**ถ้าพายุฤดูร้อนไม่หอบ“สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”ลอยละลิ่วปลิวละล่อง หรือเกิดฟ้าผ่า"กรมปทุมวัน" การแต่งตั้งตำรวจระดับ"นายพัน" เก้าอี้ “สารวัตร(สว.)-รองผู้บังคับการ(รองผบก.)”วาระประจำปี 2558 น่าจะเสร็จสิ้นเรียบร้อย และมีผลพร้อมๆ กันทุกกองบัญชาการ ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ ตามที่"บิ๊กแป๊ะ" พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา แม่ทัพใหญ่สีกากี วางเอาไว้
แม้บอร์ดกลั่นกรองการแต่งตั้งตำรวจระดับ สว.-รอง ผบก. ประจำปี 2558 ที่ใช้อำนาจตาม มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และ คำสั่ง มาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งขึ้นมาพิจารณารายชื่อ มี"จักรทิพย์" เป็นประธาน "จูดี้" พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. เป็นรองประธาน ร่วมกับ พล.ต.ท.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผบช.สง.ก.ตร. พล.ต.ต.สรไกร พูนเพิ่ม ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พ.ต.อ.อภิสัณห์ หว้าจีน ผกก.ฝ่ายอำนวยการ 1 บก.อก. กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ พล.ต.ท.วิสนุ ปราสาททองโอสถ ผบช.สกพ. เป็นกรรมการ และเลขานุการ พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ ผู้บังคับการกองทะเบียนพล (ผบก.ทพ.) เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ผกก.ฝ่ายแต่งตั้ง บก.ทพ. รอง ผกก.ฝ่ายแต่งตั้ง บก.ทพ. และสารวัตร ฝ่ายแต่งตั้ง บก.ทพ. เป็นเจ้าหน้าที่ จะใช้เวลากลั่นกรองแต่งตั้งโผ"นายพัน" ถึง 3 วัน ไม่ใช่รวดเดียวเสร็จเรียบร้อย
แต่หากดูจากตำแหน่งว่างระดับ สว.-รองผบก. ครั้งนี้ทั่วประเทศ ที่มีมากถึง 23,000 ตำแหน่ง และยังไม่นับรวมการโยกระนาบอีกล็อตใหญ่ๆ การแบ่งห้วงเวลาการกลั่นกรองเป็น 3 วัน คือ วันที่ 30 เม.ย. วันที่ 2 พ.ค. และ วันที่ 4 พ.ค. ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรที่จะทำให้โผ"นายพัน" สะดุดอีกแล้ว เพราะข้อขัดข้องต่างๆ ถูกแก้ไขด้วยการใช้ มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ที่ให้อำนาจ ผบ.ตร. แต่งตั้งโยกย้ายได้เอง ไม่ต้องให้ผบช. ดำเนินการเหมือนช่วงปรกติ รวมทั้งมีคำสั่งหัวหน้าคสช. เป็นเกราะคุ้มกัน ผบ.ตร. ในการใช้อำนาจอีก ถ้า"บิ๊กแป๊ะ"ไม่สามารถจัดทำบัญชีแต่งตั้งให้เสร็จสิ้น ก็ คงต้องพิจารณาความเป็น“ผู้นำ”ของตัวองแล้ว
ประเด็นสะดุดให้การแต่งตั้ง “ตำรวจ”ต้องลากยาวออกไปอีก คงมีโอกาสน้อย ยิ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กำชับกำชาให้การแต่งตั้ง “นายพัน”ต้องเสร็จเร็วที่สุด ทุกอย่างก็คงต้องเข้าเกียร์ 5 เดินหน้าเต็มที่ โฟกัสที่น่าสนใจและน่าจับตา จึงเป็นเรื่องการพิสูจน์ความจริงใจของ “ผู้นำสีกากี”ชื่อ “พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา”ต่อตำรวจ 2 แสนกว่านายทั่วประเทศมากกว่า
โดยเฉพาะ“ตำรวจ”กลุ่มที่ได้รับการเยียวยาจากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายที่ผ่านมา ซึ่งคณะอนุ ก.ตร.กฎหมาย ที่มี พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน มีมติให้เยียวยาตำรวจที่ต้องเยียวยาตามมติคณะอนุ ก.ตร. อุทธรณ์ร้องทุกข์ ชุด พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีความเห็นไว้สมัยดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.
