ยุทธการ“นครปฐมร่มเย็น”นำโดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.ฝ่ายความมั่นคง น่าจะเป็นฉากส่งท้ายกับ คำสั่งปราบปรามผู้มีอิทธิพลทั่วประเทศ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนพ.ย.58 และการจู่โจมรังใหญ่พร้อมกัน 12 จุดทั่ว จ.นครปฐม อันเป็นปฏิบัติการซ้ำ หลังจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเคยเข้าตรวจค้นต่างกรรมต่างวาระมาหลายต่อหลายครั้ง ก็มั่นใจได้เลยว่าแหล่งอิทธิพลใหญ่สุดและทางการให้ความสำคัญสูงสุด ก็คือเมืองพระเจดีย์เสียดฟ้าแห่งนี้นั่นเอง
29 พ.ค.58 กำลังตำรวจกองปราบปราม นำโดย พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผบช.ก. กระจายเข้าตรวจค้นบ้านผู้มีอิทธิพล จ.นครปฐม รวม 13 จุด แน่นอนว่ามีทั้ง“บ้านใหญ่สะสมทรัพย์”และสมุนบริวารว่านเครือ แต่กระสุนมาตกยังบ้านหลังที่ 12 และ 13 ในพื้นที่ อ.สามพราน และ อ.ดอนตูม ซึ่งเป็นคฤหาสถ์หลังงามของ“เหลียงภาค 7”หรือเหลียงตู้ม้า สุดแต่ความคุ้นเคย ผลการตรวจค้นในครานั้นไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆ แต่ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ติดตามข่าวปราบปรามผู้มีอิทธิพลก็คือ ภายในบ้านพักของ นายชัยพร เลขที่ 79 หมู่ 5 อ.ดอนตูม จ.นครปฐม นั้น ห่างไปไม่ไกลนักมีสวนสัตว์ส่วนตัว ในพื้นที่กว่า 20 ไร่ ภายในมีบรรดาสัตว์ป่าต่างๆ จำนวนมาก แต่ที่เป็นไฮไลน์ก็คือ เสือโคร่งและเสือดาว รวม 80 ตัว เป็นเสือโคร่ง 71 และเสือดาว 9 กองปราบปรามจึงประสานไปยังสำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ 3 บ้านโป่ง จ.ราชบุรี อันเป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มาตรวจสอบ ผลคือสัตว์ทุกตัวมีทะเบียนขออนุญาตถูกต้อง เว้นแต่จำนวนเสือโคร่ง เสือดาว ที่มีเพิ่มขึ้นอันเกิดจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ จึงลงบันทึกตักเตือนให้แจ้งขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย
สรุปว่า การยกทัพของกองปราบฯในครั้งนั้น ไม่สามารถล็อกบรรดา “ขาใหญ่” แห่งเมืองนครปฐมได้ เพราะอาวุธปืนต่างๆ ที่ค้นเจอนั้น ส่วนใหญ่เป็นปืนมีทะเบียน ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย จึงสามารถทำได้แค่อายัดไว้ตรวจสอบ นอกจากนั้น ในการแจ้งข้อหาดำเนินคดีใดๆ ก็ตามบรรดาเครือข่ายเจ้าพ่อนครปฐม สามารถใช้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานทั่วไป สามารถยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวได้ ปฏิบัติการบุกรังเจ้าพ่อภาคกลาง จึงเปรียบเสมือนละครบู๊-แอ๊คชั่น หลังข่าวที่ชาวบ้านคุ้นชิน
