ผู้จัดการรายวัน360-"SME ผู้จัดการ" จัดสัมมนา “ทายาทธุรกิจพิชิต AEC” สสว.ชี้เปิด AEC ช่วยเพิ่มยอดค้าขายของ SMEs โตเกือบเท่าตัว แนะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น "พาณิชย์"บอกเคล็ดลับบุก CLMV ต้องมองเพื่อนบ้านเหมือนเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย และค้าขายกันแบบเพื่อน โชว์โครงการ YEN-D ตอบโจทย์ “เกษมสันต์” มั่นใจสินค้าไทยสดใส เพื่อนบ้านชื่นชอบ ย้ำต้องทำธุรกิจแบบตรงไปตรงมา
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยภายในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 2 “ทายาทธุรกิจพิชิต AEC” จัดโดย “SME ผู้จัดการ” วานนี้ (11 พ.ค.) ว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ขายสินค้าได้มากขึ้น โดยจากสถิติหลังเปิดAEC ยอดขายในกลุ่มของ SMEs เพิ่มขึ้นจาก 45,000 ล้านบาท เป็น 86,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงขาลง SMEs ควรเริ่มทำตลาดในอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งสินค้าที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี คือ กลุ่มร้านอาหาร สปา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และความงาม โดยหัวใจสำคัญในการบุกเจาะตลาด จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำโครงการ YEN-D (Young Entrepreneur Network Development Program) โดยนำผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการที่เป็นคนรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 45 ปี จากไทยและเพื่อนบ้าน CLMV มาพบปะและอบรมร่วมกัน โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำรุ่นที่ 2 ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในส่วนของกลุ่มไทย-กัมพูชาแล้ว จากนั้นจะเป็นกลุ่มไทย-สปป.ลาว-เมียนมา และเวียดนามต่อไป โดยมั่นใจว่าจะช่วยให้เกิดการตกลงทำธุรกิจ และการค้าขายระหว่างกันได้เพิ่มขึ้น เพราะผลจากรุ่นแรกที่ได้อบรมกันไปเมื่อปีที่แล้ว จนถึงขณะนี้มีการซื้อขายกันแล้วไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท
สำหรับข้อแนะนำผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการเข้าไปทำตลาดอาเซียน ปัจจุบันนี้ กระทรวงพาณิชย์มีศูนย์ให้คำปรึกษา AEC เกือบทุกประเทศ ยกเว้นบรูไน ซึ่งศูนย์แห่งนี้เปิดอยู่ที่สถานทูตแต่ละประเทศ และยังมีที่ปรึกษา คอยให้การช่วยเหลือ สำหรับSMEs หน้าใหม่ที่สนใจเปิดตลาด AEC โดยอยากให้มองประเทศเพื่อนบ้านเสมือนเป็นจังหวัดๆ หนึ่งของประเทศไทย จะได้กล้าที่จะเข้าไปลุยอาเซียนแบบไม่ต้องกังวล
นายเกษมสันต์ วีระกุล นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญอาเซียน เจ้าของฉายา “มิสเตอร์ AEC” กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยถือว่า เป็นคนป่วยที่ต้องการรักษา เพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ส่งออกไม่ได้ แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ยอดส่งออกไม่ได้ลดลง จีดีพีแต่ละประเทศ เติบโตไม่ต่ำกว่า 6-7% ในขณะที่จีดีพีไทยโตเพียง 3% จึงเป็นตลาดที่มีโอกาสสำหรับไทย โดยเฉพาะตลาดCLMV เพราะมีความชื่นชอบและรักทุกอย่างที่เป็นประเทศไทย การทำธุรกิจค้าขายกับประเทศเหล่านี้ ต้องเริ่มรักเขาก่อน และเริ่มเรียนรู้เขาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาษา เพราะไทยมีสินค้าที่เพื่อนบ้านชื่นชอบอยู่แล้ว หัวใจจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้เขาซื้อสินค้าของเรา และสร้างความเชื่อใจ ทำธุรกิจตรงไปตรงมา ไม่ต้องกังวลว่าถูกโกง
ส่วนตลาดอาเซียนอื่น เช่น มาเลเซีย มีความน่าสนใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพราะกำลังจะยกระดับประเทศตัวเองเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าฮาลาลใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น การไปจับมือเพื่อผลิตสินค้าฮาลาล จะช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยโตคู่กับมาเลเซียได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานในครั้งนี้ ยังมีการสัมมนาจากนักธุรกิจรุ่นใหม่ชื่อดังมาถ่ายทอดประสบการณ์ทำตลาดในอาเซียน ได้แก่ นายศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ เจ้าของแฟรนไชส์ “ตำมั่ว” แฟรนไชส์ไทยแซ่บในตลาดเพื่อนบ้าน นายเมธา สิมะวรา ทายาทธุรกิจยาสมุนไพร "ตะขาบ 5 ตัว" และนายพีรวัส เจนตระกูลโรจน์ ทายาทธุรกิจ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” ด้วย
