เครือข่ายผู้ประกอบการและสมาคมผู้บริหารงานรวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย (รปภ.) นำโดย นายวัชรพล บุษมงคล ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ธุรกิจ รักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ และส่งผลกระทบต่อผู้ทำงาน และผู้ประกอบการ
นายวัชรพล กล่าวว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรปภ. จะต้องจบการศึกษาภาคบังคับ หรือ ม.3 ซึ่งปัจจุบันผู้ที่จบ ม.3 มีจำนวนน้อยมาก อีกทั้งการศึกษาภาคบังคับ ได้เริ่มต้นบังคับใช้เมื่อปี 2545–ปัจจุบัน จึงมีผู้จบการศึกษาภาคบังคับที่มีอายุปัจจุบันประมาณ 28 ปี แต่รปภ. ส่วนใหญ่ อายุประมาณ 30-50 ปี จึงไม่เพียงพอกับการเข้ามาเป็นรปภ. และการขอใบอนุญาตเป็นรปภ. ที่กำหนดระยะเวลา 60 วัน มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ส่งผลกระทบต่อการผลิตรปภ. รวมทั้งผู้ที่จะมาเป็นพนักงานรปภ. จะต้องได้รับการอบรม ซึ่งมีค่าใช้จ่าย แต่คนที่มาเป็นพนักงานรปภ.นั้น ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้ามา เพราะมีต้นทุนสูง ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรปภ. และกระทบต่อบุคคลที่จะเข้ามาทำงาน รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ ทางเครือข่ายจึงเห็นว่าต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในหลายมาตรา จึงขอให้ สนช.ช่วยเหลือ
ด้าน นพ.เจตน์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ไป ตั้งแต่เดือนมี.ค.แล้ว ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นสนช. จึงไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ แต่จะเสนอเรื่องให้กับประธานสนช.ให้นำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาขอประชาชนผู้ประกอบอาชีพและปรับปรุงพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่า จะมีมาตราการเยียวยาความเดือดร้อนอย่างไร
นายวัชรพล กล่าวว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรปภ. จะต้องจบการศึกษาภาคบังคับ หรือ ม.3 ซึ่งปัจจุบันผู้ที่จบ ม.3 มีจำนวนน้อยมาก อีกทั้งการศึกษาภาคบังคับ ได้เริ่มต้นบังคับใช้เมื่อปี 2545–ปัจจุบัน จึงมีผู้จบการศึกษาภาคบังคับที่มีอายุปัจจุบันประมาณ 28 ปี แต่รปภ. ส่วนใหญ่ อายุประมาณ 30-50 ปี จึงไม่เพียงพอกับการเข้ามาเป็นรปภ. และการขอใบอนุญาตเป็นรปภ. ที่กำหนดระยะเวลา 60 วัน มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ส่งผลกระทบต่อการผลิตรปภ. รวมทั้งผู้ที่จะมาเป็นพนักงานรปภ. จะต้องได้รับการอบรม ซึ่งมีค่าใช้จ่าย แต่คนที่มาเป็นพนักงานรปภ.นั้น ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้ามา เพราะมีต้นทุนสูง ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรปภ. และกระทบต่อบุคคลที่จะเข้ามาทำงาน รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ ทางเครือข่ายจึงเห็นว่าต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในหลายมาตรา จึงขอให้ สนช.ช่วยเหลือ
ด้าน นพ.เจตน์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ไป ตั้งแต่เดือนมี.ค.แล้ว ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นสนช. จึงไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ แต่จะเสนอเรื่องให้กับประธานสนช.ให้นำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาขอประชาชนผู้ประกอบอาชีพและปรับปรุงพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่า จะมีมาตราการเยียวยาความเดือดร้อนอย่างไร