พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้กลไก ยูพีอาร์ (Universal Periodic Review : UPR)รอบที่ 2 ต่อที่ประชุมคณะทำงานยูพีอาร์ สมัยที่ 25 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ว่า เขาไม่ได้เรียกประเทศไทยไปชี้แจงประเทศเดียว เรียกไป130 กว่าประเทศ ในฐานะประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีการกำหนดให้ชี้แจงทุก 4 ปีครึ่ง ซึ่งก็มีการย้อนไปถึงรัฐบาลชุดที่ผ่านมาด้วย ว่ามีอะไรบ้าง ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลที่แล้ว มีเรื่องที่เขาแจ้งมาเป็นร้อยเรื่อง เช่นกัน และแก้ไขได้เพียงร้อยละ 20 วันนี้มีการเสนอมา 249 เรื่อง แก้ไขได้เพียง 181 เรื่อง ก็รับมาทั้งหมด เราต้องแก้ไขประมาณร้อยละ 70 ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่ว่าเรา บางประเทศรับมา 380 กว่าเรื่อง สามารถแก้ไขปัญหาได้ไม่ถึงครึ่ง แสดงว่ามันเป็นปัญหาของโลก ทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการบังคับใช้กฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ สิ่งสำคัญเราต้องไม่ทิ้งพันธกรณีดังกล่าว ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนเราก็ระวังมาตลอด
"อยากจะชี้แจงให้เกิดความเข้าใจว่า คนที่กระทำความผิด ที่ต้องถูกเรียกตัวมาดำเนินการก็มี 2 ลักษณะ คือเรียกตัวมาแล้วก็ปล่อยกลับไป ถือว่าเป็นความเมตตาแล้ว เพราะถ้าว่ากันตามคดี มันผิดทั้งหมด แต่ถ้าไม่ร้ายแรงผมก็สามารถผ่อนผันให้ได้ แต่ถ้ามันร้ายแรง เป็นประเด็นที่ทำร้ายคนไทยทั้งชาติ ผมยอมไม่ได้ ก็ต้องให้เป็นเรื่องของศาล และผมก็ได้สั่งให้ชี้แจงไปว่า การที่นำตัวขึ้นศาลทหารนั้น ก็เหมือนกับศาลธรรมดา แต่ที่เป็นศาลทหาร เนื่องจากใช้คณะในการพิจารณาเป็นทหาร จบจากทหารพระธรรมนูญ ซึ่งเรียนจบกฎหมายมาทั้งหมด แตกต่างกันก็แค่มียศเท่านั้น แต่ใช้วิธีการพิจารณาของศาลปกติ สามารถประกันได้ มีทนายได้ ผมอยากจะถามว่า ใช้ศาลทหารมันผิดตรงไหน และที่ต้องใช้ศาลทหาร ก็เพราะสถานการณ์มันไม่ปกติ คนเหล่านี้ไม่เคารพกฎหมายปกติ เรื่องเหล่านี้สื่อช่วยแยกให้หน่อย ไม่ใช่ว่าเราต้องการไปปิดบังบิดเบือน หรือต้องการไปละเมิดสิทธิ์ ขอให้ไปดูให้ชัดว่า ใครไปละเมิดสิทธิ์ใคร เขาละเมิดสิทธิ์ผมหรือเปล่า ในการที่ผมกำลังทำงานให้กับประเทศ ดูว่าเขาละเมิดสิทธิ์ประชาชนหรือไม่ ถ้าสื่อฟังแล้วไปขยายความก็ขัดแย้งก็อยู่แบบนี้ และสิ่งที่จะตามมาคือ ต่างชาติไม่เข้าใจเรา ทั้งที่ความจริงมันไม่ใช่ การที่จะเข้ามาค้าขาย หรือลงทุนก็ไม่มั่นใจ ดังนั้นจะทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง ผมขอแค่นี้ ช่วยกันดูว่าประเทศจะเดินต่อไปอย่างไร ผมไม่ได้ไปโมโหสื่อเพราะไม่ได้เขียนเชียร์ผม ยืนยันว่า ไม่ต้องมาเชียร์เพราะไม่ว่าจะอย่างไร ผมก็อยู่อยู่แล้ว แม้จะว่าผม ผมก็จะอยู่ เพราะผมต้องอยู่ ทำไมถึงไม่เข้าใจว่า ผมกำลังทำอะไรในหลายๆ อย่าง แล้วมันก็ดีขึ้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักโฆษกฯ และกรมประชาสัมพันธ์ นำทุกประเด็นที่สื่อเขียนมาดู และชี้แจง ซึ่งถ้าประเด็นไหนบิดเบือนมากๆ ก็อาจจะต้องดำเนินคดีทางกฎหมายบ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะว่ากันไปมา ทำให้คนหมดกำลังใจในการทำงาน วันนี้ทุกคนพยายามจะให้ตนไปฟังเสียงส่วนน้อยที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์
