วานนี้ (11พ.ค.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าวถึง ข้อเสนอให้ใช้มาตรการรอการกำหนดโทษ เพื่อสร้างความปรองดองว่า แนวคิดดังกล่าวต้องการจะแก้ปัญหาในเรื่องที่เป็นคดีความ และความขัดแย้งทางการเมือง เพราะเรื่องออกกม.นิรโทษกรรมก่อนหน้านี้ มีคนไม่เห็นด้วยมาก ตนจึงเสนอให้ใช้กระบวนการทางกฎหมายมาแก้ปัญหา แต่ไปกระทบฝ่ายการเมืองส่วนมากอีก
"วันนี้ที่มีการคัดค้านเยอะ เขาอาจไม่เห็นด้วย แต่ถ้าวันหน้าเขาติดคุกกันหมด คงจะนึกถึงผม วันนี้ผมต้องอธิบายต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม เรื่องนี้ปรึกษาหลายฝ่าย แต่ถ้ามีคนไม่เห็นด้วยในทุกเรื่อง ก็อาจจะยุติได้"
นายเสรี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้เป็นเพียงแนวทางเริ่มต้นหาช่องทางทางกฎหมาย โดยไม่ขัดความรู้สึกประชาชน ใครที่ถูกดำเนินคดีแล้ว คิดว่าผิดจริง รับสารภาพในการกระทำ ก็ปล่อยตัวกลับบ้านไป แต่ในส่วนของแกนนำ หรือผู้ที่ถูกดำเนินคดี คิดว่าตัวเองถูก ก็สู้คดีไป แต่ตอนนี้เมื่อตนเสนอความเห็น กลับเอาเรื่องอื่น เช่น เจ้าหน้าที่กระทำผิด และเรื่องนิรโทษกรรมมาผูกโยง จนทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และเมื่อประชาชนไม่เข้าใจจึงเกิดกระแสต้านขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นแนวทางของผู้ที่ไม่เห็นด้วย
ส่วนที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระบุว่า แนวทางนี้จะทำให้เกิดความวุ่นวายมากกว่าความปรองดองนั้น ตอนแรกเราตั้งใจให้คดียุติ ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เงื่อนไขต่างๆ ที่แรงไป สามารถลดลงได้ แต่ถ้ามีการแสดงความคิดเห็นแบบรับกันไม่ได้เลย ทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจว่าจะเกิดความวุ่นวายแตกแยกมากขึ้น เราอาจลดแนวทาง หรือปรับแก้วิธีการทำงาน แต่ฝ่ายการเมืองเองต้องเห็นใจประชาชนที่เดือดร้อน ที่ต้องเดินทางมาศาลแล้วไม่มีค่ารถ ไม่มีที่พัก ไม่มีค่าอาหาร ในขณะที่ฝ่ายการเมืองที่มีคดี เขาก็มีสิทธิ์ต่อสู้อยู่แล้ว จึงอยากให้แกนนำลดทิฐิของตัวเอง แล้วดูแนวทางแก้ปัญหาให้ประชาชนมาก่อน ส่วนฝ่ายการเมืองที่สามัคคีกัน ออกมาคัดค้านนั้น ถือเป็นเพียงการแสดงออกทางการเมือง
เมื่อถามว่า การที่หลายฝ่ายออกมาคัดค้าน มีความเป็นไปได้ที่จะเชิญมาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า เจตนาเราต้องการทำอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เมื่อข้อเสนอออกมายังไม่ทันเดินหน้าก็มีเสียงคัดค้านจึงไม่สามารถทำอะไรได้ในตอนนี้ ส่วนที่มีบางฝ่ายเสนอให้ใช้แนวทางของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานนั้น ในกมธ.ชุดของตน ได้นำรายงานที่เคยเสนอเรื่องการปรองดองจากชุดต่างๆ มาพิจารณาถึง 9 ชุด รวมถึงของนายเอนกด้วย
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายเสรียังไม่มีการประสานมาเพื่อหารือในเรื่องนี้ แต่เราไม่ขัดข้อง และยินดีพูดคุย อย่างไรก็ตาม ตนไม่มีความเห็น กรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าว เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บางฝ่าย
"หากข้อเสนอของนายเสรีไม่มีผลลบ ในวันนี้คนคงไม่ด่ากัน กฎหมายจะต้องทำให้ถูกวิธี เข้าสภาอย่างถูกต้อง ต้องดูจังหวะเวลาและโอกาส ที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะมีคำถามว่า ทำไมตั้งนานไม่ทำ มาทำอะไรตอนนี้ จะหนีไม่พ้นคำถามว่า รับออเดอร์มา และต้องคำนึงถึงความรู้สึกประชาชน เพราะความผิดตามกฎหมายจะต้องรับโทษ แต่อยู่ๆ มาบอกว่าไม่ต้องรับโทษ หรือให้รอ ซึ่งจะต้องตอบคำถามว่า มีอะไรเกิดขึ้น แล้วสังคมยอมรับได้หรือไม่ นี่คือเหตุผลที่จะลงโทษหรือไม่ จะต้องแคร์สังคมด้วย เพราะจะต้องดูว่า ความผิดใดอยู่ในความสนใจของคน หากขัดความรู้สึกของประชาชน จะกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหม่ เหมือนที่ รองนายกฯ พูดเอาไว้ ไม่อย่างนั้นความขัดแย้งครั้งเก่ายังไม่คลี่คลาย ความขัดแย้งครั้งใหม่จะเข้ามา อย่างไรก็ตาม ผมตอบไม่ได้ว่า ข้อเสนอดังกล่าว จะแท้งหรือไม่ " นายวิษณุ กล่าว