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยภายในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 2 “ทายาทธุรกิจพิชิต AEC” จัดโดย “SME ผู้จัดการ” วานนี้ (11 พ.ค.) ว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ขายสินค้าได้มากขึ้น โดยจากสถิติหลังเปิดAEC ยอดขายในกลุ่มของ SMEs เพิ่มขึ้นจาก 45,000 ล้านบาท เป็น 86,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงขาลง SMEs ควรเริ่มทำตลาดในอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งสินค้าที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี คือ กลุ่มร้านอาหาร สปา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และความงาม โดยหัวใจสำคัญในการบุกเจาะตลาด จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำโครงการ YEN-D (Young Entrepreneur Network Development Program) โดยนำผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการที่เป็นคนรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 45 ปี จากไทยและเพื่อนบ้าน CLMV มาพบปะและอบรมร่วมกัน โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำรุ่นที่ 2 ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในส่วนของกลุ่มไทย-กัมพูชาแล้ว จากนั้นจะเป็นกลุ่มไทย-สปป.ลาว-เมียนมา และเวียดนามต่อไป โดยมั่นใจว่าจะช่วยให้เกิดการตกลงทำธุรกิจ และการค้าขายระหว่างกันได้เพิ่มขึ้น เพราะผลจากรุ่นแรกที่ได้อบรมกันไปเมื่อปีที่แล้ว จนถึงขณะนี้มีการซื้อขายกันแล้วไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท
สำหรับข้อแนะนำผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการเข้าไปทำตลาดอาเซียน ปัจจุบันนี้ กระทรวงพาณิชย์มีศูนย์ให้คำปรึกษา AEC เกือบทุกประเทศ ยกเว้นบรูไน ซึ่งศูนย์แห่งนี้เปิดอยู่ที่สถานทูตแต่ละประเทศ และยังมีที่ปรึกษา คอยให้การช่วยเหลือ สำหรับSMEs หน้าใหม่ที่สนใจเปิดตลาด AEC โดยอยากให้มองประเทศเพื่อนบ้านเสมือนเป็นจังหวัดๆ หนึ่งของประเทศไทย จะได้กล้าที่จะเข้าไปลุยอาเซียนแบบไม่ต้องกังวล
นายเกษมสันต์ วีระกุล นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญอาเซียน เจ้าของฉายา “มิสเตอร์ AEC” กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยถือว่า เป็นคนป่วยที่ต้องการรักษา เพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ส่งออกไม่ได้ แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ยอดส่งออกไม่ได้ลดลง จีดีพีแต่ละประเทศ เติบโตไม่ต่ำกว่า 6-7% ในขณะที่จีดีพีไทยโตเพียง 3% จึงเป็นตลาดที่มีโอกาสสำหรับไทย โดยเฉพาะตลาดCLMV เพราะมีความชื่นชอบและรักทุกอย่างที่เป็นประเทศไทย การทำธุรกิจค้าขายกับประเทศเหล่านี้ ต้องเริ่มรักเขาก่อน และเริ่มเรียนรู้เขาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาษา เพราะไทยมีสินค้าที่เพื่อนบ้านชื่นชอบอยู่แล้ว หัวใจจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้เขาซื้อสินค้าของเรา และสร้างความเชื่อใจ ทำธุรกิจตรงไปตรงมา ไม่ต้องกังวลว่าถูกโกง
ส่วนตลาดอาเซียนอื่น เช่น มาเลเซีย มีความน่าสนใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพราะกำลังจะยกระดับประเทศตัวเองเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าฮาลาลใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น การไปจับมือเพื่อผลิตสินค้าฮาลาล จะช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยโตคู่กับมาเลเซียได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานในครั้งนี้ ยังมีการสัมมนาจากนักธุรกิจรุ่นใหม่ชื่อดังมาถ่ายทอดประสบการณ์ทำตลาดในอาเซียน ได้แก่ นายศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ เจ้าของแฟรนไชส์ “ตำมั่ว” แฟรนไชส์ไทยแซ่บในตลาดเพื่อนบ้าน นายเมธา สิมะวรา ทายาทธุรกิจยาสมุนไพร "ตะขาบ 5 ตัว" และนายพีรวัส เจนตระกูลโรจน์ ทายาทธุรกิจ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” ด้วย