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่เข้าเป้าในเชิงปราบปราม แต่มีผลทางจิตวิทยา กล่าวคือ ชาวบ้านและประชาชนทั่วไปรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดแห่งนี้เป็นเมืองอิทธิพล ที่ผ่านๆ มามักปรากฏข่าวอาชญากรรมรุนแรง เสมอๆ
3 พ.ค.59 ผ่านไป 1 ปี หลังจากกองปราบปราม นำร่องนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลของคสช.ไปดอกหนึ่งแล้ว ชุดปฏิบัติการของพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง ก็เปิดยุทธการ“นครปฐมร่มเย็น”บุกค้นบ้านเป้าหมายพร้อมกัน 12 จุด ซึ่งแน่นอนว่าบ้านหลักไม่พ้น“บ้านใหญ่นครปฐม”ประกอบด้วย บ้านพักคนในตระกูลสะสมทรัพย์ สามารถยึดปืน (มีทะเบียน) ไปได้จำนวนมาก ขณะเดียวกันบ้านของ เสี่ยเหลียงภาค 7 พร้อมสวนสัตว์ส่วนตัว ก็โดนตรวจค้นด้วย และในเที่ยวนี้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิดอะไรกับเครือข่ายผู้ยิ่งใหญ่ได้ มีเพียงการตรวจพบจำนวนเสือโคร่งเพิ่มมากขึ้น เป็น 120 ตัว ซึ่งนายชัยพร ชี้แจงว่า ตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังถูกจู่โจมไปในรอบแรกนั้น จำนวนเสือได้ออกลูกออกหลานมาตามธรรมชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างทยอยแจ้งจดทะเบียนอยู่
**ปฏิบัติการ"นครปฐมร่มเย็น" จึงเป็นฉากแอ๊คชั่นเก่าๆ อีกฉากหนึ่ง แต่เปลี่ยนตัวพระเอก จากระดับกองบัญชาการ มาเป็นระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม จากการจู่โจมบุกรังเจ้าพ่อนครปฐมอย่างถี่ยิบของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นอกจากจะปรากฏชื่อพี่น้องตระกูล“สะสมทรัพย์”ออกเป็นข่าวอย่างสม่ำเสมอแล้ว ชื่อของ“เสี่ยเหลียงภาค 7” กลายเป็นที่สนใจของสังคมไทย และมีคำถามต่างๆ มากมาย ซึ่งแน่นอนว่า เขาคือใคร ก้าวมาจากไหน ทำไมถึงกลายเป็น เจ้าพ่อภาค 7
ถอยหลังไปประมาณปี 2520 หรือ เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา เสี่ยเหลียง เป็นเพียงไอ้เหลียง หรือ เฮียเหลียง กุมารจีนแถวๆ ตลาดพลู วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนฯ อาชีพของเขาคือ รับจ้าง และเริ่มทำกิจการตู้เกมส์ต่างๆ พาหนะประจำตัว คือรถมอเตอร์ไซด์เวสป้า เก่าๆ ขับขึ้นลงตามโรงพัก พร้อมกับมีตั๋วเบิกทางจากนักข่าวสายอาชญากรรมที่รู้จักมักคุ้นกัน
