นายจักรพรรดิ์ จิตมณี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ประกาศนโยบาย 2558 ให้ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ในปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้" โดยให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาภาคบังคับตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประเมินการอ่านการเขียนนักเรียนทุกระดับชั้น วิเคราะห์สภาพปัญหาของนักเรียน ปรับระบบการบริหารจัดการ พัฒนาครู จัดหาสื่อ นวัตกรรม กำกับนิเทศ ติดตาม สรุปเป็นแนวทางของโรงเรียน หรือนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อนำไปเผยแพร่และขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม
ด้านนายอารมณ์ วงษ์บัณฑิต ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กล่าวว่า ในส่วนของการนิเทศติดตาม จะดำเนินงานใน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน เตรียมการ การดำเนินงานสู่เป้าหมาย การรายตัวชี้วัดตรวจสอบ โดยสำนักงานเขตจะสร้างเครื่องมือการการวัดและประเมินให้กับโรงเรียน และขั้นตอนสุดท้ายคือ ทุกองค์ประกอบสู่การพัฒนา โดยมุ่งไปที่การพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามแนวปฏิบัติที่ดี ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละสถานศึกษา
นอกจากนี้ ในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ยังมุ่งไปที่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3 ลักษณะ คือ บกพร่องทางการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ซึ่งหากโรงเรียนมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กเหล่านี้อย่าง มีประสิทธิผล ก็จะนำมาเผยแพร่ และขยายผลในลักษณะของ Best Prectice ต่อไป
ด้านนายอารมณ์ วงษ์บัณฑิต ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กล่าวว่า ในส่วนของการนิเทศติดตาม จะดำเนินงานใน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน เตรียมการ การดำเนินงานสู่เป้าหมาย การรายตัวชี้วัดตรวจสอบ โดยสำนักงานเขตจะสร้างเครื่องมือการการวัดและประเมินให้กับโรงเรียน และขั้นตอนสุดท้ายคือ ทุกองค์ประกอบสู่การพัฒนา โดยมุ่งไปที่การพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามแนวปฏิบัติที่ดี ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละสถานศึกษา
นอกจากนี้ ในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ยังมุ่งไปที่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3 ลักษณะ คือ บกพร่องทางการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ซึ่งหากโรงเรียนมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กเหล่านี้อย่าง มีประสิทธิผล ก็จะนำมาเผยแพร่ และขยายผลในลักษณะของ Best Prectice ต่อไป