เพราะตามเหตุและผลที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยื่นขอความเห็นต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ใช้อำนาจตาม มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่ให้สิทธิ ให้อำนาจ ผบ.ตร. ในการจัดการแต่งตั้งเหนือผู้บัญชาการ (ผบช.) จนทำให้ กรรมการก.ตร. ไฟเขียวให้ใช้มาตรา 56 ในการแต่งตั้ง “นายพัน”ครั้งนี้ มาจากข้ออ้าง 5 ประการ ด้วยกัน คือ
1. ความจำเป็นพิจารณากรณีที่การเยียวยาต่างๆ ที่ยังไม่เรียบร้อยต้องทำเป็นมาตรฐานเดียวกันให้ชัดเจน 2. โครงสร้างตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามคำสั่ง คสช. ที่ต้องจัดสัดส่วนปริมาณ และคุณภาพของงาน 3. ความสมดุลของตำแหน่งว่างกับบุคคลที่ครบในแต่ละหน่วยที่ไม่สอดคล้อง 4. สถานการณ์ความมั่นคง ที่ยังมีต่อเนื่อง ต้องแก้ไขภาพรวมทั้งประเทศ และ 5. ระยะเวลาที่ทอดยาวมานาน ทุกอย่างต้องทำให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ทว่าแต่พอ “ผบ.จักรทิพย์”ที่ได้ดาบอาญาสิทธิ์กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งเป็นการเฉพาะครั้งนี้ออกมา ปรากฏว่า ทั้ง 5 ส่วนที่เขียนไว้ตั้งแต่ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ส่วนที่ 2 คุณสมบัติของข้าราชการตำรวจที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ส่วนที่ 3 วิธีปฏิบัติในการจัดทำบัญชี ข้อมูลและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ส่วนที่ 4 บทเฉพาะกาล และส่วนที่ 5 รูปแบบการจัดทำบัญชีข้อมูลการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ไม่มีเนื้อหาส่วนไหน หรือ ตอนใด เขียนชัดๆ เป็นข้อกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา ว่าจะต้องพิจารณาแต่งตั้งตำรวจที่ได้รับการเยียวยา ไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม เหมือนอย่างที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ อ้างเรื่องความจำเป็นพิจารณากรณีที่การเยียวยาต่างๆ ที่ยังไม่เรียบร้อย ต้องทำเป็นมาตรฐานเดียวกันให้ชัดเจน ซึ่งร้องขอไว้เป็นข้อแรก ต่อ ก.ตร. เพื่อจะได้รับการอนุมัติใช้ มาตรา 56 ในการรวบอำนาจแต่งตั้งแทนผู้บัญชาการ
ทั้งๆ ที่เหมือนเคยบอกไว้ กฎกำหนดให้ผู้ได้รับเยียวยาต้องได้รับการแต่งตั้งกลับคืนตำแหน่งเดิม ในโอกาสแรกของการแต่งตั้งทันที รวมทั้งผลการตัดสินจาก อนุ ก.ตร. มีผลมาตั้งแต่ปลายปี 58 การแต่งตั้งครั้งนี้จะเลี่ยงไม่ได้ ที่อ้างว่าคำสั่งที่ 6 ของคสช. ก็ไม่มีผลลบล้างด้วย เพราะคำสั่งออกภายหลังจะมีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษไม่ได้
อย่างไรก็ดี แม้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งที่“ผบ.แป๊ะ”กำหนดกฎ กติกา ออกมาไม่ได้ระบุถึงการเยียวยาตำรวจที่ได้รับมติให้ได้รับการเยียวยา แต่ถ้าจะดำเนินการให้ ตามมติ อนุ ก.ตร. ก็ไม่ผิดกฎ กติกา อะไร เพราะอำนาจทุกอย่างอยู่ในมือ“ผบ.ตร.”เพียงคนเดียวตาม มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และมาตรา 44 ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ขึ้นอยู่กับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ แม่ทัพใหญ่ตำรวจ จะทำให้ตำรวจมีขวัญกำลังใจในการทำงานจริงๆ ตามที่ตัวเองบอกไว้ตลอด หรือแค่รับนโยบายมาดำเนินการให้จบๆไป โดยไม่สนใจสิ่งที่ตัวเองบอกกล่าวเอาไว้