ด้วยความเป็นคนใจถึง จึงมีเพื่อนฝูงมากมาย จากตู้เกมส์ขยับมาเป็นตู้ม้า 1 ตู้ เป็น 2 และ 3 ตามลำดับ จนเริ่มมีกำลังในฐานะผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่บังเอิญในช่วงนั้น มีขาใหญ่อันเป็นราชาตู้ม้าตัวจริงยึดพื้นที่ กทม.ส่วนใหญ่ไว้ก่อนแล้ว หนทางทำมาหากินของ เสี่ยเหลียง จึงเต็มไปด้วยอุปสรรค ต้องกระทบกระทั่งกับเจ้าพ่อตู้ม้าสามย่าน อยู่ตลอดเวลา จนวันหนึ่งเกิดอาการฟิวส์ขาด เสี่ยเหลียง บุกเดี่ยวตัวคนเดียวไปถึงถิ่นเจ้าพ่อตู้ม้าสามย่าน พร้อมกับควักระเบิดมาวางไว้บนโต๊ะ ขู่ว่าถ้ายังปิดเส้นทางทำมาหากินอย่างนี้ ก็ตายไปพร้อมๆ กันเลย ปรากฏว่าเจ้าพ่อตู้ม้าถึงกับไปไม่เป็น ต้องยอมเปิดทางให้กับเสี่ยเหลียง นำตู้ม้าไปวางได้ในบางพื้นที่
**แต่ในที่สุด จากการกระทบกระทั่งดังกล่าว เขาได้คำตอบว่า กทม.คงไม่เหมาะกับการทำมาหากินอีกต่อไป จึงเบนเข็มไปยัง จ.นครปฐม เริ่มต้นที่ สภ.โพธิ์แก้ว และเป็นตำนาน "เหลียงภาค 7" ตั้งแต่นั้น
บทเรียนจากราชาตู้ม้ากรุงเทพฯ ทำให้ “เสี่ยเหลียง”มีประสบการณ์ และนำมาใช้ในพื้นที่นครปฐม กล่าวคือ ไม่ยอมให้เจ้าของกิจการตู้ม้ารายใดเข้ามาในพื้นที่อย่างเด็ดขาด พร้อมๆ กับขยายเครือข่ายในภาค 7 เพิ่มขึ้น โดยใช้เงินจำนวนมาก“ซื้อใจ”นายตำรวจระดับสูง เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำมาหากิน รถเบนซ์ เงินสดแปด-เก้าหลัก เขากล้าทุ่ม เรียกว่านายตำรวจใหญ่ๆ คนใดก็ตาม เมื่อมีโอกาสเข้ามาในอาณาจักร“เสี่ยเหลียง”จะได้รับการดูแลอย่างสาสมใจ จนขึ้นชื่อว่านายตำรวจทั้งนอก และในราชการ มีนายพลตำรวจหลายคนเคยได้รับการดูแลจากเสี่ยเหลียง กระทั่ง “ขาลง”ของความรุ่งโรจน์มาถึง เมื่อเสี่ยเหลียง ตัดสินใจผิด กระโดดเข้าไปในวังวนการเมืองอย่างเต็มตัว
การกลับเข้ามาบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง โดยวางตัว พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ให้เป็น ผบช.น. ว่ากันว่า “เสี่ยเหลียง”ใช้สายสัมพันธ์เก่า บวกกับพาวเวอร์ใหม่ ที่ติดมาจากนครปฐม ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ อบจ.นครปฐม-ผู้สนับสนุนคนสีเสื้อ และการเมืองซีกเพื่อไทย จะเข้ามาฮุบกิจการตู้ม้า ในกทม.ทั้งหมด แต่ด้วยความเขี้ยวของผู้ประกอบการเจ้าถิ่น รวมทั้งเหตุบ้านการเมือง ที่เริ่มมีความไม่แน่นอน ปฏิบัติการยึด กทม.ของ เหลียงภาค 7 จึงยุติลงชั่วคราว กระทั่งมีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มมวลชน ภายใต้การนำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะเลขาธิการ กปปส.
