ผู้จัดการรายวัน 360 - รัฐสั่งยุติการให้ประทานบัตรและต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ แก้ปัญหาความแตกแยกของชุมชนหลังมีการรับร้องเรียนได้ผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำ โดยให้เวลา"อัครา รีซอร์สเซส""ถึงสิ้นปีนี้ก่อนปิดเหมือง "บิ๊กตู่" ลั่นสิ้นปีนี้ไม่มีการทำเหมืองแร่ทองคำในไทยอีกต่อไป อัคราฯทบทวนแผน 3 หมื่นล.สะดุด ยังไม่สรุปยื่นฟ้องศาลปกครองหรือไม่
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้ (10 พ.ค.)ว่า ตามที่ประชาชนได้มีการร้องเรียนได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บริเวณรอยต่อของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลกและเพชรบูรณ์นั้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมีมติร่วมกันให้ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ และประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำของต่ออายุประทานบัตรด้วย
ส่วนกรณีของบริษัท อัคราฯเห็นควรให้ต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 13 พ.ค.2559 ออกไปจนถึงแค่สิ้นปี 2559 เพื่อให้สามารถนำแร่ที่เหลืออยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน หลังจากนั้นให้เร่งดำเนินการปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต
รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประชาชนและบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสุดการทำเหมืองแร่และโลหกรรมของบริษัทอัคราฯ ดังนี้ คือ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กำกับดูแลการปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่ , กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และกระทรวงแรงงานดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดเหมือง
นางอรรชกา กล่าวว่า มติที่ประชุมดังกล่าว สืบเนื่องจากรัฐมนตรีทั้ง 4 กระทรวง รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งกลุ่มผู้คัดค้านและผู้สนับสนุน โดยนำข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆพิจารณา แม้ว่าจะยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาข้อร้องเรียนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำของอัคราฯ หรือไม่ แต่เพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชนเป็นส่วนรวม และแก้ไขปัญหาความแตกแยกของประชาชนในชุมชน รวมทั้งมีคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำไว้เมื่อเดือนก.ค.และส.ค.2557 ว่าการดำเนินการจะต้องโปร่งใส ไม่สร้างมลพิษประชาชน ไม่ต่อต้านและยังไม่อนุมัติ จึงให้ยุติประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศดังกล่าวข้างต้น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้พิจารณาต่อใบอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ โดยได้สั่งการไปว่าภายในสิ้นปีนี้ไม่มีการทำเหมืองแร่ทองอีกต่อไป ผลประโยชน์ที่ผ่านมาก็ต้องดูว่า มีการส่งค่าภาคหลวงเท่าไหร่ เกิดการจ้างงานมากน้อยแค่ไหน ที่ผ่านมาพอเพียงหรือยัง กับผลเสียที่เกิดขึ้นมาทั้งเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องสารหนัก ซึ่งระหว่างนี้ต้องหางานให้คนงานอีกเป็นพันคน
น.ส.สมลักษณ์ หุตานุวัตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของ อัครา รีซอร์สเซส เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้แก้ปัญหาภัยแล้งของประชาชน ด้วยทรัพยากรน้ำจากอ่างเก็บน้ำใต้ดิน ในบริเวณพื้นที่ด้านเหนือ ของพื้นที่โครงการเหมืองทองคำ บริษัทอัคราฯ จังหวัดพิจิตร และหยุดเหมืองทองคำในประเทศไทย
ด้านนายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่อนข้างผิดหวังจากมติที่ออกมา เพราะการยุติการให้อาญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ ประทานบัตรแร่ทองคำและการต่ออายุประทานบัตรฯ ทำให้ประเทศชาติเสียหายในการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม และเสียโอกาสของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะไทยจะไม่มีการทำเหมืองทองคำอีกต่อไป
ในแง่ของอัคราฯคงต้องกลับมาทบทวนแผนการดำเนินงานใหม่หมดและภาระหนี้สินที่จะต้องสะสางหากต้องยุติการทำเหมือง จากเดิมมีแผนลงทุนเพิ่มเติม 30,000 ล้านบาทเพื่อผลิตสินแร่ทองคำรองรับการผลิตอีก 7 ปีหากได้รับการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ที่สิ้นสุดไปแล้วเมื่อปี 2555 และต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่จะสิ้นสุดลง 13 พ.ค.นี้
