วานนี้ (20 เม.ย.) เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดย พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบว่า เนื้อหาร่างรธน. มาตรา 54 ที่บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีว่า ขัดต่ออนุสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และขัดกับรธน.ชั่วคราว มาตรา 4 หรือไม่ และ เนื้อหามาตรา 178 ที่บัญญัติว่าหนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือหนังสือสัญญาการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้รัฐสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ว่าขัดกับรธน.ชั่วคราว มาตรา 1 และ มาตรา 4 รวมทั้งขัดต่อเจตนารมณ์ของคสช. ที่จะคืนความสุขให้คนในชาติ หรือไม่
นอกจากนั้น ขอให้ตรวจสอบ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรธน. ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของสนช.ด้วย เนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาที่ห้ามประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาร่างรธน. ซึ่งเป็นการลิดรอนอำนาจอธิปไตยของประชาชนไทย และสิทธิขั้นพื้นฐานตามรธน.ชั่วคราว มาตรา 3, 4 และ 5 หรือไม่ และอาจจะมีการเปิดช่องให้มีการทุจริตคะแนนการออกเสียงประชามติ หรือไม่ รวมทั้งการที่ไม่มีการเผยแพร่เนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในเว็บไซต์ สนช. บ่งชี้ว่าไม่มีความโปร่งใส และไม่มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนตรวจสอบ
ทั้งนี้ จากกรณีที่เกิดขึ้น จึงขอให้ตรวจสอบด้วยว่า การดำเนินการของ นายกรัฐมนตรี , ครม. , คสช., กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ สนช.นั้น ขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 หรือไม่ และหากพบว่า เนื้อหาร่างรธน. ขัดกับรธน.ชั่วคราว ก็ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรธน. ตีความโดยเร็ว ก่อนที่จะมีการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ร่างรธน. รวมทั้งทาง เครือข่ายก็จะมีการไปยื่นแจ้งความ เนื่องจากเห็นว่าบทบัญญัติ มาตรา 178 และ มาตรา 54 เป็นการออกกฎ ระเบียบ ที่เอื้อต่อกลุ่มนายทุน เหมือนเป็นการยกทรัพย์สินให้ฟรีๆ หลังพ้นระยะเวลา 60 ถ้ารัฐสภาไม่พิจารณา
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเสนอแนะ และรวบรวมความเห็น เพื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สนช. กล่าวถึง กรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ไม่เห็นด้วยที่จะให้สนช.ร่วมเวที เพื่อชี้แจงคำถามพ่วงประชามติ เพราะเกรงทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ว่า ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ กมธ.จะนัดประชุม เพื่อกำหนดแนวทางลงพื้นที่ชี้แจงคำถามพ่วงประชามติ ต่อประชาชน รวมถึงงบประมาณค่าใช้จ่าย ซึ่งหากเป็นไปได้จะขอร่วมเวทีกับ กรธ. และ กกต. เพื่อประหยัดงบประมาณ
ส่วนที่ กรธ.เกรงว่า ประชาชนจะเกิดความสับสนนั้น ขอกรธ. อย่ากังวลมากเกินไป เพราะกระบวนการตั้งแต่การจัดทำร่างรธน. การเสนอคำถามพ่วงประชามติ ล้วนเกิดจากรธน.ฉบับชั่วคราว ปี 57 ทั้งสิ้น ดังนั้นการทำงานต้องมีความสอดคล้องร่วมมือกันมากกว่า ยืนยัน สนช.สามารถชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจได้ทั้งหมด เนื่องจากเป้าหมายหลักคือ การเปลี่ยนผ่านประเทศ มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ด้านพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. และอดีตประธานกทธ.วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรธน. กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ห้ามทุกฝ่ายรณรงค์ รับ หรือไม่รับ ร่างรธน. เพราะจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ มีโทษจำคุก 10 ปี ว่า เนื้อหากฎหมายฉบับดังกล่าวระบุชัดเจนว่า ห้ามรณรงค์รับ หรือไม่รับ ร่างรธน. ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุน หรือต่อต้าน แต่ไม่ปิดกั้นการแสดงความเห็นในการพูดถึงข้อดี ข้อเสีย ร่างรธน.หากทำด้วยความสุจริตใจ และไม่ขัดต่อกฎหมาย เพราะไม่ต้องการให้ใครนำเรื่องการทำประชามติ ไปเป็นประเด็นให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง หากใครสร้างความขัดแย้ง จะมีโทษหนักสูงสุดจำคุก 10 ปี
ส่วนกรณีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ จัดกิจกรรมจำลองการลงประชามติไม่รับร่างรธน. ที่หน้าสน.พญาไทนั้น ถือว่าสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิด พ.ร.บ. ประชามติ เข้าข่ายการชี้นำให้รับ หรือไม่รับ ร่างรธน.ชัดเจน มีเป้าหมายไม่สุจริตใจ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวทีจำลองประชามติ หรือการใส่เสื้อรณรงค์ รับ หรือไม่รับ ร่างรธน. ถือว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายประชามติทั้งนั้น
นอกจากนั้น ขอให้ตรวจสอบ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรธน. ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของสนช.ด้วย เนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาที่ห้ามประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาร่างรธน. ซึ่งเป็นการลิดรอนอำนาจอธิปไตยของประชาชนไทย และสิทธิขั้นพื้นฐานตามรธน.ชั่วคราว มาตรา 3, 4 และ 5 หรือไม่ และอาจจะมีการเปิดช่องให้มีการทุจริตคะแนนการออกเสียงประชามติ หรือไม่ รวมทั้งการที่ไม่มีการเผยแพร่เนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในเว็บไซต์ สนช. บ่งชี้ว่าไม่มีความโปร่งใส และไม่มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนตรวจสอบ
ทั้งนี้ จากกรณีที่เกิดขึ้น จึงขอให้ตรวจสอบด้วยว่า การดำเนินการของ นายกรัฐมนตรี , ครม. , คสช., กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ สนช.นั้น ขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 หรือไม่ และหากพบว่า เนื้อหาร่างรธน. ขัดกับรธน.ชั่วคราว ก็ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรธน. ตีความโดยเร็ว ก่อนที่จะมีการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ร่างรธน. รวมทั้งทาง เครือข่ายก็จะมีการไปยื่นแจ้งความ เนื่องจากเห็นว่าบทบัญญัติ มาตรา 178 และ มาตรา 54 เป็นการออกกฎ ระเบียบ ที่เอื้อต่อกลุ่มนายทุน เหมือนเป็นการยกทรัพย์สินให้ฟรีๆ หลังพ้นระยะเวลา 60 ถ้ารัฐสภาไม่พิจารณา
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเสนอแนะ และรวบรวมความเห็น เพื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สนช. กล่าวถึง กรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ไม่เห็นด้วยที่จะให้สนช.ร่วมเวที เพื่อชี้แจงคำถามพ่วงประชามติ เพราะเกรงทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ว่า ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ กมธ.จะนัดประชุม เพื่อกำหนดแนวทางลงพื้นที่ชี้แจงคำถามพ่วงประชามติ ต่อประชาชน รวมถึงงบประมาณค่าใช้จ่าย ซึ่งหากเป็นไปได้จะขอร่วมเวทีกับ กรธ. และ กกต. เพื่อประหยัดงบประมาณ
ส่วนที่ กรธ.เกรงว่า ประชาชนจะเกิดความสับสนนั้น ขอกรธ. อย่ากังวลมากเกินไป เพราะกระบวนการตั้งแต่การจัดทำร่างรธน. การเสนอคำถามพ่วงประชามติ ล้วนเกิดจากรธน.ฉบับชั่วคราว ปี 57 ทั้งสิ้น ดังนั้นการทำงานต้องมีความสอดคล้องร่วมมือกันมากกว่า ยืนยัน สนช.สามารถชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจได้ทั้งหมด เนื่องจากเป้าหมายหลักคือ การเปลี่ยนผ่านประเทศ มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ด้านพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. และอดีตประธานกทธ.วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรธน. กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ห้ามทุกฝ่ายรณรงค์ รับ หรือไม่รับ ร่างรธน. เพราะจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ มีโทษจำคุก 10 ปี ว่า เนื้อหากฎหมายฉบับดังกล่าวระบุชัดเจนว่า ห้ามรณรงค์รับ หรือไม่รับ ร่างรธน. ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุน หรือต่อต้าน แต่ไม่ปิดกั้นการแสดงความเห็นในการพูดถึงข้อดี ข้อเสีย ร่างรธน.หากทำด้วยความสุจริตใจ และไม่ขัดต่อกฎหมาย เพราะไม่ต้องการให้ใครนำเรื่องการทำประชามติ ไปเป็นประเด็นให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง หากใครสร้างความขัดแย้ง จะมีโทษหนักสูงสุดจำคุก 10 ปี
ส่วนกรณีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ จัดกิจกรรมจำลองการลงประชามติไม่รับร่างรธน. ที่หน้าสน.พญาไทนั้น ถือว่าสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิด พ.ร.บ. ประชามติ เข้าข่ายการชี้นำให้รับ หรือไม่รับ ร่างรธน.ชัดเจน มีเป้าหมายไม่สุจริตใจ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวทีจำลองประชามติ หรือการใส่เสื้อรณรงค์ รับ หรือไม่รับ ร่างรธน. ถือว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายประชามติทั้งนั้น