"วันนี้ที่มีการคัดค้านเยอะ เขาอาจไม่เห็นด้วย แต่ถ้าวันหน้าเขาติดคุกกันหมด คงจะนึกถึงผม วันนี้ผมต้องอธิบายต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม เรื่องนี้ปรึกษาหลายฝ่าย แต่ถ้ามีคนไม่เห็นด้วยในทุกเรื่อง ก็อาจจะยุติได้"
นายเสรี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้เป็นเพียงแนวทางเริ่มต้นหาช่องทางทางกฎหมาย โดยไม่ขัดความรู้สึกประชาชน ใครที่ถูกดำเนินคดีแล้ว คิดว่าผิดจริง รับสารภาพในการกระทำ ก็ปล่อยตัวกลับบ้านไป แต่ในส่วนของแกนนำ หรือผู้ที่ถูกดำเนินคดี คิดว่าตัวเองถูก ก็สู้คดีไป แต่ตอนนี้เมื่อตนเสนอความเห็น กลับเอาเรื่องอื่น เช่น เจ้าหน้าที่กระทำผิด และเรื่องนิรโทษกรรมมาผูกโยง จนทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และเมื่อประชาชนไม่เข้าใจจึงเกิดกระแสต้านขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นแนวทางของผู้ที่ไม่เห็นด้วย
ส่วนที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระบุว่า แนวทางนี้จะทำให้เกิดความวุ่นวายมากกว่าความปรองดองนั้น ตอนแรกเราตั้งใจให้คดียุติ ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เงื่อนไขต่างๆ ที่แรงไป สามารถลดลงได้ แต่ถ้ามีการแสดงความคิดเห็นแบบรับกันไม่ได้เลย ทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจว่าจะเกิดความวุ่นวายแตกแยกมากขึ้น เราอาจลดแนวทาง หรือปรับแก้วิธีการทำงาน แต่ฝ่ายการเมืองเองต้องเห็นใจประชาชนที่เดือดร้อน ที่ต้องเดินทางมาศาลแล้วไม่มีค่ารถ ไม่มีที่พัก ไม่มีค่าอาหาร ในขณะที่ฝ่ายการเมืองที่มีคดี เขาก็มีสิทธิ์ต่อสู้อยู่แล้ว จึงอยากให้แกนนำลดทิฐิของตัวเอง แล้วดูแนวทางแก้ปัญหาให้ประชาชนมาก่อน ส่วนฝ่ายการเมืองที่สามัคคีกัน ออกมาคัดค้านนั้น ถือเป็นเพียงการแสดงออกทางการเมือง
เมื่อถามว่า การที่หลายฝ่ายออกมาคัดค้าน มีความเป็นไปได้ที่จะเชิญมาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า เจตนาเราต้องการทำอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เมื่อข้อเสนอออกมายังไม่ทันเดินหน้าก็มีเสียงคัดค้านจึงไม่สามารถทำอะไรได้ในตอนนี้ ส่วนที่มีบางฝ่ายเสนอให้ใช้แนวทางของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานนั้น ในกมธ.ชุดของตน ได้นำรายงานที่เคยเสนอเรื่องการปรองดองจากชุดต่างๆ มาพิจารณาถึง 9 ชุด รวมถึงของนายเอนกด้วย
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายเสรียังไม่มีการประสานมาเพื่อหารือในเรื่องนี้ แต่เราไม่ขัดข้อง และยินดีพูดคุย อย่างไรก็ตาม ตนไม่มีความเห็น กรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าว เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บางฝ่าย
"หากข้อเสนอของนายเสรีไม่มีผลลบ ในวันนี้คนคงไม่ด่ากัน กฎหมายจะต้องทำให้ถูกวิธี เข้าสภาอย่างถูกต้อง ต้องดูจังหวะเวลาและโอกาส ที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะมีคำถามว่า ทำไมตั้งนานไม่ทำ มาทำอะไรตอนนี้ จะหนีไม่พ้นคำถามว่า รับออเดอร์มา และต้องคำนึงถึงความรู้สึกประชาชน เพราะความผิดตามกฎหมายจะต้องรับโทษ แต่อยู่ๆ มาบอกว่าไม่ต้องรับโทษ หรือให้รอ ซึ่งจะต้องตอบคำถามว่า มีอะไรเกิดขึ้น แล้วสังคมยอมรับได้หรือไม่ นี่คือเหตุผลที่จะลงโทษหรือไม่ จะต้องแคร์สังคมด้วย เพราะจะต้องดูว่า ความผิดใดอยู่ในความสนใจของคน หากขัดความรู้สึกของประชาชน จะกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหม่ เหมือนที่ รองนายกฯ พูดเอาไว้ ไม่อย่างนั้นความขัดแย้งครั้งเก่ายังไม่คลี่คลาย ความขัดแย้งครั้งใหม่จะเข้ามา อย่างไรก็ตาม ผมตอบไม่ได้ว่า ข้อเสนอดังกล่าว จะแท้งหรือไม่ " นายวิษณุ กล่าว