**รายชื่อแต่งตั้งตำรวจระดับ สว.-รองผบก. ครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์สำคัญ.
แม้บอร์ดกลั่นกรองการแต่งตั้งตำรวจระดับ สว.-รอง ผบก. ประจำปี 2558 ที่ใช้อำนาจตาม มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และ คำสั่ง มาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งขึ้นมาพิจารณารายชื่อ มี"จักรทิพย์" เป็นประธาน "จูดี้" พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. เป็นรองประธาน ร่วมกับ พล.ต.ท.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผบช.สง.ก.ตร. พล.ต.ต.สรไกร พูนเพิ่ม ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พ.ต.อ.อภิสัณห์ หว้าจีน ผกก.ฝ่ายอำนวยการ 1 บก.อก. กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ พล.ต.ท.วิสนุ ปราสาททองโอสถ ผบช.สกพ. เป็นกรรมการ และเลขานุการ พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ ผู้บังคับการกองทะเบียนพล (ผบก.ทพ.) เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ผกก.ฝ่ายแต่งตั้ง บก.ทพ. รอง ผกก.ฝ่ายแต่งตั้ง บก.ทพ. และสารวัตร ฝ่ายแต่งตั้ง บก.ทพ. เป็นเจ้าหน้าที่ จะใช้เวลากลั่นกรองแต่งตั้งโผ"นายพัน" ถึง 3 วัน ไม่ใช่รวดเดียวเสร็จเรียบร้อย
แต่หากดูจากตำแหน่งว่างระดับ สว.-รองผบก. ครั้งนี้ทั่วประเทศ ที่มีมากถึง 23,000 ตำแหน่ง และยังไม่นับรวมการโยกระนาบอีกล็อตใหญ่ๆ การแบ่งห้วงเวลาการกลั่นกรองเป็น 3 วัน คือ วันที่ 30 เม.ย. วันที่ 2 พ.ค. และ วันที่ 4 พ.ค. ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรที่จะทำให้โผ"นายพัน" สะดุดอีกแล้ว เพราะข้อขัดข้องต่างๆ ถูกแก้ไขด้วยการใช้ มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ที่ให้อำนาจ ผบ.ตร. แต่งตั้งโยกย้ายได้เอง ไม่ต้องให้ผบช. ดำเนินการเหมือนช่วงปรกติ รวมทั้งมีคำสั่งหัวหน้าคสช. เป็นเกราะคุ้มกัน ผบ.ตร. ในการใช้อำนาจอีก ถ้า"บิ๊กแป๊ะ"ไม่สามารถจัดทำบัญชีแต่งตั้งให้เสร็จสิ้น ก็ คงต้องพิจารณาความเป็น“ผู้นำ”ของตัวองแล้ว
ประเด็นสะดุดให้การแต่งตั้ง “ตำรวจ”ต้องลากยาวออกไปอีก คงมีโอกาสน้อย ยิ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กำชับกำชาให้การแต่งตั้ง “นายพัน”ต้องเสร็จเร็วที่สุด ทุกอย่างก็คงต้องเข้าเกียร์ 5 เดินหน้าเต็มที่ โฟกัสที่น่าสนใจและน่าจับตา จึงเป็นเรื่องการพิสูจน์ความจริงใจของ “ผู้นำสีกากี”ชื่อ “พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา”ต่อตำรวจ 2 แสนกว่านายทั่วประเทศมากกว่า
โดยเฉพาะ“ตำรวจ”กลุ่มที่ได้รับการเยียวยาจากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายที่ผ่านมา ซึ่งคณะอนุ ก.ตร.กฎหมาย ที่มี พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน มีมติให้เยียวยาตำรวจที่ต้องเยียวยาตามมติคณะอนุ ก.ตร. อุทธรณ์ร้องทุกข์ ชุด พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีความเห็นไว้สมัยดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.