"อยู่ในค่าย ยืนยันว่า ไม่ได้ขัง ไม่มีกรงขังสักอัน ไปกินข้าวอยู่ในบ้าน พูดคุยกันเสร็จแล้วก็ปล่อยตัวออกมา แต่ถ้าสอบแล้วเจอความผิดที่หนักหนาสาหัส ก็ต้องส่งตัวให้ตำรวจ ซึ่งก็มีเหมือนกันทุกประเทศไปถามดูได้ ประเทศมหาอำนาจที่ว่าเรา เขาได้ดำเนินคดีไปกับคนที่มีความผิดทางการเมือง ต่อต้านการเมืองในประเทศของเขาเอง ผมจำเป็นต้องพูดบ้าง แต่ไม่บอกว่าประเทศอะไร มีการจับกุมเป็นพันคน แล้วอยู่ที่ไหน ทำไมไม่ถามกันบ้าง ผมไม่ได้เก็บตัวไว้สักคน ส่งดำเนินคดีตามกฎหมายให้ไปสู้คดี เมื่อได้รับประกันก็ปล่อยตัวทุกคน เว้นแต่บางคนที่ต้องสืบสาวราวเรื่อง มีหลักฐานให้มากขึ้น ผมถามว่าอย่างความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผมหรือเจ้าหน้าที่สามารถไปโพสข้อความแทนได้อย่างนั้นหรือ เพราะมีบางคนกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนโพส เจ้าหน้าที่จะไปบ้าทำทำไม" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
"อยากจะชี้แจงให้เกิดความเข้าใจว่า คนที่กระทำความผิด ที่ต้องถูกเรียกตัวมาดำเนินการก็มี 2 ลักษณะ คือเรียกตัวมาแล้วก็ปล่อยกลับไป ถือว่าเป็นความเมตตาแล้ว เพราะถ้าว่ากันตามคดี มันผิดทั้งหมด แต่ถ้าไม่ร้ายแรงผมก็สามารถผ่อนผันให้ได้ แต่ถ้ามันร้ายแรง เป็นประเด็นที่ทำร้ายคนไทยทั้งชาติ ผมยอมไม่ได้ ก็ต้องให้เป็นเรื่องของศาล และผมก็ได้สั่งให้ชี้แจงไปว่า การที่นำตัวขึ้นศาลทหารนั้น ก็เหมือนกับศาลธรรมดา แต่ที่เป็นศาลทหาร เนื่องจากใช้คณะในการพิจารณาเป็นทหาร จบจากทหารพระธรรมนูญ ซึ่งเรียนจบกฎหมายมาทั้งหมด แตกต่างกันก็แค่มียศเท่านั้น แต่ใช้วิธีการพิจารณาของศาลปกติ สามารถประกันได้ มีทนายได้ ผมอยากจะถามว่า ใช้ศาลทหารมันผิดตรงไหน และที่ต้องใช้ศาลทหาร ก็เพราะสถานการณ์มันไม่ปกติ คนเหล่านี้ไม่เคารพกฎหมายปกติ เรื่องเหล่านี้สื่อช่วยแยกให้หน่อย ไม่ใช่ว่าเราต้องการไปปิดบังบิดเบือน หรือต้องการไปละเมิดสิทธิ์ ขอให้ไปดูให้ชัดว่า ใครไปละเมิดสิทธิ์ใคร เขาละเมิดสิทธิ์ผมหรือเปล่า ในการที่ผมกำลังทำงานให้กับประเทศ ดูว่าเขาละเมิดสิทธิ์ประชาชนหรือไม่ ถ้าสื่อฟังแล้วไปขยายความก็ขัดแย้งก็อยู่แบบนี้ และสิ่งที่จะตามมาคือ ต่างชาติไม่เข้าใจเรา ทั้งที่ความจริงมันไม่ใช่ การที่จะเข้ามาค้าขาย หรือลงทุนก็ไม่มั่นใจ ดังนั้นจะทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง ผมขอแค่นี้ ช่วยกันดูว่าประเทศจะเดินต่อไปอย่างไร ผมไม่ได้ไปโมโหสื่อเพราะไม่ได้เขียนเชียร์ผม ยืนยันว่า ไม่ต้องมาเชียร์เพราะไม่ว่าจะอย่างไร ผมก็อยู่อยู่แล้ว แม้จะว่าผม ผมก็จะอยู่ เพราะผมต้องอยู่ ทำไมถึงไม่เข้าใจว่า ผมกำลังทำอะไรในหลายๆ อย่าง แล้วมันก็ดีขึ้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักโฆษกฯ และกรมประชาสัมพันธ์ นำทุกประเด็นที่สื่อเขียนมาดู และชี้แจง ซึ่งถ้าประเด็นไหนบิดเบือนมากๆ ก็อาจจะต้องดำเนินคดีทางกฎหมายบ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะว่ากันไปมา ทำให้คนหมดกำลังใจในการทำงาน วันนี้ทุกคนพยายามจะให้ตนไปฟังเสียงส่วนน้อยที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์
"อยู่ในค่าย ยืนยันว่า ไม่ได้ขัง ไม่มีกรงขังสักอัน ไปกินข้าวอยู่ในบ้าน พูดคุยกันเสร็จแล้วก็ปล่อยตัวออกมา แต่ถ้าสอบแล้วเจอความผิดที่หนักหนาสาหัส ก็ต้องส่งตัวให้ตำรวจ ซึ่งก็มีเหมือนกันทุกประเทศไปถามดูได้ ประเทศมหาอำนาจที่ว่าเรา เขาได้ดำเนินคดีไปกับคนที่มีความผิดทางการเมือง ต่อต้านการเมืองในประเทศของเขาเอง ผมจำเป็นต้องพูดบ้าง แต่ไม่บอกว่าประเทศอะไร มีการจับกุมเป็นพันคน แล้วอยู่ที่ไหน ทำไมไม่ถามกันบ้าง ผมไม่ได้เก็บตัวไว้สักคน ส่งดำเนินคดีตามกฎหมายให้ไปสู้คดี เมื่อได้รับประกันก็ปล่อยตัวทุกคน เว้นแต่บางคนที่ต้องสืบสาวราวเรื่อง มีหลักฐานให้มากขึ้น ผมถามว่าอย่างความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผมหรือเจ้าหน้าที่สามารถไปโพสข้อความแทนได้อย่างนั้นหรือ เพราะมีบางคนกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนโพส เจ้าหน้าที่จะไปบ้าทำทำไม" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว