มนุษย์เราทุกคนที่เกิดมาไม่ว่าชนชาติใด จะต้องเกี่ยวข้องกับสองสิ่งตามนัยแห่งจริยศาสตร์ (Ethics) คือ
1. สิ่งที่เราเป็นหรือ What We Are คือสิ่งที่เกิดมาควบคู่กับเรา และเป็นอันหนึ่งอันเกี่ยวกับเรา และอยู่กับเราตลอดไป ไม่ว่าเราอยากเป็นหรือไม่อยากเป็นก็ตามเช่น เชื้อชาติ ซึ่งได้มาจากการเกิดซึ่งพ่อ แม่ เป็นผู้ให้มา เป็นต้น
2. สิ่งที่เรามีหรือ What We Have อันได้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการเกิด แต่เป็นสังคมลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นเรา เช่น ภาษา เสื้อผ้าประจำชนชาตินั้นๆ เป็นต้น
จากสิ่งที่เราเป็นและสิ่งที่เรามีนี้เอง ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีได้เกิดขึ้นและอิงอาศัยกันดำรงอยู่เหมือนลูกฝาแฝด โดยที่ทั้ง 3 สิ่งนี้มีลักษณะและความหมายใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากคำนิยามในพจนานุกรมไทย และอังกฤษดังต่อไปนี้
1. ศิลปะเป็นคำนามหมายถึงฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การทำให้วิจิตรพิสดาร เช่น รูปสลักวีนัส เป็นรูปศิลป์ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่างๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น วิจิตรศิลป์ ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร
2. วัฒนธรรมเป็นคำนามหมายถึงสิ่งที่นำความเจริญงอกงามให้แต่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งงาน วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา
3. ประเพณีเป็นคำนามหมายถึงสิ่งที่นิยมนับถือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี
ที่มา : พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พิมพ์ครั้งที่ 2
ส่วนความหมายของศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีในภาษาอังกฤษจาก Oxford Wordpower Dictionary มีดังนี้
1. ศิลปะ (Art) เป็นคำนามหมายถึงกิจกรรมหรือทักษะในการผลิตสิ่งต่างๆ เช่น การเขียน การออกแบบ เป็นต้น (The Outivity or Still of Producing Paintings of Signs etc)
2. วัฒนธรรม (Culture) เป็นคำนามหมายถึงประเพณี ความคิดเห็น ความเชื่อ เป็นต้น ของสังคม ของประเทศ อันใดอันหนึ่ง โดยเฉพาะ และหมายถึงศิลปะ วรรณคดี ดนตรี เป็นต้น
3. ประเพณี (Custom) เป็นคำนามหมายถึงวิถีแห่งพฤติกรรม ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งหรือสังคมหนึ่งมีมาเป็นเวลานาน
จากคำนิยามทั้งในภาษาอังกฤษ จะเห็นได้ว่าคำ 3 คำคือ ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ก็พอจะแยกออกได้เป็นประเภทดังนี้
1. ศิลปะคือ เครื่องมือซึ่งถูกใช้ในการแสดงออกทางวัฒนธรรม ทั้งที่เกิดจากความเป็นและความมี
2. ประเพณีคือการสืบทอดวัฒนธรรม อันเกิดจากความเป็นและความมีนั้น
3. ตัววัฒนธรรมเองก็คือสิ่งที่คนเป็น และคนมีนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ในเทศกาลสำคัญเช่น เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ไทย จึงเป็นการรวมศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีในคราวเดียวกันในทุกเทศกาล ดังจะเห็นได้ในเทศกาลสงกรานต์เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. ในเทศกาลสงกรานต์ คนไทยจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งตนเองเคารพนับถือ โดยการไปรดน้ำขอพร และการแสดงความเคารพผู้ใหญ่นี้เองคือวัฒนธรรม
2. ในเทศกาลสงกรานต์ จะมีการสืบทอดสิ่งที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติกันมา เช่น ในตอนเช้าตักบาตรทำบุญ เข้าวัดรับศีลฟังธรรม สรงน้ำพระพุทธรูป ตอนบ่ายรดน้ำผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย เล่นน้ำสงกรานต์ รวมไปถึงการละเล่นต่างๆ แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น นี่คือประเพณี
3. ในเทศกาลสงกรานต์ จะมีการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก หมอลำ เป็นต้น แตกต่างกันออกไป และในเทศกาลนี้จะมีการประดิดประดอยเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น นี่คือการแสดงออกทางวัฒนธรรม และประเพณีโดยการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ
ด้วยเหตุที่ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีเกี่ยวเนื่องกัน และเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ ดังนั้น ทุกชนชาติจึงพยายามที่จะอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดถึงอนุชนคนรุ่นหลัง เพื่อให้รู้ว่าตนเองมาจากไหน และมีอะไรเป็นเครื่องอ้างอิง
ดังนั้น คนไทยทุกคนจึงควรอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีไทยไว้เยี่ยงชนชาติที่เจริญแล้วที่กระทำกัน
วันนี้และเวลานี้ประเทศไทยนับได้ว่าโชคดี และเป็นโอกาสดีในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีไทย เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นทั้งผู้นำรัฐบาล และประธาน คสช.ได้มีนโยบายปฏิรูปประเทศในหลายด้าน รวมทั้งด้านศิลปะและวัฒนธรรมด้วย
แต่ในทางปฏิบัติ การปฏิรูปศิลปะและวัฒนธรรมมิได้ง่าย และทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ด้วยเหตุและผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
วัฒนธรรมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมผสมระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่คู่กับชนชาติไทยกับวัฒนธรรมจาก 2 แหล่งคือ
1. วัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งเข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนา เช่น การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ในลักษณะประคองอัญชลีคือพนมมือระหว่างอก แต่เสริมด้วยความเป็นไทย ด้วยการยกขึ้นจดหน้าผากระหว่างคิ้ว และย่อตัวลงเป็นการไหว้เพื่อการทักทายเมื่อพบหน้ากัน
2. วัฒนธรรมจีนเช่น การเซ่นไหว้บรรพบุรุษเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที เป็นต้น และวัฒนธรรมจีนได้เข้ามาผสมกับของไทย ด้วยเหตุ 2 ประการคือ 1. ชนชาติไทย แต่เดิมมีถิ่นฐานอยู่ใกล้ชิดกับชนชาติจีน จึงทำให้วัฒนธรรมหลั่งไหลเข้าหากัน 2. คนจีนได้เข้ามาอาศัยในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การผสมผสานทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น ทั้งจากการแต่งงานระหว่างกัน และการปรับตัวเข้าหากันเพื่อความอยู่รอดทางสังคม
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราต้องการปฏิรูปและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิ่งแรกที่คนไทยต้องทำคือ ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า อะไรคือวัฒนธรรมไทยแท้ อะไรคือวัฒนธรรมผสม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อะไรคือสิ่งปนเปื้อนและทำให้วัฒนธรรมไทยสูญเสียเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จะต้องถูกขจัดออกไปให้เหลือไว้แต่เพียงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของไทย หรืออย่างมากก็เพียงวัฒนธรรมผสมซึ่งกลมกลืนกันเป็นอันหนึ่งหนึ่งอันเดียวกันจนแยกไม่ออก แต่สิ่งปนเปื้อนจะต้องขจัดให้หมดไป
ถ้าทำได้เช่นนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปวัฒนธรรมไทย และเหลือไว้เพียงสิ่งที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกไทยของแท้ๆ ให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับความเป็นไทยในปัจจุบัน
ถ้าทำได้เช่นนี้ จึงจะเรียกได้ว่าการปฏิรูปวัฒนธรรม แต่ถ้าทำแค่จัดงานในทุกเทศกาลเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยไม่กำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไป ดังเช่นปล่อยให้เทศกาลสงกรานต์มีเพียงการเล่นสาดน้ำ เพื่อความสนุกสนานของวัยรุ่น สุดท้ายก็จะไม่เหลือความเป็นไทยให้เห็น จะเห็นก็เพียงวัฒนธรรมไทยที่ปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอมเท่านั้น
1. สิ่งที่เราเป็นหรือ What We Are คือสิ่งที่เกิดมาควบคู่กับเรา และเป็นอันหนึ่งอันเกี่ยวกับเรา และอยู่กับเราตลอดไป ไม่ว่าเราอยากเป็นหรือไม่อยากเป็นก็ตามเช่น เชื้อชาติ ซึ่งได้มาจากการเกิดซึ่งพ่อ แม่ เป็นผู้ให้มา เป็นต้น
2. สิ่งที่เรามีหรือ What We Have อันได้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการเกิด แต่เป็นสังคมลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นเรา เช่น ภาษา เสื้อผ้าประจำชนชาตินั้นๆ เป็นต้น
จากสิ่งที่เราเป็นและสิ่งที่เรามีนี้เอง ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีได้เกิดขึ้นและอิงอาศัยกันดำรงอยู่เหมือนลูกฝาแฝด โดยที่ทั้ง 3 สิ่งนี้มีลักษณะและความหมายใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากคำนิยามในพจนานุกรมไทย และอังกฤษดังต่อไปนี้
1. ศิลปะเป็นคำนามหมายถึงฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การทำให้วิจิตรพิสดาร เช่น รูปสลักวีนัส เป็นรูปศิลป์ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่างๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น วิจิตรศิลป์ ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร
2. วัฒนธรรมเป็นคำนามหมายถึงสิ่งที่นำความเจริญงอกงามให้แต่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งงาน วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา
3. ประเพณีเป็นคำนามหมายถึงสิ่งที่นิยมนับถือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี
ที่มา : พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พิมพ์ครั้งที่ 2
ส่วนความหมายของศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีในภาษาอังกฤษจาก Oxford Wordpower Dictionary มีดังนี้
1. ศิลปะ (Art) เป็นคำนามหมายถึงกิจกรรมหรือทักษะในการผลิตสิ่งต่างๆ เช่น การเขียน การออกแบบ เป็นต้น (The Outivity or Still of Producing Paintings of Signs etc)
2. วัฒนธรรม (Culture) เป็นคำนามหมายถึงประเพณี ความคิดเห็น ความเชื่อ เป็นต้น ของสังคม ของประเทศ อันใดอันหนึ่ง โดยเฉพาะ และหมายถึงศิลปะ วรรณคดี ดนตรี เป็นต้น
3. ประเพณี (Custom) เป็นคำนามหมายถึงวิถีแห่งพฤติกรรม ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งหรือสังคมหนึ่งมีมาเป็นเวลานาน
จากคำนิยามทั้งในภาษาอังกฤษ จะเห็นได้ว่าคำ 3 คำคือ ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ก็พอจะแยกออกได้เป็นประเภทดังนี้
1. ศิลปะคือ เครื่องมือซึ่งถูกใช้ในการแสดงออกทางวัฒนธรรม ทั้งที่เกิดจากความเป็นและความมี
2. ประเพณีคือการสืบทอดวัฒนธรรม อันเกิดจากความเป็นและความมีนั้น
3. ตัววัฒนธรรมเองก็คือสิ่งที่คนเป็น และคนมีนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ในเทศกาลสำคัญเช่น เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ไทย จึงเป็นการรวมศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีในคราวเดียวกันในทุกเทศกาล ดังจะเห็นได้ในเทศกาลสงกรานต์เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. ในเทศกาลสงกรานต์ คนไทยจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งตนเองเคารพนับถือ โดยการไปรดน้ำขอพร และการแสดงความเคารพผู้ใหญ่นี้เองคือวัฒนธรรม
2. ในเทศกาลสงกรานต์ จะมีการสืบทอดสิ่งที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติกันมา เช่น ในตอนเช้าตักบาตรทำบุญ เข้าวัดรับศีลฟังธรรม สรงน้ำพระพุทธรูป ตอนบ่ายรดน้ำผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย เล่นน้ำสงกรานต์ รวมไปถึงการละเล่นต่างๆ แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น นี่คือประเพณี
