ผู้จัดการรายวัน360- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเผยผลพวงจากระดับราคาน้ำมันที่ลดต่ำกระทบธุรกิจสำรวจต้องหยุดชะงักเหตุไม่คุ้มกับการลงทุน ระดับการผลิตน้ำมันของประเทศเริ่มชะลอตัวอยู่ระดับ 1.5-1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน คาดธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะเริ่มปรับโครงสร้างองค์กรด้วยการลดคนกลางปีนี้เป็นต้นไป และผลพวงราคาน้ำมันที่ลดต่ำยังกระทบต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐที่คาดว่าปีนี้จะลดลงกว่า 5 หมื่นล้านบาท
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากระดับราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดต่ำลงเฉลี่ยเหลือ 30 กว่าเหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจากที่เคยอยู่ระดับ 100 เหรียญฯต่อบาร์เรลส่งผลกระทบให้ธุรกิจการสำรวจปิโตรเลียมส่วนใหญ่ขณะนี้หยุดการขุดเจาะปิโตรเลียมออกไปก่อนชั่วคราวเพราะผลิตไม่คุ้มทุน จึงส่งผล ให้การผลิตน้ำมันของไทยเริ่มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ดังนั้นธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้องปรับโครงสร้างบริษัทด้วยการลดขนาดองค์กรส่วนหนึ่งด้วยการลดคนงานลงคาดว่าภาพรวมแต่ละบริษัทจะลดเฉลี่ย 10% ซึ่งแนวโน้มจะเริ่มเห็นผลตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป
" จากการหยุดสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใหม่ทำให้การขุดเจาะหลุมเพื่อผลิตน้ำมันแห่งใหม่ลดตามไปด้วยระดับการผลิตจึงเริ่มชะลอตัวโดยปีที่ผ่านมามีการผลิตน้ำมันระดับ 1.5 แสนบาร์เรลต่อวันและปีนี้ก็ยังอยู่ระดับดังกล่าวแต่ด้วยมีการผลิตเพิ่มจากแหล่งนงเยาว์ มโนราห์ และวาสนาเพิ่มอีก 2 หมื่นบาร์เรลต่อวันจึงทำให้การผลิตน้ำมันขณะนี้อยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวันหากราคาน้ำมันยังคงทรงตัวระดับต่ำเชื่อว่าการผลิตจะไต่ระดับลดลง"นายวีระศักดิ์กล่าว
ปัจจุบันแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของไทยมีทั้งสิ้น 18 แหล่งแบ่งเป็นบนบก 8 แห่งและในทะเล 9 แหล่ง แต่ที่หยุดกิจการชั่วคราวมีเพียง 2 แท่นผลิตได้แก่ แท่นสงขลา Cและ G ซึ่งมีบริษัทครอสตอล เอ็นเนอร์ยี่เป็นผู้รับสัมปทาน ส่วนแท่นผลิตอื่นๆก็รักษาระดับการผลิตไว้คงเดิมโดยไม่มีการเพิ่มเติม เช่นเดียวกับแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ก็ไม่มีการสำรวจใหม่แต่ยังคงรักษาระดับการผลิตไว้คงเดิม ซึ่งภาพรวมคาดว่าการผลิตน่าจะกลับมาเช่นเดิมได้คงต้องรอให้ระดับราคาน้ำมันดิบ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลจึงจะพออยู่ได้
นอกจากนี้ผลจากราคาน้ำมันดิบที่ลดต่ำยังกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ส่งรัฐที่ปีนี้จะลดลงต่อเนื่องจากปี 2557 (1ม.ค.-31ธ.ค.) รายได้รัฐที่ประกอบด้วยค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และ รายได้จากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย(JDA) รวมอยู่ที่ 190,018 ล้านบาท ขณะที่ปี 2558 (1ม.ค.-31ธ.ค.) รายได้รัฐอยู่ที่ 152,691 ล้านบาท ขณะที่ปี 2558 รายได้รัฐล่าสุด 3 เดือนแรก(1ม.ค.-31มี.ค.)ปี 2559 อยู่ที่15,974 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2559 รายได้รัฐภาพรวมคงจะลดลงไป 1 ใน 3 ของปีที่ผ่านมาหรือลดลงกว่า 5 หมื่นล้านบาทหากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกเฉลี่ยยังทรงตัวในระดับปัจจุบัน
ทั้งนี้ผลจากการจัดเก็บรายได้ที่ลดต่ำยังสะท้อนให้การจัดสรรให้ท้องถิ่นมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยปี 2557 จัดสรรให้ท้องถิ่น 4,527 ล้านบาท ปี 2558 จัดสรรให้ 2,803ล้านบาท และในปี 2559 3 เดือนแรกปีนี้จัดสรรให้แล้ว 524 ล้านบาท