การชุมนุมขยายวงเรื่อยๆ พร้อมกับมีมือก่อกวนใช้อาวุธปืนบ้าง ระเบิดบ้าง คุกคามชีวิตจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย จนวันหนึ่ง นายสุเทพ ขึ้นเวทีประกาศชื่อเสี่ยเหลียง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังด้วยการสนับสนุนเงินจำนวน 150 ล้าน ให้กับบิ๊กตำรวจนครบาล โดยแบ่งเป็นเอาเข้ากระเป๋า 50 ล้าน อีก 100 ล้าน เป็นทุนเพื่อนำมาทำร้ายมวลมหาประชาชน ในรูปแบบต่างๆ
**หลังจากยึดอำนาจเมื่อ 22 พ.ค.57 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สนองนโยบาย คสช. ด้วยการออกกวาดล้างตู้ม้าอย่างหนัก วันที่ 3 ก.ค.หรืออีกราวเดือนเศษ ประกาศ คสช. เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยขอให้บุคคลจำนวน 18 ราย เข้ารายงานตัว ปรากฏชื่อ “เสี่ยเหลียง” อยู่ในคำสั่งนั้นด้วย จึงไม่น่าประหลาดใจที่ถนนทุกสายจะพาไปบรรจบกันที่ จ.นครปฐม ไม่เว้นแม้แต่ คฤหาสน์สามพราน -ดอนตูม และ สวนสัตว์ของอภิมหาเศรษฐีเจ้าของฉายา "เสี่ยเหลียงภาค 7"
29 พ.ค.58 กำลังตำรวจกองปราบปราม นำโดย พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผบช.ก. กระจายเข้าตรวจค้นบ้านผู้มีอิทธิพล จ.นครปฐม รวม 13 จุด แน่นอนว่ามีทั้ง“บ้านใหญ่สะสมทรัพย์”และสมุนบริวารว่านเครือ แต่กระสุนมาตกยังบ้านหลังที่ 12 และ 13 ในพื้นที่ อ.สามพราน และ อ.ดอนตูม ซึ่งเป็นคฤหาสถ์หลังงามของ“เหลียงภาค 7”หรือเหลียงตู้ม้า สุดแต่ความคุ้นเคย ผลการตรวจค้นในครานั้นไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆ แต่ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ติดตามข่าวปราบปรามผู้มีอิทธิพลก็คือ ภายในบ้านพักของ นายชัยพร เลขที่ 79 หมู่ 5 อ.ดอนตูม จ.นครปฐม นั้น ห่างไปไม่ไกลนักมีสวนสัตว์ส่วนตัว ในพื้นที่กว่า 20 ไร่ ภายในมีบรรดาสัตว์ป่าต่างๆ จำนวนมาก แต่ที่เป็นไฮไลน์ก็คือ เสือโคร่งและเสือดาว รวม 80 ตัว เป็นเสือโคร่ง 71 และเสือดาว 9 กองปราบปรามจึงประสานไปยังสำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ 3 บ้านโป่ง จ.ราชบุรี อันเป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มาตรวจสอบ ผลคือสัตว์ทุกตัวมีทะเบียนขออนุญาตถูกต้อง เว้นแต่จำนวนเสือโคร่ง เสือดาว ที่มีเพิ่มขึ้นอันเกิดจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ จึงลงบันทึกตักเตือนให้แจ้งขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย
สรุปว่า การยกทัพของกองปราบฯในครั้งนั้น ไม่สามารถล็อกบรรดา “ขาใหญ่” แห่งเมืองนครปฐมได้ เพราะอาวุธปืนต่างๆ ที่ค้นเจอนั้น ส่วนใหญ่เป็นปืนมีทะเบียน ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย จึงสามารถทำได้แค่อายัดไว้ตรวจสอบ นอกจากนั้น ในการแจ้งข้อหาดำเนินคดีใดๆ ก็ตามบรรดาเครือข่ายเจ้าพ่อนครปฐม สามารถใช้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานทั่วไป สามารถยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวได้ ปฏิบัติการบุกรังเจ้าพ่อภาคกลาง จึงเปรียบเสมือนละครบู๊-แอ๊คชั่น หลังข่าวที่ชาวบ้านคุ้นชิน
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่เข้าเป้าในเชิงปราบปราม แต่มีผลทางจิตวิทยา กล่าวคือ ชาวบ้านและประชาชนทั่วไปรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดแห่งนี้เป็นเมืองอิทธิพล ที่ผ่านๆ มามักปรากฏข่าวอาชญากรรมรุนแรง เสมอๆ
3 พ.ค.59 ผ่านไป 1 ปี หลังจากกองปราบปราม นำร่องนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลของคสช.ไปดอกหนึ่งแล้ว ชุดปฏิบัติการของพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง ก็เปิดยุทธการ“นครปฐมร่มเย็น”บุกค้นบ้านเป้าหมายพร้อมกัน 12 จุด ซึ่งแน่นอนว่าบ้านหลักไม่พ้น“บ้านใหญ่นครปฐม”ประกอบด้วย บ้านพักคนในตระกูลสะสมทรัพย์ สามารถยึดปืน (มีทะเบียน) ไปได้จำนวนมาก ขณะเดียวกันบ้านของ เสี่ยเหลียงภาค 7 พร้อมสวนสัตว์ส่วนตัว ก็โดนตรวจค้นด้วย และในเที่ยวนี้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิดอะไรกับเครือข่ายผู้ยิ่งใหญ่ได้ มีเพียงการตรวจพบจำนวนเสือโคร่งเพิ่มมากขึ้น เป็น 120 ตัว ซึ่งนายชัยพร ชี้แจงว่า ตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังถูกจู่โจมไปในรอบแรกนั้น จำนวนเสือได้ออกลูกออกหลานมาตามธรรมชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างทยอยแจ้งจดทะเบียนอยู่
**ปฏิบัติการ"นครปฐมร่มเย็น" จึงเป็นฉากแอ๊คชั่นเก่าๆ อีกฉากหนึ่ง แต่เปลี่ยนตัวพระเอก จากระดับกองบัญชาการ มาเป็นระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม จากการจู่โจมบุกรังเจ้าพ่อนครปฐมอย่างถี่ยิบของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นอกจากจะปรากฏชื่อพี่น้องตระกูล“สะสมทรัพย์”ออกเป็นข่าวอย่างสม่ำเสมอแล้ว ชื่อของ“เสี่ยเหลียงภาค 7” กลายเป็นที่สนใจของสังคมไทย และมีคำถามต่างๆ มากมาย ซึ่งแน่นอนว่า เขาคือใคร ก้าวมาจากไหน ทำไมถึงกลายเป็น เจ้าพ่อภาค 7
ถอยหลังไปประมาณปี 2520 หรือ เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา เสี่ยเหลียง เป็นเพียงไอ้เหลียง หรือ เฮียเหลียง กุมารจีนแถวๆ ตลาดพลู วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนฯ อาชีพของเขาคือ รับจ้าง และเริ่มทำกิจการตู้เกมส์ต่างๆ พาหนะประจำตัว คือรถมอเตอร์ไซด์เวสป้า เก่าๆ ขับขึ้นลงตามโรงพัก พร้อมกับมีตั๋วเบิกทางจากนักข่าวสายอาชญากรรมที่รู้จักมักคุ้นกัน
ด้วยความเป็นคนใจถึง จึงมีเพื่อนฝูงมากมาย จากตู้เกมส์ขยับมาเป็นตู้ม้า 1 ตู้ เป็น 2 และ 3 ตามลำดับ จนเริ่มมีกำลังในฐานะผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่บังเอิญในช่วงนั้น มีขาใหญ่อันเป็นราชาตู้ม้าตัวจริงยึดพื้นที่ กทม.ส่วนใหญ่ไว้ก่อนแล้ว หนทางทำมาหากินของ เสี่ยเหลียง จึงเต็มไปด้วยอุปสรรค ต้องกระทบกระทั่งกับเจ้าพ่อตู้ม้าสามย่าน อยู่ตลอดเวลา จนวันหนึ่งเกิดอาการฟิวส์ขาด เสี่ยเหลียง บุกเดี่ยวตัวคนเดียวไปถึงถิ่นเจ้าพ่อตู้ม้าสามย่าน พร้อมกับควักระเบิดมาวางไว้บนโต๊ะ ขู่ว่าถ้ายังปิดเส้นทางทำมาหากินอย่างนี้ ก็ตายไปพร้อมๆ กันเลย ปรากฏว่าเจ้าพ่อตู้ม้าถึงกับไปไม่เป็น ต้องยอมเปิดทางให้กับเสี่ยเหลียง นำตู้ม้าไปวางได้ในบางพื้นที่