3. ในเทศกาลสงกรานต์ จะมีการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก หมอลำ เป็นต้น แตกต่างกันออกไป และในเทศกาลนี้จะมีการประดิดประดอยเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น นี่คือการแสดงออกทางวัฒนธรรม และประเพณีโดยการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ
ด้วยเหตุที่ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีเกี่ยวเนื่องกัน และเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ ดังนั้น ทุกชนชาติจึงพยายามที่จะอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดถึงอนุชนคนรุ่นหลัง เพื่อให้รู้ว่าตนเองมาจากไหน และมีอะไรเป็นเครื่องอ้างอิง
ดังนั้น คนไทยทุกคนจึงควรอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีไทยไว้เยี่ยงชนชาติที่เจริญแล้วที่กระทำกัน
วันนี้และเวลานี้ประเทศไทยนับได้ว่าโชคดี และเป็นโอกาสดีในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีไทย เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นทั้งผู้นำรัฐบาล และประธาน คสช.ได้มีนโยบายปฏิรูปประเทศในหลายด้าน รวมทั้งด้านศิลปะและวัฒนธรรมด้วย
แต่ในทางปฏิบัติ การปฏิรูปศิลปะและวัฒนธรรมมิได้ง่าย และทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ด้วยเหตุและผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
วัฒนธรรมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมผสมระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่คู่กับชนชาติไทยกับวัฒนธรรมจาก 2 แหล่งคือ
1. วัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งเข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนา เช่น การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ในลักษณะประคองอัญชลีคือพนมมือระหว่างอก แต่เสริมด้วยความเป็นไทย ด้วยการยกขึ้นจดหน้าผากระหว่างคิ้ว และย่อตัวลงเป็นการไหว้เพื่อการทักทายเมื่อพบหน้ากัน
2. วัฒนธรรมจีนเช่น การเซ่นไหว้บรรพบุรุษเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที เป็นต้น และวัฒนธรรมจีนได้เข้ามาผสมกับของไทย ด้วยเหตุ 2 ประการคือ 1. ชนชาติไทย แต่เดิมมีถิ่นฐานอยู่ใกล้ชิดกับชนชาติจีน จึงทำให้วัฒนธรรมหลั่งไหลเข้าหากัน 2. คนจีนได้เข้ามาอาศัยในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การผสมผสานทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น ทั้งจากการแต่งงานระหว่างกัน และการปรับตัวเข้าหากันเพื่อความอยู่รอดทางสังคม
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราต้องการปฏิรูปและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิ่งแรกที่คนไทยต้องทำคือ ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า อะไรคือวัฒนธรรมไทยแท้ อะไรคือวัฒนธรรมผสม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อะไรคือสิ่งปนเปื้อนและทำให้วัฒนธรรมไทยสูญเสียเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จะต้องถูกขจัดออกไปให้เหลือไว้แต่เพียงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของไทย หรืออย่างมากก็เพียงวัฒนธรรมผสมซึ่งกลมกลืนกันเป็นอันหนึ่งหนึ่งอันเดียวกันจนแยกไม่ออก แต่สิ่งปนเปื้อนจะต้องขจัดให้หมดไป
ถ้าทำได้เช่นนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปวัฒนธรรมไทย และเหลือไว้เพียงสิ่งที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกไทยของแท้ๆ ให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับความเป็นไทยในปัจจุบัน
ถ้าทำได้เช่นนี้ จึงจะเรียกได้ว่าการปฏิรูปวัฒนธรรม แต่ถ้าทำแค่จัดงานในทุกเทศกาลเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยไม่กำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไป ดังเช่นปล่อยให้เทศกาลสงกรานต์มีเพียงการเล่นสาดน้ำ เพื่อความสนุกสนานของวัยรุ่น สุดท้ายก็จะไม่เหลือความเป็นไทยให้เห็น จะเห็นก็เพียงวัฒนธรรมไทยที่ปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอมเท่านั้น