"เฉพาะค่าภาคหลวงปี 2557 เก็บได้ 64,219 ล้านบาท ปี 2558 เก็บได้ 50,091ล้านบาทปีนี้ 3 เดือนแรกเก็บได้ 11,341ล้านบาท ถือว่าค่อนข้างลดต่ำลงมากเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงมากกว่า 50% "อธิบดีกรมเชื้อเพลิงกล่าว
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากระดับราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดต่ำลงเฉลี่ยเหลือ 30 กว่าเหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจากที่เคยอยู่ระดับ 100 เหรียญฯต่อบาร์เรลส่งผลกระทบให้ธุรกิจการสำรวจปิโตรเลียมส่วนใหญ่ขณะนี้หยุดการขุดเจาะปิโตรเลียมออกไปก่อนชั่วคราวเพราะผลิตไม่คุ้มทุน จึงส่งผล ให้การผลิตน้ำมันของไทยเริ่มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ดังนั้นธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้องปรับโครงสร้างบริษัทด้วยการลดขนาดองค์กรส่วนหนึ่งด้วยการลดคนงานลงคาดว่าภาพรวมแต่ละบริษัทจะลดเฉลี่ย 10% ซึ่งแนวโน้มจะเริ่มเห็นผลตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป
" จากการหยุดสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใหม่ทำให้การขุดเจาะหลุมเพื่อผลิตน้ำมันแห่งใหม่ลดตามไปด้วยระดับการผลิตจึงเริ่มชะลอตัวโดยปีที่ผ่านมามีการผลิตน้ำมันระดับ 1.5 แสนบาร์เรลต่อวันและปีนี้ก็ยังอยู่ระดับดังกล่าวแต่ด้วยมีการผลิตเพิ่มจากแหล่งนงเยาว์ มโนราห์ และวาสนาเพิ่มอีก 2 หมื่นบาร์เรลต่อวันจึงทำให้การผลิตน้ำมันขณะนี้อยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวันหากราคาน้ำมันยังคงทรงตัวระดับต่ำเชื่อว่าการผลิตจะไต่ระดับลดลง"นายวีระศักดิ์กล่าว
ปัจจุบันแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของไทยมีทั้งสิ้น 18 แหล่งแบ่งเป็นบนบก 8 แห่งและในทะเล 9 แหล่ง แต่ที่หยุดกิจการชั่วคราวมีเพียง 2 แท่นผลิตได้แก่ แท่นสงขลา Cและ G ซึ่งมีบริษัทครอสตอล เอ็นเนอร์ยี่เป็นผู้รับสัมปทาน ส่วนแท่นผลิตอื่นๆก็รักษาระดับการผลิตไว้คงเดิมโดยไม่มีการเพิ่มเติม เช่นเดียวกับแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ก็ไม่มีการสำรวจใหม่แต่ยังคงรักษาระดับการผลิตไว้คงเดิม ซึ่งภาพรวมคาดว่าการผลิตน่าจะกลับมาเช่นเดิมได้คงต้องรอให้ระดับราคาน้ำมันดิบ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลจึงจะพออยู่ได้
นอกจากนี้ผลจากราคาน้ำมันดิบที่ลดต่ำยังกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ส่งรัฐที่ปีนี้จะลดลงต่อเนื่องจากปี 2557 (1ม.ค.-31ธ.ค.) รายได้รัฐที่ประกอบด้วยค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และ รายได้จากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย(JDA) รวมอยู่ที่ 190,018 ล้านบาท ขณะที่ปี 2558 (1ม.ค.-31ธ.ค.) รายได้รัฐอยู่ที่ 152,691 ล้านบาท ขณะที่ปี 2558 รายได้รัฐล่าสุด 3 เดือนแรก(1ม.ค.-31มี.ค.)ปี 2559 อยู่ที่15,974 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2559 รายได้รัฐภาพรวมคงจะลดลงไป 1 ใน 3 ของปีที่ผ่านมาหรือลดลงกว่า 5 หมื่นล้านบาทหากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกเฉลี่ยยังทรงตัวในระดับปัจจุบัน
ทั้งนี้ผลจากการจัดเก็บรายได้ที่ลดต่ำยังสะท้อนให้การจัดสรรให้ท้องถิ่นมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยปี 2557 จัดสรรให้ท้องถิ่น 4,527 ล้านบาท ปี 2558 จัดสรรให้ 2,803ล้านบาท และในปี 2559 3 เดือนแรกปีนี้จัดสรรให้แล้ว 524 ล้านบาท
"เฉพาะค่าภาคหลวงปี 2557 เก็บได้ 64,219 ล้านบาท ปี 2558 เก็บได้ 50,091ล้านบาทปีนี้ 3 เดือนแรกเก็บได้ 11,341ล้านบาท ถือว่าค่อนข้างลดต่ำลงมากเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงมากกว่า 50% "อธิบดีกรมเชื้อเพลิงกล่าว