**แต่ในที่สุด จากการกระทบกระทั่งดังกล่าว เขาได้คำตอบว่า กทม.คงไม่เหมาะกับการทำมาหากินอีกต่อไป จึงเบนเข็มไปยัง จ.นครปฐม เริ่มต้นที่ สภ.โพธิ์แก้ว และเป็นตำนาน "เหลียงภาค 7" ตั้งแต่นั้น
บทเรียนจากราชาตู้ม้ากรุงเทพฯ ทำให้ “เสี่ยเหลียง”มีประสบการณ์ และนำมาใช้ในพื้นที่นครปฐม กล่าวคือ ไม่ยอมให้เจ้าของกิจการตู้ม้ารายใดเข้ามาในพื้นที่อย่างเด็ดขาด พร้อมๆ กับขยายเครือข่ายในภาค 7 เพิ่มขึ้น โดยใช้เงินจำนวนมาก“ซื้อใจ”นายตำรวจระดับสูง เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำมาหากิน รถเบนซ์ เงินสดแปด-เก้าหลัก เขากล้าทุ่ม เรียกว่านายตำรวจใหญ่ๆ คนใดก็ตาม เมื่อมีโอกาสเข้ามาในอาณาจักร“เสี่ยเหลียง”จะได้รับการดูแลอย่างสาสมใจ จนขึ้นชื่อว่านายตำรวจทั้งนอก และในราชการ มีนายพลตำรวจหลายคนเคยได้รับการดูแลจากเสี่ยเหลียง กระทั่ง “ขาลง”ของความรุ่งโรจน์มาถึง เมื่อเสี่ยเหลียง ตัดสินใจผิด กระโดดเข้าไปในวังวนการเมืองอย่างเต็มตัว
การกลับเข้ามาบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง โดยวางตัว พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ให้เป็น ผบช.น. ว่ากันว่า “เสี่ยเหลียง”ใช้สายสัมพันธ์เก่า บวกกับพาวเวอร์ใหม่ ที่ติดมาจากนครปฐม ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ อบจ.นครปฐม-ผู้สนับสนุนคนสีเสื้อ และการเมืองซีกเพื่อไทย จะเข้ามาฮุบกิจการตู้ม้า ในกทม.ทั้งหมด แต่ด้วยความเขี้ยวของผู้ประกอบการเจ้าถิ่น รวมทั้งเหตุบ้านการเมือง ที่เริ่มมีความไม่แน่นอน ปฏิบัติการยึด กทม.ของ เหลียงภาค 7 จึงยุติลงชั่วคราว กระทั่งมีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มมวลชน ภายใต้การนำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะเลขาธิการ กปปส.
การชุมนุมขยายวงเรื่อยๆ พร้อมกับมีมือก่อกวนใช้อาวุธปืนบ้าง ระเบิดบ้าง คุกคามชีวิตจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย จนวันหนึ่ง นายสุเทพ ขึ้นเวทีประกาศชื่อเสี่ยเหลียง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังด้วยการสนับสนุนเงินจำนวน 150 ล้าน ให้กับบิ๊กตำรวจนครบาล โดยแบ่งเป็นเอาเข้ากระเป๋า 50 ล้าน อีก 100 ล้าน เป็นทุนเพื่อนำมาทำร้ายมวลมหาประชาชน ในรูปแบบต่างๆ
**หลังจากยึดอำนาจเมื่อ 22 พ.ค.57 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สนองนโยบาย คสช. ด้วยการออกกวาดล้างตู้ม้าอย่างหนัก วันที่ 3 ก.ค.หรืออีกราวเดือนเศษ ประกาศ คสช. เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยขอให้บุคคลจำนวน 18 ราย เข้ารายงานตัว ปรากฏชื่อ “เสี่ยเหลียง” อยู่ในคำสั่งนั้นด้วย จึงไม่น่าประหลาดใจที่ถนนทุกสายจะพาไปบรรจบกันที่ จ.นครปฐม ไม่เว้นแม้แต่ คฤหาสน์สามพราน -ดอนตูม และ สวนสัตว์ของอภิมหาเศรษฐีเจ้าของฉายา "เสี่ยเหลียงภาค 7"