เพราะตามเหตุและผลที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยื่นขอความเห็นต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ใช้อำนาจตาม มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่ให้สิทธิ ให้อำนาจ ผบ.ตร. ในการจัดการแต่งตั้งเหนือผู้บัญชาการ (ผบช.) จนทำให้ กรรมการก.ตร. ไฟเขียวให้ใช้มาตรา 56 ในการแต่งตั้ง “นายพัน”ครั้งนี้ มาจากข้ออ้าง 5 ประการ ด้วยกัน คือ
1. ความจำเป็นพิจารณากรณีที่การเยียวยาต่างๆ ที่ยังไม่เรียบร้อยต้องทำเป็นมาตรฐานเดียวกันให้ชัดเจน 2. โครงสร้างตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามคำสั่ง คสช. ที่ต้องจัดสัดส่วนปริมาณ และคุณภาพของงาน 3. ความสมดุลของตำแหน่งว่างกับบุคคลที่ครบในแต่ละหน่วยที่ไม่สอดคล้อง 4. สถานการณ์ความมั่นคง ที่ยังมีต่อเนื่อง ต้องแก้ไขภาพรวมทั้งประเทศ และ 5. ระยะเวลาที่ทอดยาวมานาน ทุกอย่างต้องทำให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ทว่าแต่พอ “ผบ.จักรทิพย์”ที่ได้ดาบอาญาสิทธิ์กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งเป็นการเฉพาะครั้งนี้ออกมา ปรากฏว่า ทั้ง 5 ส่วนที่เขียนไว้ตั้งแต่ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ส่วนที่ 2 คุณสมบัติของข้าราชการตำรวจที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ส่วนที่ 3 วิธีปฏิบัติในการจัดทำบัญชี ข้อมูลและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ส่วนที่ 4 บทเฉพาะกาล และส่วนที่ 5 รูปแบบการจัดทำบัญชีข้อมูลการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ไม่มีเนื้อหาส่วนไหน หรือ ตอนใด เขียนชัดๆ เป็นข้อกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา ว่าจะต้องพิจารณาแต่งตั้งตำรวจที่ได้รับการเยียวยา ไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม เหมือนอย่างที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ อ้างเรื่องความจำเป็นพิจารณากรณีที่การเยียวยาต่างๆ ที่ยังไม่เรียบร้อย ต้องทำเป็นมาตรฐานเดียวกันให้ชัดเจน ซึ่งร้องขอไว้เป็นข้อแรก ต่อ ก.ตร. เพื่อจะได้รับการอนุมัติใช้ มาตรา 56 ในการรวบอำนาจแต่งตั้งแทนผู้บัญชาการ
ทั้งๆ ที่เหมือนเคยบอกไว้ กฎกำหนดให้ผู้ได้รับเยียวยาต้องได้รับการแต่งตั้งกลับคืนตำแหน่งเดิม ในโอกาสแรกของการแต่งตั้งทันที รวมทั้งผลการตัดสินจาก อนุ ก.ตร. มีผลมาตั้งแต่ปลายปี 58 การแต่งตั้งครั้งนี้จะเลี่ยงไม่ได้ ที่อ้างว่าคำสั่งที่ 6 ของคสช. ก็ไม่มีผลลบล้างด้วย เพราะคำสั่งออกภายหลังจะมีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษไม่ได้
อย่างไรก็ดี แม้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งที่“ผบ.แป๊ะ”กำหนดกฎ กติกา ออกมาไม่ได้ระบุถึงการเยียวยาตำรวจที่ได้รับมติให้ได้รับการเยียวยา แต่ถ้าจะดำเนินการให้ ตามมติ อนุ ก.ตร. ก็ไม่ผิดกฎ กติกา อะไร เพราะอำนาจทุกอย่างอยู่ในมือ“ผบ.ตร.”เพียงคนเดียวตาม มาตรา 56 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และมาตรา 44 ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ขึ้นอยู่กับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ แม่ทัพใหญ่ตำรวจ จะทำให้ตำรวจมีขวัญกำลังใจในการทำงานจริงๆ ตามที่ตัวเองบอกไว้ตลอด หรือแค่รับนโยบายมาดำเนินการให้จบๆไป โดยไม่สนใจสิ่งที่ตัวเองบอกกล่าวเอาไว้
**รายชื่อแต่งตั้งตำรวจระดับ สว.-รองผบก. ครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์สำคัญ.