของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาปรับใช้ให้สอดคล้อง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งหากมีคณะกรรมการร่างรธน.ชุดใหม่ ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะเป็นคนตั้งขึ้นมา
เมื่อถามว่าหากลงประชามติไม่ผ่านแล้วจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็อาจจะต้องมีการแก้รธน. เมื่อถามว่า หากการลงประชามติไม่ผ่าน จะมีการเลือกตั้งในปี 60 หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่ยืนยันเมื่อถามถึงการส่งเจ้าหน้าที่ไปทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในเรื่องร่างรธน. พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ถ้าไม่ดีแล้วจะส่งไปทำไม เพราะเป็นการสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น ตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็ลงไปทุกพื้นที่ เมื่อถามว่าหากมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในช่วงครบรอบ 2 ปี คสช. จะดูแลอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ยืนยันว่าจะบังคับใช้กฎหมายในทุกเรื่อง
ตนได้มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไปดูข้อกฎหมายในการเปิดช่องให้พรรคการเมืองแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรธน.ได้ โดยให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
** "จตุพร"เชื่อไม่มีประชามติ7ส.ค.
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มนปช. กล่าวถึงผลงานของรัฐบาลคสช. ในรอบ 2 ปีว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ที่พูดมากที่สุด มีไอเดียมากมาย คนที่สั่งก็จำไม่ได้ คนที่รับไปปฏิบัติ ก็ไม่ทำตาม อาจจะไม่รู้ว่า 2 ปีที่แล้วมาได้สร้างความหวังให้คนไทยว่าจะเข้ามาคืนความสุข แต่จะครบ 2 ปีแล้ว ได้ทำบ้างแล้วหรือไม่ นอกจากไม่คืนความสุขแล้วยังสร้างความทุกข์ ยังไม่นับเรื่องที่บอกว่าจะอยู่ไม่นาน แต่ลากมาจนสุดท้ายไม่รู้จะจบในปี 2560 หรือไม่ เพราะตนไม่แน่ใจว่าจะได้ทำประชามติหรือไม่
นายจตุพร กล่าวว่า ตนเห็นช่องทางที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องไปยังศาลรธน. ให้ตีความ มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่าขัดต่อรธน.ฉบับชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งถ้าคสช.จะใช้ โดยที่ไม่ต้องใช้ ม.44
" ผมไม่กลัวพล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ยาวนะครับ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ กล้าประกาศว่า หัวเด็ดตีนขาดต้องมีประชามติวันที่ 7 ส.ค. อย่างแน่นอน เราก็ไปวัดเอาวันที่ 7 ส.ค. แต่วันนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ผมเชื่อว่าไม่มี 7 ส.ค. เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว " นายจตุพร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ ผบ.ทบ. กังวลถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในช่วงครบรอบ 2 ปี คสช. นายจตุพร กล่าวว่า ผบ.ทบ.สบายใจได้ หากมีการเคลื่อนไหว เท่ากับไปต่ออายุให้คสช. เราไม่ต้องการตกเป็นเครื่องมือของใคร
"เป็นหน้าที่ของประชาชน ที่ต้องไปหยุดรธน. ในวันที่ 7 ส.ค."
**ผบ.ทบ.ลั่นไม่ปล่อยพวกก่อกวน
ด้านพล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. และเลขาธิการ คสช. กล่าวถึงการทำงานของคสช.ครบรอบ 2 ปี ว่า พวกที่ก่อกวน คสช.จะไม่ปล่อยไว้ เราดูแลทุกเรื่องอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการปรับทัศนคติก็จะไม่เรียกแล้ว เพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีไม่ได้เน้นย้ำอะไรเป็นพิเศษ เราติดตามทุกกลุ่มที่จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายอยู่แล้ว
**ยื่นศาลฎีกาฯค้านถอนฟ้อง"พัชรวาท"
นายพิภพ ธงไชย แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถึงกรณีที่ ป.ป.ช. จะพิจารณาถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ว่าเรื่องนี้เขามีการเตรียมการไว้ก่อนแล้ว เพราะหนึ่งในผู้ถูกดำเนินคดี เป็นน้องของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน โดยมีกระบวนการตั้งแต่การตั้งประธานป.ป.ช. คนใหม่ คือพล.ต.อ. วัชรพล ประสานราชกิจ ที่มีความสนิทสนมกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตรงในขณะนั้น ที่ถูกดำเนินคดี
ขอเตือนป.ป.ช. ว่า หากจะแก้ระเบียบ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเสียเอง จึงควรให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทางญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์จะเข้ายื่นต่อศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในวันนี้ (18 พ.ค.) เพื่อคัดค้านการถอนฟ้องคดีด้วย
นายพิภพ ยังกล่าวถึงเนื้อหาในร่างรธน.ว่า การให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง และมีการเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรี มาจากคนนอก ดังนั้นตนกังวลว่า เงื่อนไขวิกฤต ตั้งแต่ปีพฤษภาคม 2535 จะย้อนกลับมาอีก
***คณะทำงาน ป.ป.ช.เคาะ "ไม่ถอนฟ้อง"
วานนี้ (17 พ.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ซึ่งจำเลยประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. ทำเรื่องร้องขอความเป็นธรรมต่อป.ป.ช. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปแล้วว่า จะเสนอแนวทางอย่างไร โดยให้เลขานุการของคณะทำงานฯ สรุปรายละเอียด และเรียบเรียงจัดทำเอกสาร เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะทำงานฯ ให้ลงนามในมติดังกล่าวอีกครั้ง ในวันที่ 24 พ.ค. ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. ในวันที่ 26 พ.ค.นี้
ส่วนประเด็นความมีส่วนได้ส่วนเสียของ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานป.ป.ช. อันเกี่ยวเนื่องกับคดีและจำเลยบางรายนั้น นานสรรเสริญ กล่าวว่า ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ของคณะทำงานฯ เพราะมีหน้าที่เพียงพิจารณากรอบการทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น จึงไม่ได้เสนอความเห็นว่าประธาน ป.ป.ช.ควรร่วมลงมติหรือไม่
แหล่งข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช. ขยายความว่า สำหรับแนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบที่สุด เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว ยังต้องดูที่ระเบียบศาลฎีกาฯ ด้วยว่า สามารถทำได้หรือไม่
รายงานข่าวจาก ป.ป.ช.แจ้งว่า คณะทำงานฯที่มีนายสรรเสริญเป็นประธาน ได้ศึกษาและพิจารณาตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จแล้ว และมีมติเสนอให้ไม่ถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องยื่นเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นข้อมูลใหม่นั้นเป็นเรื่องเก่า