ส่วนจะมีการยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่นั้น ต้องขอไปปรึกษาฝ่ายบริหารบริษัทก่อน หลังรัฐต่ออายุในอนุญาตประกอบกิจการโลหกรรมออกไปจนถึงสิ้นปีนี้เท่านั้น ซึ่งผิดคาดจากเดิมที่คาดว่าจะได้รับการต่ออายุใบอนุญาตฯออกไปอีก 5 ปี และการปิดเหมืองแร่ทองคำนี้จะกระทบพนักงานบริษัทและบริษัทที่เกี่ยวข้องประมาณ 4,000 คน
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้ (10 พ.ค.)ว่า ตามที่ประชาชนได้มีการร้องเรียนได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บริเวณรอยต่อของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลกและเพชรบูรณ์นั้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมีมติร่วมกันให้ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ และประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำของต่ออายุประทานบัตรด้วย
ส่วนกรณีของบริษัท อัคราฯเห็นควรให้ต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 13 พ.ค.2559 ออกไปจนถึงแค่สิ้นปี 2559 เพื่อให้สามารถนำแร่ที่เหลืออยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน หลังจากนั้นให้เร่งดำเนินการปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต
รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประชาชนและบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสุดการทำเหมืองแร่และโลหกรรมของบริษัทอัคราฯ ดังนี้ คือ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กำกับดูแลการปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่ , กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และกระทรวงแรงงานดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดเหมือง
นางอรรชกา กล่าวว่า มติที่ประชุมดังกล่าว สืบเนื่องจากรัฐมนตรีทั้ง 4 กระทรวง รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งกลุ่มผู้คัดค้านและผู้สนับสนุน โดยนำข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆพิจารณา แม้ว่าจะยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาข้อร้องเรียนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำของอัคราฯ หรือไม่ แต่เพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชนเป็นส่วนรวม และแก้ไขปัญหาความแตกแยกของประชาชนในชุมชน รวมทั้งมีคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำไว้เมื่อเดือนก.ค.และส.ค.2557 ว่าการดำเนินการจะต้องโปร่งใส ไม่สร้างมลพิษประชาชน ไม่ต่อต้านและยังไม่อนุมัติ จึงให้ยุติประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศดังกล่าวข้างต้น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้พิจารณาต่อใบอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ โดยได้สั่งการไปว่าภายในสิ้นปีนี้ไม่มีการทำเหมืองแร่ทองอีกต่อไป ผลประโยชน์ที่ผ่านมาก็ต้องดูว่า มีการส่งค่าภาคหลวงเท่าไหร่ เกิดการจ้างงานมากน้อยแค่ไหน ที่ผ่านมาพอเพียงหรือยัง กับผลเสียที่เกิดขึ้นมาทั้งเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องสารหนัก ซึ่งระหว่างนี้ต้องหางานให้คนงานอีกเป็นพันคน
น.ส.สมลักษณ์ หุตานุวัตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของ อัครา รีซอร์สเซส เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้แก้ปัญหาภัยแล้งของประชาชน ด้วยทรัพยากรน้ำจากอ่างเก็บน้ำใต้ดิน ในบริเวณพื้นที่ด้านเหนือ ของพื้นที่โครงการเหมืองทองคำ บริษัทอัคราฯ จังหวัดพิจิตร และหยุดเหมืองทองคำในประเทศไทย
ด้านนายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่อนข้างผิดหวังจากมติที่ออกมา เพราะการยุติการให้อาญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ ประทานบัตรแร่ทองคำและการต่ออายุประทานบัตรฯ ทำให้ประเทศชาติเสียหายในการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม และเสียโอกาสของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะไทยจะไม่มีการทำเหมืองทองคำอีกต่อไป
ในแง่ของอัคราฯคงต้องกลับมาทบทวนแผนการดำเนินงานใหม่หมดและภาระหนี้สินที่จะต้องสะสางหากต้องยุติการทำเหมือง จากเดิมมีแผนลงทุนเพิ่มเติม 30,000 ล้านบาทเพื่อผลิตสินแร่ทองคำรองรับการผลิตอีก 7 ปีหากได้รับการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ที่สิ้นสุดไปแล้วเมื่อปี 2555 และต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่จะสิ้นสุดลง 13 พ.ค.นี้
ส่วนจะมีการยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่นั้น ต้องขอไปปรึกษาฝ่ายบริหารบริษัทก่อน หลังรัฐต่ออายุในอนุญาตประกอบกิจการโลหกรรมออกไปจนถึงสิ้นปีนี้เท่านั้น ซึ่งผิดคาดจากเดิมที่คาดว่าจะได้รับการต่ออายุใบอนุญาตฯออกไปอีก 5 ปี และการปิดเหมืองแร่ทองคำนี้จะกระทบพนักงานบริษัทและบริษัทที่เกี่ยวข้องประมาณ 4,000 คน